- สภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์จากการนำฝากภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามาในระบบ ก่อนจะตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลาย
สัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อย
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน(Yield ) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่
พันธบัตรฯ ระยะปานกลาง-ยาวมีอัตราผลตอบแทนลดลง สำหรับ US Treasury Yoeld ปรับตัวลดลง
- เงินบาททรงตัวในกรอบที่แข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนที่จะปรับอ่อนค่าลงมากในตลาดต่างประเทศหลังจากมีเหตุการณ์การยึดอำนาจ
ของ คปค. อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ขณะที่เงิน
ดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง หลังจาก Fed คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และระบุว่า ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อชะลอตัวลง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากมีการนำฝากภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามาในระบบสถาบันการเงิน
แต่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งยังมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดเพิ่มขึ้น
มาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.96875- 5 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ
4.96875 และ 5 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์หลังจากวันหยุดราชการในวันพุธ สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีปริมาณธุรก
รรมที่สะสมมาจากวันหยุดก่อนหน้าเป็นจำนวนมาก โดย ธปท. ได้ขยายเวลาปิดตลาดออกไปเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารสภาพคล่องของสถาบัน
การเงินนอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์บางแห่งยังมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นเพื่อการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันศุกร์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ
1 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับอัตราดอกเบี้ย
Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.5 - 5.0 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.95 - 4.96 ต่อปี ในช่วงต้น
สัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.98 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 40,000 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
18,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 3 วัน วงเงิน 20,000 ล้านบาท โดยตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน มีอัตราผลตอบ
แทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน มีอัตราผลตอบแทนลดลง นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการ
รถไฟแห่งประเทศไทย อายุ 9 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 3 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มี
ตราสารภาครัฐครบกำหนด 25,250 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 14,750 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 106,947 ล้านบาท คิดเป็น 27,487 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 29 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 72 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตรา
ผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้น และปรับตัวลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ โดยเฉพาะในพันธบัตรระยะปานกลาง-
ยาว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 7
ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-5 basis points ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 3-12 basis points ดัชนี
ราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 16 และ 6 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ถึงจุดสิ้นสุดแล้ว จาก
การคงอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในวันพุธ ประกอบกับดัชนีราคาผู้ผลิตที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาด และดัชนีชี้วัดกิจกรรมภาคการผลิตของเฟดสาขาฟิ
ลาเดลเฟียในเดือนกันยายนที่ปรับตัวลดลงมาก ส่งผลให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 3-18 basis
points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ส.ค. 49 37.59
เฉลี่ย 11 - 15 ก.ย. 49 37.35
18 ก.ย. 49 37.27
19 ก.ย. 49 37.27
21 ก.ย. 49 37.51
22 ก.ย. 49 37.44
เฉลี่ย 18 - 22 ก.ย. 49 37.37
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.37 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทใน
ช่วงต้นสัปดาห์ค่อนข้างทรงตัวจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าซึ่งเป็นระดับที่แข็งค่าที่สุดรอบ 6 ปี ซึ่งเป็นไปตามการแข็งค่าของเงินเยน หลังจากที่ประธาน
ธนาคารกลางยุโรปให้สัมภาษณ์ว่า กลุ่ม G-7 มีความเป็นตรงกันว่าเงินเยนควรมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น อย่างไรก็
ตาม เงินบาทในตลาดต่างประเทศในคืนที่มีการยึดอำนาจการปกครองของคณะปฏิรูปฯ ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(คปค.) ปรับอ่อนค่าลงทันทีจาก 37.20 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. มาอยู่ที่ 37.90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับจนมา
อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ โดยที่ผู้ว่า ธปท. ยืนยันว่าไม่ได้มีการเข้าแทรกแซงแต่อย่างใด สำหรับเงินบาทในวันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันทำการแรกหลังจาก
ตลาดปิดทำการในวันพุธ อยู่ที่ร้อยละ 37.51 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงไม่มากนักจากช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนที่จะปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวัน
ศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้นเมื่อไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นจากการยึดอำนาจ นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยสนับสนุน
จากการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาคและความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออกไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับ
เงินสกุลหลัก หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม พร้อมทั้งระบุว่าความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อต่อเศรษฐกิจ
สหรัฐฯ เริ่มชะลอตัวลง นอกจากนี้ ตัวเลขภาคการผลิตที่ออกมาไม่ดีนัก ส่งผลให้นักลงทุนบางส่วนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจมีการปรับลด
