- อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.84375 - 4.875 และ 4.96875 - 5 ต่อปี ตามลำดับ ไม่
เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มสูงขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัวลด
ลง สำหรับ US Treasury Yield อายุต่ำกว่า 2 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วน yield ของพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 3 ปี ปรับตัวลดลง
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน จากการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้น และการเก็งกำไรค่า
เงินหยวน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาไม่ดี อย่างไรก็ตาม ค่าเงินในภูมิภาคและเงินบาทปรับอ่อนค่าลงในช่วง
กลางสัปดาห์ เนื่องจากความกังวลต่อข่าวการทดลองยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นเนื่องจาก
สภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน จึงปิดตลาดสูงขึ้นมา
อยู่ที่ร้อยละ 4.84375 - 4.875 และ 4.96875 - 5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 5 ต่อ
ปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงปลายสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์ทยอยนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการสำรองเงินเพื่อการ
ปิดสภาพคล่องรายปักษ์ในวันศุกร์มาลงทุนระยะสั้นเป็นระยะ โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงมา
อยู่ที่ร้อยละ 4.84375 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิม สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank
มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.6 -5.0 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้ามาร้อยละ 4.95 ต่อปี
ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 52,500 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 38,000
ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการประมูลตั๋วเงินคลังของสัปดาห์หน้า เนื่องจากในวันอังคารหน้าเป็นวันหยุดธนาคาร และยังมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ
20 ปี วงเงิน 2,500 ล้านบาท โดยเป็นการประมูลครั้งแรกของพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ครั้งที่ 6 ซึ่งเป็นพันธบัตรเพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูฯ วง
เงินรวมทั้งสิ้น 14,000 ล้านบาท ที่จะเปิดให้มีการประมูลในช่วงเดือน ก.ค. - ก.ย. 2549 นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน
วงเงิน 12,000 ล้านบาท โดยตั๋วเงินคลังอายุ 28 วันมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ส่วนตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน และพันธบัตร ธปท. มีอัตรา
ผลตอบแทนลดลง และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 21,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 31,500 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 144,768 ล้านบาท คิดเป็น 28,954 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 11 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 60 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตรา
ผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวลดลงมากในวันจันทร์ตามการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐในวันศุกร์ ก่อนที่จะปรับตัว
สูงขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เนื่องจากมีแรงขายพันธบัตรฯ เข้ามามากขึ้น ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ยก
เว้นอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 1 เดือน ที่ปรับเพิ่มขึ้น 9 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและ
หุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 11 และ 1 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นในต้นสัปดาห์ เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขทางเศรษฐกิจ อาทิ ยอดสั่งซื้อภาคโรง
งานที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คาด และต่อมาในปลายสัปดาห์อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าที่คาด
การณ์ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 2 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้น
ไป ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มิ.ย. 49 38.30
เฉลี่ย 26 - 30 มิ.ย. 49 38.36
3 ก.ค. 49 38.04
4 ก.ค. 49 37.84
5 ก.ค. 49 37.96
6 ก.ค. 49 38.20
7 ก.ค. 49 38.03
เฉลี่ย 3 - 7 ก.ค. 49 38.02
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.02 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.9 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงิน
บาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า และปรับแข็งค่าที่สุดตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2549 ที่ระดับ 37.84 บาทต่อ
ดอลลาร์ สรอ. ในวันอังคาร โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยน เนื่องจากมีเงินทุนระยะสั้นไหลเข้าสู่ภูมิภาค รวมถึง
ตลาดหลักทรัพย์ไทยที่นักลงทุนต่างชาติมีการซื้อสุทธิเป็นจำนวนมาก ประกอบกับนักลงทุนมีความต้องการซื้อเงินหยวนเพิ่มขึ้นเพื่อเก็งกำไร ในขณะที่เงิน
ดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วง
กลางสัปดาห์ ตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนหลังจากมีข่าวการทดลองยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศในภูมิภาค
เอเชียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ยังทำให้นักลงทุนมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยโดย
เปรียบเทียบ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกครั้งตามค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจากนักลงทุนเริ่มคลายความกังวลต่อข่าวเกาหลีเหนือ
ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากการปรับลดลงของดัชนีภาคบริการ ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่รอตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ซึ่งจะ
ประกาศในคืนวันศุกร์ที่ 7 ก.ค. โดยตัวเลขการจ้างงานในเดือนมิถุนายนออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยกดดันค่าเงิน
ดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์ต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มสูงขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัวลด
ลง สำหรับ US Treasury Yield อายุต่ำกว่า 2 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วน yield ของพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 3 ปี ปรับตัวลดลง
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน จากการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้น และการเก็งกำไรค่า
เงินหยวน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาไม่ดี อย่างไรก็ตาม ค่าเงินในภูมิภาคและเงินบาทปรับอ่อนค่าลงในช่วง
กลางสัปดาห์ เนื่องจากความกังวลต่อข่าวการทดลองยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นเนื่องจาก
สภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน จึงปิดตลาดสูงขึ้นมา
อยู่ที่ร้อยละ 4.84375 - 4.875 และ 4.96875 - 5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 5 ต่อ
ปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงปลายสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์ทยอยนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการสำรองเงินเพื่อการ
ปิดสภาพคล่องรายปักษ์ในวันศุกร์มาลงทุนระยะสั้นเป็นระยะ โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงมา
อยู่ที่ร้อยละ 4.84375 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิม สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank
มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.6 -5.0 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้ามาร้อยละ 4.95 ต่อปี
ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 52,500 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 38,000
ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการประมูลตั๋วเงินคลังของสัปดาห์หน้า เนื่องจากในวันอังคารหน้าเป็นวันหยุดธนาคาร และยังมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ
20 ปี วงเงิน 2,500 ล้านบาท โดยเป็นการประมูลครั้งแรกของพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ครั้งที่ 6 ซึ่งเป็นพันธบัตรเพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูฯ วง
เงินรวมทั้งสิ้น 14,000 ล้านบาท ที่จะเปิดให้มีการประมูลในช่วงเดือน ก.ค. - ก.ย. 2549 นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน
วงเงิน 12,000 ล้านบาท โดยตั๋วเงินคลังอายุ 28 วันมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ส่วนตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน และพันธบัตร ธปท. มีอัตรา
ผลตอบแทนลดลง และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 21,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 31,500 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 144,768 ล้านบาท คิดเป็น 28,954 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 11 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 60 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตรา
ผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวลดลงมากในวันจันทร์ตามการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐในวันศุกร์ ก่อนที่จะปรับตัว
สูงขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เนื่องจากมีแรงขายพันธบัตรฯ เข้ามามากขึ้น ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ยก
เว้นอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 1 เดือน ที่ปรับเพิ่มขึ้น 9 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและ
หุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 11 และ 1 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นในต้นสัปดาห์ เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขทางเศรษฐกิจ อาทิ ยอดสั่งซื้อภาคโรง
งานที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คาด และต่อมาในปลายสัปดาห์อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าที่คาด
การณ์ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 2 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้น
ไป ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มิ.ย. 49 38.30
เฉลี่ย 26 - 30 มิ.ย. 49 38.36
3 ก.ค. 49 38.04
4 ก.ค. 49 37.84
5 ก.ค. 49 37.96
6 ก.ค. 49 38.20
7 ก.ค. 49 38.03
เฉลี่ย 3 - 7 ก.ค. 49 38.02
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.02 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.9 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงิน
บาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า และปรับแข็งค่าที่สุดตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2549 ที่ระดับ 37.84 บาทต่อ
ดอลลาร์ สรอ. ในวันอังคาร โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยน เนื่องจากมีเงินทุนระยะสั้นไหลเข้าสู่ภูมิภาค รวมถึง
ตลาดหลักทรัพย์ไทยที่นักลงทุนต่างชาติมีการซื้อสุทธิเป็นจำนวนมาก ประกอบกับนักลงทุนมีความต้องการซื้อเงินหยวนเพิ่มขึ้นเพื่อเก็งกำไร ในขณะที่เงิน
ดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วง
กลางสัปดาห์ ตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนหลังจากมีข่าวการทดลองยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศในภูมิภาค
เอเชียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ยังทำให้นักลงทุนมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยโดย
เปรียบเทียบ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกครั้งตามค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจากนักลงทุนเริ่มคลายความกังวลต่อข่าวเกาหลีเหนือ
ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากการปรับลดลงของดัชนีภาคบริการ ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่รอตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ซึ่งจะ
ประกาศในคืนวันศุกร์ที่ 7 ก.ค. โดยตัวเลขการจ้างงานในเดือนมิถุนายนออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยกดดันค่าเงิน
ดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์ต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-