เมือง ความสงบสุขในสังคม อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ กฎระเบียบทางด้านการเปิดเสรีและการแข่งขัน และการเลี่ยงภาษี
5.3 ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ อันดับไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 2548 (อันดับที่ 28) โดยปัจจัยที่เป็นจุดแข็งคือตลาดแรงงาน แม้ว่าจะมี
อันดับตกลง 1 อันดับ ส่วนปัจจัยที่มีอันดับดีขึ้นคือ ผลิตภาพและประสิทธิภาพ การเงิน และการบริหารจัดการ ปัจจัยที่มีอันดับลดลงคือ ทัศนคติและค่า
นิยม ซึ่งลดลงโดยตลอด
- ผลิตภาพและประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีอันดับดีขึ้น แต่ยังเป็นจุดอ่อน ผลิตภาพรวม (PPP) ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภาพในภาคเกษตรและ
บริการ และประสิทธิภาพของ SMEs แม้จะเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับต่ำมาก ยิ่งกว่านั้นผลิตภาพในภาคอุตสาหกรรมกลับลดลง อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพ
ของบริษัทขนาดใหญ่ และอัตราการขยายตัวที่แท้จริงของผลิตภาพรวมมีแนวโน้มดีขึ้น
- ตลาดแรงงาน แบ่งเป็นปัจจัยด้านต้นทุน สภาพการทำงาน และทักษะความชำนาญ ซึ่งด้านต้นทุน ไทยอยู่อันดับที่ดีทั้งในเรื่องระดับการชด
เชยให้แรงงานและค่าตอบแทนในอาชีพบริการและการบริหารที่ต่ำ ในส่วนของสภาพการทำงาน ชั่วโมงการทำงานที่ค่อนข้างสูงและกรณีพิพาทต่ำ
ทำให้ไทยอยู่ในอันดับที่ดี ส่วนปัจจัยด้านการอบรมพนักงาน สหภาพแรงงาน และแรงจูงใจของคนงานมีอันดับดีขึ้น สำหรับทักษะแรงงาน แม้ไทยจะมีจุด
แข็งที่แรงงานต่อประชากรอยู่ในอันดับสูง แต่แรงงานที่มีฝีมือยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ทักษะทางการเงินอยู่ในอันดับต่ำ อย่างไรก็ตามสภาพแวด
ล้อมทางธุรกิจดึงดูดแรงงานมีฝีมือจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ภาวะสมองไหลเป็นอุปสรรคให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลง ส่วนผู้บริหาร
ระดับสูงมีความสามารถและประสบการณ์ต่างประเทศสูงกว่าค่าเฉลี่ย
- การเงิน อันดับดีขึ้นจาก 46 เป็น 41 แบ่งเป็นประสิทธิภาพธนาคาร ประสิทธิภาพตลาดหลักทรัพย์ และการบริหารการเงิน ในส่วนของ
ประสิทธิภาพธนาคาร จุดอ่อน คือ ปัจจัยย่อยด้านความเสี่ยงในการลงทุนและจำนวนบัตรเครดิตและธุรกรรมที่ใช้บัตรเครดิต ซึ่งอยู่ในอันดับต่ำมาก
ปัจจัยที่มีอันดับดีขึ้น ได้แก่ กฎระเบียบของธนาคาร และการบริการทางการเงินที่ค่อนข้างสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ ทั้งนี้แม้ทรัพย์สินภาคการ
ธนาคารต่อ GDP จะมีอันดับดีขึ้น แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ปัจจัยที่มีอันดับลดลงค่อนข้างมาก ได้แก่ การร่วมทุน ส่วนประสิทธิภาพตลาดหลักทรัพย์ ปัจจัยย่อย
ที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ ความพอเพียงในการจัดหาทุนให้กับบริษัทของตลาดหลักทรัพย์ จำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ความโปร่งใสของสถาบัน
การเงิน สิทธิของผู้ถือหุ้น ทั้งนี้มูลค่าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แม้จะปรับตัวดีขึ้นแต่ยังห่างจากค่าเฉลี่ยอยู่มาก เช่นเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่อันดับ
53 ส่วนปัจจัยที่ปรับตัวลงและต่ำกว่าค่าเฉลี่ย คือ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดทั้งในมูลค่ารวมและสัดส่วนต่อ GDP สำหรับการบริหารการเงิน ความ
พอเพียงของเงินทุนหมุนเวียนและการมีหนี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการแข่งขันของบริษัท อยู่ในเกณฑ์ใช้ได้คือมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่
บริการแฟคตอริ่งต่อการส่งออกสินค้าอยู่ในอันดับต่ำมากที่ 53
- การบริหารจัดการ ปัจจัยที่ปรับตัวดีขึ้น คือ ความพึงพอใจของลูกค้า (อันดับ 4 ขึ้นจาก 16) ความน่าเชื่อถือของผู้บริหาร
ประสิทธิภาพการดำเนินงานทางการตลาด ภาวะความเป็นผู้ประกอบการของผู้บริหารในธุรกิจ แนวปฏิบัติทางบัญชีและการสอบบัญชี และการบริหาร
งานของคณะกรรมการบริษัท รวมถึงคุณค่าของผู้ถือหุ้นซึ่งแม้จะปรับตัวดีขึ้นแต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย ส่วนปัจจัยที่มีอันดับลดลงและต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อสังคม ประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม ประเด็นด้านจริยธรรม และความสามารถในการปรับตัวของ
บริษัทต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด
- ทัศนคติและค่านิยม ลดลง 4 อันดับ โดยปัจจัยที่เป็นจุดอ่อน คือ ความเข้าใจของประชาชนในสังคมถึงความจำเป็นในการปฏิรูป
เศรษฐกิจและสังคม ลดลงจากอันดับ 23 เป็น 36 ส่วนปัจจัยอื่นๆ อยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ วัฒนธรรมชาติเปิดรับแนวคิดต่างชาติ ทัศนคติต่อโลกาภิวัตน์
ภาพลักษณ์ของประเทศที่ส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจ ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวของประชาชนต่อความท้าทายใหม่ๆ ค่านิยมของสังคมซึ่ง
สนับสนุนความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งค่านิยมของบริษัทที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าของพนักงานซึ่งปรับตัวดีขึ้นมากจากอันดับ 33 มาอยู่ที่อันดับ 17
โดยสรุป ด้านประสิทธิภาพภาคธุรกิจ ประเทศไทยจะต้องปรับปรุงในประเด็นผลิตภาพ ทักษะ ความเสี่ยงในการลงทุน การร่วมทุน รวมทั้ง
ความรับผิดชอบของภาคธุรกิจต่อสังคม ในด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
5.4 โครงสร้างพื้นฐาน ลดจากอันดับ 47 เป็น 48 โดยปัจจัยย่อยที่มีอันดับเปลี่ยนแปลง คือ โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี (ลด
จาก 45 เป็น 48) และโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ (ขึ้นจาก 56 เป็น 53 )
โครงสร้างพื้นฐานขั้นต้น ปัจจัยย่อยที่เป็นจุดอ่อน คือ เรื่องการบริโภคพลังงาน ความหนาแน่นของเครือข่ายถนนและรถไฟ การคมนาคมขน
ส่งทางน้ำ รวมถึงจำนวนพื้นที่เพาะปลูก ที่ลดลง (จากอันดับ 22 เป็น 26) ปัจจัยที่ได้อันดับดี คือ พื้นที่ ขนาดตลาด (จำนวนประชากร) อัตรา
การพึ่งพิงของประชากรอายุต่ำกว่า 15 และมากกว่า 64 ปี จำนวนผู้โดยสารที่เดินทางโดยเครื่องบิน ค่าไฟฟ้าสำหรับภาคอุตสาหกรรม การรักษาและ
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งมีการวางแผนและ มีงบประมาณอย่างเพียงพอ โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน คุณภาพการคมนาคมทางอากาศซึ่งส่งเสริมการ
