4.4 ให้ความร่วมมือในเรื่องข้อตกลงการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ (Economic Partnership Agreement : EPA) โดยร่วมมือกับประเทศหุ้นส่วนในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้เป็นไปตามข้อตกลงตามนโยบายรัฐบาลญี่ปุ่น
4.5 ช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กของญี่ปุ่น โดยการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการมีงานทำ รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับธุรกิจ กฎระเบียบ หรือประเด็นอื่นๆทางด้านการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนจัดผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำแก่ธุรกิจญี่ปุ่นในการทำธุรกิจยังต่างประเทศด้วย
4.6 สนับสนุนเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆของญี่ปุ่นให้ดีขึ้น โดยให้คำปรึกษา หรือส่งคณะเจ้าหน้าที่เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านอุตสาหกรรม จัดสัมมนาเพื่อให้นักธุรกิจท้องถิ่นญี่ปุ่นทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตลาดต่างประเทศ ทั้งในเรื่องการค้าการลงทุน อุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งสินค้าออก นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจต่างชาติโดยการให้คำปรึกษาและบริการด้านข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการค้า การลงทุน
4.7 จัดเตรียมข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจต่างประเทศให้กับประเทศญี่ปุ่น โดยทำการศึกษาวิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนในแต่ละประเทศเป็นประจำทั้งรายวัน รายเดือน เว็บไซด์ รวมทั้งจัดทำ White Paper ด้านการค้าการลงทุนเป็นรายปี ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานด้าน FTAs ของบริษัทญี่ปุ่น
4.8 สนับสนุนธุรกิจในต่างประเทศของชาวญี่ปุ่น โดยเครือข่ายทั่วโลกของ JETRO จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารจัดการ รวมทั้งกฎระเบียบ ระบบภาษี แรงงาน และการปกป้องสินทรัพย์ทางปัญญาแก่ธุรกิจญี่ปุ่นที่เพิ่งเข้ามาลงทุนใหม่ๆในแต่ละประเทศ และมีการจัดส่งคณะเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นไปต่างประเทศเพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนและสภาพตลาด
4.9 การวิจัยและพัฒนาด้านเศรษฐกิจ (Researching Developing Economies) ดำเนินงานโดยสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจของญี่ปุ่น (The Institute of Developing Economies : IDE) ซึ่งจะเลือกทำการวิจัยเฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญสูง เพื่อสนับสนุนการขยายตัวด้านการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ผลการศึกษาวิจัยนี้จะนำออกเผยแพร่สู่สาธารณะทั้งในรูปของ สิ่งพิมพ์ การบรรยาย การสัมมนา และอินเตอร์เน็ต
5. การให้บริการด้านการลงทุนในประเทศญี่ปุ่นแก่นักธุรกิจต่างประเทศ
5.1 JETRO ได้ดำเนินการให้บริการและสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจสำคัญๆหลายประเภทแบบ one-stop business support โดยผ่านศูนย์ที่เรียกว่า Invest Japan Business Support Centers (IBSC) รวม 6 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งศูนย์นี้จะทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารและคำปรึกษาแก่นักธุรกิจต่างประเทศในทุกๆเรื่องที่จำเป็นต่อการเริ่มต้นลงทุนในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งบริการจัดหาสำนักงานชั่วคราวและสถานที่แสดงนิทรรศการให้ฟรีด้วย
5.2 รัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดตั้งศูนย์ Foreign Access Zones (FAZs) รวม 22 แห่งทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมสินค้าเข้าและอำนวยความสะดวกให้กับการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งศูนย์นี้จะดำเนินการโดยรัฐบาลท้องถิ่น ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการค้า การลงทุน
6. สรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย
6.1 JETRO ได้จัดตั้งสำนักงาน เจโทร กรุงเทพฯขึ้นเพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าญี่ปุ่นเข้ามาในประเทศไทย และสำรวจสภาพตลาดในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งให้ความร่วมมือในการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นและไทย โดยส่งเสริมการนำเข้าและให้มีการลงทุนจากญี่ปุ่นในไทย สนับสนุนทางด้านความรู้ และให้ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและพลังงาน การปกป้องสินทรัพย์ทางปัญญา
