-อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.34375 - 4.375 และ 4.4375 - 4.46875 ต่อปี ตามลำดับ ตามความต้องการกู้ยืม/ลงทุนของสถาบันการเงิน ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัวสูงขึ้นในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง
-เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ จากความไม่แน่นอนทางการเมือง ก่อนที่จะปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นในการชุมนุมประท้วง และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง สถาบันการเงินจึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นจากร้อยละ 4.34375 และ 4.4375 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.375 และ 4.46875 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องปรับสูงขึ้นเป็นลำดับในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากมีการนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือนผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ ส่งให้ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดลดลงมาอยู่ในระดับเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.34375 และ 4.4375 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.1 - 4.5 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.35 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 34,000 ล้านบาทเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 14,000 ล้านบาท และพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย อายุ 7 และ 8 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารทุกประเภทปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ทำให้พันธบัตร ธปท. ได้รับการจัดสรรเพียง 10,606 ล้านบาท ตราสารที่ออกใหม่ในสัปดาห์นี้จึงมีจำนวน 30,606 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 27,154 ล้านบาท เท่ากับมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 3,452 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 71,533 ล้านบาท หรือ 14,307 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 44.9 แต่ธุรกรรม Outright ลดลงเพียงร้อยละ 23.1 โดยตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ อายุ ต่ำกว่า 1 ปี มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 1 ปี ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ และลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีความต้องการลงทุนเข้ามามากขึ้น ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-12 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลลดลง 12 basis points ส่วนดัชนีหุ้นกู้เอกชนเกือบไม่เปลี่ยนแปลง
สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลง โดยปัจจัยที่สนับสนุนการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทน ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ประกาศเมื่อปลายสัปดาห์ก่อนที่ออกมาสูงกว่าที่คาด สำหรับปัจจัยที่ทำให้อัตราผลตอบแทนฯ ลดลง ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค และตัวเลขการสร้างบ้านที่ต่ำกว่าคาดการณ์ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 2-16 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.พ. 49 39.35
เฉลี่ย 6 - 10 มี.ค. 49 38.97
13 มี.ค. 49 39.05
14 มี.ค. 49 39.10
15 มี.ค. 49 39.19
16 มี.ค. 49 39.06
17 มี.ค. 49 39.00
เฉลี่ย 13 - 17 มี.ค. 49 39.08
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.08 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าและมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับถึงช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากถูกกดดันจากความกังวลต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศ โดยเฉพาะกำหนดการชุมนุมประท้วงในช่วงต้นสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม เงินบาทเริ่มปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นในการชุมนุมประท้วง ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยมีปัจจัยกดดันจากข่าวความต้องการปรับลดสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ในเงิน
สำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางของสหรัฐอาหรับเอมิเรต ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาไม่ดี โดยเฉพาะตัวเลขเงินทุนไหลเข้าสุทธิเพื่อลงทุนในสินทรัพย์สหรัฐฯ ในเดือนมกราคมที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดและไม่เพียงพอที่จะชดเชยการขาดดุลการค้าในเดือนเดียวกันได้ นอกจากนี้ ตัวเลขภาคการผลิตที่ค่อนข้างอ่อนแอยังส่งผลให้นักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ลงในระยะเวลาอันใกล้ เป็นปัจจัยกดดันต่อเงินดอลลาร์ สรอ. อีกทางหนึ่ง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัวสูงขึ้นในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง
-เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ จากความไม่แน่นอนทางการเมือง ก่อนที่จะปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นในการชุมนุมประท้วง และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง สถาบันการเงินจึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นจากร้อยละ 4.34375 และ 4.4375 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.375 และ 4.46875 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องปรับสูงขึ้นเป็นลำดับในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากมีการนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือนผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ ส่งให้ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดลดลงมาอยู่ในระดับเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.34375 และ 4.4375 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.1 - 4.5 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.35 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 34,000 ล้านบาทเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 14,000 ล้านบาท และพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย อายุ 7 และ 8 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารทุกประเภทปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ทำให้พันธบัตร ธปท. ได้รับการจัดสรรเพียง 10,606 ล้านบาท ตราสารที่ออกใหม่ในสัปดาห์นี้จึงมีจำนวน 30,606 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 27,154 ล้านบาท เท่ากับมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 3,452 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 71,533 ล้านบาท หรือ 14,307 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 44.9 แต่ธุรกรรม Outright ลดลงเพียงร้อยละ 23.1 โดยตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ อายุ ต่ำกว่า 1 ปี มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 1 ปี ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ และลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีความต้องการลงทุนเข้ามามากขึ้น ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-12 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลลดลง 12 basis points ส่วนดัชนีหุ้นกู้เอกชนเกือบไม่เปลี่ยนแปลง
สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลง โดยปัจจัยที่สนับสนุนการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทน ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ประกาศเมื่อปลายสัปดาห์ก่อนที่ออกมาสูงกว่าที่คาด สำหรับปัจจัยที่ทำให้อัตราผลตอบแทนฯ ลดลง ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค และตัวเลขการสร้างบ้านที่ต่ำกว่าคาดการณ์ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 2-16 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.พ. 49 39.35
เฉลี่ย 6 - 10 มี.ค. 49 38.97
13 มี.ค. 49 39.05
14 มี.ค. 49 39.10
15 มี.ค. 49 39.19
16 มี.ค. 49 39.06
17 มี.ค. 49 39.00
เฉลี่ย 13 - 17 มี.ค. 49 39.08
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.08 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าและมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับถึงช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากถูกกดดันจากความกังวลต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศ โดยเฉพาะกำหนดการชุมนุมประท้วงในช่วงต้นสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม เงินบาทเริ่มปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นในการชุมนุมประท้วง ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยมีปัจจัยกดดันจากข่าวความต้องการปรับลดสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ในเงิน
สำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางของสหรัฐอาหรับเอมิเรต ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาไม่ดี โดยเฉพาะตัวเลขเงินทุนไหลเข้าสุทธิเพื่อลงทุนในสินทรัพย์สหรัฐฯ ในเดือนมกราคมที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดและไม่เพียงพอที่จะชดเชยการขาดดุลการค้าในเดือนเดียวกันได้ นอกจากนี้ ตัวเลขภาคการผลิตที่ค่อนข้างอ่อนแอยังส่งผลให้นักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ลงในระยะเวลาอันใกล้ เป็นปัจจัยกดดันต่อเงินดอลลาร์ สรอ. อีกทางหนึ่ง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-