พัฒนาธุรกิจ ความเป็นเมืองที่ไม่ได้ดูดทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปจนหมด (ขึ้นจาก 44 เป็น 31) ประสิทธิภาพในการกระจายโครงสร้างพื้นฐาน
(จาก 40 เป็น 32)
โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ปัจจัยเด่น คือ ต้นทุนการต่ออินเทอร์เน็ต ต้นทุนค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และการส่งออกสินค้า
ประเภทไฮเทค นอกจากนี้แล้วอยู่ในอันดับที่ต่ำและลดลงเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ การลงทุนในโทรคมนาคม ค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ จำนวนผู้มี
โทรศัพท์มือถือ เทคโนโลยีการสื่อสารตรงความต้องการของธุรกิจ จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จำนวน ผู้มีบรอดแบรนด์ ทักษะด้านไอที ความร่วมมือทาง
เทคโนโลยีระหว่างบริษัท การประยุกต์และพัฒนาเทคโนโลยีได้รับการสนับสนุนจากระบบกฎหมาย ทั้งนี้ปัจจัยที่มีการปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ จำนวนสาย
โทรศัพท์ สัดส่วนการใช้คอมพิวเตอร์ในโลก จำนวนคอมพิวเตอร์ต่อหัว การสนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี กฎระเบียบทางเทคโนโลยี
และการคำนึงถึงความปลอดภัยบนไซเบอร์ ในบริษัท อย่างไรก็ดียังมีอันดับต่ำและมีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งหมด
โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ แม้อันดับจะดีขึ้น แต่ยังอยู่ในอันดับต่ำมาก คือ 53 ปัจจัยที่ดีขึ้น คือ ความสนใจของเด็กต่อวิทยา
ศาสตร์ งานวิจัยพื้นฐาน จำนวนสิทธิบัตรที่มีการบังคับใช้ จำนวนบทความด้านวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียน สภาพแวดล้อม
ทางกฎหมายที่เอื้ออำนวยต่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และจำนวนนักวิจัยทั้งหมดจาก 24,500 คน เป็น 42,380 คน แม้ว่ายังต่ำจากค่าเฉลี่ยที่
120,350 อยู่มาก ขณะที่จุดอ่อนอยู่ที่การใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะในภาคเอกชน จำนวนนักวิจัย จำนวนสิทธิบัตรที่ให้แก่คนในประเทศ
จำนวนสิทธิบัตรที่ได้รับการคุ้มครองในต่างประเทศ ผลิตภาพของลิทธิบัตร และการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งหากไทยต้องการพัฒนาประเทศ
ไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องลงทุนในเรื่องการวิจัยและพัฒนามากขึ้น เพราะเป็นปัจจัยหลักที่จะนำไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย
นวัตกรรม
สุขภาพและสิ่งแวดล้อม อันดับรวมลดจาก 46 เป็น 48 โดยปัจจัยหลายตัวมีคะแนนและอันดับลดลง ได้แก่ สัดส่วนการใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้ง
หมดต่อ GDP สัดส่วนการใช้จ่ายด้านสุขภาพของภาครัฐต่อการใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมด โครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพเพื่อสนองความต้องการ
ของสังคม การปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์ ลำดับความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในองค์กร และกฎหมายสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความ
สามารถในการแข่งขันของบริษัทอยู่บ้าง นอกจากนี้ปัจจัยอีกหลายตัวซึ่งแม้มีจะมีค่าคงที่หรือเพิ่มขึ้นแต่ยังเป็นจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุง ได้แก่ จำนวนคนไข้ต่อ
แพทย์และพยาบาล (อันดับ 57) อายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (อันดับ 53) อายุขัยเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี (อันดับ 50) ดัชนีการพัฒนาคน (อันดับ
50) ปัญหามลพิษ (อันดับ 45) และคุณภาพชีวิต (อันดับ 36) โดยจุดแข็งของไทยอยู่ที่รอยเท้าทางนิเวศ (Ecological Footprint: EF) ซึ่ง
เป็นเครื่องมือวัดปริมาณการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ โดยไทยอยู่ในอันดับ 8 ทั้งนี้ปัจจัยเกี่ยวกับอัตราการรีไซเคิลกระดาษต่อการบริโภค และสัดส่วน
โรงงานบำบัดน้ำเสียต่อประชากรนั้น IMD ไม่มีข้อมูลของไทยที่จะนำไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่น
การศึกษา อันดับรวมลดจาก 46 เป็น 48 ปัจจัยที่เป็นจุดอ่อน ได้แก่ การใช้จ่ายภาครัฐด้านการศึกษาต่อ GDP (อันดับ 49) อัตราส่วน
นักเรียนต่อครูทั้งในระดับประถมศึกษา (อันดับ 44) และระดับมัธยมศึกษา (อันดับ 53) อัตราการเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษา (อันดับ 49) ทักษะ
ด้านภาษา (ลงจาก 35 เป็น 47 ) จำนวนวิศวกร (อันดับ 46) และอัตราการอ่านออกเขียนได้ (อันดับ 46) นอกจากนี้การศึกษาด้านการเงิน
ความรู้ด้านเศรษฐกิจของประชาชน ระบบการศึกษาโดยรวมต่อ การตอบสนองความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ ยังมีอันดับลดลง
และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ส่วนปัจจัยที่มีอันดับดีขึ้น ได้แก่ อัตราการสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา การศึกษา ในระดับมหาวิทยาลัยต่อการตอบสนอง
ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ และการถ่ายทอดความรู้ระหว่างภาคเอกชนกับมหาวิทยาลัย ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเช่นเดียวกัน
โดยสรุป ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทยจะต้องปรับปรุงในประเด็นการบริโภคพลังงาน ความพอเพียงของถนนและรถไฟ การ
ลงทุน จำนวนผู้ใช้ ทักษะ และกฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร งบประมาณและบุคลากรในด้านวิจัยและพัฒนา สิทธิบัตรและ
ทรัพย์สินทางปัญญา ค่าใช้จ่ายและบุคลากรทางการแพทย์ ปัญหามลพิษ กฎหมายสิ่งแวดล้อม การรีไซเคิลและบำบัดน้ำเสีย ดัชนีการพัฒนาคน, อัตรา
การเข้าเรียน ทักษะ ระบบการศึกษา และ การถ่ายทอดความรู้ระหว่างภาคเอกชนกับมหาวิทยาลัย
ตารางที่ 5 สรุปจุดเด่นและจุดด้อยของปัจจัยหลัก 4 ปัจจัย
สมรรถนะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของภาครัฐ
* จุดเด่น * จุดเด่น
- อัตราการว่างงาน (1) - อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (3)
- การว่างงานในกลุ่มผู้มีอายุต่ำกว่า 25 ปี (1) - เสถียรภาพด้านอัตราแลกเปลี่ยน (4)
- การจ้างงาน (5) - อัตราภาษีบุคคลธรรมดาต่อ GDP ต่อหัว (7)
- ค่าครองชีพ (7) - รายได้ภาษีทั้งหมดที่จัดเก็บต่อ GDP (10)
- รายรับจากการท่องเที่ยว ต่อ GDP (7) - อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่แท้จริง (12)
