ด้านต่างประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสที่สามเกินดุล 3,713 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเท่ากับ 125,891 ล้านบาท สูงกว่าการเกินดุล 2,778 ล้าน ดอลลาร์ สรอ. หรือเท่ากับ 96,167 ล้านบาทในไตรมาสที่สอง โดยมาจากดุลการค้าที่เกินดุล 5,118 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่ขาดดุล 1,406 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลจากการส่งกลับผลตอบแทนจากการลงทุน และเงินปันผลของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้น และ ไม่สามารถชดเชยได้ทั้งหมดจากรายได้สุทธิจากการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น รวม 9 เดือนแรกของปีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 16,088 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเท่ากับ 560,762 ล้านบาท
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2552 เท่ากับ 135.26 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (และมี Net Forward Position อีก 15.28 พันล้านดอลลาร์) สูงกว่า 123.45 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2552 (และ Net Forward Position อีก 11.37 พันล้านดอลลาร์) คิดเป็นประมาณ 6.2 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และเท่ากับมูลค่าการนำเข้า 10.6 เดือน
ฐานะการคลัง : ไตรมาสสุดท้ายปีงบประมาณ 2552(ก.ค. — ก.ย. 52) รัฐบาลขาดดุลงบประมาณจำ นวน 121,607 ล้านบาท เทียบ กับเกินดุลงบประมาณ 655 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว โดยรัฐบาลจัดเก็บรายได้ส่งคลังจำนวน 381,555 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.8 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ของช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว โดยเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีเงินได้นิติบุคคล และอากรขา เข้าที่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเป็นสำคัญ ในด้านรายจ่ายรัฐบาลใช้จ่ายเงินงบประมาณจำนวน 503,162 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 จากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบัน 482,536 ล้านบาท และงบประมาณปีก่อน 20,626 ล้านบาท ส่งผล ให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 121,607 ล้านบาท และเมื่อรวมเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 122,068 ล้านบาทและการกู้เงินโดยการออกพันธบัตรและ ตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลและเพื่อการบริหารเงินคงคลัง 78,031 ล้านบาท ส่งผลให้เกินดุลเงินสด 78,492 ล้านบาท ทำ ให้รัฐบาลมีเงินคง คลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2552 จำนวน 293,835 ล้านบาท สูงกว่า 229,060 ล้านบาท ณ ต้นปีงบประมาณ
ปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.51 — ก.ย. 52) มีการเบิกจ่ายงบประมาณรวม 1,790,865 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 91.8 ของวงเงินงบ ประมาณ 1,951,700 ล้านบาท (รวมงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 จำนวน 116,700 ล้านบาท) ทั้งนี้ เป็นการเบิกจ่าย งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมฯ 94,777 ล้านบาท โครงการสำคัญ ๆ ที่มีการเบิกจ่าย ได้แก่ โครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี 19,009 ล้านบาท โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐ 17,918 ล้านบาท และโครงการ“5 มาตรการ 6 เดือน” เพื่อ ลดค่าครองชีพของประชาชน 11,295 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 19,139 ล้านบาทในส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2552 แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1,507,894 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95.9 ของงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง 1,571,865 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 282,971 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 74.5 ของงบลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง 379,836 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้วที่เบิกจ่าย ได้ร้อยละ 80.3
โครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (SP2)คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติทั้งหมด 1,296,021 ล้านบาท เป็นการลงทุน ระหว่างปี 2552-2555 สำหรับ ณ สิ้นเดือนกันยายนปี 2552 ได้มีการเบิกจ่ายงบให้กับกระทรวงการคลังในสาขาการลงทุนในระดับชุมชนภายใต้ โครงการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจประจำ ปีงบประมาณ 2553 จำนวน 14,500 ล้านบาท
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2552 มีจำนวน 4,001,942 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45.6 ของ GDP เพิ่มขึ้นเมื่อ เทียบกับ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ที่มียอดหนี้สาธารณะคงค้างร้อยละ 43.6 ของ GDP ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงและเป็นเงินกู้ใน ประเทศ
