ประสิทธิภาพการใช้น้ำมันโดยรวมดีขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว
- สัดส่วนการใช้น้ำ มันต่อ GDP ในไตรมาสที่สี่ของปี 2552 สัดส่วนการใช้น้ำมันต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 0.9166 ลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 0.9264 ในไตรมาสที่สาม แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2551 ที่อยู่ที่ร้อยละ 0.9012 ซึ่งสัดส่วนการใช้น้ำมันต่อ GDP ที่อยู่ในระดับสูง สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมการใช้น้ำ มันทั้งเพื่อการเดินทางและเพื่อกิจกรรมอื่น ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้รวมทั้งปี 2552 สัดส่วนการใช้น้ำมันต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 0.9424 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.9005 ในปี 2551
- การใช้น้ำ มันสำ เร็จรูปภายในประเทศ: ปริมาณการใช้พลังงานรวมเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในไตรมาสที่สี่ของปี 2552 ปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมีปริมาณการใช้ประมาณ 12.2 ล้านลิตรต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 59.4 ของปริมาณการใช้เบนซินทั้งหมด ปริมาณการใช้ไบโอดีเซล (บี 5) เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.9 โดยมีปริมาณการใช้อยู่ที่ประมาณ 22.1 ล้านลิตรต่อวัน ปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.6 และปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจี เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 ซึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้นทำให้มีความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นทั้งในภาคครัวเรือนและเพื่อการพาณิชย์
ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน (ออกเทน 91 และ 95) และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลงร้อยละ 7.9 และ 13.8 ตามลำดับ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคมาใช้พลังงานทางเลือกอื่นทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล ซึ่งมีราคาถูกกว่า รวมทั้งปี 2552 ปริมาณการใช้นำมันดีเซลหมุนเร็วและหมุนช้าลดลงร้อยละ 25.6 ขณะที่การใช้ไบโอดีเซล (บี 5) เพิ่มขึ้นร้อยละ 115.8 ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน (ออกเทน 91 และ 95) ลดลงร้อยละ 18.1 ขณะที่การใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.8 สำหรับการใช้ก๊าซแอลพีจีและก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 และ 85.5 ตามลำดับ
เสถียรภาพ
- เสถียรภาพในประเทศ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในไตรมาสที่สี่เงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 1.9 เป็นบวกครั้งแรกในรอบ 9 เดือน และตลอดปี2552 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ -0.9 ทั้งนี้เงินเฟ้อเริ่มเป็นบวกตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นมา จากราคาสินค้าทั่วไปที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจาก (1) นโยบายการประกันรายได้เกษตรกรของรัฐบาล ซึ่งทำให้ราคาข้าวปรับเพิ่มขึ้น (2) การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก (3) ค่าน้ำประปาเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากรัฐบาลได้ปรับลดมาตรการช่วยค่าครองชีพเกี่ยวกับค่าน้ำประปา ส่งผลให้ประชาชนต้องรับภาระค่าน้ำ ประปาเพิ่มขึ้น (4) การปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตในกลุ่มสุราและยาสูบ ส่งผลให้ราคาสินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น ในขณะที่มาตรการเรียนฟรี 15 ปีของรัฐบาล ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในด้านการศึกษาลดลง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยในไตรมาสที่สี่ เท่ากับร้อยละ 0.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ - 0.5 ในไตรมาสที่สาม และตลอดทั้งปี 2552 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเท่ากับร้อยละ 0.3
ในไตรมาสที่สี่ ดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และเฉลี่ยตลอดทั้งปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกือบทุกประเภท ยกเว้นเครื่องปรุงอาหาร ผักสด น้ำมันและไขมัน โดยเฉพาะราคาข้าว (ข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว) ส่วนดัชนีราคาสินค้าหมวดที่มิใช่อาหารในไตรมาสที่สี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เฉลี่ยตลอดทั้งปี 2552 ดัชนีราคาสินค้าหมวดที่มิใช่อาหารลดลงร้อยละ 4.8 เป็นผลมาจากราคาในหมวดพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร และการศึกษาที่ลดลงเป็นสำคัญ
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่สี่ปรับตัวเป็นบวกมาอยู่ที่ร้อยละ 6.7 หลังจากติดลบต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2552 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาผลผลิตเกษตร ผลิตภัณฑ์เหมืองแร่ และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมร้อยละ 18.1 6.5 และ 4.2 ตามลำดับ ชี้ให้เห็นถึงแรงกดดันด้านต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะราคายางพารา ซึ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามความต้องการในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวและยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น และเมื่อรวมตลอดปี 2552 ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงร้อยละ 3.8