* จุดด้อย * จุดด้อย
- การลงทุนในหลักทรัพย์ (ทรัพย์สิน) (58) - การเข้าถือครองธุรกิจในประเทศของนักลงทุน
- GDP ต่อหัว $US (54) ต่างประเทศ ยังไม่เปิดเสรี (56) ผลสำรวจ
- GDP (PPP) ต่อหัว $US (51) - การควบคุมราคา (55) ผลสำรวจ
- การลงทุนในหลักทรัพย์ (หนี้สิน) (50) - ความโปร่งใสของนโยบายรัฐ (52) ผลสำรวจ
- การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ $US (48) - กฎระเบียบการแข่งขัน (50) ผลสำรวจ
- ความไม่มั่นคงทางการเมือง (50) ผลสำรวจ
ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐาน
* จุดเด่น * จุดเด่น
- ความพอใจของผู้บริโภค (4) ข้อมูลสำรวจ - ต้นทุนด้านการต่ออินเทอร์เน็ต (2)
- อัตราเพิ่มกำลังแรงงาน (7) - ต้นทุนค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (8)
- ผลตอบแทนด้านรายได้ของภาคอุตสาหกรรม (8) - สินค้าส่งออกประเภทไฮเทค (10)
- การจ่ายค่าตอบแทนในภาคบริการ (8) - อัตราส่วนการพึ่งพิงของเด็กและผู้สูงอายุ (13)
- ชั่วโมงทำงาน (9) - ความสนใจวิทยาศาสตร์ในเยาวชน (24) ผลสำรวจ
* จุดด้อย * จุดด้อย
- ผลิตภาพแรงงานรวม (PPP) (56) - ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข ต่อ GDP (59)
- อัตราเพิ่มดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (53) - ค่าใช้จ่ายด้าน R&D ต่อ GDP (58)
- ความเสี่ยงในการลงทุน (47) - จำนวนคนไข้ในต่อแพทย์และพยาบาล (57)
- มาตรฐานของธุรกิจ SME (47) ผลสำรวจ - ค่าใช้จ่ายด้าน R&D ในภาคธุรกิจ ต่อ GDP (55)
- ทักษะทางการเงิน (47) ผลสำรวจ - จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (53)
หมายเหตุ : ลำดับการจัดจุดเด่นและจุดด้อยแต่ละปัจจัย คำนวณจากส่วนต่างสูงที่สุดจากค่าเฉลี่ยของ 61 กลุ่มเศรษฐกิจ
ตารางที่ 6 สรุปปัจจัยเด่น 30 ปัจจัยที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นและลดลงมาก
ปัจจัยที่ปรับตัวดีขึ้น ปี 2548 ปี 2549
1. การไหลของการลงทุนโดยตรงในประเทศ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 1.41 3.53
2. การไหลของการลงทุนโดยตรงในประเทศ (สัดส่วนต่อ GDP) 0.88 2.00
3. การไหลของการลงทุนโดยตรงไปต่างประเทศ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 0.13 0.24
4. การไหลของการลงทุนโดยตรงไปต่างประเทศ (สัดส่วนต่อ GDP) 0.08 0.14
5. จำนวนสิทธิบัตรที่มีการบังคับใช้ (ต่อประชากร 100,000 คน) 2.00 3.00
6. หนี้ต่างประเทศของรัฐบาลกลาง (สัดส่วนต่อ GDP) 5.12 3.59
7. อัตราการสำเร็จการศึกษาขั้นสูง (สัดส่วนประชากรที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้นไป) 14.0 18.0
8. งบประมาณรัฐ (เกินดุล/ขาดดุล) (สัดส่วนต่อ GDP) 1.22 1.5
9. การส่งออกการบริการเชิงพาณิชย์ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 15.69 18.93
10. ความเป็นเมือง - ไม่ได้ดูดทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปจนหมด (ผลสำรวจ) 4.6 5.49
11. การฝึกอบรมพนักงาน - เป็นลำดับความสำคัญในองค์กร (ผลสำรวจ) 5.37 6.3
12. คอมพิวเตอร์ต่อหัว (จำนวนคอมพิวเตอร์ต่อประชากร 1000 คน) 57 66
13. การสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน (ผลสำรวจ) 4.21 4.84
14. ค่านิยมองค์กร -- คำนึงถึงคุณค่าของพนักงาน (ผลสำรวจ) 5.89 6.75
15. ความน่าเชื่อถือของผู้บริหารในภาคธุรกิจ (ผลสำรวจ) 5.83 6.63
ปัจจัยที่ปรับตัวลดลง ปี 2548 ปี 2549
1. ทรัพย์สินของการลงทุนในหลักทรัพย์ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 0.94 -1.21
2. ดุลบัญชีเดินสะพัด (สัดส่วนต่อ GDP) 4.25 -2.11
3. หนี้สินของการลงทุนในหลักทรัพย์ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 0.85 0.24
4. อัตราเงินเฟ้อของราคาผู้บริโภค (ค่าเฉลี่ยต่อปี) 2.8 4.5
5. อัตราการขยายตัวของ GDP ที่แท้จริงต่อหัว 5.25 2.22
6. ความไม่มั่นคงทางการเมือง -- ความเสี่ยงต่ำ (ผลสำรวจ) 8.00 5.03
7. ความโปร่งใสของภาครัฐ -- น่าพอใจ (ผลสำรวจ) 4.68 3.13
8. การอุดหนุนจากภาครัฐให้กับบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ (สัดส่วนต่อ GDP) 0.78 1.04
9. การติดสินบนและคอร์รัปชั่น -- ไม่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ (ผลสำรวจ) 2.69 1.88
10. การตัดสินใจของรัฐ -- ดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล (ผลสำรวจ) 6.66 4.78
11. อัตราการขยายตัวของ GDP ที่แท้จริง 6.2 4.5
12. การบริการภาครัฐ -- เป็นอิสระจากการแทรกแซงทางการเมือง (ผลสำรวจ) 3.83 2.91
13. พรรคการเมือง -- เข้าใจความท้าทายทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน (ผลสำรวจ) 6.79 5.16
14. ทิศทางการดำเนินนโยบายของรัฐบาล --สม่ำเสมอ (ผลสำรวจ) 6.79 5.33
15. การควบคุมราคา--ไม่กระทบกับการตั้งราคาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ (ผลสำรวจ) 6.17 5.10
6. ตัวชี้วัดที่ทำให้อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลง
ตัวชี้วัด หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ
1. สมรรถนะทางเศรษฐกิจ
- การลงทุนในหลักทรัพย์ (ทรัพย์สิน) (58) - กระทรวงการคลัง
- GDP ต่อหัว $US (54)
- GDP (PPP) ต่อหัว $US (51)
- การลงทุนในหลักทรัพย์ (หนี้สิน) (50) - กระทรวงการคลัง
- การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ $US (48) - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
2. ประสิทธิภาพของภาครัฐ
- การเข้าถือครองธุรกิจในประเทศของนักลงทุน - กระทรวงพาณิชย์
ต่างประเทศ ยังไม่เปิดเสรี (56) ผลสำรวจ
- การควบคุมราคา (55) ผลสำรวจ - กระทรวงพาณิชย์
- ความโปร่งใสของนโยบายรัฐ (52) ผลสำรวจ
- กฎระเบียบการแข่งขัน (50) ผลสำรวจ - กระทรวงพาณิชย์
- ความไม่มั่นคงทางการเมือง (50) ผลสำรวจ
3. ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ
- ผลิตภาพแรงงานรวม (PPP) (56) - กระทรวงแรงงาน,กระทรวงอุตสาหกรรม
- อัตราเพิ่มดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (53) - ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ความเสี่ยงในการลงทุน (47) - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- มาตรฐานของธุรกิจ SME (47) ผลสำรวจ - สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และ
ขนาดย่อม
- ทักษะทางการเงิน (47) ผลสำรวจ - กระทรวงการคลัง
4. โครงสร้างพื้นฐาน
- ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข ต่อ GDP (59) - กระทรวงสาธารณสุข