ภาวะการเงิน: สินเชื่อรวมทั้งระบบชะลอลง แต่โดยรวมผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ไทยดีขึ้น แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตรา ดอกเบี้ยในตลาดเงินอยู่ในระดับต่ำแต่สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังขยายตัวต่อเนื่องตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เงินฝากรวมยัง คงชะลอตัว การระดมทุนภาคเอกชนลดลงและสภาพคล่องส่วนเกินยังคงอยู่ในระดับสูง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นในขณะที่ดัชนีราคาตลาดตราสารหนี้ ปรับตัวลดลงตามการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทน (Yields) ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยทั้งไตรมาสยังอ่อน ค่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และดัชนีค่าเงินบาทอ่อนค่าลง
- ฐานเงินขยายตัวแต่ปริมาณเงินชะลอตัว ณ สิ้นไตรมาสที่สามฐานเงินขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 8.2 ในไตรมาสที่สองเป็นร้อย
- เงินฝากธนาคารพาณิชย์ชะลอตัวลง ในไตรมาสที่สามเงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 5.7 ในไตรมาสที่ผ่านมา
- สินเชื่อรวมของสถาบันรับฝากเงินชะลอตัวในขณะที่สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังขยายตัว สินเชื่อรวมของสถาบันรับฝากเงิน
- สภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคารพาณิชย์3 ยังอยู่ในระดับสูงสัดส่วนสินเชื่อ (ไม่รวมเงินให้กู้ยืมผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร) ต่อ
- อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงอยู่ในระดับเดิม ณ สิ้นไตรมาสที่สามคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่
ร้อยละ 1.25 ต่อปี จากดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สะท้อนภาพการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไปและอุปสงค์ในประเทศยังคงมีความเปราะ
บางอยู่ เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศผู้นำ ทางเศรษฐกิจและกลุ่มประเทศภูมิภาคที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมเพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจ แต่มีบางประเทศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ได้แก่ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจนขึ้นและ
มีแนวโน้มเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ทำให้บางประเทศเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อาทิ ประเทศออสเตรเลียได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 2 ครั้ง ในเดือน
ต.ค. และ พ.ย. รวมร้อยละ 0.50 ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี และประเทศนอร์เวย์ได้ปรับขึ้นร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี
การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยประเทศต่างๆ
ประเทศ 2551 2552 อัตราดอกเบี้ยต.ค.52 อัตราเงินเฟ้อ Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 ก.ย. 52 ไทย - - 0.50 1.00 1.25 0.25 - 1.25 0.38 (ต.ค.52) สหรัฐฯ 0.75 0.25 - 0.75 - - - 0.25 -1.29 ยุโรป - - 0.25 1.75 1.00 0.25 - 1.00 -0.33 จีน - - 0.27 1.89 - - - 5.31 -0.80 ญี่ปุ่น - - - 0.40 - - - 0.10 -2.24 ไต้หวัน 0.125 0.125 0.125 1.50 0.75 - - 1.25 -1.84 (ต.ค.52) มาเลเซีย - - - 0.25 1.25 - - 2.00 -2.01
ที่มา: รวบรวมโดย สศช.
- อัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลงเล็กน้อย ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ทรงตัว ณ สิ้นไตรมาสที่สามอัตราดอกเบี้ยเงิน
- สัดส่วน NPLs ต่อยอดสินเชื่อคงค้างในระบบสถาบันการเงินลดลง NPLs ในระบบสถาบันการเงินที่ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจและ
- ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ไทยดีขึ้น ในไตรมาสที่สามธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน 23.6 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก
- เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้าสุทธิ4 ในไตรมาสที่สามมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ 1,745 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่ไตรมาสก่อนหน้าไหลออก
สุทธิ 3,454 ดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นการไหลเข้าจากภาคธนาคาร 4,158 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากความต้องการลดความเสี่ยงในการถือครอง
สินทรัพย์ต่างประเทศเป็นสำ คัญ ในขณะที่เงินลงทุนในหลักทรัพย์ยังคงไหลออกอย่างต่อเนื่อง โดยการไหลออกในไตรมาสที่สามอยู่ที่ 2,825 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 3,863 ล้านดอลลาร์สรอ.ในไตรมาสที่แล้ว
ปริมาณเงินทุนเคลื่อนย้าย
(พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 2550 -------------- 2551 ------------- 2552 H1 H2 Year Q1 Q2 Q3 Q4 Year Q1 Q2 Q3 P9M เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ -1.61 -0.80 -2.98 13.16 -3.13 0.69 1.64 12.82 -2.69 -3.45 1.75 -4.37 เงินทุนจากภาครัฐ -1.81 -0.42 -2.16 0.44 -0.28 -0.5 -0.16 -0.5 -0.16 -0.04 0.64 0.52 เงินทุนจากภาคธนาคาร -6.66 5.54 0.37 6.12 -0.6 2.06 0.47 8.12 -2.17 0.18 4.16 2.16 เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 5.55 4.65 7.52 2.26 1.81 2.52 1.47 9.81 1.34 1.09 1.22 3.65 เงินลงทุนในหลักทรัพย์ 2.19 -7.91 -4.04 2.13 -4.67 -2.60 5.18 -2.19 0.5 -3.86 -2.83 -6.18 - เงินลงทุนในตราสารทุน 2.56 -0.47 2.3 0.24 -1.01 0.3 -0.47 -0.66 -0.01 -0.15 NA. NA. - เงินลงทุนในตราสารหนี้ -0.37 -7.45 -6.34 1.89 -3.60 -2.90 5.65 -1.53 0.52 -3.72 NA. NA.