6.2 มูลค่าการค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่นมีแนวโน้มอยู่ในระดับที่สูง โดยมูลค่าสินค้าส่งออกไปยังไทยมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าการนำเข้าส่งผลให้ญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าไทยมาตลอดและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยสินค้าออกที่ญี่ปุ่นส่งมายังไทยส่วนใหญ่ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องไฟฟ้าและอุปกรณ์ และสินค้าเข้าญี่ปุ่นจากไทยส่วนใหญ่ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ อาหาร วัตถุดิบต่างๆ
6.3 การลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นในไทยเริ่มมีแนวโน้มลดลงทั้งในด้านจำนวนผู้ลงทุนและมูลค่าการลงทุนตั้งแต่ปี 2540 เกือบทุกสาขา โดยเฉพาะในสาขาที่มิใช่อุตสาหกรรม
7. สรุปข้อสังเกตและข้อคิดเห็น
7.1 กลยุทธ์ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ปี 2005 ของญี่ปุ่น (Formulated in June 2005) ประกอบด้วย
1) การวางนโยบายโดยให้ความสำคัญลำดับแรกๆกับอุตสาหกรรมใน area ต่อไปนี้คือ Fuel Cells ; Digital Consumer Electronics (IT) ; Robots ; Contents (Hub of producing and distributing contents in Asia) ;Health/Welfare ; Environment/Energy ; Business Support ; Regional Revitalization
2) การวางนโยบายสำหรับอุตสาหกรรมก้าวหน้าอุตสาหกรรมพื้นฐาน (อุตสาหกรรมสนับสนุน) ซึ่งนำไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ (Fuel Cells ; Digital Consumer Electronics ; Robots ; Contents)
3) การวางนโยบายโดยให้ความสำคัญลำดับแรกๆแบบ cross-sectional เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยี ; ส่งเสริมการบริหารจัดการซึ่ง เน้นสินทรัพย์ทางปัญญา
7.2 ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศเป็นอันมาก โดยได้มีการให้บริการแบบครบวงจร โดยจัดตั้งศูนย์ Invest Japan Business Support Centers (IBSC) เพื่อทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารและคำปรึกษาแก่นักธุรกิจต่างประเทศในทุกๆเรื่องที่จำเป็นต่อการเริ่มต้นลงทุนในประเทศญี่ปุ่น
7.3 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ให้ความสนใจในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ค่อนข้างสูง โดยรายจ่ายด้านนี้เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมาตลอด และรายจ่ายด้าน R&D ต่อ GDP ของญี่ปุ่นก็อยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจก้าวหน้าหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน และฝรั่งเศส เป็นต้น
7.4 ปัจจุบันจีนเป็นประเทศแรกที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความสำคัญทางด้านการค้า และการลงทุนมากกว่าประเทศอื่นๆ เนื่องจากขนาดเศรษฐกิจของจีนมีขนาดใหญ่มาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยในปี 2547 สัดส่วนของมูลค่าสินค้าออกไปจีนเพิ่มสูงขึ้นเป็นอันสองรองจากสหรัฐอเมริกา (13.1 % ของสินค้าออกทั้งหมด) ในขณะที่มูลค่าสินค้าเข้าจากจีนได้เพิ่มขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง (20.7 % ของสินค้าเข้าทั้งหมด)
7.5 จาก JETRO WHITE PAPER ปี 2004 ญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนในประเด็นสำคัญๆ ดังนี้
1) ญี่ปุ่นกำลังประสบกับปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดลง จึงต้องเร่งพัฒนาด้านเทคโนโลยี เงินทุน การบริหารจัดการ และทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มศักยภาพให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
2) ญี่ปุ่นได้เพิ่มบทบาทในเอเชียตะวันออก โดยได้เข้าร่วมในข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ และบริษัทญี่ปุ่นได้ขยายการผลิตและการค้า ขณะเดียวกันบริษัทในเอเชียตะวันออกก็ได้ใช้ญี่ปุ่นเป็นตลาดการค้า
3) สิ่งที่ญี่ปุ่นจำเป็นจะต้องทำ คือ
3.1) ข้อตกลงการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ (EPA) กับไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เกาหลี จีน ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยลดข้อจำกัดต่างๆลง เช่น กฎระเบียบเกี่ยวกับการลงทุน ระบบภาษี และการเปิดเสรีด้านการบริการ เป็นต้น
3.2) ปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจญี่ปุ่นเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต โดย
(1) เพิ่มการวิจัยและพัฒนาในบางสาขาให้มากขึ้น เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ, นาโนเทคโนโลยี , IT และ เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ; (2) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลผลิตที่มีมูลค่าสูง เช่น ผลผลิตด้านดิจิตอลและอิเล็กทรอนิกส์ ; (3) พัฒนาอุตสาหกรรมด้านบริการที่เหมาะกับสังคมผู้สูงอายุ ; (4) ปรับปรุงผลิตภาพการผลิต โดยเร่งเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศ เทคโนโลยี และการจัดการเพื่อยกระดับผลิตภาพการผลิต กระตุ้นให้มีการแข่งขัน และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆในญี่ปุ่น
3.3) พัฒนา content industry ให้เป็นกลยุทธ์ระดับชาติ
