(ต่อ2)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม และแนวโน้มปี 2552-2553

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 17, 2009 15:46 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ด้านการผลิต:

  • สาขาเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 2.5 เป็นผลมาจากผลผลิตมันสำปะหลังและยางพารา ลดลงร้อยละ 54.4 และ 0.3 ตามลำดับ เนื่องจากผลผลิตมันสำปะหลังได้รับความเสียหายจากการระบาดของเพลี้ยแป้ง ประกอบกับมีฝนตกชุกและเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่โดยเฉพาะทางภาคใต้ทำให้ปริมาณการกรีดยางลดลง ในขณะที่ผลผลิตข้าวโพดเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 เนื่องจากเกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อลดความชื้นลงก่อนเข้าสู่โครงการประกันรายได้ของรัฐบาล ส่วนผลผลิตปาล์มน้ำมันและข้าวเปลือกลดลงเท่ากันที่ร้อยละ 8.7 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ประกอบกับการที่เกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตเพราะคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันปาล์มจะลดลงตามราคาในตลาดซื้อขายล่วงหน้า สำหรับราคาสินค้าหมวดพืชผล ลดลงร้อยละ 15.3 เป็นผลมาจากราคายางพาราลดลงร้อยละ 37.7 อย่างไรก็ตามยังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามราคาน้ำ มันดิบที่สูงขึ้น ตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศจีนและญี่ปุ่น ราคาข้าวโพดและข้าวเปลือก ลดลงร้อยละ 36.0 และ 19.5 ตามลำดับ เนื่องจากมีอุปทานส่วนเกินในตลาดข้าวโพดและข้าวเก็บเกี่ยวใหม่จากนาปรังราคาสินค้าหมวดปศุสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ตามราคาสุกรที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากอุปทานของสุกรในตลาดยังคงมีระดับต่ำ และราคาไก่เนื้อปรับตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์เพื่อการส่งออก ราคาสินค้าหมวดประมงลดลงร้อยละ 0.8 ปรับตัวดีขึ้นตามความต้องการของตลาดต่างประเทศที่สูงขึ้น การลดลงของผลผลิตและราคาพืชผลทางการเกษตร ส่งผลทำให้รายได้เกษตรกรในไตรมาสนี้ ลดลงร้อยละ 17.5 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งลดลงร้อยละ 21.5 เมื่อรวม 9 เดือนแรกของปีสาขาเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 0.1
  • สาขาอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 5.9 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 8.7 ในไตรมาสที่ผ่านมา มีการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องกันเป็นไตรมาสที่สอง ตามการปรับตัวของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกหลายชนิดโดยมีการขยายตัวร้อยละ 0.2 ซึ่งถือเป็นการขยายตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสที่สาม ปี 2551 จากทิศทางเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทำให้อุปสงค์ในการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้น เห็นได้จากการมีคำสั่งซื้อสินค้าจากประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหัวอ่านข้อมูล และเครื่องใช้ไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 6.3 และ 10.4 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่บริษัทแม่มีการปิดโรงงานบางแห่งในบางประเทศ ในขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อใช้ในประเทศลดลงร้อยละ 9.3 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 13.4 ในไตรมาสที่ผ่านมาเป็นผลจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมภายในประเทศที่เริ่มดีขึ้นอย่างชัดเจนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทำให้ผู้บริโภคเริ่มมีความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอย กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่เร่งผลิตตามยอดค้างจอง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม กลุ่มอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวตามสถานการณ์การก่อสร้างที่ดีขึ้น ทั้งการก่อสร้างภาครัฐและเอกชนซึ่งเป็นผลจากนโยบายกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม มีอุตสาหกรรมที่ยังปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมเครื่องหนังเนื่องจากคำสั่งซื้อมีจำนวนน้อยลงและขาดความต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและกลางบางรายขาดสภาพคล่องและปิดกิจการลงสำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 62.4 เทียบกับร้อยละ 59.4 ในไตรมาสที่ผ่านมา และร้อยละ 68.