แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
กระทรวงพาณิชย์
นายกรัฐมนตรี
ห้องสมุด
ข้อมูล
สศช. ครบรอบ 56 ปี... รองนายกฯ สมคิด มอบนโยบายการปฏิบัติงาน พร้อมเปิดห้องสมุดสุริยานุวัตร และศูนย์บริการข้อมูล
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบนโยบายแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในโอกาสครบรอบ 56 ปี แห่งการสถาปนา สศช. นอกจากนี้ ได้เป็นประธานเปิดห้องสมุดสุริยานุวัตร และศูนย์บริการข้อมูล สศช. ณ อาคาร 4 ริมถนนหลานหลวง
สศช. : เสาหลักของการพัฒนาประเทศ
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวว่า สศช. เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศมายาวนาน ชาว สศช. จึงควรภูมิใจที่ได้ทำงานในสถาบันซึ่งถือเป็นเสาหลักของการพัฒนาประเทศโดยวางแผนกำหนดทิศทางการพัฒนา ช่วยผลักดัน ฝ่าฟันวิกฤตเศรษฐกิจมาได้ ซึ่งปัจจุบันนับว่าประเทศไทยมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าไปได้ไกลกว่าประเทศที่อยู่ใกล้เคียงมาก
การพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์ สศช. จะต้องก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยกระแสการค้าจะทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงมาก ซึ่งควรให้ทุกภาคส่วนร่วมกันระดมสมองกำหนดว่าเมื่อสิ่งแวดล้อมข้างนอกเปลี่ยนแปลงไป เราจะอยู่ตรงไหนได้อย่างสง่าผ่าเผย แข็งแรง และยั่งยืน
ปัญหาที่สำคัญของการพัฒนาประเทศมีหลายประการ อาทิ ความยากจน การขาดดุลการค้า และโครงสร้างการผลิตที่ไม่เข้มแข็ง สศช. จึงต้องวางแผนพัฒนาอย่างครบวงจร และไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน อาทิ การกำหนดแผนการพัฒนาชนบทให้มุ่งไปสู่จุดเดียวกัน มีการทำงานในลักษณะบูรณาการเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในจุดต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาคณะกรรมการหมู่บ้านให้เข้มแข็ง เพื่อสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) เพื่อเป็นพลังของสังคม อันเป็นการสร้างฐานจากข้างล่างขึ้นมาข้างบน
นอกจากนี้ การพัฒนาประเทศไทยในระยะต่อไป ควรมุ่งพัฒนาเป็นคลัสเตอร์ เชื่อมโยงในระดับภูมิภาคในด้านต่างๆ อาทิ การท่องเที่ยว การลงทุน การเกษตร และอุตสาหกรรม รวมทั้งให้มีความเชื่อมโยงระหว่างภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งประเทศต่างๆ ได้มีการพัฒนาในลักษณะนี้และเห็นผลมาแล้ว
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องใหญ่ที่สุดในขณะนี้คือการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะต้องทันสมัย (Modern) แต่จะต้องทำให้ข้างในแข็งแรงตามโครงสร้างที่ออกแบบ (Design) ไว้ โดยการสร้างสังคมฐานความรู้ (Knowledge Society) และเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Economy) ขณะเดียวกันก็ต้องเตรียมพัฒนาประเทศให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมจากภายนอก ซึ่ง สศช. ควรใช้กำลังคนส่วนใหญ่เข้ามาดูแลเรื่องนี้
นอกจากนี้ ในอนาคต สศช. ต้องดูเรื่องการพัฒนาภูมิภาค (Regional) และการวางภูมิรัฐศาสตร์ (Geo-politics) ) ซึ่งทุกอย่างจะเป็นภาพรวมทั้งหมด เหมือนวางพิมพ์เขียว (Blue Print) ของประเทศไทยในอีก 4-5 ปี ข้างหน้า
ทั้งนี้ การพัฒนาทุกอย่างต้องอยู่ภายในกรอบของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ที่ควรมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กันไป ซึ่งการวางแผนและแนวทางการพัฒนาประเทศที่ถูกต้อง จะช่วยในการกำหนดยุทธศาสตร์มุ่งสู่ตำแหน่งที่เหมาะสมได้ โดยประเทศต้องมีจุดยืนที่แข็งแรงพอที่จะไปแข่งในโลกาภิวัตน์ได้ ซึ่งต้องเชื่อมต่อการพัฒนาภายในประเทศ (Localization) กับโลกาภิวัตน์ (Globalization) ด้วย สำหรับกระบวนการจัดทำแผนฯ 10 สศช. ควรเป็นศูนย์กลางให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วย