(ยังมีต่อ).../.. Matsushita Electric Industrial Company Limited (Panasonic)
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
4.5 ช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กของญี่ปุ่น โดยการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการมีงานทำ รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับธุรกิจ กฎระเบียบ หรือประเด็นอื่นๆทางด้านการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนจัดผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำแก่ธุรกิจญี่ปุ่นในการทำธุรกิจยังต่างประเทศด้วย
4.6 สนับสนุนเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆของญี่ปุ่นให้ดีขึ้น โดยให้คำปรึกษา หรือส่งคณะเจ้าหน้าที่เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านอุตสาหกรรม จัดสัมมนาเพื่อให้นักธุรกิจท้องถิ่นญี่ปุ่นทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตลาดต่างประเทศ ทั้งในเรื่องการค้าการลงทุน อุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งสินค้าออก นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจต่างชาติโดยการให้คำปรึกษาและบริการด้านข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการค้า การลงทุน
4.7 จัดเตรียมข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจต่างประเทศให้กับประเทศญี่ปุ่น โดยทำการศึกษาวิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนในแต่ละประเทศเป็นประจำทั้งรายวัน รายเดือน เว็บไซด์ รวมทั้งจัดทำ White Paper ด้านการค้าการลงทุนเป็นรายปี ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานด้าน FTAs ของบริษัทญี่ปุ่น
4.8 สนับสนุนธุรกิจในต่างประเทศของชาวญี่ปุ่น โดยเครือข่ายทั่วโลกของ JETRO จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารจัดการ รวมทั้งกฎระเบียบ ระบบภาษี แรงงาน และการปกป้องสินทรัพย์ทางปัญญาแก่ธุรกิจญี่ปุ่นที่เพิ่งเข้ามาลงทุนใหม่ๆในแต่ละประเทศ และมีการจัดส่งคณะเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นไปต่างประเทศเพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนและสภาพตลาด
4.9 การวิจัยและพัฒนาด้านเศรษฐกิจ (Researching Developing Economies) ดำเนินงานโดยสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจของญี่ปุ่น (The Institute of Developing Economies : IDE) ซึ่งจะเลือกทำการวิจัยเฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญสูง เพื่อสนับสนุนการขยายตัวด้านการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ผลการศึกษาวิจัยนี้จะนำออกเผยแพร่สู่สาธารณะทั้งในรูปของ สิ่งพิมพ์ การบรรยาย การสัมมนา และอินเตอร์เน็ต
5. การให้บริการด้านการลงทุนในประเทศญี่ปุ่นแก่นักธุรกิจต่างประเทศ
5.1 JETRO ได้ดำเนินการให้บริการและสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจสำคัญๆหลายประเภทแบบ one-stop business support โดยผ่านศูนย์ที่เรียกว่า Invest Japan Business Support Centers (IBSC) รวม 6 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งศูนย์นี้จะทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารและคำปรึกษาแก่นักธุรกิจต่างประเทศในทุกๆเรื่องที่จำเป็นต่อการเริ่มต้นลงทุนในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งบริการจัดหาสำนักงานชั่วคราวและสถานที่แสดงนิทรรศการให้ฟรีด้วย
5.2 รัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดตั้งศูนย์ Foreign Access Zones (FAZs) รวม 22 แห่งทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมสินค้าเข้าและอำนวยความสะดวกให้กับการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งศูนย์นี้จะดำเนินการโดยรัฐบาลท้องถิ่น ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการค้า การลงทุน
6. สรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย
6.1 JETRO ได้จัดตั้งสำนักงาน เจโทร กรุงเทพฯขึ้นเพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าญี่ปุ่นเข้ามาในประเทศไทย และสำรวจสภาพตลาดในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งให้ความร่วมมือในการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นและไทย โดยส่งเสริมการนำเข้าและให้มีการลงทุนจากญี่ปุ่นในไทย สนับสนุนทางด้านความรู้ และให้ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและพลังงาน การปกป้องสินทรัพย์ทางปัญญา
6.2 มูลค่าการค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่นมีแนวโน้มอยู่ในระดับที่สูง โดยมูลค่าสินค้าส่งออกไปยังไทยมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าการนำเข้าส่งผลให้ญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าไทยมาตลอดและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยสินค้าออกที่ญี่ปุ่นส่งมายังไทยส่วนใหญ่ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องไฟฟ้าและอุปกรณ์ และสินค้าเข้าญี่ปุ่นจากไทยส่วนใหญ่ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ อาหาร วัตถุดิบต่างๆ