- ค่าใช้จ่ายด้าน R&D ต่อ GDP (58) - กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- จำนวนคนไข้ในต่อแพทย์และพยาบาล (57) - กระทรวงสาธารณสุข
- ค่าใช้จ่ายด้าน R&D ในภาคธุรกิจ ต่อ GDP (55) - กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (53) - กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ
7. ข้อวิเคราะห์
7.1 อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยที่ลดลงหลายอันดับในปีนี้ นอกจากปัญหาราคาน้ำมันที่ทำให้ระดับราคาและค่าครอง
ชีพสูงขึ้นตามไปด้วยแล้ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศไทยยังไม่สามารถแก้จุดอ่อนที่สะสมมานานได้ เช่น ผลิตภาพ ทักษะ และการวิจัยและพัฒนาอยู่ใน
ระดับต่ำ การนำเข้าสินค้าทุนที่มีมูลค่าสูง และโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่ยืดหยุ่น ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนเช่นโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น
และประสิทธิภาพภาครัฐมีอันดับลดลงเพราะปัญหาทางการเมือง ซึ่งหากประเทศไทยยังไม่เร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว ความสามารถ ในการแข่งขันของ
ไทยไม่เพียงลดลงแต่จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมในประเทศโดยรวม เพราะความสามารถในการแข่งขันหมายรวมถึงการกระจายผลประโยชน์
จากการพัฒนาหรือความมั่งคั่ง สู่ประชาชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้วย
7.2 นอกจากจุดอ่อนภายในประเทศแล้ว ไทยยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก เช่น การขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ
ความต้องวัตถุดิบจำนวนมากของอินเดียและจีนซึ่งจะส่งผลให้ราคาวัตถุดิบ สินค้า และพลังงานสูงขึ้น แรงงานฝีมือค่าจ้างถูกจากต่างประเทศ และการ
เกิดขึ้นของตลาดใหม่ๆ ในเอเชีย รัสเซีย และประเทศในแถบละตินอเมริกา รวมถึงแอฟริกา ซึ่งเป็นทั้งคู่แข่งและ คู่ค้า
7.3 ประเทศไทยจะต้องเผชิญความท้าทายอันได้แก่ การปฏิรูปโครงสร้างการส่งออกและนำเข้า การพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน
ของอุตสาหกรรม การพัฒนาคุณภาพแรงงานให้ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด การปรับปรุงประสิทธิภาพ การใช้
พลังงานเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงาน และการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ เพื่อรักษาและพัฒนาอันดับความสามารถในการแข่งขันของ
ไทย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะเร่งปรับตัว เพื่อมิให้ปัญหาฝังรากลึกและส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ทั้งนี้ การรักษาหรือพัฒนา
อันดับความสามารถในการแข่งขัน มีปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญหลายประการ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของประเทศไทยมาโดยตลอด ได้แก่ สภาพแวดล้อมทาง
กฎหมาย การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนในการศึกษา และผลิตภาพแรงงาน
7.4 รายงานของ IMD สรุปว่าการมีทัศนคติที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งต้องตั้งอยู่บนรากฐานของความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญและจำ
เป็นของความสามารถในการแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเศรษฐกิจโลกมีความเชื่อมโยงกันสูง ดังนั้นการปรับตัว (Adjustment) ต้องได้รับการดำเนิน
การอย่างต่อเนื่อง โดยความสามารถในการแข่งขันมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การยกระดับการพัฒนาที่มุ่งสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชากรส่วนใหญ่ใน
ประเทศ
7.5 กระบวนการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต้องการการกำหนดทิศทางเชิงยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อน ผ่านแผน
งาน/โครงการ/มาตรการ โดยมีกระบวนการการตัดสินใจที่ตั้งอยู่บนระบบข้อมูลที่สมบูรณ์และทันสมัย สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และ
ประชาชนในวงกว้าง
7.6 การจัดให้มีระบบข้อมูลที่จำเป็นเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ รวมทั้งส่งเสริมให้มี การเชื่อมโยงระบบข้อมูลที่จัดทำโดยส่วน
ต่างๆ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงเพื่อการใช้ประโยชน์ และลดความซ้ำซ้อนที่ไม่จำเป็น
8. ข้อเสนอแนะ: ประเด็นเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของไทย ในระยะต่อไป (Policy Implication)
สศช. ในฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนาและยุทธศาสตร์ของชาติ ให้ความสำคัญต่อการจัดให้มีระบบข้อมูลที่จำเป็น
โดยข้อมูลจาก IMD นี้เป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของ สศช. ในการวิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศ อย่างไรก็ดี การรักษาหรือพัฒนาอันดับความสามารถในการแข่งขัน มีปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญหลายประการ ดังนี้
8.1 สมรรถนะทางเศรษฐกิจ
ควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการออมเพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศและลด การพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งการสร้าง
สมดุลระหว่างตลาดเงินและตลาดทุน ให้เหมาะสมกับความต้องการใช้ทุนที่แตกต่างกัน โดยการจัดสรรทุนควรให้เกิดความสมดุลระหว่างภาคการผลิต
ต่างๆ ทั้งนี้ควรพัฒนาเสถียรภาพตลาดทุนโดยส่งเสริมนักลงทุนที่มีคุณค่า (Valued investors) เพื่อให้ตลาดทุนเป็นที่สำหรับการระดมทุนอย่างแท้จริง
พัฒนาระบบการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพและ การบังคับใช้มาตรฐานทางการเงินระดับโลก และพัฒนาตราสารหนี้ ตราสารทุนใหม่ๆ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
8.2 ประสิทธิภาพของภาครัฐ
8.2.1 เร่งสร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภาครัฐ โดยปรับปรุงกลไกบริหารจัดการ เพื่อสร้าง
ความต่อเนื่องและชัดเจนของนโยบายและการปฏิบัติตั้งแต่ระดับส่วนกลางจนถึงท้องถิ่น พร้อมทั้งพัฒนาขีดความสามารถของภาครัฐในทุกระดับเพื่อการ
อำนวย ความสะดวกในการดำเนินงานของภาคเอกชน การบริการแก่ประชาชน และการบริหารจัดการภายในอย่างมีประสิทธิภาพ
8.2.2 ควรร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีทางธุรกิจ เช่น ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ และ
