แท็ก
อัตราดอกเบี้ย
- สภาพคล่องในตลาดเงินทรงตัวอยู่ในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้ความต้องการลงทุนระยะสั้นเพิ่มสูง
ขึ้น แม้ว่าจะมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเป็นบางช่วง อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรทุกระยะปิด
ในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ย Interbank ปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อย
- มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของ
พันธบัตรฯ ไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ สวนทางกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐ ที่ปรับตัวลดลง
- เงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน แต่ค่าเฉลี่ยเกือบไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่เงิน
ดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นหลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาดี อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อ
ถือจาก Fitch rating ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ใหม่ของ
การสำรองสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ความต้องการลงทุนระยะสั้นจึงเพิ่มสูงขึ้นเป็นระยะ โดยเฉพาะในตลาดซื้อ
คืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวเคลื่อนไหวระหว่างวันลดลงเล็กน้อยระหว่างร้อยละ
2.1875 - 2.25 อย่างไรก็ตาม ความต้องการกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้นเป็นบางช่วง โดยเฉพาะในช่วง
กลางสัปดาห์ที่มีการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับภาครัฐ ซึ่งส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหว
ระหว่างวันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนทุกระยะปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่
ร้อยละ 2.25 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2 -
2.26 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดสูงขึ้นเป็นลำดับจากร้อยละ 2.22 ต่อปี ในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่
ร้อยละ 2.25 ต่อปี ในปลายสัปดาห์นี้
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 41,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91
และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ 365 วัน วงเงินรวม 27,000
ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 2,500 ล้าน อัตราผลตอบแทนของตราสารเกือบทุกรุ่น
ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน อายุ 3 และ 5 ปี วงเงิน 2,000 ล้านบาท ปริมาณการซื้อ
ขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเป็น 73,298 ล้านบาท เนื่องจากมีวันทำการเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าซื้อ
ขายเฉลี่ยลดลงร้อยละ 37 เท่ากับ 14,660 ล้านบาทต่อวัน โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ
70.2 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทนโดย
รวม (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 4-12 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean
price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชน ลดลง 43 และ 24 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้นในวันจันทร์ แต่ลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ เนื่อง
จากมีรายงานว่า Hedge Fund บางแห่งเทขายหุ้นกู้บริษัทเจเนอรัลมอเตอร์ หลังจากถูกปรับลดอันดับหุ้นกู้ลงเมื่อ
สัปดาห์ก่อน และย้ายการลงทุนมาที่ตลาดตราสารหนี้ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield ทุกช่วงอายุปรับตัว
ลดลง 8-14 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 39.39 - 39.47 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่า
เฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.44 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาท
อ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ เมื่อเงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน
เมษายนที่สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ โดยมี
ปัจจัยสนับสนุนจากการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือจาก Fitch rating สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทอ่อนค่า
ลงอีกครั้ง เนื่องจากการปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์ไทยและการกลับมาขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติกว่า 2 พัน
ล้านบาทในสัปดาห์นี้ หลังจากที่เริ่มมีการซื้อสุทธิในสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบ
กับเงินสกุลหลักตั้งแต่ช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาดีต่อเนื่อง โดย
เฉพาะตัวเลขดุลการค้าในเดือนมีนาคม
สถาบันจัดอันดับ Fitch ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของไทย
สถาบันจัดอันดับ Fitch ปรับเพิ่มระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศของไทย
จากระดับ BBB เป็น BBB+ และปรับเพิ่มระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินท้องถิ่นจาก A- เป็น A และ
ตราสารหนี้ระยะสั้นเป็น F2 โดยมีแนวโน้มของเครดิตในระดับที่มีเสถียรภาพ (stable) เนื่องจากความแข็งแกร่ง
ของภาคต่างประเทศและสถานะทางการคลังของไทย ตลอดจนการปรับตัวดีขึ้นของภาคการธนาคารทั้งในด้านคุณภาพ
สินทรัพย์และกำไรสะสม ซึ่งส่งผลให้มีการปรับเพิ่มระดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยจำนวน 6 แห่ง ได้แก่
ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเอเชีย ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด นครธน
และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า และการปรับเพิ่มแนวโน้มเครดิตของธนาคารกรุงเทพจากระดับที่มี
เสถียรภาพ (stable) เป็นระดับบวก (positive) อย่างไรก็ตาม Fitch ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความไม่สงบ
ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยที่อาจเป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงทางการเมือง ตลอดจนการใช้จ่ายลงทุนของภาค
รัฐจำนวนหลายแสนล้านบาทในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และการปล่อยสินเชื่อของธนาคารรัฐ ซึ่ง
อาจส่งผลกระทบต่อสถานะทางการคลังของรัฐบาลไทย ทั้งนี้ การปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบ
ต่อตลาดหลักทรัพย์ไทยและเศรษฐกิจไทยโดยรวมมากนัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้แล้ว และสถาบันจัด
อันดับอื่นๆ เช่น Standard&Poor's และ Moody's ได้มีการปรับเพิ่มหรือให้อันดับความน่าเชื่อถือแก่ประเทศไทย
ในระดับเดียวกันแล้วในช่วงก่อนหน้านี้ (ปี 2547)
อันดับความน่าเชื่อของไทยในปี 2547 - 2548 โดยสถาบันจัดอันดับต่างๆ
Moody's S&P Fitch R&I
ระยะสั้น ระยะยาว แนวโน้ม ระยะสั้น ระยะยาว แนวโน้ม ระยะสั้น ระยะยาว แนวโน้ม ระยะสั้น ระยะยาว
2547 P-2 Baa1 คงที่ A-2 BBB+ บวก F3 BBB บวก a-2 BBB+
2548 P-2 Baa1 คงที่ A-2 BBB+ บวก F2 BBB+ คงที่ a-2 BBB+
(พ.ค.)
