แท็ก
การส่งออก
ภาครัฐมีภารกิจ หน้าที่ และความรับผิดชอบในการบริหารจัดการ การพัฒนาประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและความอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนของประชาชน กลยุทธ์ของการดำเนินการให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างมีเสถียรภาพโดยต่อเนื่อง ที่สำคัญประการหนึ่งคือ การส่งเสริมการส่งออกของประเทศ และสินค้าอาหารเป็นเป้าหมายที่ภาครัฐให้ความสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์การเป็น “ครัวของโลก”
โอกาสการส่งออกอาหารฮาลาลของประเทศไทย
ในปัจจุบันประชากรของโลกจำนวนประมาณมากกว่า 1,560 ล้านคน ใน 142 ประเทศ นับถือศาสนาอิสลาม ประชากรมุสลิมเหล่านี้ต้องการอาหารที่อนุญาตให้บริโภคได้ตามหลักการศาสนาอิสลามที่เรียกว่า “อาหารฮาลาล” ทำให้มูลค่าการตลาดอาหารฮาลาลโลกในปี 2549 มีจำนวนประมาณ 580,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ประเทศไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารไปยังประเทศมุสลิมได้เพียงประมาณปีละ 275 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น ดังนั้น ประเทศไทยจึงยังมีโอกาสอีกมากที่จะผลิตสินค้าอาหารฮาลาลส่งออกเช่นเดียวกันกับหลายประเทศที่มิได้เป็นประเทศมุสลิม
การที่ประเทศไทยมีจุดแข็งคือ มีศักยภาพในการผลิตอาหาร และมีโอกาสที่มีตลาดสินค้าอาหารสำหรับประชากรมุสลิมซึ่งมีขนาดที่ใหญ่มาก แต่ประเทศไทยก็มีจุดอ่อนจากการที่ไม่ใช่เป็นประเทศมุสลิม การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน การผลิต และส่งออกอาหารฮาลาล จึงจำเป็นจะต้องสร้างความเชื่อถือ และการยอมรับของผู้บริโภคที่เป็นประชาการมุสลิม ว่าอาหารที่ผลิตจากประเทศไทยเป็นอาหารฮาลาลซึ่งถูกต้องตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม และมาตรฐานสากล
ความเชื่อมั่นและมาตรฐาน คือเงื่อนไขของความสำเร็จ
การสร้างความเชื่อถือและการยอมรับของผู้บริโภคในต่างประเทศ ตลอดจนการคุ้มครองผู้บริโภคชาวไทยมุสลิมในประเทศ ทำให้มาตรฐานอาหารฮาลาล และการตรวจสอบรับรองคุณภาพจากองค์กรทางศาสนาเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดของความสำเร็จ ภาครัฐจึงได้ให้การสนับสนุนการมีมาตรฐานอาหารฮาลาลไทย และระบบการตรวจสอบรับรองของประเทศที่เป็นเอกภาพ ในการนี้ จึงได้ผลักดันและสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสนับสนุนให้ทำหน้าที่ในการดำเนินงานการรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาล ของประเทศไทย
สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล มีบทบาทและความรับผิดชอบที่สำคัญ คือ การพัฒนามาตรฐานการตรวจสอบ การออกใบรับรองอาหารฮาลาลของประเทศไทย เพื่อสร้างการยอมรับจากผู้ผลิต ผู้บริโภค สร้างโอกาสการส่งออกอาหารฮาลาลไปต่างประเทศ และคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งการที่สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลจะสามารถปฏิบัติภารกิจดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และคุณภาพนั้น ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขแห่งความสำเร็จ คือ นโยบายของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยที่จะต้องมอบอำนาจในการดำเนินการตรวจสอบรับรองคุณภาพอาหารฮาลาลที่ผลิต และส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศและอาหารที่นำเข้ามาจากผู้ผลิตในต่างประเทศ ให้กับสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล ไปพร้อมๆ กับการที่สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลจะต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถบริหารจัดการระบบการตรวจสอบรับรองคุณภาพมาตรฐานอาหารฮาลาลอย่างมืออาชีพ อันจะทำให้อาหารฮาลาลของประเทศไทยสามารถแข่งขันและเป็นที่ยอมรับของประชาชาติมุสลิม
แนวทางการดำเนินงานของสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล
สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล เป็นสถาบันฯที่อยู่ในช่วงของการเริ่มต้นการดำเนินงาน จึงยังไม่เป็นที่รู้จักของทุกภาคส่วน และองค์กรที่เกี่ยวข้องมากนัก ดังนั้น สถาบันฯ จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการในการสร้างความเข้าใจแก่คน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับอาหารฮาลาล ว่า “อาหารฮาลาลมิใช่เป็นเพียงอาหารมุสลิมหรือสำหรับชาวมุสลิมบริโภคเท่านั้น แต่เป็นอาหารที่บุคคลทั่วไปสามารถบริโภคได้” ซึ่งอาหารฮาลาลนั้นเป็นอาหารที่มีมาตรฐานสูงกว่าอาหารทั่วไป กล่าวคือ อาหารฮาลาลถูกผลิตขึ้นตามมาตรฐานอาหารสากลทั่วไป และมาตรฐานตามหลักการศาสนาอิสลาม พร้อมกันนี้สถาบันฯ ยังจะต้องสร้างการยอมรับจากสังคม และแสดงให้เห็นว่าสถาบันฯ สามารถทำหน้าที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจะทำสิ่งเหล่านี้ สถาบันฯ ต้องมีมาตรฐานอาหารฮาลาลเพียงมาตรฐานเดียวของประเทศไทย และสร้างความเป็นเอกภาพ และชักจูงให้ทุกหน่วยงานสร้างการยอมรับในมาตรฐาน
การสร้างระบบการยอมรับอย่างต่อเนื่องนั้น ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การรับรองมาตรฐานฮาลาลนั้น ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการตรวจสอบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตอาหารฮาลาลด้วยสายตานั้น อาจไม่สามารถกระทำได้ทั้งหมด ภาครัฐจึงได้ให้การสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล เพื่อให้ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ทำงานควบคู่ไปกับสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล ซึ่งเป็นการรับรองอาหารฮาลาล ควบคู่กับการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ เพื่อดูว่าผลิตภัณฑ์นั้นยังคงไว้ซึ่งคุณภาพตามมาตรฐานสากล และหลักการศาสนาอิสลาม อันจะนำไปสู่การยอมรับมาตรฐานอาหารฮาลาล ของประเทศไทยในตลาดอาหารฮาลาลโลกอย่างยั่งยืนต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
โอกาสการส่งออกอาหารฮาลาลของประเทศไทย
ในปัจจุบันประชากรของโลกจำนวนประมาณมากกว่า 1,560 ล้านคน ใน 142 ประเทศ นับถือศาสนาอิสลาม ประชากรมุสลิมเหล่านี้ต้องการอาหารที่อนุญาตให้บริโภคได้ตามหลักการศาสนาอิสลามที่เรียกว่า “อาหารฮาลาล” ทำให้มูลค่าการตลาดอาหารฮาลาลโลกในปี 2549 มีจำนวนประมาณ 580,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ประเทศไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารไปยังประเทศมุสลิมได้เพียงประมาณปีละ 275 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น ดังนั้น ประเทศไทยจึงยังมีโอกาสอีกมากที่จะผลิตสินค้าอาหารฮาลาลส่งออกเช่นเดียวกันกับหลายประเทศที่มิได้เป็นประเทศมุสลิม
การที่ประเทศไทยมีจุดแข็งคือ มีศักยภาพในการผลิตอาหาร และมีโอกาสที่มีตลาดสินค้าอาหารสำหรับประชากรมุสลิมซึ่งมีขนาดที่ใหญ่มาก แต่ประเทศไทยก็มีจุดอ่อนจากการที่ไม่ใช่เป็นประเทศมุสลิม การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน การผลิต และส่งออกอาหารฮาลาล จึงจำเป็นจะต้องสร้างความเชื่อถือ และการยอมรับของผู้บริโภคที่เป็นประชาการมุสลิม ว่าอาหารที่ผลิตจากประเทศไทยเป็นอาหารฮาลาลซึ่งถูกต้องตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม และมาตรฐานสากล
ความเชื่อมั่นและมาตรฐาน คือเงื่อนไขของความสำเร็จ