การพัฒนาทักษะแรงงาน เป็นต้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวง
(ยังมีต่อ)
5.3 ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ อันดับไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 2548 (อันดับที่ 28) โดยปัจจัยที่เป็นจุดแข็งคือตลาดแรงงาน แม้ว่าจะมี
อันดับตกลง 1 อันดับ ส่วนปัจจัยที่มีอันดับดีขึ้นคือ ผลิตภาพและประสิทธิภาพ การเงิน และการบริหารจัดการ ปัจจัยที่มีอันดับลดลงคือ ทัศนคติและค่า
นิยม ซึ่งลดลงโดยตลอด
- ผลิตภาพและประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีอันดับดีขึ้น แต่ยังเป็นจุดอ่อน ผลิตภาพรวม (PPP) ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภาพในภาคเกษตรและ
บริการ และประสิทธิภาพของ SMEs แม้จะเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับต่ำมาก ยิ่งกว่านั้นผลิตภาพในภาคอุตสาหกรรมกลับลดลง อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพ
ของบริษัทขนาดใหญ่ และอัตราการขยายตัวที่แท้จริงของผลิตภาพรวมมีแนวโน้มดีขึ้น
- ตลาดแรงงาน แบ่งเป็นปัจจัยด้านต้นทุน สภาพการทำงาน และทักษะความชำนาญ ซึ่งด้านต้นทุน ไทยอยู่อันดับที่ดีทั้งในเรื่องระดับการชด
เชยให้แรงงานและค่าตอบแทนในอาชีพบริการและการบริหารที่ต่ำ ในส่วนของสภาพการทำงาน ชั่วโมงการทำงานที่ค่อนข้างสูงและกรณีพิพาทต่ำ
ทำให้ไทยอยู่ในอันดับที่ดี ส่วนปัจจัยด้านการอบรมพนักงาน สหภาพแรงงาน และแรงจูงใจของคนงานมีอันดับดีขึ้น สำหรับทักษะแรงงาน แม้ไทยจะมีจุด
แข็งที่แรงงานต่อประชากรอยู่ในอันดับสูง แต่แรงงานที่มีฝีมือยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ทักษะทางการเงินอยู่ในอันดับต่ำ อย่างไรก็ตามสภาพแวด
ล้อมทางธุรกิจดึงดูดแรงงานมีฝีมือจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ภาวะสมองไหลเป็นอุปสรรคให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลง ส่วนผู้บริหาร
ระดับสูงมีความสามารถและประสบการณ์ต่างประเทศสูงกว่าค่าเฉลี่ย
- การเงิน อันดับดีขึ้นจาก 46 เป็น 41 แบ่งเป็นประสิทธิภาพธนาคาร ประสิทธิภาพตลาดหลักทรัพย์ และการบริหารการเงิน ในส่วนของ
ประสิทธิภาพธนาคาร จุดอ่อน คือ ปัจจัยย่อยด้านความเสี่ยงในการลงทุนและจำนวนบัตรเครดิตและธุรกรรมที่ใช้บัตรเครดิต ซึ่งอยู่ในอันดับต่ำมาก
ปัจจัยที่มีอันดับดีขึ้น ได้แก่ กฎระเบียบของธนาคาร และการบริการทางการเงินที่ค่อนข้างสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ ทั้งนี้แม้ทรัพย์สินภาคการ
ธนาคารต่อ GDP จะมีอันดับดีขึ้น แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ปัจจัยที่มีอันดับลดลงค่อนข้างมาก ได้แก่ การร่วมทุน ส่วนประสิทธิภาพตลาดหลักทรัพย์ ปัจจัยย่อย
ที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ ความพอเพียงในการจัดหาทุนให้กับบริษัทของตลาดหลักทรัพย์ จำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ความโปร่งใสของสถาบัน
การเงิน สิทธิของผู้ถือหุ้น ทั้งนี้มูลค่าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แม้จะปรับตัวดีขึ้นแต่ยังห่างจากค่าเฉลี่ยอยู่มาก เช่นเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่อันดับ
53 ส่วนปัจจัยที่ปรับตัวลงและต่ำกว่าค่าเฉลี่ย คือ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดทั้งในมูลค่ารวมและสัดส่วนต่อ GDP สำหรับการบริหารการเงิน ความ
พอเพียงของเงินทุนหมุนเวียนและการมีหนี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการแข่งขันของบริษัท อยู่ในเกณฑ์ใช้ได้คือมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่
บริการแฟคตอริ่งต่อการส่งออกสินค้าอยู่ในอันดับต่ำมากที่ 53
- การบริหารจัดการ ปัจจัยที่ปรับตัวดีขึ้น คือ ความพึงพอใจของลูกค้า (อันดับ 4 ขึ้นจาก 16) ความน่าเชื่อถือของผู้บริหาร
ประสิทธิภาพการดำเนินงานทางการตลาด ภาวะความเป็นผู้ประกอบการของผู้บริหารในธุรกิจ แนวปฏิบัติทางบัญชีและการสอบบัญชี และการบริหาร
งานของคณะกรรมการบริษัท รวมถึงคุณค่าของผู้ถือหุ้นซึ่งแม้จะปรับตัวดีขึ้นแต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย ส่วนปัจจัยที่มีอันดับลดลงและต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อสังคม ประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม ประเด็นด้านจริยธรรม และความสามารถในการปรับตัวของ
บริษัทต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด
- ทัศนคติและค่านิยม ลดลง 4 อันดับ โดยปัจจัยที่เป็นจุดอ่อน คือ ความเข้าใจของประชาชนในสังคมถึงความจำเป็นในการปฏิรูป
เศรษฐกิจและสังคม ลดลงจากอันดับ 23 เป็น 36 ส่วนปัจจัยอื่นๆ อยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ วัฒนธรรมชาติเปิดรับแนวคิดต่างชาติ ทัศนคติต่อโลกาภิวัตน์
ภาพลักษณ์ของประเทศที่ส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจ ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวของประชาชนต่อความท้าทายใหม่ๆ ค่านิยมของสังคมซึ่ง
สนับสนุนความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งค่านิยมของบริษัทที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าของพนักงานซึ่งปรับตัวดีขึ้นมากจากอันดับ 33 มาอยู่ที่อันดับ 17
โดยสรุป ด้านประสิทธิภาพภาคธุรกิจ ประเทศไทยจะต้องปรับปรุงในประเด็นผลิตภาพ ทักษะ ความเสี่ยงในการลงทุน การร่วมทุน รวมทั้ง
ความรับผิดชอบของภาคธุรกิจต่อสังคม ในด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
5.4 โครงสร้างพื้นฐาน ลดจากอันดับ 47 เป็น 48 โดยปัจจัยย่อยที่มีอันดับเปลี่ยนแปลง คือ โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี (ลด
จาก 45 เป็น 48) และโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ (ขึ้นจาก 56 เป็น 53 )
โครงสร้างพื้นฐานขั้นต้น ปัจจัยย่อยที่เป็นจุดอ่อน คือ เรื่องการบริโภคพลังงาน ความหนาแน่นของเครือข่ายถนนและรถไฟ การคมนาคมขน
ส่งทางน้ำ รวมถึงจำนวนพื้นที่เพาะปลูก ที่ลดลง (จากอันดับ 22 เป็น 26) ปัจจัยที่ได้อันดับดี คือ พื้นที่ ขนาดตลาด (จำนวนประชากร) อัตรา
การพึ่งพิงของประชากรอายุต่ำกว่า 15 และมากกว่า 64 ปี จำนวนผู้โดยสารที่เดินทางโดยเครื่องบิน ค่าไฟฟ้าสำหรับภาคอุตสาหกรรม การรักษาและ
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งมีการวางแผนและ มีงบประมาณอย่างเพียงพอ โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน คุณภาพการคมนาคมทางอากาศซึ่งส่งเสริมการ