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน แสดงให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมเริ่มเพิ่มการผลิตเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการขยายกำลังการผลิตจากไตรมาสที่ผ่านมาอย่างชัดเจน ได้แก่ อุตสาหกรรมกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (ร้อยละ 82.4 จากร้อยละ 77.6) ผลิตภัณฑ์เคมี (ร้อยละ 94.7 จากร้อยละ 87.2) ยางและผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 51.0 จากร้อยละ 45.9) ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (ร้อยละ 58.5 จากร้อยละ 45.9) ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 68.3 จากร้อยละ 59.6)
  • สาขาก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 1.8 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ในไตรมาสที่ผ่านมา จะเห็นได้จากปริมาณการจำ หน่ายวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็กเส้น และปูนซีเมนต์ ที่ขยายตัวร้อยละ 17.8 และ 2.9 ตามลำดับ การที่ภาคการก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นเป็นผลมาจากการก่อสร้างภาครัฐซึ่งถือเป็นส่วนขับเคลื่อนสำคัญ โดยที่การลงทุนก่อสร้างของภาครัฐขยายตัวที่ร้อยละ 9.5 เป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมถึงการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนด้านการก่อสร้างของรัฐ ส่วนการลงทุนการก่อสร้างภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 6.3 ปรับตัวจากไตรมาสที่แล้วซึ่งหดตัวร้อยละ 7.5 ผู้ประกอบการภาคเอกชนเริ่มมีความมั่นใจในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและมีการลงทุนก่อสร้างที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าและย่านชานเมือง เพื่อรองรับความต้องการที่อยู่อาศัยที่เริ่มกลับมาอีกครั้งหลังจากปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจในประเทศเริ่มคลี่คลายลง รวมถึงสต็อกบ้านคงค้างบางส่วนสามารถขายได้หลังจากการใช้มาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างรวม ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.0 เป็นผลมาจากราคาเหล็ก คอนกรีตและซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 38.0 8.7 และ 1.2 ตามลำดับ ส่วนดัชนีราคาหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ขยายตัวที่ร้อยละ 9.3
  • สาขาอสังหาริมทรัพย์ ทรงตัวจากไตรมาสที่แล้ว แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น และมีสัญญาณที่ดีขึ้นในไตรมาสนี้เช่น ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในไตรมาสที่สาม ซึ่งมีค่า 55.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 48.1 ในไตรมาสที่สอง ประกอบกับผู้ประกอบการรายใหญ่เริ่มเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมตามแนวเส้นทางการก่อสร้างโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีแดง ตามแนวส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าจากเขตธนบุรีเข้าสู่กทม. และแนวรถไฟฟ้า Airport Link ควบรวม City line รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของจำนวนที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยและปานกลางซึ่งได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