ด้านต่างประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสที่สี่เกินดุล 4,274 ล้านดอลลาร์สรอ. (หรือเท่ากับ 142,276 ล้านบาท) เกินดุลต่อเนื่องจากไตรมาสที่สองและสาม 2,763 และ 3,713 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ โดยเป็นผลจากการเกินดุลการค้า 2,673 ล้านดอลลาร์สรอ. และการเกินดุลบริการ รายได้ และเงินโอน 1,601 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นมาก และมีการส่งกลับผลตอบแทนจากการลงทุนและเงินปันผลของนักลงทุนต่างชาติลดลง รวมตลอดทั้งปี2552 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 20,291 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเท่ากับ 700,368 ล้านบาท
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2553 เท่ากับ 138.42 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (และมี Net Forward Position อีก 15.67 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ซึ่งคิดเป็นประมาณ 5.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และเท่ากับมูลค่าการนำเข้า 9.4 เดือน
ฐานะการคลัง: ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2553 (ต.ค. — ธ.ค.52) รัฐบาลขาดดุลงบประมาณจำนวน 98,230 ล้านบาท เทียบกับขาดดุลงบประมาณ 126,322 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว โดยรัฐบาลจัดเก็บรายได้ส่งคลังจำ นวน 352,945 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 ของช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว โดยเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตน้ำมันและรถยนต์ รวมทั้งอากรขาเข้าที่สูงกว่าประมาณการและช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในด้านรายจ่ายรัฐบาลใช้จ่ายเงินงบประมาณจำนวน 451,175 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 จากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบัน 396,155 ล้านบาท และงบประมาณปีก่อน 55,020 ล้านบาทส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 98,230 ล้านบาท และเมื่อรวมเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 76,864 ล้านบาท และการกู้เงินโดยการออกพันธบัตรและตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลและเพื่อการบริหารเงินคงคลัง 51,572 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดขาดดุล 123,522 ล้านบาททำ ให้รัฐบาลมีเงินคงคลัง ณ สิ้นปีเดือนธันวาคม 2552 จำ นวน 170,313 ล้านบาท
การเบิกจ่ายงบประมาณรวม ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2553 (ต.ค. — ธ.ค. 52) มีจำนวน 396,155 ล้านบาท คิดเป็นร้อย 23.3 ของวงเงินงบประมาณ 1,700,000 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ที่ร้อยละ 20.0 โดยงบประมาณรายจ่ายประจำเบิกจ่ายได้ร้อยละ 24.6 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำ และงบประมาณรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้ร้อยละ 20.5 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 12.0
สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (SP2) ณ สิ้นไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2553ได้มีการเบิกจ่ายแล้ว 35,035.8 ล้านบาทหรือร้อยละ 15.9 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ 219,819 ล้านบาท ภายใต้กรอบของ พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ 400,000 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายในสาขาการลงทุนในระดับชุมชนสูงสุดในสัดส่วนร้อยละ 11.2 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2552 มีจำนวน 3,969,822 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45.56 ของ GDP ลดลงเมื่อเทียบกับ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2552 (สิ้นปีงบประมาณ 2552) ที่มียอดหนี้สาธารณะคงค้างร้อยละ 45.93 ของ GDP เนื่องจากการลดลงของหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินและหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ภาวะการเงิน: ฐานเงินและปริมาณเงินชะลอตัว สินเชื่อรวมของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อภาคครัวเรือน ในขณะที่สินเชื่อธุรกิจยังคงหดตัว สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจเร่งตัวขึ้นตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เงินฝากรวมยังคงชะลอลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำส่งผลให้สภาพคล่องส่วนเกินลดลงแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากทรงตัว แต่การระดมทุนภาคเอกชนยังลดลงต่อเนื่อง ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สรอ.แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง แต่ดัชนีค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ทั้งนี้มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิเพิ่มขึ้น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นในขณะที่ดัชนีราคาตลาดตราสารหนี้ปรับตัวลดลงตามการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทน (Yields) ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ลดลงเล็กน้อย
- ฐานเงินและปริมาณเงินขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ ฐานเงินเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 120 พันล้านบาทหรือขยายตัวร้อยละ 6.1 ชะลอลงจากร้อยละ 8.9 ในไตรมาสที่สาม จากการชะลอตัวของสินทรัพย์ต่างประเทศ สำหรับปริมาณเงินขยายตัวร้อยละ 6.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 7.6 ในไตรมาสที่สาม โดยเงินฝากที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงเพิ่มขึ้น ในขณะที่เงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ยังหดตัวต่อเนื่อง ตัวคูณทวีทางการเงิน (Money Multiplier) ลดลงมาอยู่ที่ 9.6 เท่าจาก 10.3 เท่าในไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม อัตราการหมุนของเงิน(Velocity of Money) ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 0.23 เท่าทั้งปี 2552 ฐานเงินขยายตัวร้อยละ 6.1 ชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 11.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานที่สูงในปีที่ผ่านมา ในขณะที่ปริมาณเงินขยายตัวร้อยละ 6.5 ลดลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.2
- เงินฝากธนาคารพาณิชย์ชะลอตัวลง ในไตรมาสที่สี่เงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.1 ในไตรมาสที่สามเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้มีการย้ายเงินฝาก โดยเฉพาะเงินฝากประจำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่จูงใจกว่า เช่น พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ เป็นต้น เมื่อพิจารณาตามขนาดบัญชีพบว่าบัญชีเงินฝากขนาดเล็กขยายตัวได้ดีแต่บัญชีเงินฝากขนาดใหญ่ชะลอลง สำหรับเงินฝากที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจในไตรมาสที่สี่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 จากร้อยละ 15.9 ในไตรมาสที่สามเนื่องจากมีการเร่งระดมเงินฝากเพื่อรองรับการขยายสินเชื่อ Fast track ตลอดทั้งปี 2552 เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 8.5 ในปีที่ผ่านมา โดยในช่วงครึ่งแรกของปีเงินฝากรวมตั๋วแลกเงินขยายตัวได้ดีในระดับสูงเนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลต่อความเสี่ยงในการลงทุนในสินทรัพย์อื่นแต่ในช่วงครึ่งหลังของปีนักลงทุนคลายความกังวลจึงย้ายเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่จูงใจกว่า
- สินเชื่อรวมของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อภาคครัวเรือน ในไตรมาสที่สี่สินเชื่อรวมของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 6.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.7 ในไตรมาสที่สาม โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือนโดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเพื่อซื้อ/เช่าซื้อรถยนต์แต่สินเชื่อภาคธุรกิจยังคงหดตัวมากขึ้นจากร้อยละ 7.4 ในไตรมาสที่สาม มาเป็นร้อยละ 8.3 ในไตรมาสนี้ ถึงแม้ว่าความต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการลงทุนและเป็นเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) จะเพิ่มขึ้นตามภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แต่ธนาคารพาณิชย์ยังมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ จากความกังวลต่อเสถียรภาพของการฟื้นตัว ทำให้สินเชื่อคงค้างลดลงทุกสาขายกเว้นภาคการธนาคารและธุรกิจการเงิน สำหรับสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวได้ดีทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อครัวเรือนตามนโยบาย Fast Track ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สัดส่วน NPLs ต่อสินเชื่อคงค้างเท่ากับ 2.66 ลดลงจากร้อยละ 2.94 ในไตรมาสที่สาม สัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (Delinquency rate: ผิดนัดชำระตั้งแต่ 1-3 เดือน) ต่อยอดสินเชื่อคงค้าง ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.65 จากร้อยละ 4.06 ในไตรมาสที่สาม จากการที่ธนาคารพาณิชย์ดูแลคุณภาพสินเชื่ออย่างใกล้ชิด สำหรับทั้งปี 2552 สินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอลงจากร้อยละ 9.3 ในปี 2551 โดยเป็นการขยายตัวในสินเชื่อภาคครัวเรือน ในขณะที่สินเชื่อภาคธุรกิจหดตัวลง
- สภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคารพาณิชย์ ลดลงแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง สัดส่วนสินเชื่อ (ไม่รวมเงินให้กู้ยืมผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร) ต่อเงินฝากที่รวมตั๋วแลกเงินเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 86.6 ในไตรมาสที่สาม เป็นร้อยละ 88.6 ในไตรมาสที่สี่แสดงถึงสภาพคล่องในระบบที่ตึงตัวขึ้น สอดคล้องกับสภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคารพาณิชย์ที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจาก 1.35 ล้านล้านบาทในไตรมาสที่สามเป็น 1.32 ล้านล้านบาทในไตรมาสที่สี่ จากการลดลงของ net R/P position และสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิ (Net Foreign Asset) ที่ปรับตัวลดลงในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีเนื่องจากปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศลดลงในขณะที่มีเงินกู้ยืมจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
- อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงอยู่ในระดับเดิม ณ สิ้นไตรมาสที่สี่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี เพื่อสนับสนุนให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีความต่อเนื่อง เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นการบริโภคและลดต้นทุนของภาคธุรกิจ เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจและกลุ่มประเทศภูมิภาคที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดียวกับไตรมาสที่ผ่านมาเพื่อรักษาความต่อเนื่องของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจซึ่งยังคงมีความเปราะบางอยู่ ยกเว้นประเทศออสเตรเลียที่ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 3 ครั้งติดต่อกัน จากร้อยละ 3.0 ณ สิ้นไตรมาสที่สามเป็นร้อยละ 3.75 ณ สิ้นไตรมาสที่สี่
- อัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลงเล็กน้อย ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ยังทรงตัว ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนเฉลี่ยของ 4 ธนาคารใหญ่ ทรงตัวที่ร้อยละ 0.70 ต่อปีในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนลดลงจากร้อยละ 0.83 ในไตรมาสที่สามมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.70 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR อยู่ที่ร้อยละ 5.86 ไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสที่สาม เนื่องจากสภาพคล่องในระบบยังคงมีเพียงพอ อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง จากอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นมาเป็นบวกในช่วงไตรมาสที่สี่ จากที่ติดลบติดต่อกันในช่วง 3 ไตรมาสแรกโดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ที่แท้จริง ณ สิ้นไตรมาสที่สี่อยู่ที่ร้อยละ -3.40 และ 1.80 ต่อปี ตามลำดับ
- ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ไทยลดลง ในไตรมาสที่สี่ธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน 21.4 พันล้านบาท ลดลงจาก 23.6 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 9.5 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงมาก เนื่องจากการขาดทุนจากเงินลงทุน และการลดลงของกำไรจากการปริวรรตเงินตรา ส่วนรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลลดลงน้อยกว่าค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ทำให้อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิต่อสินทรัพย์สุทธิเฉลี่ย (Net Interest Margin: NIM) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นร้อยละ 3.05 ต่อปี ตลอดปี 2552 ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ไทยมีกำไรสุทธิ 82.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเล็กน้อย โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง แต่รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิปรับสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราค่าธรรมเนียมและบริการ
- เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้าสุทธิ6 ในไตรมาสที่สี่มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ 5.05 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่1.79 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นการไหลเข้าจากภาคธนาคาร 4.06 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการลดการถือครองสินทรัพย์ต่างประเทศและนำเข้าเงินกู้จากต่างประเทศเพื่อปิดสถานะล่วงหน้าของธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ ในขณะที่เงินลงทุนในหลักทรัพย์ยังคงไหลออกอย่างต่อเนื่อง โดยการไหลออกในไตรมาสที่สี่อยู่ที่ 2.57 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 3.87 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสที่แล้ว ทั้งปี 2552 มีเงินทุนไหลเข้าทั้งสิ้น 174.84 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปี 2551 ที่ 14.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เนื่องจากปริมาณการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ลดลงจาก 9.81 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เป็น 4.87 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ตามภาวะการลงทุนที่ซบเซาลงจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ประกอบกับเงินลงทุนในหลักทรัพย์ของภาคนอกธนาคารไหลออกเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในตราสารหนี้ที่ไหลออกกว่า 10.54 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เมื่อเทียบกับการไหลออกที่ 1.53 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในปี 2551 ซึ่งเป็นผลจากการลงทุนในตราสารหนี้ต่างชาติของคนไทยที่เพิ่มสูงขึ้นและการถอนการลงทุนในหลักทรัพย์ตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างชาติ