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ขึ้น แม้ว่าจะมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเป็นบางช่วง อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรทุกระยะปิด
ในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ย Interbank ปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อย
- มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของ
พันธบัตรฯ ไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ สวนทางกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐ ที่ปรับตัวลดลง
- เงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน แต่ค่าเฉลี่ยเกือบไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่เงิน
ดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นหลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาดี อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อ
ถือจาก Fitch rating ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ใหม่ของ
การสำรองสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ความต้องการลงทุนระยะสั้นจึงเพิ่มสูงขึ้นเป็นระยะ โดยเฉพาะในตลาดซื้อ
คืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวเคลื่อนไหวระหว่างวันลดลงเล็กน้อยระหว่างร้อยละ
2.1875 - 2.25 อย่างไรก็ตาม ความต้องการกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้นเป็นบางช่วง โดยเฉพาะในช่วง
กลางสัปดาห์ที่มีการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับภาครัฐ ซึ่งส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหว
ระหว่างวันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนทุกระยะปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่
ร้อยละ 2.25 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2 -
2.26 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดสูงขึ้นเป็นลำดับจากร้อยละ 2.22 ต่อปี ในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่
ร้อยละ 2.25 ต่อปี ในปลายสัปดาห์นี้
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 41,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91
และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ 365 วัน วงเงินรวม 27,000
ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 2,500 ล้าน อัตราผลตอบแทนของตราสารเกือบทุกรุ่น
ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน อายุ 3 และ 5 ปี วงเงิน 2,000 ล้านบาท ปริมาณการซื้อ
ขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเป็น 73,298 ล้านบาท เนื่องจากมีวันทำการเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าซื้อ
ขายเฉลี่ยลดลงร้อยละ 37 เท่ากับ 14,660 ล้านบาทต่อวัน โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ
70.2 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทนโดย
รวม (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 4-12 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean
price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชน ลดลง 43 และ 24 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้นในวันจันทร์ แต่ลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ เนื่อง
จากมีรายงานว่า Hedge Fund บางแห่งเทขายหุ้นกู้บริษัทเจเนอรัลมอเตอร์ หลังจากถูกปรับลดอันดับหุ้นกู้ลงเมื่อ
สัปดาห์ก่อน และย้ายการลงทุนมาที่ตลาดตราสารหนี้ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield ทุกช่วงอายุปรับตัว
ลดลง 8-14 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 39.39 - 39.47 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่า
เฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.44 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาท
อ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ เมื่อเงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน
เมษายนที่สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ โดยมี
ปัจจัยสนับสนุนจากการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือจาก Fitch rating สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทอ่อนค่า
ลงอีกครั้ง เนื่องจากการปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์ไทยและการกลับมาขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติกว่า 2 พัน
ล้านบาทในสัปดาห์นี้ หลังจากที่เริ่มมีการซื้อสุทธิในสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบ
กับเงินสกุลหลักตั้งแต่ช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาดีต่อเนื่อง โดย
เฉพาะตัวเลขดุลการค้าในเดือนมีนาคม
สถาบันจัดอันดับ Fitch ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของไทย
สถาบันจัดอันดับ Fitch ปรับเพิ่มระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศของไทย
จากระดับ BBB เป็น BBB+ และปรับเพิ่มระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินท้องถิ่นจาก A- เป็น A และ
ตราสารหนี้ระยะสั้นเป็น F2 โดยมีแนวโน้มของเครดิตในระดับที่มีเสถียรภาพ (stable) เนื่องจากความแข็งแกร่ง
ของภาคต่างประเทศและสถานะทางการคลังของไทย ตลอดจนการปรับตัวดีขึ้นของภาคการธนาคารทั้งในด้านคุณภาพ
สินทรัพย์และกำไรสะสม ซึ่งส่งผลให้มีการปรับเพิ่มระดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยจำนวน 6 แห่ง ได้แก่
ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเอเชีย ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด นครธน
และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า และการปรับเพิ่มแนวโน้มเครดิตของธนาคารกรุงเทพจากระดับที่มี
เสถียรภาพ (stable) เป็นระดับบวก (positive) อย่างไรก็ตาม Fitch ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความไม่สงบ
ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยที่อาจเป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงทางการเมือง ตลอดจนการใช้จ่ายลงทุนของภาค
รัฐจำนวนหลายแสนล้านบาทในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และการปล่อยสินเชื่อของธนาคารรัฐ ซึ่ง
อาจส่งผลกระทบต่อสถานะทางการคลังของรัฐบาลไทย ทั้งนี้ การปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบ
ต่อตลาดหลักทรัพย์ไทยและเศรษฐกิจไทยโดยรวมมากนัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้แล้ว และสถาบันจัด
อันดับอื่นๆ เช่น Standard&Poor's และ Moody's ได้มีการปรับเพิ่มหรือให้อันดับความน่าเชื่อถือแก่ประเทศไทย
ในระดับเดียวกันแล้วในช่วงก่อนหน้านี้ (ปี 2547)
อันดับความน่าเชื่อของไทยในปี 2547 - 2548 โดยสถาบันจัดอันดับต่างๆ
Moody's S&P Fitch R&I
ระยะสั้น ระยะยาว แนวโน้ม ระยะสั้น ระยะยาว แนวโน้ม ระยะสั้น ระยะยาว แนวโน้ม ระยะสั้น ระยะยาว
2547 P-2 Baa1 คงที่ A-2 BBB+ บวก F3 BBB บวก a-2 BBB+
2548 P-2 Baa1 คงที่ A-2 BBB+ บวก F2 BBB+ คงที่ a-2 BBB+
(พ.ค.)
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-