รองนายกรัฐมนตรีกล่าวในตอนท้ายว่า ในอนาคต สศช. ต้องเป็นมันสมองของประเทศ ที่มองไปข้างหน้า และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลฐานความรู้กับองค์กรทั่วโลกได้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องทำแผนยกระดับ สศช. ใน 5 ปีข้างหน้า ให้เป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง เฉียบแหลม และมีพลวัตร มีการกำหนดภารกิจและงบประมาณที่เหมาะสม และมีเครื่องมือกลไกพร้อม รวมทั้งมีบุคลากรที่มีความสามารถ ทำงานหนัก และเป็นคนดีด้วย
รองนายกฯ สมคิด เปิดห้องสมุดสุริยนุวัตร และศูนย์บริการข้อมูล
นอกจากนี้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้เป็นประธานในพิธีเปิดห้องสมุดสุริยานุวัตร และศูนย์บริการข้อมูล สศช. ร่วมด้วยนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวรายงานว่า สศช. มีภารกิจหลักในการกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ จึงต้องพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงให้ความสำคัญต่อการสร้างองค์ความรู้แก่เจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง จึงได้มีนโยบายให้พัฒนาห้องสมุดตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการฯ เมื่อปลายปี 2547 โดยให้ปรับปรุงทั้งด้านโครงสร้าง ข้อมูลสารสนเทศ และวิธีการบริหารจัดการ โดยการปรับปรุงรูปลักษณ์ให้ทันสมัย เพิ่มพื้นที่ใช้สอย เพิ่มหนังสือ เอกสาร และข้อมูลในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย และเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการให้บริการ เพื่อมุ่งสู่การเป็นห้องสมุดเสมือน (Virtual Library)
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สศช. ได้จัดมุม “เศรษฐกิจพอเพียง” ไว้ในห้องสมุด โดยได้รวบรวมเอกสารความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งได้อัญเชิญพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทมาจัดแสดงไว้ด้วย เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีในปีนี้
สำหรับชื่อของห้องสมุด มาจากราชทินนามของพระยาสุริยานุวัตร นักเศรษฐศาสตร์คนแรกของประเทศไทย ผู้เขียน “ทรัพยศาสตร์” ตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของไทย และในอดีตเป็นเจ้าของที่ตั้ง สศช. ในปัจจุบัน
นอกจากนี้ สศช. ได้จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูล สศช. (NESDB Information Center) ขึ้น ในพื้นที่เชื่อมต่อกับห้องสมุด เพื่อให้เป็นจุดบริการแบบครบวงจร (One Stop Service) โดยให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจและสังคมผ่านระบบออนไลน์ และในรูปเล่มเอกสาร รวมทั้งสามารถเรียกดูเอกสารวิชาการ งานวิจัย และสิ่งพิมพ์ของ สศช. ได้จากระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) และจะเป็นที่จัดแสดงหนังสือและเอกสาร รวมทั้งบริการข้อมูลขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ในอนาคต
ในโอกาสนี้ สศช. ได้จัดกิจกรรมต่อเนื่องจากพิธีเปิดห้องสมุดและศูนย์บริการข้อมูลอีก 2 วัน โดยจัดการเสวนา “จิบน้ำชา ตามหาความรู้” ขึ้นภายในห้องสมุดฯ เรื่อง “คุยกับศรีดาวเรือง” หรือมีนามจริงว่า คุณวรรณา สวัสดิ์ศรี นักเขียนและนักแปลชื่อดัง ซึ่งได้รับรางวัลจากหลายสถาบัน และเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง ตามรอยพระยุคลบาท” โดย ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการฯ
จึงขอเชิญชวนประชาชนทั่วไปเข้าใช้บริการและสมัครเป็นสมาชิกของห้องสมุดสุริยานุวัตรได้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 โดยเปิดให้บริการวันจันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบนโยบายแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในโอกาสครบรอบ 56 ปี แห่งการสถาปนา สศช. นอกจากนี้ ได้เป็นประธานเปิดห้องสมุดสุริยานุวัตร และศูนย์บริการข้อมูล สศช. ณ อาคาร 4 ริมถนนหลานหลวง
สศช. : เสาหลักของการพัฒนาประเทศ
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวว่า สศช. เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศมายาวนาน ชาว สศช. จึงควรภูมิใจที่ได้ทำงานในสถาบันซึ่งถือเป็นเสาหลักของการพัฒนาประเทศโดยวางแผนกำหนดทิศทางการพัฒนา ช่วยผลักดัน ฝ่าฟันวิกฤตเศรษฐกิจมาได้ ซึ่งปัจจุบันนับว่าประเทศไทยมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าไปได้ไกลกว่าประเทศที่อยู่ใกล้เคียงมาก
การพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์ สศช. จะต้องก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยกระแสการค้าจะทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงมาก ซึ่งควรให้ทุกภาคส่วนร่วมกันระดมสมองกำหนดว่าเมื่อสิ่งแวดล้อมข้างนอกเปลี่ยนแปลงไป เราจะอยู่ตรงไหนได้อย่างสง่าผ่าเผย แข็งแรง และยั่งยืน
ปัญหาที่สำคัญของการพัฒนาประเทศมีหลายประการ อาทิ ความยากจน การขาดดุลการค้า และโครงสร้างการผลิตที่ไม่เข้มแข็ง สศช. จึงต้องวางแผนพัฒนาอย่างครบวงจร และไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน อาทิ การกำหนดแผนการพัฒนาชนบทให้มุ่งไปสู่จุดเดียวกัน มีการทำงานในลักษณะบูรณาการเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในจุดต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาคณะกรรมการหมู่บ้านให้เข้มแข็ง เพื่อสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) เพื่อเป็นพลังของสังคม อันเป็นการสร้างฐานจากข้างล่างขึ้นมาข้างบน
นอกจากนี้ การพัฒนาประเทศไทยในระยะต่อไป ควรมุ่งพัฒนาเป็นคลัสเตอร์ เชื่อมโยงในระดับภูมิภาคในด้านต่างๆ อาทิ การท่องเที่ยว การลงทุน การเกษตร และอุตสาหกรรม รวมทั้งให้มีความเชื่อมโยงระหว่างภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งประเทศต่างๆ ได้มีการพัฒนาในลักษณะนี้และเห็นผลมาแล้ว
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องใหญ่ที่สุดในขณะนี้คือการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะต้องทันสมัย (Modern) แต่จะต้องทำให้ข้างในแข็งแรงตามโครงสร้างที่ออกแบบ (Design) ไว้ โดยการสร้างสังคมฐานความรู้ (Knowledge Society) และเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Economy) ขณะเดียวกันก็ต้องเตรียมพัฒนาประเทศให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมจากภายนอก ซึ่ง สศช. ควรใช้กำลังคนส่วนใหญ่เข้ามาดูแลเรื่องนี้
นอกจากนี้ ในอนาคต สศช. ต้องดูเรื่องการพัฒนาภูมิภาค (Regional) และการวางภูมิรัฐศาสตร์ (Geo-politics) ) ซึ่งทุกอย่างจะเป็นภาพรวมทั้งหมด เหมือนวางพิมพ์เขียว (Blue Print) ของประเทศไทยในอีก 4-5 ปี ข้างหน้า
ทั้งนี้ การพัฒนาทุกอย่างต้องอยู่ภายในกรอบของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ที่ควรมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กันไป ซึ่งการวางแผนและแนวทางการพัฒนาประเทศที่ถูกต้อง จะช่วยในการกำหนดยุทธศาสตร์มุ่งสู่ตำแหน่งที่เหมาะสมได้ โดยประเทศต้องมีจุดยืนที่แข็งแรงพอที่จะไปแข่งในโลกาภิวัตน์ได้ ซึ่งต้องเชื่อมต่อการพัฒนาภายในประเทศ (Localization) กับโลกาภิวัตน์ (Globalization) ด้วย สำหรับกระบวนการจัดทำแผนฯ 10 สศช. ควรเป็นศูนย์กลางให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วย
