- คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี เนื่องจากเห็นว่าอัตรา
ดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหมาะสมทั้งต่อเสถียรภาพและการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ ธปท. จะ
ต้องติดตามในระยะต่อไป
- สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ จากการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับรัฐบาลของธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้
อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลตลอด
สัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทย
ปรับตัวลดลง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ในกรอบที่แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการแข็งค่าของเงินสกุล
ภูมิภาคและเงินเยนตามค่าเงินหยวนที่ปรับแข็งค่าขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยการแทรกแซงค่าเงินบาทของ ธปท. และ
การขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 6 กันยายน ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 5.0 ต่อ
ปี โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหมาะสมภาวะเศรษฐกิจไทย ทั้งทางด้านเสถียรภาพและการขยายตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่า
อัตราเงินเฟ้อจะยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่คณะกรรมการฯ ยังให้ความสำคัญในระยะต่อไป โดยเฉพาะจากความไม่แน่นอนด้านราคาน้ำมัน ซึ่ง ธปท. จะมีการ
ติดตามภาวะดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากมีปัจจัยดูดสภาพคล่องจากการนำส่งภาษีเงินได้
นิติบุคคลให้กับรัฐบาลของธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ลดการลงทุนลง และมีการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งมี
ความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเพื่อดำรงเงินสดสำรองให้ได้ตามเกณฑ์เฉลี่ยสำหรับการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันพฤหัสบดี โดยเฉพาะในตลาดซื้อ
คืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน จึงปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.84375 และ 4.96875 ต่อปี ในช่วงปลาย
สัปดาห์ก่อนหน้า มาเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.84375 - 4.90625 และ 4.96875 - 5 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรง
ตัวในระดับสูงในวันสุดท้ายของสัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ใหม่ที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่เร่งดำรงเงินสดสำรองมากนัก จึงมีการนำสภาพคล่อง
ส่วนเกินมาลงทุนระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 และ 4.96875 ต่อปี ตาม
ลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหว
ระหว่างร้อยละ 4.5 - 4.99 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 37,000 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 18,000
ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 15,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มี
อัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 18,500
ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 18,500 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 167,200 ล้านบาท คิดเป็น 33,440 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อย
ละ 4 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 53 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบ
แทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ปรับลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน โดยเฉพาะตราสารระยะปานกลาง-ยาว เนื่องจากมีความต้องการ
ลงทุนเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นอัตราผลตอบแทนฯ ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์จากการขายทำกำไร อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทน
ของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ปรับตัวลดลง 3-14 basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 6 เดือน ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดัชนี
ราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 44 และ 23 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น ภายหลังจากที่ OECD ระบุว่า Fed อาจต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อควบคุม
ภาวะเงินเฟ้อ แต่ต่อมามีรายงานว่าต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้นยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภค จึงทำให้นักลงทุนคลายความกังวลลง ส่งผล
ให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 1 ปีขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-5 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ส.ค. 49 37.59
เฉลี่ย 28 ส.ค. - 1 ก.ย. 49 37.53
4 ก.ย. 49 37.34
5 ก.ย. 49 37.30
6 ก.ย. 49 37.33
7 ก.ย. 49 37.33
8 ก.ย. 49 37.34
เฉลี่ย 4 - 8 ก.ย. 49 37.33
เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่าง 37.30 - 37.34 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.33 บาทต่อ
ดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 0.5 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์ปรับแข็งค่าขึ้นมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็น
ไปตามการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาคและเงินเยนที่ได้รับปัจจัยบวกจากแข็งค่าขึ้นทำสถิติสูงสุดของค่าเงินหยวนตั้งแต่มีการปรับขึ้นค่าเงินหยวนเป็นต้นมา
โดยการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยไว้ที่ระดับเดิมไม่ได้ส่งผลต่อค่าเงินบาทอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้แล้ว
อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันจากการคาดการณ์ว่า ธปท. มีการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทไม่
ให้แข็งค่าเกินไปจนส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก ตลอดจนการกลับมาขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับ
แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขภาคแรงงานออกมาดี ส่งผลให้นักลงทุนกลับมาคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจมีการปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกครั้งในระยะเวลาอันใกล้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหมาะสมทั้งต่อเสถียรภาพและการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ ธปท. จะ