ที่มา: ธปท.
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปลายไตรมาสแรกและต่อเนื่องจนถึงเดือน
- ดัชนีตลาดหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสำคัญ ในไตรมาสที่สามดัชนีราคา
- ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงตามการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทน (Yields) มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาด
(Outright) ในไตรมาสที่สามเฉลี่ยเท่ากับ 53.6 พันล้านบาทต่อวัน ลดลงจากเฉลี่ย 66.8 พันล้านบาทต่อวันในไตรมาสที่สอง และเฉลี่ย 74.8
นล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 19.1 พันล้านบาท จาก 11.7 พันล้านบาทในไตรมาสที่สอง จากการ
ออกพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นมากตามมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐและการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท ทำให้
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นมากในช่วงอายุระยะปานกลาง ระหว่าง 18-38 bps ส่งผลให้ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาล
(Government Bond Index) ปรับตัวลดลงจาก105.6 จุด ในไตรมาสสองมาอยู่ที่ 103.7 จุดในไตรมาสนี้ ในเดือนตุลาคม มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรก
รรมซื้อขายขาดเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 54.5 พันล้านบาท นักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิ 19.6 พันล้านบาท อัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ จากแนว
โน้มการออกพันธบัตรรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ
2550 ---------------- 2551 --------------- ----------- 2552 --------
ณ วันสิ้นงวด(พันล้านบาท) Q1 Q2 Q3 Q4 Year Q1 Q2 Q3 9M ตลาดหลักทรัพย์ 55.02 -13.89 -36.07 -74.78 -37.23 -162.34 -5.55 25.75 35.03 55.23 ตลาดตราสารหนี้ -40.27 29.08 26.48 8.78 4.04 68.38 -1.95 11.69 19.06 28.8
ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
- การระดมทุนของภาคเอกชนลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในไตรมาสที่สามปี 2552 การระดมทุนของภาคเอกชนมีมูลค่า
รวม 250.8 พันล้านบาท ลดลงจาก 308.8 พันล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้การระดมทุนในตราสารทุนลดลงจาก 9.1 พันล้านบาท
มาอยู่ที่ 4.8 พันล้านบาท ในขณะที่มีการออกหุ้นกู้ระยะสั้นลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จาก 265.7 พันล้านบาท เป็น 157.0 พันล้านบาท
แสดงถึงความต้องการเงินทุนหมุนเวียนลดลง แต่หุ้นกู้ระยะยาวเพิ่มขึ้นจาก 34.0 พันล้านบาท เป็น 89.1 พันล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่ดี
ขึ้นของภาคธุรกิจที่มีต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่เป็นการออกหุ้นกู้ในภาคการผลิต การขนส่ง การโรงแรมและการภัตตาคาร ซึ่งเป็นภาคที่
ธนาคารพาณิชย์ชะลอการปล่อยสินเชื่อ ในขณะที่ภาคการเงินมีการออกหุ้นกู้ลดลง เนื่องจากสภาพคล่องทางการเงินยังมีอยู่สูง
ความเคลื่อนไหวราคาน้ำมัน
- ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก: ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาสนี้ ราคาน้ำมันดิบในตลาด
โลกเฉลี่ย (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และ WTI) อยู่ที่ 68.3 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 40.8 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็น
ผลจากราคาน้ำมันดิบในไตรมาสที่สามปี2551 อยู่ในระดับสูงมาก ประกอบกับปริมาณความต้องการใช้น้ำมันดิบของโลกลดลงตามภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ราคาน้ำมันดิบ