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ดัชนีค่าเงินบาทอ่อนค่าลง อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยไตรมาสที่สี่ของปี 2552 เท่ากับ 33.26 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.9 จากไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี2551 โดยอัตราแลกเปลี่ยนเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายไตรมาสแรก จากการไหลเข้าของเงินลงทุนตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้โอกาสในการหาผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ในภูมิภาคอื่นๆ เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเอเชีย แต่อย่างไรก็ตามเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศคู่ค้า/คู่แข่งอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (Nominal Effective Exchange Rate: NEER) และดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (Real Effective Exchange Rate:REER) โดยเฉลี่ยลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2552 โดยในไตรมาสที่สี่ลดลงร้อยละ 0.56 และ 0.77 ตามลำ ดับ และล่าสุดในเดือนมกราคม 2553 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 32.99 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และเฉลี่ยในวันที่ 1-18 กุมภาพันธ์ 2553 เท่ากับ 33.11 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
- ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นตามการทำราคาปิดสิ้นงวดบัญชี (window dressing) ของนักลงทุนสถาบัน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายทรงตัว ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ปิด ณ สิ้นไตรมาสที่สี่อยู่ที่ 734.5 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 2.4 จากไตรมาสที่สาม ส่วนหนึ่งเนื่องจากการทำ window dressing ของนักลงทุนสถาบัน ซึ่งสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของตลาดในภูมิภาค โดยดัชนีราคาปรับเพิ่มขึ้นในกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 20.0 พันล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย นักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิ 17.0 พันล้านบาท นักลงทุนสถาบันมียอดซื้อ 19.4 พันล้านบาท ภาพรวมในปี 2552 ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 63.3 โดยมีปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ทำให้มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น และนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิ สำหรับในเดือนมกราคม 2553 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงมาปิดที่ 696.6 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 18.7 พันล้านบาท ส่วนนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิ 7.5 พันล้านบาท
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ลดลงแต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มมากขึ้น มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาด (Outright)ในไตรมาสที่สี่เฉลี่ยเท่ากับ 51.6 พันล้านบาทต่อวัน ลดลงจากไตรมาสสามเล็กน้อย นักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิ 1.9 พันล้านบาท อัตราผลตอบแทน (Yield) พันธบัตรรัฐบาลอายุมากกว่า 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดัชนีราคาปรับลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสสามตลอดทั้งปี 2552 มูลค่าซื้อขายลดลงร้อยละ 14.0 ตามการซื้อสุทธิที่ลดลงมากของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากมีการย้ายไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น อัตราผลตอบแทนเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ตลอดทั้งปี จากการคาดการณ์การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในอนาคตและปริมาณพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยและพันธบัตรรัฐบาลที่ออกใหม่ในตลาดแรกอย่างต่อเนื่อง ณ สิ้นปี 2552 อัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นเกือบทุกช่วงอายุ โดยปรับขึ้นมากในช่วงอายุระยะปานกลางและระยะยาว ในเดือนมกราคม2553 มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาดเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 62.5 พันล้านบาท นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิ 3.8 พันล้านบาท อัตราผลตอบแทนยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
- การระดมทุนของภาคเอกชนลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นการออกหุ้นกู้ ในไตรมาสที่สี่ปี 2552 การระดมทุนของภาคเอกชนมีมูลค่ารวม 263.0 พันล้านบาท ลดลงจาก 271.2 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการระดมทุนในตราสารทุน 7.1 พันล้านบาท ในธุรกิจภาคการผลิตกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ ในขณะที่มีการออกหุ้นกู้ 255.9 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 73 เป็นการออกหุ้นกู้ของภาคการเงิน แต่สำหรับในภาคเศรษฐกิจจริงนั้นมีการออกหุ้นกู้ในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่มบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ และการขนส่ง ตลอดทั้งปี 2552 ภาคเอกชนระดมทุนรวม 1,014.2 พันล้านบาท ลดลงจาก 1,312.2 พันล้านบาท ในปี 2551 โดยเกือบทั้งหมดเป็นการระดมทุนผ่านหุ้นกู้ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจการเงินและกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเป็นสำคัญ ซึ่งสะท้อนว่าภาคธุรกิจบางกลุ่มยังคงมีความต้องการเงินทุน และสามารถใช้โอกาสในภาวะดอกเบี้ยต่ำ ในการคงต้นทุนของเงินทุนได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ช่องทางระดมทุนอื่น ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์และตลาดสินเชื่อไม่เอื้ออำนวย