  • สาขาการเงิน ไตรมาสที่สาม ขยายตัวร้อยละ 4.4 ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมา สะท้อนได้จากรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิประจำไตรมาสนี้ของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบหดตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากรายได้จากดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์หดตัวร้อยละ 19.7 ขณะที่ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยหดตัวร้อยละ 46.4 โดยเป็นผลจากดอกเบี้ยจ่ายให้เงินรับฝากหดตัวร้อยละ 52.8 แสดงให้เห็นถึงปริมาณเงินฝากในระบบลดลง สำหรับแหล่งที่มาของสินเชื่อในไตรมาสนี้มีการเปลี่ยนแปลงแหล่งสินเชื่อทั้งภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนจากการขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์เป็นการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินอื่น ส่งผลให้ปริมาณสินเชื่อรวมของสถาบันการเงินอื่นขยายตัวร้อยละ 7.1 ในขณะที่ปริมาณสินเชื่อรวมจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 สินเชื่อภาคธุรกิจที่ขออนุมัติจากทั้งธนาคารพาณิชย์และจากสถาบันการเงินทั้งระบบหดตัวร้อยละ 6.9 และ 7.2 ตามลำดับ เป็นการหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าธุรกิจภาคเอกชนส่วนใหญ่ยังไม่มีแผนการขยายการลงทุนในช่วงนี้ ในขณะที่สินเชื่อภาคครัวเรือนที่ขออนุมัติจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินขยายตัวร้อยละ 3.8 และ 8.7 ตามลำดับ เนื่องจากภาคครัวเรือนเริ่มมีความมั่นใจในการบริโภคมากขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น
  • สาขาโรงแรมและภัตตาคาร หดตัวร้อยละ 2.8 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากการผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1) ประกอบกับการปรับตัวดีขึ้นของภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศเริ่มคลี่คลายลง ทำ ให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเริ่มมีความมั่นใจในการเดินทางมาประเทศไทยอีกครั้ง โดยไตรมาสนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยมีจำนวน 3.29 ล้านคน ลดลงร้อยละ 2.7 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่จำ นวนนักท่องเที่ยวลดลงถึงร้อยละ 16.5 เป็นผลมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวจากทวีปยุโรปที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.42 ส่วนนักท่องเที่ยวจากทวีปเอเชียเช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เริ่มเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ด้านอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 46.85 ลดลงจากร้อยละ 53.37 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยเริ่มใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากมาตรการจูงใจนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะการปรับลดราคาห้องพักต่อเนื่องจากไตรมาสแรกของปี เมื่อรวม 9 เดือนแรกของปีสาขาโรงแรมและภัตตาคารหดตัวร้อยละ 5.2 และมีจำนวนนักท่องเที่ยวรวม 9.90 ล้านคน ลดลงร้อยละ 12.07 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
  • การจ้างงาน การจ้างงาน 38.30 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.41 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยมีการจ้างงานในภาคเกษตร 15.46 ล้านคน ลดลงร้อยละ 0.90 และการจ้างงานนอกภาคเกษตร 22.83 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.04 ซึ่งเป็นผลมาจากการจ้างงานในสาขาโรงแรมและภัตตาคารที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.40 รวมทั้งสาขาอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.48 เป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสที่สอง ปี 2551 สำหรับผู้ว่างงานเฉลี่ยในไตรมาสนี้มีจำนวน 4.60 แสนคน ลดลง 3.33 พันคน เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหรือลดลงร้อยละ 0.73 โดยมีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.2

