ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยผล การจัดเวทีระดมความคิดเห็นระดับภาคทั้ง 4 ภาค ในช่วงเดือนธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา โดยสะท้อนความต้องการของคนในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกภาคยอมรับความสำคัญของ 3 ทุน คือ ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนา รวมทั้งเห็นความสำคัญของ 5 บริบทของการเปลี่ยนแปลง อันจะเป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศ
เลขาธิการฯ กล่าวว่า นอกจากทุนทั้ง 3 ดังกล่าวที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศแล้ว ประเทศไทยจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วตามบริบทของการเปลี่ยนแปลงด้วย อาทิ การเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี การเคลื่อนย้ายคน และความรู้ต่าง ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก และประเทศไทยเป็นเพียงเรือลำเล็ก ๆ ที่ล่องลอยไปในกระแส ทำอย่างไรที่จะสร้างเรือของเราไม่ให้ถูกกระทบ หรือถูกเอาเปรียบได้ รวมถึงด้านสังคมที่เป็นอีกบริบทหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ นั่นคือ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ผลจากการสำรวจของ สศช. และจากหลาย ๆ สถาบันระบุว่า อัตราส่วนของผู้สูงอายุขณะนี้อยู่ที่ 9% ของประชากร โดยอีกไม่เกิน 10-15 ปี จะขยายไปถึง 16-16.5% ในขณะเดียวกันอัตราส่วนของวัยแรงงานตั้งแต่ 18-60 ปี จะลดน้อยลง ทำให้อัตราส่วนของผู้สูงอายุและวัยแรงงานไม่สมดุล ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหามากมายทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วย ดังนั้น ทำอย่างไรที่จะสร้างเยาวชนให้สามารถรองรับโครงสร้างทางสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น กระแสไอทีต่างๆ ที่เป็นกิเลสยั่วยุเยาวชนของประเทศ
เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดนอกจากกฎหมายและกฎระเบียบที่ยังต้องเร่งดูแลแล้ว จะทำอย่างไรให้พ่อแม่เริ่มทำความสะอาดบ้านตัวเอง เริ่มมีเวลาให้กับลูกมากขึ้น เริ่มที่จะเชื่อมโยงกับโรงเรียนในการที่จะพูดถึงสิ่งเหล่านี้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนของประเทศ ทำอย่างไรให้ยึดจริยธรรม ศีลธรรมต่าง ๆ ที่มีมากว่า 2548 ปี ให้อยู่ในหัวใจ ไม่ใช่อยู่ในกระดาษ
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การบริโภคของผู้บริโภคซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นทั้งโอกาสและวิกฤต เพราะไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ต่างประเทศมองว่ามีความเป็นไทย มีวัฒนธรรมโอบอ้อมอารี จึงเป็นโอกาสในการพัฒนาฐานเศรษฐกิจอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเป็นตลาดท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ
ด้วยเหตุนี้ สิ่งสำคัญของการจัดทำแผนฯ ที่จะไม่เปลี่ยนแปลงคือกระบวนการในการจัดทำแผนฯ โดยยังคงรับฟังและให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนฯ ยึด “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และที่สำคัญที่สุดคือ ยึดหลักแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดความสมดุลที่พอเพียงบนพื้นฐานของความรู้ที่ลึกซึ้ง ที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ และนำไปปฏิบัติ ซึ่งหากปฏิบัติแล้วสัมฤทธิ์ผลก็คือภูมิคุ้มกันในการที่จะช่วยทำให้เศรษฐกิจและสังคมของประเทศมีความเข้มแข็ง และทำให้ประชาชนในประเทศมีความสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เลขาธิการฯ กล่าวว่า นอกจากทุนทั้ง 3 ดังกล่าวที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศแล้ว ประเทศไทยจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วตามบริบทของการเปลี่ยนแปลงด้วย อาทิ การเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี การเคลื่อนย้ายคน และความรู้ต่าง ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก และประเทศไทยเป็นเพียงเรือลำเล็ก ๆ ที่ล่องลอยไปในกระแส ทำอย่างไรที่จะสร้างเรือของเราไม่ให้ถูกกระทบ หรือถูกเอาเปรียบได้ รวมถึงด้านสังคมที่เป็นอีกบริบทหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ นั่นคือ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ผลจากการสำรวจของ สศช. และจากหลาย ๆ สถาบันระบุว่า อัตราส่วนของผู้สูงอายุขณะนี้อยู่ที่ 9% ของประชากร โดยอีกไม่เกิน 10-15 ปี จะขยายไปถึง 16-16.5% ในขณะเดียวกันอัตราส่วนของวัยแรงงานตั้งแต่ 18-60 ปี จะลดน้อยลง ทำให้อัตราส่วนของผู้สูงอายุและวัยแรงงานไม่สมดุล ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหามากมายทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วย ดังนั้น ทำอย่างไรที่จะสร้างเยาวชนให้สามารถรองรับโครงสร้างทางสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น กระแสไอทีต่างๆ ที่เป็นกิเลสยั่วยุเยาวชนของประเทศ
เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดนอกจากกฎหมายและกฎระเบียบที่ยังต้องเร่งดูแลแล้ว จะทำอย่างไรให้พ่อแม่เริ่มทำความสะอาดบ้านตัวเอง เริ่มมีเวลาให้กับลูกมากขึ้น เริ่มที่จะเชื่อมโยงกับโรงเรียนในการที่จะพูดถึงสิ่งเหล่านี้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนของประเทศ ทำอย่างไรให้ยึดจริยธรรม ศีลธรรมต่าง ๆ ที่มีมากว่า 2548 ปี ให้อยู่ในหัวใจ ไม่ใช่อยู่ในกระดาษ
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การบริโภคของผู้บริโภคซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นทั้งโอกาสและวิกฤต เพราะไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ต่างประเทศมองว่ามีความเป็นไทย มีวัฒนธรรมโอบอ้อมอารี จึงเป็นโอกาสในการพัฒนาฐานเศรษฐกิจอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเป็นตลาดท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ
ด้วยเหตุนี้ สิ่งสำคัญของการจัดทำแผนฯ ที่จะไม่เปลี่ยนแปลงคือกระบวนการในการจัดทำแผนฯ โดยยังคงรับฟังและให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนฯ ยึด “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และที่สำคัญที่สุดคือ ยึดหลักแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดความสมดุลที่พอเพียงบนพื้นฐานของความรู้ที่ลึกซึ้ง ที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ และนำไปปฏิบัติ ซึ่งหากปฏิบัติแล้วสัมฤทธิ์ผลก็คือภูมิคุ้มกันในการที่จะช่วยทำให้เศรษฐกิจและสังคมของประเทศมีความเข้มแข็ง และทำให้ประชาชนในประเทศมีความสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-