(US$/Barrel)
OMAN DUBAI BRENT WTI เฉลี่ย
2550 ทั้งปี 68.75 68.83 72.60 72.64 70.70 2551 ทั้งปี 94.37 93.65 97.93 99.69 96.41 2552 Q1 44.60 44.27 45.43 43.07 44.34 Q2 59.01 58.95 59.67 59.64 59.32 Q3 68.19 67.88 68.85 68.36 68.32
ต.ค. 73.19 73.01 73.93 75.82 73.99
10 เดือน 58.86 58.63 59.58 58.90 58.99
1-10 พ.ย. 77.60 77.33 77.53 79.09 77.89
10 พ.ย. 77.56 77.33 77.50 79.05 77.86
ที่มา: รอยเตอร์
อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ต้นปีระดับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยระดับราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก เฉลี่ย 44.3 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ในไตรมาสแรก เป็น 59.3 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ในไตรมาสที่สอง เป็น 68.3 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ บาร์เรล ในไตรมาสที่สาม และเท่ากับ 74.0 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ในเดือนตุลาคม และล่าสุดเท่ากับ 77.9 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ในช่วง วันที่ 1-10 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของหลายภูมิภาค เช่น เอเชีย ยุโรป และอเมริกาเป็นต้น ทำ ให้ความต้อง การใช้น้ำ มันเพิ่มขึ้นตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ที่อ่อนค่าลงและนักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรในตลาดสินค้า โภคภัณฑ์มากขึ้น
- ราคาขายปลีกน้ำ มันภายในประเทศ: ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ในไตรมาสที่สามปี 2552 ราคาขายปลีกน้ำมันภายใน
ประเทศทุกประเภทต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันปีที่แล้ว ยกเว้นแก๊สโซฮอล์ 95 (E10) โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 ลดลงร้อยละ 0.5 ราคาน้ำมัน
เบนซิน 91 ลดลงร้อยละ 9.3 ราคาแก๊สโซฮอล์95 (E20) และแก๊สโซฮอล์ 91 ลดลงร้อยละ 5.3 และ 1.9 ตามลำดับ สำหรับราคาเฉลี่ยน้ำมัน
ดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 ลดลงร้อยละ 24.5 และ 28.8 ตามลำดับ ยกเว้นราคาแก๊สโซฮอล์ 95(E10) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ทั้งนี้
การที่ราคาขายปลีกน้ำ มันภายในประเทศลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วเนื่องมาจากราคาขายปลีกน้ำมันภายในประเทศของปีที่แล้วเพิ่ม
ขึ้นมากตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ
(บาท/ลิตร)
ปี ULG95 UGR91 ------Gasohol------ 95E10 95E20 91 HSD HSDB5 2550 ทั้งปี 29.18 28.32 26.17 - 25.62 25.66 24.95 2551 ทั้งปี 35.33 33.43 28.97 19.36 20.06 19.74 17.90 Q2 37.51 30.93 27.14 24.84 26.33 24.52 21.57 Q3 39.51 34.37 31.68 28.45 29.97 27.32 25.29
ต.ค. 39.95 34.12 30.52 28.22 29.72 26.70 25.30
10 เดือน 36.99 30.57 26.96 24.62 25.88 24.14 21.96
1-11 พ.ย. 41.34 35.34 31.74 29.44 30.94 28.19 26.79
11 พ.ย. 41.34 35.34 31.74 29.44 30.94 28.19 26.79
ที่มา: EPPO
อย่างไรก็ตามระดับราคาขายปลีกน้ำมันภายในประเทศปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี ตามระดับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่ม ขึ้น การสิ้นสุดมาตรการ “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน” การปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตเพื่อส่งเสริมการประหยัดพลังงานในเดือน กุมภาพันธ์5 และการขยายเพดานจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นจาก 5 บาทต่อลิตรเป็น 10 บาทต่อลิตรในเดือนพฤษภาคม6