ต้องติดตามในระยะต่อไป
- สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ จากการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับรัฐบาลของธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้
อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลตลอด
สัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทย
ปรับตัวลดลง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ในกรอบที่แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการแข็งค่าของเงินสกุล
ภูมิภาคและเงินเยนตามค่าเงินหยวนที่ปรับแข็งค่าขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยการแทรกแซงค่าเงินบาทของ ธปท. และ
การขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 6 กันยายน ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 5.0 ต่อ
ปี โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหมาะสมภาวะเศรษฐกิจไทย ทั้งทางด้านเสถียรภาพและการขยายตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่า
อัตราเงินเฟ้อจะยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่คณะกรรมการฯ ยังให้ความสำคัญในระยะต่อไป โดยเฉพาะจากความไม่แน่นอนด้านราคาน้ำมัน ซึ่ง ธปท. จะมีการ
ติดตามภาวะดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากมีปัจจัยดูดสภาพคล่องจากการนำส่งภาษีเงินได้
นิติบุคคลให้กับรัฐบาลของธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ลดการลงทุนลง และมีการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งมี
ความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเพื่อดำรงเงินสดสำรองให้ได้ตามเกณฑ์เฉลี่ยสำหรับการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันพฤหัสบดี โดยเฉพาะในตลาดซื้อ
คืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน จึงปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.84375 และ 4.96875 ต่อปี ในช่วงปลาย
สัปดาห์ก่อนหน้า มาเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.84375 - 4.90625 และ 4.96875 - 5 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรง
ตัวในระดับสูงในวันสุดท้ายของสัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ใหม่ที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่เร่งดำรงเงินสดสำรองมากนัก จึงมีการนำสภาพคล่อง
ส่วนเกินมาลงทุนระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 และ 4.96875 ต่อปี ตาม
ลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหว
ระหว่างร้อยละ 4.5 - 4.99 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 37,000 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 18,000
ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 15,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มี
อัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 18,500
ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 18,500 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 167,200 ล้านบาท คิดเป็น 33,440 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อย
ละ 4 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 53 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบ
แทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ปรับลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน โดยเฉพาะตราสารระยะปานกลาง-ยาว เนื่องจากมีความต้องการ
ลงทุนเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นอัตราผลตอบแทนฯ ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์จากการขายทำกำไร อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทน
ของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ปรับตัวลดลง 3-14 basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 6 เดือน ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดัชนี
ราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 44 และ 23 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น ภายหลังจากที่ OECD ระบุว่า Fed อาจต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อควบคุม
ภาวะเงินเฟ้อ แต่ต่อมามีรายงานว่าต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้นยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภค จึงทำให้นักลงทุนคลายความกังวลลง ส่งผล
ให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 1 ปีขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-5 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ส.ค. 49 37.59
เฉลี่ย 28 ส.ค. - 1 ก.ย. 49 37.53
4 ก.ย. 49 37.34
5 ก.ย. 49 37.30
6 ก.ย. 49 37.33
7 ก.ย. 49 37.33
8 ก.ย. 49 37.34
เฉลี่ย 4 - 8 ก.ย. 49 37.33
เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่าง 37.30 - 37.34 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.33 บาทต่อ
ดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 0.5 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์ปรับแข็งค่าขึ้นมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็น
ไปตามการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาคและเงินเยนที่ได้รับปัจจัยบวกจากแข็งค่าขึ้นทำสถิติสูงสุดของค่าเงินหยวนตั้งแต่มีการปรับขึ้นค่าเงินหยวนเป็นต้นมา
โดยการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยไว้ที่ระดับเดิมไม่ได้ส่งผลต่อค่าเงินบาทอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้แล้ว
อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันจากการคาดการณ์ว่า ธปท. มีการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทไม่
ให้แข็งค่าเกินไปจนส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก ตลอดจนการกลับมาขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับ
แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขภาคแรงงานออกมาดี ส่งผลให้นักลงทุนกลับมาคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจมีการปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกครั้งในระยะเวลาอันใกล้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-