6.3 การลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นในไทยเริ่มมีแนวโน้มลดลงทั้งในด้านจำนวนผู้ลงทุนและมูลค่าการลงทุนตั้งแต่ปี 2540 เกือบทุกสาขา โดยเฉพาะในสาขาที่มิใช่อุตสาหกรรม
7. สรุปข้อสังเกตและข้อคิดเห็น
7.1 กลยุทธ์ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ปี 2005 ของญี่ปุ่น (Formulated in June 2005) ประกอบด้วย
1) การวางนโยบายโดยให้ความสำคัญลำดับแรกๆกับอุตสาหกรรมใน area ต่อไปนี้คือ Fuel Cells ; Digital Consumer Electronics (IT) ; Robots ; Contents (Hub of producing and distributing contents in Asia) ;Health/Welfare ; Environment/Energy ; Business Support ; Regional Revitalization
2) การวางนโยบายสำหรับอุตสาหกรรมก้าวหน้าอุตสาหกรรมพื้นฐาน (อุตสาหกรรมสนับสนุน) ซึ่งนำไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ (Fuel Cells ; Digital Consumer Electronics ; Robots ; Contents)
3) การวางนโยบายโดยให้ความสำคัญลำดับแรกๆแบบ cross-sectional เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยี ; ส่งเสริมการบริหารจัดการซึ่ง เน้นสินทรัพย์ทางปัญญา
7.2 ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศเป็นอันมาก โดยได้มีการให้บริการแบบครบวงจร โดยจัดตั้งศูนย์ Invest Japan Business Support Centers (IBSC) เพื่อทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารและคำปรึกษาแก่นักธุรกิจต่างประเทศในทุกๆเรื่องที่จำเป็นต่อการเริ่มต้นลงทุนในประเทศญี่ปุ่น
7.3 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ให้ความสนใจในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ค่อนข้างสูง โดยรายจ่ายด้านนี้เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมาตลอด และรายจ่ายด้าน R&D ต่อ GDP ของญี่ปุ่นก็อยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจก้าวหน้าหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน และฝรั่งเศส เป็นต้น
7.4 ปัจจุบันจีนเป็นประเทศแรกที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความสำคัญทางด้านการค้า และการลงทุนมากกว่าประเทศอื่นๆ เนื่องจากขนาดเศรษฐกิจของจีนมีขนาดใหญ่มาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยในปี 2547 สัดส่วนของมูลค่าสินค้าออกไปจีนเพิ่มสูงขึ้นเป็นอันสองรองจากสหรัฐอเมริกา (13.1 % ของสินค้าออกทั้งหมด) ในขณะที่มูลค่าสินค้าเข้าจากจีนได้เพิ่มขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง (20.7 % ของสินค้าเข้าทั้งหมด)
7.5 จาก JETRO WHITE PAPER ปี 2004 ญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนในประเด็นสำคัญๆ ดังนี้
1) ญี่ปุ่นกำลังประสบกับปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดลง จึงต้องเร่งพัฒนาด้านเทคโนโลยี เงินทุน การบริหารจัดการ และทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มศักยภาพให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
2) ญี่ปุ่นได้เพิ่มบทบาทในเอเชียตะวันออก โดยได้เข้าร่วมในข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ และบริษัทญี่ปุ่นได้ขยายการผลิตและการค้า ขณะเดียวกันบริษัทในเอเชียตะวันออกก็ได้ใช้ญี่ปุ่นเป็นตลาดการค้า
3) สิ่งที่ญี่ปุ่นจำเป็นจะต้องทำ คือ
3.1) ข้อตกลงการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ (EPA) กับไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เกาหลี จีน ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยลดข้อจำกัดต่างๆลง เช่น กฎระเบียบเกี่ยวกับการลงทุน ระบบภาษี และการเปิดเสรีด้านการบริการ เป็นต้น
3.2) ปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจญี่ปุ่นเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต โดย
(1) เพิ่มการวิจัยและพัฒนาในบางสาขาให้มากขึ้น เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ, นาโนเทคโนโลยี , IT และ เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ; (2) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลผลิตที่มีมูลค่าสูง เช่น ผลผลิตด้านดิจิตอลและอิเล็กทรอนิกส์ ; (3) พัฒนาอุตสาหกรรมด้านบริการที่เหมาะกับสังคมผู้สูงอายุ ; (4) ปรับปรุงผลิตภาพการผลิต โดยเร่งเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศ เทคโนโลยี และการจัดการเพื่อยกระดับผลิตภาพการผลิต กระตุ้นให้มีการแข่งขัน และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆในญี่ปุ่น
3.3) พัฒนา content industry ให้เป็นกลยุทธ์ระดับชาติ
(ยังมีต่อ).../.. Matsushita Electric Industrial Company Limited (Panasonic)
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-