พัฒนาธุรกิจ ความเป็นเมืองที่ไม่ได้ดูดทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปจนหมด (ขึ้นจาก 44 เป็น 31) ประสิทธิภาพในการกระจายโครงสร้างพื้นฐาน
(จาก 40 เป็น 32)
โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ปัจจัยเด่น คือ ต้นทุนการต่ออินเทอร์เน็ต ต้นทุนค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และการส่งออกสินค้า
ประเภทไฮเทค นอกจากนี้แล้วอยู่ในอันดับที่ต่ำและลดลงเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ การลงทุนในโทรคมนาคม ค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ จำนวนผู้มี
โทรศัพท์มือถือ เทคโนโลยีการสื่อสารตรงความต้องการของธุรกิจ จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จำนวน ผู้มีบรอดแบรนด์ ทักษะด้านไอที ความร่วมมือทาง
เทคโนโลยีระหว่างบริษัท การประยุกต์และพัฒนาเทคโนโลยีได้รับการสนับสนุนจากระบบกฎหมาย ทั้งนี้ปัจจัยที่มีการปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ จำนวนสาย
โทรศัพท์ สัดส่วนการใช้คอมพิวเตอร์ในโลก จำนวนคอมพิวเตอร์ต่อหัว การสนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี กฎระเบียบทางเทคโนโลยี
และการคำนึงถึงความปลอดภัยบนไซเบอร์ ในบริษัท อย่างไรก็ดียังมีอันดับต่ำและมีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งหมด
โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ แม้อันดับจะดีขึ้น แต่ยังอยู่ในอันดับต่ำมาก คือ 53 ปัจจัยที่ดีขึ้น คือ ความสนใจของเด็กต่อวิทยา
ศาสตร์ งานวิจัยพื้นฐาน จำนวนสิทธิบัตรที่มีการบังคับใช้ จำนวนบทความด้านวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียน สภาพแวดล้อม
ทางกฎหมายที่เอื้ออำนวยต่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และจำนวนนักวิจัยทั้งหมดจาก 24,500 คน เป็น 42,380 คน แม้ว่ายังต่ำจากค่าเฉลี่ยที่
120,350 อยู่มาก ขณะที่จุดอ่อนอยู่ที่การใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะในภาคเอกชน จำนวนนักวิจัย จำนวนสิทธิบัตรที่ให้แก่คนในประเทศ
จำนวนสิทธิบัตรที่ได้รับการคุ้มครองในต่างประเทศ ผลิตภาพของลิทธิบัตร และการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งหากไทยต้องการพัฒนาประเทศ
ไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องลงทุนในเรื่องการวิจัยและพัฒนามากขึ้น เพราะเป็นปัจจัยหลักที่จะนำไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย
นวัตกรรม
สุขภาพและสิ่งแวดล้อม อันดับรวมลดจาก 46 เป็น 48 โดยปัจจัยหลายตัวมีคะแนนและอันดับลดลง ได้แก่ สัดส่วนการใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้ง
หมดต่อ GDP สัดส่วนการใช้จ่ายด้านสุขภาพของภาครัฐต่อการใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมด โครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพเพื่อสนองความต้องการ
ของสังคม การปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์ ลำดับความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในองค์กร และกฎหมายสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความ
สามารถในการแข่งขันของบริษัทอยู่บ้าง นอกจากนี้ปัจจัยอีกหลายตัวซึ่งแม้มีจะมีค่าคงที่หรือเพิ่มขึ้นแต่ยังเป็นจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุง ได้แก่ จำนวนคนไข้ต่อ
แพทย์และพยาบาล (อันดับ 57) อายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (อันดับ 53) อายุขัยเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี (อันดับ 50) ดัชนีการพัฒนาคน (อันดับ
50) ปัญหามลพิษ (อันดับ 45) และคุณภาพชีวิต (อันดับ 36) โดยจุดแข็งของไทยอยู่ที่รอยเท้าทางนิเวศ (Ecological Footprint: EF) ซึ่ง
เป็นเครื่องมือวัดปริมาณการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ โดยไทยอยู่ในอันดับ 8 ทั้งนี้ปัจจัยเกี่ยวกับอัตราการรีไซเคิลกระดาษต่อการบริโภค และสัดส่วน
โรงงานบำบัดน้ำเสียต่อประชากรนั้น IMD ไม่มีข้อมูลของไทยที่จะนำไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่น
การศึกษา อันดับรวมลดจาก 46 เป็น 48 ปัจจัยที่เป็นจุดอ่อน ได้แก่ การใช้จ่ายภาครัฐด้านการศึกษาต่อ GDP (อันดับ 49) อัตราส่วน
นักเรียนต่อครูทั้งในระดับประถมศึกษา (อันดับ 44) และระดับมัธยมศึกษา (อันดับ 53) อัตราการเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษา (อันดับ 49) ทักษะ
ด้านภาษา (ลงจาก 35 เป็น 47 ) จำนวนวิศวกร (อันดับ 46) และอัตราการอ่านออกเขียนได้ (อันดับ 46) นอกจากนี้การศึกษาด้านการเงิน
ความรู้ด้านเศรษฐกิจของประชาชน ระบบการศึกษาโดยรวมต่อ การตอบสนองความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ ยังมีอันดับลดลง
และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ส่วนปัจจัยที่มีอันดับดีขึ้น ได้แก่ อัตราการสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา การศึกษา ในระดับมหาวิทยาลัยต่อการตอบสนอง
ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ และการถ่ายทอดความรู้ระหว่างภาคเอกชนกับมหาวิทยาลัย ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเช่นเดียวกัน
โดยสรุป ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทยจะต้องปรับปรุงในประเด็นการบริโภคพลังงาน ความพอเพียงของถนนและรถไฟ การ
ลงทุน จำนวนผู้ใช้ ทักษะ และกฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร งบประมาณและบุคลากรในด้านวิจัยและพัฒนา สิทธิบัตรและ
ทรัพย์สินทางปัญญา ค่าใช้จ่ายและบุคลากรทางการแพทย์ ปัญหามลพิษ กฎหมายสิ่งแวดล้อม การรีไซเคิลและบำบัดน้ำเสีย ดัชนีการพัฒนาคน, อัตรา
การเข้าเรียน ทักษะ ระบบการศึกษา และ การถ่ายทอดความรู้ระหว่างภาคเอกชนกับมหาวิทยาลัย
ตารางที่ 5 สรุปจุดเด่นและจุดด้อยของปัจจัยหลัก 4 ปัจจัย
สมรรถนะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของภาครัฐ
* จุดเด่น * จุดเด่น
- อัตราการว่างงาน (1) - อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (3)
- การว่างงานในกลุ่มผู้มีอายุต่ำกว่า 25 ปี (1) - เสถียรภาพด้านอัตราแลกเปลี่ยน (4)
- การจ้างงาน (5) - อัตราภาษีบุคคลธรรมดาต่อ GDP ต่อหัว (7)
- ค่าครองชีพ (7) - รายได้ภาษีทั้งหมดที่จัดเก็บต่อ GDP (10)
- รายรับจากการท่องเที่ยว ต่อ GDP (7) - อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่แท้จริง (12)
* จุดด้อย * จุดด้อย
- การลงทุนในหลักทรัพย์ (ทรัพย์สิน) (58) - การเข้าถือครองธุรกิจในประเทศของนักลงทุน
