สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Vietnam)
1. ข้อมูลทั่วไป
* ปี 2547 มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน
* การปกครอง: แบ่งการปกครองเป็น 6 ภาค 60 จังหวัด
* ศาสนา: ร้อยละ 50 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ร้อยละ 49 นับถือศาสนาคริสต์
2. การพัฒนาเศรษฐกิจ
เวียดนามได้เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) เป็นแผนเฉพาะประเทศเวียดนามเหนือ ใกล้เคียงกับประเทศไทย (ประเทศเวียดนามได้รวมประเทศในปี 1975) สามารถจำแนกช่วงการพัฒนาออกเป็น 2 ช่วง คือ ก่อนมีนโยบายการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ โดเหม่ย (Doi Moi) ในปี 1986 มีแผนพัฒนารวม 5 ฉบับ (ค.ศ. 1960-1986) และช่วงหลังจากมีนโยบาย Doimoi มีแผนพัฒนา 4 ฉบับ แผนพัฒนาฉบับที่ใช้อยู่ในปัจุบัน (ค.ศ. 2001-2005) และอยู่ในช่วงการเตรียมแผนพัฒนาฉบับที่ 5 (ค.ศ. 2006-2010) อย่างไรก็ตาม เวียดนามได้มียุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะ 10 ปี เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งเริ่มใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศแรกในช่วงปี 1991-2000 เน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันอยู่ในช่วงยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ ระยะที่สอง ปี 2001-2010 ซึ่งได้ตั้งเป้าว่าในปี 2010 จะทำให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Products ; GDP) เพิ่มขึ้น 2 เท่า จากปี 2000 รวมทั้งลดสัดส่วนภาคการเกษตรลง ขณะเดียวกันเพิ่มบทบาทของอุตสาหกรรมและบริการให้สูงขึ้น
Ministry of Planning and Investment (MPI)
การหารือกับ Mr.Nguyen Ba An, Deputy Director-General of the Development Strategy Institute, Ministry of Planning and Investment และคณะเจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2548 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1) ประเทศเวียดนาม พยายามผลักดันประเทศมากว่า 15 ปี ที่ผ่านมาเพื่อที่จะพัฒนาให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมและทันสมัย โดยตั้งเป้ายุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในช่วงปี 2001-2010 ที่จะนำประเทศพ้นจากการเป็นประเทศล้าหลังการพัฒนาและวางรากฐานไปสู่ประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมและความเจริญในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งความมั่นคงของประเทศให้ได้ภายในปี 2020
2) กระทรวงวางแผนและการลงทุน ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษานำเสนอข้อคิดเห็นต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
2.1) ดำเนินการวางแผนให้สอดคล้องกับภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยปัจจุบันแบ่งการพัฒนาเป็น 2 ระยะ คือระยะยาว 10 ปี ตั้งแต่ ปี 2001 - 2010 และระยะสั้น 5 ปี ตั้งแต่ปี 2006 - 2010 สำหรับลักษณะการวางแผนจะเป็นทั้งแบบจากบนลงล่าง Top down และ Bottom up โดยรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนและภาคการลงทุนเสนอขึ้นบนเพื่อการวางแผน
2.2) ทำหน้าที่ตั้งเป้าหมายงบประมาณ ดูแลงบประมาณรายจ่ายในส่วนของรัฐ โดยมีการกำหนดกฎหมายว่าด้วยการใช้งบประมาณ และดำเนินการใช้งบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมาย
2.3) ดูแลงบลงทุน และกำหนดหลักเกณฑ์หลัก ๆ ในการวิเคราะห์โครงการ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติโครงการ
3) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 5 ปี ค.ศ. 2006 - 2010 ซึ่ง
เน้นการเปิดประเทศมากขึ้น โดยตั้งเป้าหมายด้านเศรษฐกิจให้ประเทศมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 7.5 -8.0 อย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายหลักในปี 2010 ให้ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 910-1000 US$ และมีโครงสร้างแรงงานภาคเกษตรร้อยละ 50 และตั้งเป้าหมายด้านสังคมในการขจัดความยากจนและเพิ่มคุณภาพชีวิตประชากร
4) ในการบรรลุเป้าหมายอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 7.5 - 8.0 ในช่วงภาวะน้ำมันแพงนั้นมียุทธศาสตร์ที่สำคัญคือการออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุนจากต่างประเทศรวมทั้งเปิดนิคมอุตสาหกรรมให้เพิ่มมากขึ้น พัฒนาเทคโนโลยีและพันธุ์พืชในภาคเกษตร นอกจากนี้ประเทศเวียดนามยังมีน้ำมันดิบส่งออกมากกว่านำเข้าเป็นจุดเสริมช่วยเศรษฐกิจ แม้ว่ายังมีปัญหาการลักลอบเอาน้ำมันไปขายให้ประเทศกัมพูชารวมทั้งปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน และภาคบริการที่ยังเติบโตน้อยมาก