รองนายกรัฐมนตรีกล่าวในตอนท้ายว่า ในอนาคต สศช. ต้องเป็นมันสมองของประเทศ ที่มองไปข้างหน้า และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลฐานความรู้กับองค์กรทั่วโลกได้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องทำแผนยกระดับ สศช. ใน 5 ปีข้างหน้า ให้เป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง เฉียบแหลม และมีพลวัตร มีการกำหนดภารกิจและงบประมาณที่เหมาะสม และมีเครื่องมือกลไกพร้อม รวมทั้งมีบุคลากรที่มีความสามารถ ทำงานหนัก และเป็นคนดีด้วย
รองนายกฯ สมคิด เปิดห้องสมุดสุริยนุวัตร และศูนย์บริการข้อมูล
นอกจากนี้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้เป็นประธานในพิธีเปิดห้องสมุดสุริยานุวัตร และศูนย์บริการข้อมูล สศช. ร่วมด้วยนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวรายงานว่า สศช. มีภารกิจหลักในการกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ จึงต้องพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงให้ความสำคัญต่อการสร้างองค์ความรู้แก่เจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง จึงได้มีนโยบายให้พัฒนาห้องสมุดตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการฯ เมื่อปลายปี 2547 โดยให้ปรับปรุงทั้งด้านโครงสร้าง ข้อมูลสารสนเทศ และวิธีการบริหารจัดการ โดยการปรับปรุงรูปลักษณ์ให้ทันสมัย เพิ่มพื้นที่ใช้สอย เพิ่มหนังสือ เอกสาร และข้อมูลในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย และเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการให้บริการ เพื่อมุ่งสู่การเป็นห้องสมุดเสมือน (Virtual Library)
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สศช. ได้จัดมุม “เศรษฐกิจพอเพียง” ไว้ในห้องสมุด โดยได้รวบรวมเอกสารความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งได้อัญเชิญพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทมาจัดแสดงไว้ด้วย เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีในปีนี้
สำหรับชื่อของห้องสมุด มาจากราชทินนามของพระยาสุริยานุวัตร นักเศรษฐศาสตร์คนแรกของประเทศไทย ผู้เขียน “ทรัพยศาสตร์” ตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของไทย และในอดีตเป็นเจ้าของที่ตั้ง สศช. ในปัจจุบัน
นอกจากนี้ สศช. ได้จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูล สศช. (NESDB Information Center) ขึ้น ในพื้นที่เชื่อมต่อกับห้องสมุด เพื่อให้เป็นจุดบริการแบบครบวงจร (One Stop Service) โดยให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจและสังคมผ่านระบบออนไลน์ และในรูปเล่มเอกสาร รวมทั้งสามารถเรียกดูเอกสารวิชาการ งานวิจัย และสิ่งพิมพ์ของ สศช. ได้จากระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) และจะเป็นที่จัดแสดงหนังสือและเอกสาร รวมทั้งบริการข้อมูลขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ในอนาคต
ในโอกาสนี้ สศช. ได้จัดกิจกรรมต่อเนื่องจากพิธีเปิดห้องสมุดและศูนย์บริการข้อมูลอีก 2 วัน โดยจัดการเสวนา “จิบน้ำชา ตามหาความรู้” ขึ้นภายในห้องสมุดฯ เรื่อง “คุยกับศรีดาวเรือง” หรือมีนามจริงว่า คุณวรรณา สวัสดิ์ศรี นักเขียนและนักแปลชื่อดัง ซึ่งได้รับรางวัลจากหลายสถาบัน และเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง ตามรอยพระยุคลบาท” โดย ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการฯ
จึงขอเชิญชวนประชาชนทั่วไปเข้าใช้บริการและสมัครเป็นสมาชิกของห้องสมุดสุริยานุวัตรได้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 โดยเปิดให้บริการวันจันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-