- GDP ต่อหัว $US (54) ต่างประเทศ ยังไม่เปิดเสรี (56) ผลสำรวจ
- GDP (PPP) ต่อหัว $US (51) - การควบคุมราคา (55) ผลสำรวจ
- การลงทุนในหลักทรัพย์ (หนี้สิน) (50) - ความโปร่งใสของนโยบายรัฐ (52) ผลสำรวจ
- การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ $US (48) - กฎระเบียบการแข่งขัน (50) ผลสำรวจ
- ความไม่มั่นคงทางการเมือง (50) ผลสำรวจ
ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐาน
* จุดเด่น * จุดเด่น
- ความพอใจของผู้บริโภค (4) ข้อมูลสำรวจ - ต้นทุนด้านการต่ออินเทอร์เน็ต (2)
- อัตราเพิ่มกำลังแรงงาน (7) - ต้นทุนค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (8)
- ผลตอบแทนด้านรายได้ของภาคอุตสาหกรรม (8) - สินค้าส่งออกประเภทไฮเทค (10)
- การจ่ายค่าตอบแทนในภาคบริการ (8) - อัตราส่วนการพึ่งพิงของเด็กและผู้สูงอายุ (13)
- ชั่วโมงทำงาน (9) - ความสนใจวิทยาศาสตร์ในเยาวชน (24) ผลสำรวจ
* จุดด้อย * จุดด้อย
- ผลิตภาพแรงงานรวม (PPP) (56) - ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข ต่อ GDP (59)
- อัตราเพิ่มดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (53) - ค่าใช้จ่ายด้าน R&D ต่อ GDP (58)
- ความเสี่ยงในการลงทุน (47) - จำนวนคนไข้ในต่อแพทย์และพยาบาล (57)
- มาตรฐานของธุรกิจ SME (47) ผลสำรวจ - ค่าใช้จ่ายด้าน R&D ในภาคธุรกิจ ต่อ GDP (55)
- ทักษะทางการเงิน (47) ผลสำรวจ - จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (53)
หมายเหตุ : ลำดับการจัดจุดเด่นและจุดด้อยแต่ละปัจจัย คำนวณจากส่วนต่างสูงที่สุดจากค่าเฉลี่ยของ 61 กลุ่มเศรษฐกิจ
ตารางที่ 6 สรุปปัจจัยเด่น 30 ปัจจัยที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นและลดลงมาก
ปัจจัยที่ปรับตัวดีขึ้น ปี 2548 ปี 2549
1. การไหลของการลงทุนโดยตรงในประเทศ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 1.41 3.53
2. การไหลของการลงทุนโดยตรงในประเทศ (สัดส่วนต่อ GDP) 0.88 2.00
3. การไหลของการลงทุนโดยตรงไปต่างประเทศ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 0.13 0.24
4. การไหลของการลงทุนโดยตรงไปต่างประเทศ (สัดส่วนต่อ GDP) 0.08 0.14
5. จำนวนสิทธิบัตรที่มีการบังคับใช้ (ต่อประชากร 100,000 คน) 2.00 3.00
6. หนี้ต่างประเทศของรัฐบาลกลาง (สัดส่วนต่อ GDP) 5.12 3.59
7. อัตราการสำเร็จการศึกษาขั้นสูง (สัดส่วนประชากรที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้นไป) 14.0 18.0
8. งบประมาณรัฐ (เกินดุล/ขาดดุล) (สัดส่วนต่อ GDP) 1.22 1.5
9. การส่งออกการบริการเชิงพาณิชย์ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 15.69 18.93
10. ความเป็นเมือง - ไม่ได้ดูดทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปจนหมด (ผลสำรวจ) 4.6 5.49
11. การฝึกอบรมพนักงาน - เป็นลำดับความสำคัญในองค์กร (ผลสำรวจ) 5.37 6.3
12. คอมพิวเตอร์ต่อหัว (จำนวนคอมพิวเตอร์ต่อประชากร 1000 คน) 57 66
13. การสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน (ผลสำรวจ) 4.21 4.84
14. ค่านิยมองค์กร -- คำนึงถึงคุณค่าของพนักงาน (ผลสำรวจ) 5.89 6.75
15. ความน่าเชื่อถือของผู้บริหารในภาคธุรกิจ (ผลสำรวจ) 5.83 6.63
ปัจจัยที่ปรับตัวลดลง ปี 2548 ปี 2549
1. ทรัพย์สินของการลงทุนในหลักทรัพย์ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 0.94 -1.21
2. ดุลบัญชีเดินสะพัด (สัดส่วนต่อ GDP) 4.25 -2.11
3. หนี้สินของการลงทุนในหลักทรัพย์ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 0.85 0.24
4. อัตราเงินเฟ้อของราคาผู้บริโภค (ค่าเฉลี่ยต่อปี) 2.8 4.5
5. อัตราการขยายตัวของ GDP ที่แท้จริงต่อหัว 5.25 2.22
6. ความไม่มั่นคงทางการเมือง -- ความเสี่ยงต่ำ (ผลสำรวจ) 8.00 5.03
7. ความโปร่งใสของภาครัฐ -- น่าพอใจ (ผลสำรวจ) 4.68 3.13
8. การอุดหนุนจากภาครัฐให้กับบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ (สัดส่วนต่อ GDP) 0.78 1.04
9. การติดสินบนและคอร์รัปชั่น -- ไม่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ (ผลสำรวจ) 2.69 1.88
10. การตัดสินใจของรัฐ -- ดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล (ผลสำรวจ) 6.66 4.78
11. อัตราการขยายตัวของ GDP ที่แท้จริง 6.2 4.5
12. การบริการภาครัฐ -- เป็นอิสระจากการแทรกแซงทางการเมือง (ผลสำรวจ) 3.83 2.91
13. พรรคการเมือง -- เข้าใจความท้าทายทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน (ผลสำรวจ) 6.79 5.16
14. ทิศทางการดำเนินนโยบายของรัฐบาล --สม่ำเสมอ (ผลสำรวจ) 6.79 5.33
15. การควบคุมราคา--ไม่กระทบกับการตั้งราคาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ (ผลสำรวจ) 6.17 5.10
6. ตัวชี้วัดที่ทำให้อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลง
ตัวชี้วัด หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ
1. สมรรถนะทางเศรษฐกิจ
- การลงทุนในหลักทรัพย์ (ทรัพย์สิน) (58) - กระทรวงการคลัง
- GDP ต่อหัว $US (54)
- GDP (PPP) ต่อหัว $US (51)
- การลงทุนในหลักทรัพย์ (หนี้สิน) (50) - กระทรวงการคลัง
- การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ $US (48) - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
2. ประสิทธิภาพของภาครัฐ
- การเข้าถือครองธุรกิจในประเทศของนักลงทุน - กระทรวงพาณิชย์
ต่างประเทศ ยังไม่เปิดเสรี (56) ผลสำรวจ
- การควบคุมราคา (55) ผลสำรวจ - กระทรวงพาณิชย์
- ความโปร่งใสของนโยบายรัฐ (52) ผลสำรวจ
- กฎระเบียบการแข่งขัน (50) ผลสำรวจ - กระทรวงพาณิชย์
- ความไม่มั่นคงทางการเมือง (50) ผลสำรวจ
3. ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ
- ผลิตภาพแรงงานรวม (PPP) (56) - กระทรวงแรงงาน,กระทรวงอุตสาหกรรม
- อัตราเพิ่มดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (53) - ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ความเสี่ยงในการลงทุน (47) - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- มาตรฐานของธุรกิจ SME (47) ผลสำรวจ - สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และ
ขนาดย่อม
- ทักษะทางการเงิน (47) ผลสำรวจ - กระทรวงการคลัง
4. โครงสร้างพื้นฐาน
- ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข ต่อ GDP (59) - กระทรวงสาธารณสุข