5) ปัญหาด้านเศรษฐกิจและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาฯ เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายร้อยละ 7.5 นั้นมีอุปสรรคมากมาย เช่น การหยุดดำเนินการหลายโครงการที่เกิดจากผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจของไทย การขยายตัวของภาคเอกชนที่รัฐไม่สามารถควบคุมได้ และโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เป็นระบบและต้องใช้เงินลงทุนสูงในการพัฒนาไฟฟ้า ระบบชลประทาน ในขณะที่ต้องแก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหาน้ำท่วมจากแม่น้ำโขง และภัยธรรมชาติ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาความมั่นคงของประเทศ
6) สำหรับปัญหาด้านสังคมหลัก ๆ ก็คือ ปัญหาความยากจน ซึ่งในปี 2006 - 2010 รัฐบาลพยายามขจัดปัญหาความยากจนให้มากที่สุด โดยการเพิ่มงบประมาณในการแก้ปัญหาสังคม ลงทุนด้านการศึกษาทุกระดับเพื่อเพิ่มคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ มีการวางแผนระบบสุขภาพอนามัยเพื่อดูแลสุขภาพของประชากรให้มากขึ้น รวมทั้งการแก้ปัญหาความไม่สงบของชนกลุ่มน้อยที่ยากจน การอพยพไปยังประเทศที่สาม
Asian Development Bank (ADB)
การหารือกับนาย Bradford Phillips, Country Director for Vietnam, Asian Development Bank (ADB) เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2548 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1) กรอบการพัฒนาประเทศของเวียดนาม มีหลายระดับ ได้แก่
1.1) แผนพัฒนาระยะ 10 ปี
1.2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (Socio-Economic Development Plan: SEDP) ระยะ 5 ปี ซึ่งปัจจุบัน เวียดนามกำลังร่าง SEDP 2006-2010
1.3) ยุทธศาสตร์การลดความยากจนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Comprehensive Poverty Reduction and Growth Strategy: CPRGS)
1.4) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมรายปี
2) SEDP ฉบับ 2006-2010 จะรวม CPRGS ไว้ด้วย เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และการประเมินผลจะยึดหลัก outcome-oriented
3) การดำเนินงานของ ADB ในเวียดนามมีเป้าหมายหลัก 4 ด้าน คือ
3.1) การขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยผ่านทางการปฏิรูปด้านนโยบาย การพัฒนาด้านพลังงาน การคมนาคม การพัฒนาเมือง
3.2) ความเท่าเทียมทางสังคม ทั้งด้านสุขภาพอนามัย การศึกษา การพัฒนาชนบท
3.3) สิ่งแวดล้อม โดยการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
3.4) การพัฒนาภูมิภาค เช่น GMS
4) สำหรับ ADB กับการพัฒนาเวียดนาม Country Strategy Programme ของ ADB จะต้องสอดคล้องกับ SEDP 2006-2010 ของเวียดนาม การจัดสรรทรัพยากรของ ADB จะดำเนินไปเพื่อบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของ SEDP นอกจากนั้น ADB สนับสนุนนโยบายกระจายอำนาจของรัฐบาลบาลเวียดนาม ให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่น
Ministry of Finance, State Budget Department
การหารือกับ Mr. Pham Van Truong, Deputy Director, State Budget Department และคณะเจ้าหน้าที่ของกรมงบประมาณ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2548 สรุปสาระสำคัญดังนี้
1) สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง มีภาพรวมบทบาทหน้าที่และกระบวนการดำเนินงานทั้งหมด คือ
1.1) จัดทำนโยบายและวางแผนการใช้งบประมาณตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ รวมทั้งตัดลดงบประมาณตามลำดับความสำคัญของแต่ละกระทรวง
1.2) ประมาณการใช้จ่ายงบประมาณ จัดทำและดูความสมดุลของรายรับกับรายจ่าย
1.3) ประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ ในการตั้งงบประมาณแต่ละปี
1.4) ดำเนินการบริหารจัดการทั้งหมด
2) ประเทศเวียดนามมีขั้นตอนการจัดทำงบประมาณตามปีปฏิทิน จะมีการกำหนดวัตถุประสงค์การจัดทำงบประมาณก่อน โดยให้ทุกหน่วยงานจัดทำงบประมาณให้เสร็จก่อนวันที่ 17 กรกฎาคม ส่งให้กระทรวงคลังพิจารณา ต่อจากนั้นกระทรวงวางแผน (MPI) สภาเวียดนามแห่งชาติ และคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ร่วมกันพิจารณาอนุมัติก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีปรับตามความเหมาะสมแล้ว กระทรวงการคลังจึงจัดทำรายละเอียดการใช้งบประมาณให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 25 พ.ย. และเบิกจ่ายเงินให้กระทรวงต่าง ๆ และหน่วยงานในสังกัดก่อนวันที่ 31 ธ.ค.