อัตราดอกเบี้ยลงในระยะเวลาอันใกล้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
สัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อย
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน(Yield ) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่
พันธบัตรฯ ระยะปานกลาง-ยาวมีอัตราผลตอบแทนลดลง สำหรับ US Treasury Yoeld ปรับตัวลดลง
- เงินบาททรงตัวในกรอบที่แข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนที่จะปรับอ่อนค่าลงมากในตลาดต่างประเทศหลังจากมีเหตุการณ์การยึดอำนาจ
ของ คปค. อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ขณะที่เงิน
ดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง หลังจาก Fed คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และระบุว่า ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อชะลอตัวลง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากมีการนำฝากภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามาในระบบสถาบันการเงิน
แต่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งยังมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดเพิ่มขึ้น
มาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.96875- 5 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ
4.96875 และ 5 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์หลังจากวันหยุดราชการในวันพุธ สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีปริมาณธุรก
รรมที่สะสมมาจากวันหยุดก่อนหน้าเป็นจำนวนมาก โดย ธปท. ได้ขยายเวลาปิดตลาดออกไปเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารสภาพคล่องของสถาบัน
การเงินนอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์บางแห่งยังมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นเพื่อการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันศุกร์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ
1 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับอัตราดอกเบี้ย
Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.5 - 5.0 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.95 - 4.96 ต่อปี ในช่วงต้น
สัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.98 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 40,000 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
18,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 3 วัน วงเงิน 20,000 ล้านบาท โดยตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน มีอัตราผลตอบ
แทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน มีอัตราผลตอบแทนลดลง นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการ
รถไฟแห่งประเทศไทย อายุ 9 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 3 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มี
ตราสารภาครัฐครบกำหนด 25,250 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 14,750 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 106,947 ล้านบาท คิดเป็น 27,487 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 29 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 72 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตรา
ผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้น และปรับตัวลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ โดยเฉพาะในพันธบัตรระยะปานกลาง-
ยาว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 7
ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-5 basis points ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 3-12 basis points ดัชนี
ราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 16 และ 6 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ถึงจุดสิ้นสุดแล้ว จาก
การคงอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในวันพุธ ประกอบกับดัชนีราคาผู้ผลิตที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาด และดัชนีชี้วัดกิจกรรมภาคการผลิตของเฟดสาขาฟิ
ลาเดลเฟียในเดือนกันยายนที่ปรับตัวลดลงมาก ส่งผลให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 3-18 basis
points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ส.ค. 49 37.59
เฉลี่ย 11 - 15 ก.ย. 49 37.35
18 ก.ย. 49 37.27
19 ก.ย. 49 37.27
21 ก.ย. 49 37.51
22 ก.ย. 49 37.44
เฉลี่ย 18 - 22 ก.ย. 49 37.37
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.37 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทใน
ช่วงต้นสัปดาห์ค่อนข้างทรงตัวจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าซึ่งเป็นระดับที่แข็งค่าที่สุดรอบ 6 ปี ซึ่งเป็นไปตามการแข็งค่าของเงินเยน หลังจากที่ประธาน
ธนาคารกลางยุโรปให้สัมภาษณ์ว่า กลุ่ม G-7 มีความเป็นตรงกันว่าเงินเยนควรมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น อย่างไรก็
ตาม เงินบาทในตลาดต่างประเทศในคืนที่มีการยึดอำนาจการปกครองของคณะปฏิรูปฯ ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(คปค.) ปรับอ่อนค่าลงทันทีจาก 37.20 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. มาอยู่ที่ 37.90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับจนมา
อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ โดยที่ผู้ว่า ธปท. ยืนยันว่าไม่ได้มีการเข้าแทรกแซงแต่อย่างใด สำหรับเงินบาทในวันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันทำการแรกหลังจาก
ตลาดปิดทำการในวันพุธ อยู่ที่ร้อยละ 37.51 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงไม่มากนักจากช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนที่จะปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวัน
ศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้นเมื่อไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นจากการยึดอำนาจ นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยสนับสนุน
จากการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาคและความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออกไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับ
เงินสกุลหลัก หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม พร้อมทั้งระบุว่าความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อต่อเศรษฐกิจ
สหรัฐฯ เริ่มชะลอตัวลง นอกจากนี้ ตัวเลขภาคการผลิตที่ออกมาไม่ดีนัก ส่งผลให้นักลงทุนบางส่วนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจมีการปรับลด
อัตราดอกเบี้ยลงในระยะเวลาอันใกล้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-