- ค่าใช้จ่ายด้าน R&D ต่อ GDP (58) - กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- จำนวนคนไข้ในต่อแพทย์และพยาบาล (57) - กระทรวงสาธารณสุข
- ค่าใช้จ่ายด้าน R&D ในภาคธุรกิจ ต่อ GDP (55) - กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (53) - กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ
7. ข้อวิเคราะห์
7.1 อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยที่ลดลงหลายอันดับในปีนี้ นอกจากปัญหาราคาน้ำมันที่ทำให้ระดับราคาและค่าครอง
ชีพสูงขึ้นตามไปด้วยแล้ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศไทยยังไม่สามารถแก้จุดอ่อนที่สะสมมานานได้ เช่น ผลิตภาพ ทักษะ และการวิจัยและพัฒนาอยู่ใน
ระดับต่ำ การนำเข้าสินค้าทุนที่มีมูลค่าสูง และโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่ยืดหยุ่น ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนเช่นโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น
และประสิทธิภาพภาครัฐมีอันดับลดลงเพราะปัญหาทางการเมือง ซึ่งหากประเทศไทยยังไม่เร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว ความสามารถ ในการแข่งขันของ
ไทยไม่เพียงลดลงแต่จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมในประเทศโดยรวม เพราะความสามารถในการแข่งขันหมายรวมถึงการกระจายผลประโยชน์
จากการพัฒนาหรือความมั่งคั่ง สู่ประชาชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้วย
7.2 นอกจากจุดอ่อนภายในประเทศแล้ว ไทยยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก เช่น การขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ
ความต้องวัตถุดิบจำนวนมากของอินเดียและจีนซึ่งจะส่งผลให้ราคาวัตถุดิบ สินค้า และพลังงานสูงขึ้น แรงงานฝีมือค่าจ้างถูกจากต่างประเทศ และการ
เกิดขึ้นของตลาดใหม่ๆ ในเอเชีย รัสเซีย และประเทศในแถบละตินอเมริกา รวมถึงแอฟริกา ซึ่งเป็นทั้งคู่แข่งและ คู่ค้า
7.3 ประเทศไทยจะต้องเผชิญความท้าทายอันได้แก่ การปฏิรูปโครงสร้างการส่งออกและนำเข้า การพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน
ของอุตสาหกรรม การพัฒนาคุณภาพแรงงานให้ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด การปรับปรุงประสิทธิภาพ การใช้
พลังงานเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงาน และการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ เพื่อรักษาและพัฒนาอันดับความสามารถในการแข่งขันของ
ไทย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะเร่งปรับตัว เพื่อมิให้ปัญหาฝังรากลึกและส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ทั้งนี้ การรักษาหรือพัฒนา
อันดับความสามารถในการแข่งขัน มีปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญหลายประการ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของประเทศไทยมาโดยตลอด ได้แก่ สภาพแวดล้อมทาง
กฎหมาย การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนในการศึกษา และผลิตภาพแรงงาน
7.4 รายงานของ IMD สรุปว่าการมีทัศนคติที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งต้องตั้งอยู่บนรากฐานของความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญและจำ
เป็นของความสามารถในการแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเศรษฐกิจโลกมีความเชื่อมโยงกันสูง ดังนั้นการปรับตัว (Adjustment) ต้องได้รับการดำเนิน
การอย่างต่อเนื่อง โดยความสามารถในการแข่งขันมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การยกระดับการพัฒนาที่มุ่งสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชากรส่วนใหญ่ใน
ประเทศ
7.5 กระบวนการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต้องการการกำหนดทิศทางเชิงยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อน ผ่านแผน
งาน/โครงการ/มาตรการ โดยมีกระบวนการการตัดสินใจที่ตั้งอยู่บนระบบข้อมูลที่สมบูรณ์และทันสมัย สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และ
ประชาชนในวงกว้าง
7.6 การจัดให้มีระบบข้อมูลที่จำเป็นเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ รวมทั้งส่งเสริมให้มี การเชื่อมโยงระบบข้อมูลที่จัดทำโดยส่วน
ต่างๆ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงเพื่อการใช้ประโยชน์ และลดความซ้ำซ้อนที่ไม่จำเป็น
8. ข้อเสนอแนะ: ประเด็นเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของไทย ในระยะต่อไป (Policy Implication)
สศช. ในฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนาและยุทธศาสตร์ของชาติ ให้ความสำคัญต่อการจัดให้มีระบบข้อมูลที่จำเป็น
โดยข้อมูลจาก IMD นี้เป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของ สศช. ในการวิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศ อย่างไรก็ดี การรักษาหรือพัฒนาอันดับความสามารถในการแข่งขัน มีปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญหลายประการ ดังนี้
8.1 สมรรถนะทางเศรษฐกิจ
ควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการออมเพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศและลด การพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งการสร้าง
สมดุลระหว่างตลาดเงินและตลาดทุน ให้เหมาะสมกับความต้องการใช้ทุนที่แตกต่างกัน โดยการจัดสรรทุนควรให้เกิดความสมดุลระหว่างภาคการผลิต
ต่างๆ ทั้งนี้ควรพัฒนาเสถียรภาพตลาดทุนโดยส่งเสริมนักลงทุนที่มีคุณค่า (Valued investors) เพื่อให้ตลาดทุนเป็นที่สำหรับการระดมทุนอย่างแท้จริง
พัฒนาระบบการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพและ การบังคับใช้มาตรฐานทางการเงินระดับโลก และพัฒนาตราสารหนี้ ตราสารทุนใหม่ๆ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
8.2 ประสิทธิภาพของภาครัฐ
8.2.1 เร่งสร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภาครัฐ โดยปรับปรุงกลไกบริหารจัดการ เพื่อสร้าง
ความต่อเนื่องและชัดเจนของนโยบายและการปฏิบัติตั้งแต่ระดับส่วนกลางจนถึงท้องถิ่น พร้อมทั้งพัฒนาขีดความสามารถของภาครัฐในทุกระดับเพื่อการ
อำนวย ความสะดวกในการดำเนินงานของภาคเอกชน การบริการแก่ประชาชน และการบริหารจัดการภายในอย่างมีประสิทธิภาพ
8.2.2 ควรร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีทางธุรกิจ เช่น ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ และ
การพัฒนาทักษะแรงงาน เป็นต้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวง
(ยังมีต่อ)