3) สำหรับการประเมินผลงบประมาณนั้น กระทรวงต่าง ๆ จะประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมดภายในวันที่ 31 พ.ค. ส่งให้กระทรวงการคลังตรวจสอบก่อนเสนอสภาแห่งชาติเวียดนาม
4) สำนักงบประมาณได้ตั้งเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณไม่ให้เกินร้อยละ 5 ซึ่งในช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมา เวียดนามขาดดุลงบประมาณประมาณร้อยละ 5 จาก GDP โดยแก้ปัญหาด้วยการกู้เงินจาก ODA และการออกพันธบัตร เพื่อเพิ่มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ
State Bank of Vietnam
การหารือกับ Ms. Nguyen Thi Kim Dhanh, Deputy Director, Monetary Policy Department และคณะเจ้าหน้าที่ของธนาคารชาติของเวียดนาม เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2548 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1) ธนาคารกลางแห่งประเทศเวียดนามก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1951 ในระยะแรกไม่ได้ทำหน้าที่เป็นธนาคารกลาง โดยได้เริ่มทำหน้าที่เป็นธนาคารกลางของประเทศเมื่อปี 1988 และมีกฎหมายธนาคารกลางแห่งเวียดนาม (The Law on the State of Bank of Vietnam) ที่กำหนดบทบาทและความรับผิดชอบของธนาคารกลางในปี 1998
2) ธนาคารกลางแห่งประเทศเวียดนามมีหน้าที่หลัก คือ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เนื่องจากประเทศเวียดนามมีอัตราเงินเฟ้อสูงและมีความผันผวนมาก เช่น ในปี 1990 มีอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 67.5 ขณะที่ปี 2000 อัตราเงินเฟ้อติดลบร้อยละ 0.6 สำหรับปี 2004 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 9.5 และ 8 เดือนแรกของปี 2005 อยู่ที่ร้อยละ 6.0 และธนาคารกลางแห่งประเทศเวียดนามยังไม่ได้ใช้นโยบายการกำหนดเงินเฟ้อเป็นเป้าหมายดำเนินการ (Inflation Target) อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางไม่สามารถดำเนินนโยบายเพียงหน่วยงานเดียวในการกำกับดูแลไม่ให้อัตราเงินเฟ้อสูง ต้องกำหนดเป็นนโยบายระดับมหภาคและทุกหน่วยงานต้องช่วยกัน เช่น ธนาคารกลางดูแลนโยบายการเงิน กระทรวงการค้าดูแลราคาสินค้า และป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าตามชายแดน เป็นต้น
3) ประเทศเวียดนามใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่และเปลี่ยนแปลง +/- ได้ร้อยละ ปัจจุบันค่าเงินด่อง () ค่อนข้างมีเสถียรภาพ เนื่องจากปัจจัยอย่างน้อย 2 ประการ คือ (1) มีสัญญากัประชาชนว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าเงินด่อง +/- เกินร้อยละ 1 และ (2) เงินทุนไหลเข้าสุทธิจำนวนมาก ทั้งจากคนเวียดนามโพ้นทะเล (คนเวียดนามที่หนีภัยสงครามเวียดนามไปอยู่ประเทศที่สาม เช่น ที่สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ทำมาหากินและมีเงินเก็บ) ได้ส่งเงินกลับประเทศ และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ (Official Development Assistance ; ODA)
4) สำหรับมาตรการในการเพิ่มศักยภาพของธนาคารพาณิชย์ในประเทศเวียดนามให้สามารถแข่งขันได้นั้น ธนาคารกลางได้มีการวิเคราะห์ ตรวจสอบฐานะของธนาคารใกล้ชิดมากขึ้น ควบคุมเงินไหลเข้าประเทศอย่างเข้มงวด รวมทั้งตั้งหน่วยงานเตือนภัย เป็นต้น
Ministry of Trade, Planning & Investment Department
การหารือกับ Mr. Hoang Thich Lam, Deputy Director-General of the Planning and Investment Department และคณะเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการค้า เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2548 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1) ในช่วงปี 1991-2000 ประเทศเวียดนามถือว่าประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศระดับหนึ่งที่สามารถผ่านวิกฤตเศรษฐกิจได้ และสามรถปรับเปลี่ยนประเทศจากที่ต้องนำเข้าข้าวมาเป็นผู้ส่งออกข้าว โดยในปี 1988 เวียดนามได้มีการนำเข้าข้าว 4 แสนตัน แต่ในปี 1999 เวียดนามสามารถส่งออกข้าวได้ ทั้งนี้เนื่องจากก่อนปี 1998 เวียดนามมีการจัดทำบัญชีข้าวเพื่อใช้ในการแบ่งปัน เช่น กำหนดโควต้าสินค้าเกษตร 13-15 กิโลกรัมต่อเดือนต่อครัวเรือน ทำให้มีการกักตุนสินค้าเกษตรจากการใช้โควตาเต็มจำนวนทุกครัวเรือน แม้ว่าจะบริโภคไม่หมด และสินค้าเกษตรที่เหลือเสียหายตามอายุ ส่งผลให้มีการนำเข้ามากกว่าการส่งออกประมาณ 2 เท่า ปี 1988 ได้ยกเลิกบัญชีข้าว โดยใช้ราคาตลาดแทน ทำให้ความต้องการข้าวลดลงโดยรวมลดลง และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงด้วย
2) ประเทศเวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศอาเซียนเมื่อปี 1995 ทำให้เวียดนามเริ่มเปิดประเทศด้านการค้ามากขึ้น และเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ถือว่าการเจรจาการค้าฉบับแรกของเวียดนาม
3) การวางแผนพัฒนาประเทศ ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศในการพิจารณาส่งเสริมการลงทุนด้วย เช่น อุตสาหกรรมการต่อเรือในเวียดนามนั้น เริ่มแรกไม่ค่อยมีคนเห็นด้วย แต่เมื่อมีการชี้แจงว่าประเทศเวียดนามมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลกว่า 3,000 ไมล์ จำเป็นต้องมีอุตสาหกรรมต่อเรือ ซึ่งในปัจจุบันอุตสาหกรรมต่อเรือไม่เป็นเพียงอุตสาหกรรมหลักของประเทศแต่ติดลำดับหนึ่งสิบของอุตสาหกรรมต่อเรือของโลกด้วย
UNDP
การหารือกับนาย Jonathan Pincus, Senior Country Economist, UNDP ประจำเวียดนาม เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2548 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1) บทบาทของ UNDP ในการพัฒนาเวียดนาม UNDP ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานในกลุ่ม Creditors' Group ซึ่งให้เงินกู้ หรือความช่วยเหลือทางการเงินรูปแบบต่างๆ แก่เวียดนาม ซึ่งกลุ่มนี้จะประชุมกันปีละ 2 ครั้ง ซึ่งประเทศหรือองค์กรต่างๆ จะประกาศวงเงินที่จะสนับสนุนเวียดนามในแต่ละปี ในปีนี้ Creditors' Group จะเน้นไปที่การมีส่วนร่วมในการร่าง SEDP 2006-2010
2) ที่ผ่านมา UNDP มีบทบาทในกระบวนการพัฒนาเวียดนามโดยตรง และยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างเวียดนามกับ creditors ช่วยให้ทั้งสองฝ่ายทำงานบนพื้นฐานของความเข้าใจที่ตรงกัน
3) UNDP ยังช่วยแก้ไขหรือลดปัญหาความขัดแย้งในหมู่ creditors ด้วยกันเอง ซึ่งมักจะเป็นความไม่เห็นพ้องกันในประเด็นเล็กน้อย โดยทั่วไปแล้ว ทุกฝ่ายจะเห็นพ้องกันว่า แนวทางการพัฒนาของเวียดนาม ควรจะเน้นที่การขจัดความยากจน การสร้างธรรมาภิบาลทั้งในภาครัฐและเอกชน และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อสังเกต และข้อคิดเห็นทั่วไป
1) ประเทศเวียดนามมีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ดี มีทั้งระยะสั้น ระยะยาว มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนที่จะเป็นประเทศอุตสาหกรรม ขจัดความยากจน และเปิดประเทศให้เจริญทัดเทียมอารยะประเทศ รวมทั้งมีการประเมินผลทุกปีเพื่อการปรับแผนพัฒนาประเทศให้ถูกทิศทางตามสภาพการณ์ของโลก
2) สภาพทั่วไปของเมืองฮานอยยังไม่เจริญเท่าที่ควร ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา ประชากรยังยากจนอยู่มาก มีการขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งมีการก่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และมีการขยายตัวของเมืองออกไปรอบนอกเพิ่มขึ้น จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศในเวียดนาม ประมาณกันว่าการพัฒนาด้านระบบการเงินน่าจะล้าหลังประเทศไทยประมาณ 30 ปี แต่ทางด้านการผลิตอาจจะล้าหลังเพียง 10 กว่าปี
3) ประชากรเวียดนามส่วนใหญ่ขยันและอดทน ประกอบกับมีทรัพยากรน้ำมัน ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญและอยู่รอดได้โดยมีผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นไม่มากนัก ฉะนั้นประเทศเวียดนามจึงสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานจะสามารถพัฒนาประเทศรุดหน้าได้ทัดเทียมประเทศไทยและประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย
4) กระทรวงการค้า ประเทศเวียดนาม มีความเห็นสอดคล้องกับประเทศไทยว่า ควรมีการร่วมมือระหว่างไทยกับเวียดนามในการกำหนดราคาข้าวส่งออก
5) เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ ของเวียดนามที่ได้ไปศึกษาดูงานโดยส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดี ต่อประเทศไทย และให้ความร่วมมืออย่างดีในการบรรยายสรุปและซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เนื่องจากเจ้าหน้าที่เหล่านี้ส่วนใหญ่เคยเดินทางมาศึกษาดูงานในประเทศไทยและได้รับความร่วมมืออย่างดีจากฝ่ายไทย
6) การได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานและสร้างความสัมพันธ์ระดับเจ้าหน้าที่กับหน่วยงานด้านวางแผนในประเทศเพื่อนบ้านครั้งนี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเจ้าหน้าที่ของ สศม. เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ได้เรียนรู้แนวคิดและวิธีการทำงานที่เกี่ยวกับการวางแผนโดยตรงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของเพื่อนบ้าน นอกจากจะเป็นการสร้างเครือข่ายแล้ว ยังสามารถนำประสบการณ์ที่ได้มาปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