การสร้างความเชื่อถือและการยอมรับของผู้บริโภคในต่างประเทศ ตลอดจนการคุ้มครองผู้บริโภคชาวไทยมุสลิมในประเทศ ทำให้มาตรฐานอาหารฮาลาล และการตรวจสอบรับรองคุณภาพจากองค์กรทางศาสนาเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดของความสำเร็จ ภาครัฐจึงได้ให้การสนับสนุนการมีมาตรฐานอาหารฮาลาลไทย และระบบการตรวจสอบรับรองของประเทศที่เป็นเอกภาพ ในการนี้ จึงได้ผลักดันและสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสนับสนุนให้ทำหน้าที่ในการดำเนินงานการรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาล ของประเทศไทย
สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล มีบทบาทและความรับผิดชอบที่สำคัญ คือ การพัฒนามาตรฐานการตรวจสอบ การออกใบรับรองอาหารฮาลาลของประเทศไทย เพื่อสร้างการยอมรับจากผู้ผลิต ผู้บริโภค สร้างโอกาสการส่งออกอาหารฮาลาลไปต่างประเทศ และคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งการที่สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลจะสามารถปฏิบัติภารกิจดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และคุณภาพนั้น ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขแห่งความสำเร็จ คือ นโยบายของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยที่จะต้องมอบอำนาจในการดำเนินการตรวจสอบรับรองคุณภาพอาหารฮาลาลที่ผลิต และส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศและอาหารที่นำเข้ามาจากผู้ผลิตในต่างประเทศ ให้กับสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล ไปพร้อมๆ กับการที่สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลจะต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถบริหารจัดการระบบการตรวจสอบรับรองคุณภาพมาตรฐานอาหารฮาลาลอย่างมืออาชีพ อันจะทำให้อาหารฮาลาลของประเทศไทยสามารถแข่งขันและเป็นที่ยอมรับของประชาชาติมุสลิม
แนวทางการดำเนินงานของสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล
สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล เป็นสถาบันฯที่อยู่ในช่วงของการเริ่มต้นการดำเนินงาน จึงยังไม่เป็นที่รู้จักของทุกภาคส่วน และองค์กรที่เกี่ยวข้องมากนัก ดังนั้น สถาบันฯ จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการในการสร้างความเข้าใจแก่คน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับอาหารฮาลาล ว่า “อาหารฮาลาลมิใช่เป็นเพียงอาหารมุสลิมหรือสำหรับชาวมุสลิมบริโภคเท่านั้น แต่เป็นอาหารที่บุคคลทั่วไปสามารถบริโภคได้” ซึ่งอาหารฮาลาลนั้นเป็นอาหารที่มีมาตรฐานสูงกว่าอาหารทั่วไป กล่าวคือ อาหารฮาลาลถูกผลิตขึ้นตามมาตรฐานอาหารสากลทั่วไป และมาตรฐานตามหลักการศาสนาอิสลาม พร้อมกันนี้สถาบันฯ ยังจะต้องสร้างการยอมรับจากสังคม และแสดงให้เห็นว่าสถาบันฯ สามารถทำหน้าที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจะทำสิ่งเหล่านี้ สถาบันฯ ต้องมีมาตรฐานอาหารฮาลาลเพียงมาตรฐานเดียวของประเทศไทย และสร้างความเป็นเอกภาพ และชักจูงให้ทุกหน่วยงานสร้างการยอมรับในมาตรฐาน
การสร้างระบบการยอมรับอย่างต่อเนื่องนั้น ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การรับรองมาตรฐานฮาลาลนั้น ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการตรวจสอบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตอาหารฮาลาลด้วยสายตานั้น อาจไม่สามารถกระทำได้ทั้งหมด ภาครัฐจึงได้ให้การสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล เพื่อให้ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ทำงานควบคู่ไปกับสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล ซึ่งเป็นการรับรองอาหารฮาลาล ควบคู่กับการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ เพื่อดูว่าผลิตภัณฑ์นั้นยังคงไว้ซึ่งคุณภาพตามมาตรฐานสากล และหลักการศาสนาอิสลาม อันจะนำไปสู่การยอมรับมาตรฐานอาหารฮาลาล ของประเทศไทยในตลาดอาหารฮาลาลโลกอย่างยั่งยืนต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-