การจ้างงานมีเสถียรภาพมากขึ้น สืบเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมาการจ้างงานและภาวการณ์ว่างงานมีสัญญาณที่ดีขึ้นโดย (1) จำนวนผู้ประกันตนกรณีว่างงานในไตรมาสนี้ มีจำนวน 149.11 พันคน ลดลงต่อเนื่องจากจำนวน 247.78 และ 175.68 พันคน ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สอง ตามลำดับ (2) อัตราการว่างงานมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 2.1 และ 1.8 ในไตรมาสแรกและสอง เป็นร้อยละ 1.2 ในไตรมาสที่สาม และ (3) โอกาสในการหางานทำเริ่มมีมากขึ้นและชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นเมื่อพิจารณาจากสัดส่วนตำแหน่งงานว่างต่อจำนวนผู้สมัครงานใหม่ที่เพิ่มขึ้น โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2552 อยู่ในระดับ 0.76 เท่า เทียบกับ 0.71 เท่า ในช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว และเพิ่มจากระดับ 0.36 และ 0.60 เท่า ณ สิ้นเดือนมีนาคมและมิถุนายน 2552 ตามลำดับ

การจ้างงานจำแนกตามสาขาการผลิต

 (%YOY)                        2551                              2552
                  ทั้งปี     Q1    Q2    Q3    Q4          H1    Q1    Q2    Q3
การจ้างงานรวม      2.1    1.6   3.1   1.9   1.8         2.1   1.9   2.3   1.4
 - ภาคเกษตร       2.7    0.4   3.6   3.7   2.9         1.6   0.8   2.5  -0.9
 - นอกภาคเกษตร    1.7    2.3   2.8   0.6   1.0         2.4   2.5   2.1   3.0
อุตสาหกรรม        -3.0    0.4  -2.2  -6.5  -3.8        -4.2  -3.7  -3.2   1.5
ก่อสร้าง            3.3    0.5   2.0   3.8   6.9         4.3   3.4   5.6   0.4
โรงแรมและภัตตาคาร  1.8    1.2   2.5   2.2   1.2         7.5   7.7   7.3   8.4
อัตราการว่างงาน     1.4    1.6   1.4   1.2   1.3         1.9   2.1   1.8   1.2

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

ประสิทธิภาพการใช้น้ำมันโดยรวมดีขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว

  • สัดส่วนการใช้น้ำ มันต่อ GDP ในไตรมาสที่สามของปี 2552 สัดส่วนการใช้น้ำมันต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 0.9249 ลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 0.9677 ในไตรมาสที่สองปี 2552 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 0.8507 ของไตรมาสที่สามปี 2551 ซึ่งสัดส่วนการใช้น้ำมันต่อGDP ที่อยู่ในระดับสูง สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมการใช้น้ำมันทั้งเพื่อการเดินทางและเพื่อกิจกรรมอื่น ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี2552 สัดส่วนการใช้น้ำมันต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 0.9522 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.8991 ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
  • การใช้น้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศ: ปริมาณการใช้พลังงานรวมเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้นในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาสที่สามของปี 2552 ปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 โดยมีปริมาณการใช้ประมาณ 12.0 ล้านลิตรต่อวัน (คิดเป็นร้อยละ 59 ของปริมาณการใช้เบนซินทั้งหมด) ลดลงเล็กน้อยจากการใช้ประมาณวันละ 12.4 ล้านลิตรในครึ่งแรกของปี เนื่องมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศทำให้ความต้องการใช้น้ำมันสำหรับการเดินทางโดยภาคครัวเรือนในกลุ่มที่ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลลดลง อย่างไรก็ตามการใช้พลังงานทางเลือกชนิดอื่นยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยปริมาณการใช้ไบโอดีเซล(บี 5) เพิ่มขึ้นร้อยละ 107.9 ปริมาณการใช้อยู่ที่ประมาณ 22.37 ล้านลิตรต่อวัน ใกล้เคียงกับการใช้ประมาณวันละ 22.43 ล้านลิตรในครึ่งแรกของปี นอกจากนี้ปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.7 และปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจี ลดลงเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1.3 ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน 91 และ 95 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลงร้อยละ 10.4 และ 21.0 ตามลำดับ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคมาใช้พลังงานทางเลือกอื่นทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล ซึ่งมีราคาถูกกว่าแทน รวม 9 เดือนแรกของปี ปริมาณการใช้นำมันดีเซลหมุนเร็วและหมุนช้าลดลงร้อยละ 28.9 ขณะที่การใช้ไบโอดีเซล (บี 5) เพิ่มขึ้นร้อยละ 154.7 ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน 91 และ 95 ลดลงร้อยละ 20.9 ขณะที่การใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.2 สำหรับการใช้ก๊าซแอลพีจีและก๊าซธรรมชาติสำ หรับรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และ 105.4 ตามลำดับ

เสถียรภาพ

  • เสถียรภาพในประเทศ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในไตรมาสที่สาม เงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ -2.2 เทียบกับร้อยละ -2.8 ในไตรมาสที่สอง ทั้งนี้ราคาสินค้าทั่วไปยังคงลดลงเนื่องมาจาก (1) การลดลงของราคาข้าว และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีราคาสูงมาก (2)มาตรการเรียนฟรี 15 ปีของรัฐบาล ทำให้ค่าใช้จ่ายในด้านการศึกษาลดลง (3) ความต้องการสินค้าและบริการทั่วไป (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) ลดลง เห็นได้จากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยในไตรมาสที่สาม เท่ากับร้อยละ -0.5 เทียบกับร้อยละ -0.1 ในไตรมาสที่สอง

การใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

  รายการ                                         2551                               2552
                                     ทั้งปี     H1       Q3       Q4       Q1       Q2       Q3     9 เดือน
ปริมาณการใช้น้ำมันรวม(หน่วย: ล้านลิตร)   57,321   24,990   15,117   17,215   19,713   19,851   20,938   60,502
%YOY                               49.68    37.17    58.21    63.60    66.36    51.07    38.51    50.86
น้ำมันเบนซิน                          -2.95    -3.58    -7.27     2.67     7.34     8.87     7.73     7.98
ออกเทน(91+95)                     -33.11   -29.17   -40.14   -34.60   -28.44   -21.31   -10.41   -20.90
แก๊สโซฮอล์                           92.41   102.15    91.27    81.51    65.08    48.06    24.74    44.19
น้ำมันดีเซล                           -5.74    -2.15   -14.40    -4.78    -1.29     4.08    12.21     4.47
หมุนเร็ว+หมุนช้า                      -23.28   -15.22   -33.92   -30.06   -31.48   -31.96   -20.98   -28.87
หมุนเร็ว บี5                         502.41   693.64   498.98   384.62   240.20   154.81   107.91   154.67
ก๊าซแอลพีจี                           16.57    19.24    27.13     1.79     0.71     1.77    -1.31     0.31
NGV                               229.76   207.85   268.89   224.16   184.24   109.39    62.72   105.41

ที่มา : กระทรวงพลังงาน

ในไตรมาสที่สาม ดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ในไตรมาสที่สอง เป็นผลมาจากการลดลงของราคาข้าว แป้ง ผลิตภัณฑ์จากแป้ง และเครื่องปรุงอาหาร รวมทั้งน้ำมันและไขมัน ขณะที่ราคาผักและผลไม้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.8 เทียบกับร้อยละ 8.8 ในไตรมาสที่สอง เป็นผลจากสภาพอากาศที่เอื้ออำ นวยทำ ให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมากและประกอบกับเป็นช่วงปลายฤดูกาลของผลไม้หลายชนิด ส่วนดัชนีราคาสินค้าหมวดที่มิใช่อาหารลดลงร้อยละ 5.3 เทียบกับลดลงร้อยละ 8.2 ในไตรมาสที่สอง เป็นผลมาจากราคาในหมวดพาหนะการขนส่ง และการสื่อสารลดลงร้อยละ 12.4 (โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 15.5) และค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาที่ลดลงร้อยละ 10.2 อันเนื่องมาจากนโยบายเรียนฟรี 15 ปีของรัฐบาลส่วนราคาค่าน้ำค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 22.3 ในไตรมาสที่สองที่ผ่านมา เนื่องจากมีการปรับเกณฑ์การปรับลดค่าน้ำ ค่าไฟของภาครัฐ และเมื่อรวม 9 เดือนแรกของปีเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ -1.7 โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 และหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 6.9

ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่สามลดลงอย่างต่อเนื่องร้อยละ 10.2 จากไตรมาสก่อนที่ลดลงร้อยละ 7.0 เป็นผลมาจากราคาผลิตภัณฑ์เหมืองแร่ เกษตร และอุตสาหกรรมที่ลดลงร้อยละ 12.4, 10.9 และ 10.0 ตามลำดับ ซึ่งชี้ว่าแรงกดดันด้านต้นทุนการผลิตยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง และเมื่อรวม 9 เดือนแรกของปี ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงร้อยละ 7.0

(ยังมีต่อ).../ด้านต่างประเทศ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