1. ข้อมูลทั่วไป
* ปี 2547 มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน
* การปกครอง: แบ่งการปกครองเป็น 6 ภาค 60 จังหวัด
* ศาสนา: ร้อยละ 50 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ร้อยละ 49 นับถือศาสนาคริสต์
2. การพัฒนาเศรษฐกิจ
เวียดนามได้เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) เป็นแผนเฉพาะประเทศเวียดนามเหนือ ใกล้เคียงกับประเทศไทย (ประเทศเวียดนามได้รวมประเทศในปี 1975) สามารถจำแนกช่วงการพัฒนาออกเป็น 2 ช่วง คือ ก่อนมีนโยบายการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ โดเหม่ย (Doi Moi) ในปี 1986 มีแผนพัฒนารวม 5 ฉบับ (ค.ศ. 1960-1986) และช่วงหลังจากมีนโยบาย Doimoi มีแผนพัฒนา 4 ฉบับ แผนพัฒนาฉบับที่ใช้อยู่ในปัจุบัน (ค.ศ. 2001-2005) และอยู่ในช่วงการเตรียมแผนพัฒนาฉบับที่ 5 (ค.ศ. 2006-2010) อย่างไรก็ตาม เวียดนามได้มียุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะ 10 ปี เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งเริ่มใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศแรกในช่วงปี 1991-2000 เน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันอยู่ในช่วงยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ ระยะที่สอง ปี 2001-2010 ซึ่งได้ตั้งเป้าว่าในปี 2010 จะทำให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Products ; GDP) เพิ่มขึ้น 2 เท่า จากปี 2000 รวมทั้งลดสัดส่วนภาคการเกษตรลง ขณะเดียวกันเพิ่มบทบาทของอุตสาหกรรมและบริการให้สูงขึ้น
Ministry of Planning and Investment (MPI)
การหารือกับ Mr.Nguyen Ba An, Deputy Director-General of the Development Strategy Institute, Ministry of Planning and Investment และคณะเจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2548 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1) ประเทศเวียดนาม พยายามผลักดันประเทศมากว่า 15 ปี ที่ผ่านมาเพื่อที่จะพัฒนาให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมและทันสมัย โดยตั้งเป้ายุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในช่วงปี 2001-2010 ที่จะนำประเทศพ้นจากการเป็นประเทศล้าหลังการพัฒนาและวางรากฐานไปสู่ประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมและความเจริญในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งความมั่นคงของประเทศให้ได้ภายในปี 2020
2) กระทรวงวางแผนและการลงทุน ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษานำเสนอข้อคิดเห็นต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
2.1) ดำเนินการวางแผนให้สอดคล้องกับภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยปัจจุบันแบ่งการพัฒนาเป็น 2 ระยะ คือระยะยาว 10 ปี ตั้งแต่ ปี 2001 - 2010 และระยะสั้น 5 ปี ตั้งแต่ปี 2006 - 2010 สำหรับลักษณะการวางแผนจะเป็นทั้งแบบจากบนลงล่าง Top down และ Bottom up โดยรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนและภาคการลงทุนเสนอขึ้นบนเพื่อการวางแผน
2.2) ทำหน้าที่ตั้งเป้าหมายงบประมาณ ดูแลงบประมาณรายจ่ายในส่วนของรัฐ โดยมีการกำหนดกฎหมายว่าด้วยการใช้งบประมาณ และดำเนินการใช้งบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมาย
2.3) ดูแลงบลงทุน และกำหนดหลักเกณฑ์หลัก ๆ ในการวิเคราะห์โครงการ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติโครงการ
3) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 5 ปี ค.ศ. 2006 - 2010 ซึ่ง
เน้นการเปิดประเทศมากขึ้น โดยตั้งเป้าหมายด้านเศรษฐกิจให้ประเทศมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 7.5 -8.0 อย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายหลักในปี 2010 ให้ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 910-1000 US$ และมีโครงสร้างแรงงานภาคเกษตรร้อยละ 50 และตั้งเป้าหมายด้านสังคมในการขจัดความยากจนและเพิ่มคุณภาพชีวิตประชากร
4) ในการบรรลุเป้าหมายอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 7.5 - 8.0 ในช่วงภาวะน้ำมันแพงนั้นมียุทธศาสตร์ที่สำคัญคือการออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุนจากต่างประเทศรวมทั้งเปิดนิคมอุตสาหกรรมให้เพิ่มมากขึ้น พัฒนาเทคโนโลยีและพันธุ์พืชในภาคเกษตร นอกจากนี้ประเทศเวียดนามยังมีน้ำมันดิบส่งออกมากกว่านำเข้าเป็นจุดเสริมช่วยเศรษฐกิจ แม้ว่ายังมีปัญหาการลักลอบเอาน้ำมันไปขายให้ประเทศกัมพูชารวมทั้งปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน และภาคบริการที่ยังเติบโตน้อยมาก
5) ปัญหาด้านเศรษฐกิจและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาฯ เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายร้อยละ 7.5 นั้นมีอุปสรรคมากมาย เช่น การหยุดดำเนินการหลายโครงการที่เกิดจากผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจของไทย การขยายตัวของภาคเอกชนที่รัฐไม่สามารถควบคุมได้ และโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เป็นระบบและต้องใช้เงินลงทุนสูงในการพัฒนาไฟฟ้า ระบบชลประทาน ในขณะที่ต้องแก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหาน้ำท่วมจากแม่น้ำโขง และภัยธรรมชาติ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาความมั่นคงของประเทศ
6) สำหรับปัญหาด้านสังคมหลัก ๆ ก็คือ ปัญหาความยากจน ซึ่งในปี 2006 - 2010 รัฐบาลพยายามขจัดปัญหาความยากจนให้มากที่สุด โดยการเพิ่มงบประมาณในการแก้ปัญหาสังคม ลงทุนด้านการศึกษาทุกระดับเพื่อเพิ่มคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ มีการวางแผนระบบสุขภาพอนามัยเพื่อดูแลสุขภาพของประชากรให้มากขึ้น รวมทั้งการแก้ปัญหาความไม่สงบของชนกลุ่มน้อยที่ยากจน การอพยพไปยังประเทศที่สาม
Asian Development Bank (ADB)
การหารือกับนาย Bradford Phillips, Country Director for Vietnam, Asian Development Bank (ADB) เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2548 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1) กรอบการพัฒนาประเทศของเวียดนาม มีหลายระดับ ได้แก่
1.1) แผนพัฒนาระยะ 10 ปี
1.2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (Socio-Economic Development Plan: SEDP) ระยะ 5 ปี ซึ่งปัจจุบัน เวียดนามกำลังร่าง SEDP 2006-2010
1.3) ยุทธศาสตร์การลดความยากจนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Comprehensive Poverty Reduction and Growth Strategy: CPRGS)
1.4) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมรายปี
2) SEDP ฉบับ 2006-2010 จะรวม CPRGS ไว้ด้วย เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และการประเมินผลจะยึดหลัก outcome-oriented
3) การดำเนินงานของ ADB ในเวียดนามมีเป้าหมายหลัก 4 ด้าน คือ
3.1) การขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยผ่านทางการปฏิรูปด้านนโยบาย การพัฒนาด้านพลังงาน การคมนาคม การพัฒนาเมือง
3.2) ความเท่าเทียมทางสังคม ทั้งด้านสุขภาพอนามัย การศึกษา การพัฒนาชนบท
3.3) สิ่งแวดล้อม โดยการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
3.4) การพัฒนาภูมิภาค เช่น GMS
4) สำหรับ ADB กับการพัฒนาเวียดนาม Country Strategy Programme ของ ADB จะต้องสอดคล้องกับ SEDP 2006-2010 ของเวียดนาม การจัดสรรทรัพยากรของ ADB จะดำเนินไปเพื่อบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของ SEDP นอกจากนั้น ADB สนับสนุนนโยบายกระจายอำนาจของรัฐบาลบาลเวียดนาม ให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่น
Ministry of Finance, State Budget Department
การหารือกับ Mr. Pham Van Truong, Deputy Director, State Budget Department และคณะเจ้าหน้าที่ของกรมงบประมาณ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2548 สรุปสาระสำคัญดังนี้
1) สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง มีภาพรวมบทบาทหน้าที่และกระบวนการดำเนินงานทั้งหมด คือ
1.1) จัดทำนโยบายและวางแผนการใช้งบประมาณตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ รวมทั้งตัดลดงบประมาณตามลำดับความสำคัญของแต่ละกระทรวง
1.2) ประมาณการใช้จ่ายงบประมาณ จัดทำและดูความสมดุลของรายรับกับรายจ่าย
1.3) ประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ ในการตั้งงบประมาณแต่ละปี
1.4) ดำเนินการบริหารจัดการทั้งหมด
2) ประเทศเวียดนามมีขั้นตอนการจัดทำงบประมาณตามปีปฏิทิน จะมีการกำหนดวัตถุประสงค์การจัดทำงบประมาณก่อน โดยให้ทุกหน่วยงานจัดทำงบประมาณให้เสร็จก่อนวันที่ 17 กรกฎาคม ส่งให้กระทรวงคลังพิจารณา ต่อจากนั้นกระทรวงวางแผน (MPI) สภาเวียดนามแห่งชาติ และคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ร่วมกันพิจารณาอนุมัติก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีปรับตามความเหมาะสมแล้ว กระทรวงการคลังจึงจัดทำรายละเอียดการใช้งบประมาณให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 25 พ.ย. และเบิกจ่ายเงินให้กระทรวงต่าง ๆ และหน่วยงานในสังกัดก่อนวันที่ 31 ธ.ค.
3) สำหรับการประเมินผลงบประมาณนั้น กระทรวงต่าง ๆ จะประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมดภายในวันที่ 31 พ.ค. ส่งให้กระทรวงการคลังตรวจสอบก่อนเสนอสภาแห่งชาติเวียดนาม
4) สำนักงบประมาณได้ตั้งเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณไม่ให้เกินร้อยละ 5 ซึ่งในช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมา เวียดนามขาดดุลงบประมาณประมาณร้อยละ 5 จาก GDP โดยแก้ปัญหาด้วยการกู้เงินจาก ODA และการออกพันธบัตร เพื่อเพิ่มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ
State Bank of Vietnam
การหารือกับ Ms. Nguyen Thi Kim Dhanh, Deputy Director, Monetary Policy Department และคณะเจ้าหน้าที่ของธนาคารชาติของเวียดนาม เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2548 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1) ธนาคารกลางแห่งประเทศเวียดนามก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1951 ในระยะแรกไม่ได้ทำหน้าที่เป็นธนาคารกลาง โดยได้เริ่มทำหน้าที่เป็นธนาคารกลางของประเทศเมื่อปี 1988 และมีกฎหมายธนาคารกลางแห่งเวียดนาม (The Law on the State of Bank of Vietnam) ที่กำหนดบทบาทและความรับผิดชอบของธนาคารกลางในปี 1998
2) ธนาคารกลางแห่งประเทศเวียดนามมีหน้าที่หลัก คือ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เนื่องจากประเทศเวียดนามมีอัตราเงินเฟ้อสูงและมีความผันผวนมาก เช่น ในปี 1990 มีอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 67.5 ขณะที่ปี 2000 อัตราเงินเฟ้อติดลบร้อยละ 0.6 สำหรับปี 2004 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 9.5 และ 8 เดือนแรกของปี 2005 อยู่ที่ร้อยละ 6.0 และธนาคารกลางแห่งประเทศเวียดนามยังไม่ได้ใช้นโยบายการกำหนดเงินเฟ้อเป็นเป้าหมายดำเนินการ (Inflation Target) อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางไม่สามารถดำเนินนโยบายเพียงหน่วยงานเดียวในการกำกับดูแลไม่ให้อัตราเงินเฟ้อสูง ต้องกำหนดเป็นนโยบายระดับมหภาคและทุกหน่วยงานต้องช่วยกัน เช่น ธนาคารกลางดูแลนโยบายการเงิน กระทรวงการค้าดูแลราคาสินค้า และป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าตามชายแดน เป็นต้น
3) ประเทศเวียดนามใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่และเปลี่ยนแปลง +/- ได้ร้อยละ ปัจจุบันค่าเงินด่อง () ค่อนข้างมีเสถียรภาพ เนื่องจากปัจจัยอย่างน้อย 2 ประการ คือ (1) มีสัญญากัประชาชนว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าเงินด่อง +/- เกินร้อยละ 1 และ (2) เงินทุนไหลเข้าสุทธิจำนวนมาก ทั้งจากคนเวียดนามโพ้นทะเล (คนเวียดนามที่หนีภัยสงครามเวียดนามไปอยู่ประเทศที่สาม เช่น ที่สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ทำมาหากินและมีเงินเก็บ) ได้ส่งเงินกลับประเทศ และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ (Official Development Assistance ; ODA)
4) สำหรับมาตรการในการเพิ่มศักยภาพของธนาคารพาณิชย์ในประเทศเวียดนามให้สามารถแข่งขันได้นั้น ธนาคารกลางได้มีการวิเคราะห์ ตรวจสอบฐานะของธนาคารใกล้ชิดมากขึ้น ควบคุมเงินไหลเข้าประเทศอย่างเข้มงวด รวมทั้งตั้งหน่วยงานเตือนภัย เป็นต้น
Ministry of Trade, Planning & Investment Department
การหารือกับ Mr. Hoang Thich Lam, Deputy Director-General of the Planning and Investment Department และคณะเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการค้า เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2548 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1) ในช่วงปี 1991-2000 ประเทศเวียดนามถือว่าประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศระดับหนึ่งที่สามารถผ่านวิกฤตเศรษฐกิจได้ และสามรถปรับเปลี่ยนประเทศจากที่ต้องนำเข้าข้าวมาเป็นผู้ส่งออกข้าว โดยในปี 1988 เวียดนามได้มีการนำเข้าข้าว 4 แสนตัน แต่ในปี 1999 เวียดนามสามารถส่งออกข้าวได้ ทั้งนี้เนื่องจากก่อนปี 1998 เวียดนามมีการจัดทำบัญชีข้าวเพื่อใช้ในการแบ่งปัน เช่น กำหนดโควต้าสินค้าเกษตร 13-15 กิโลกรัมต่อเดือนต่อครัวเรือน ทำให้มีการกักตุนสินค้าเกษตรจากการใช้โควตาเต็มจำนวนทุกครัวเรือน แม้ว่าจะบริโภคไม่หมด และสินค้าเกษตรที่เหลือเสียหายตามอายุ ส่งผลให้มีการนำเข้ามากกว่าการส่งออกประมาณ 2 เท่า ปี 1988 ได้ยกเลิกบัญชีข้าว โดยใช้ราคาตลาดแทน ทำให้ความต้องการข้าวลดลงโดยรวมลดลง และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงด้วย
2) ประเทศเวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศอาเซียนเมื่อปี 1995 ทำให้เวียดนามเริ่มเปิดประเทศด้านการค้ามากขึ้น และเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ถือว่าการเจรจาการค้าฉบับแรกของเวียดนาม
3) การวางแผนพัฒนาประเทศ ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศในการพิจารณาส่งเสริมการลงทุนด้วย เช่น อุตสาหกรรมการต่อเรือในเวียดนามนั้น เริ่มแรกไม่ค่อยมีคนเห็นด้วย แต่เมื่อมีการชี้แจงว่าประเทศเวียดนามมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลกว่า 3,000 ไมล์ จำเป็นต้องมีอุตสาหกรรมต่อเรือ ซึ่งในปัจจุบันอุตสาหกรรมต่อเรือไม่เป็นเพียงอุตสาหกรรมหลักของประเทศแต่ติดลำดับหนึ่งสิบของอุตสาหกรรมต่อเรือของโลกด้วย
UNDP
การหารือกับนาย Jonathan Pincus, Senior Country Economist, UNDP ประจำเวียดนาม เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2548 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1) บทบาทของ UNDP ในการพัฒนาเวียดนาม UNDP ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานในกลุ่ม Creditors' Group ซึ่งให้เงินกู้ หรือความช่วยเหลือทางการเงินรูปแบบต่างๆ แก่เวียดนาม ซึ่งกลุ่มนี้จะประชุมกันปีละ 2 ครั้ง ซึ่งประเทศหรือองค์กรต่างๆ จะประกาศวงเงินที่จะสนับสนุนเวียดนามในแต่ละปี ในปีนี้ Creditors' Group จะเน้นไปที่การมีส่วนร่วมในการร่าง SEDP 2006-2010
2) ที่ผ่านมา UNDP มีบทบาทในกระบวนการพัฒนาเวียดนามโดยตรง และยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างเวียดนามกับ creditors ช่วยให้ทั้งสองฝ่ายทำงานบนพื้นฐานของความเข้าใจที่ตรงกัน
3) UNDP ยังช่วยแก้ไขหรือลดปัญหาความขัดแย้งในหมู่ creditors ด้วยกันเอง ซึ่งมักจะเป็นความไม่เห็นพ้องกันในประเด็นเล็กน้อย โดยทั่วไปแล้ว ทุกฝ่ายจะเห็นพ้องกันว่า แนวทางการพัฒนาของเวียดนาม ควรจะเน้นที่การขจัดความยากจน การสร้างธรรมาภิบาลทั้งในภาครัฐและเอกชน และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อสังเกต และข้อคิดเห็นทั่วไป
1) ประเทศเวียดนามมีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ดี มีทั้งระยะสั้น ระยะยาว มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนที่จะเป็นประเทศอุตสาหกรรม ขจัดความยากจน และเปิดประเทศให้เจริญทัดเทียมอารยะประเทศ รวมทั้งมีการประเมินผลทุกปีเพื่อการปรับแผนพัฒนาประเทศให้ถูกทิศทางตามสภาพการณ์ของโลก
2) สภาพทั่วไปของเมืองฮานอยยังไม่เจริญเท่าที่ควร ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา ประชากรยังยากจนอยู่มาก มีการขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งมีการก่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และมีการขยายตัวของเมืองออกไปรอบนอกเพิ่มขึ้น จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศในเวียดนาม ประมาณกันว่าการพัฒนาด้านระบบการเงินน่าจะล้าหลังประเทศไทยประมาณ 30 ปี แต่ทางด้านการผลิตอาจจะล้าหลังเพียง 10 กว่าปี
3) ประชากรเวียดนามส่วนใหญ่ขยันและอดทน ประกอบกับมีทรัพยากรน้ำมัน ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญและอยู่รอดได้โดยมีผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นไม่มากนัก ฉะนั้นประเทศเวียดนามจึงสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานจะสามารถพัฒนาประเทศรุดหน้าได้ทัดเทียมประเทศไทยและประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย
4) กระทรวงการค้า ประเทศเวียดนาม มีความเห็นสอดคล้องกับประเทศไทยว่า ควรมีการร่วมมือระหว่างไทยกับเวียดนามในการกำหนดราคาข้าวส่งออก
5) เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ ของเวียดนามที่ได้ไปศึกษาดูงานโดยส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดี ต่อประเทศไทย และให้ความร่วมมืออย่างดีในการบรรยายสรุปและซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เนื่องจากเจ้าหน้าที่เหล่านี้ส่วนใหญ่เคยเดินทางมาศึกษาดูงานในประเทศไทยและได้รับความร่วมมืออย่างดีจากฝ่ายไทย
6) การได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานและสร้างความสัมพันธ์ระดับเจ้าหน้าที่กับหน่วยงานด้านวางแผนในประเทศเพื่อนบ้านครั้งนี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเจ้าหน้าที่ของ สศม. เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ได้เรียนรู้แนวคิดและวิธีการทำงานที่เกี่ยวกับการวางแผนโดยตรงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของเพื่อนบ้าน นอกจากจะเป็นการสร้างเครือข่ายแล้ว ยังสามารถนำประสบการณ์ที่ได้มาปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-