-เศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายปี 2548 ขยายตัวร้อยละ 4.7 ชะลอลงกว่าในไตรมาสที่สามซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.4 เนื่องจาก (1) การใช้จ่ายครัวเรือนชะลอตัวจากการที่ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน และ (2) การส่งออกขยายตัวในอัตราที่ชลอลงในทุกหมวดสินค้าโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้า อุตสาหกรรม นอกจากนี้ปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง และยางพาราลดลง ในขณะที่การนำเข้าเร่งตัวมากขึ้นจากการนำเข้าสินค้าทุนที่เพิ่มขึ้นมาก
-โดยรวมทั้งปี 2548 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 4.5 โดยที่ครึ่งหลังของปีเศรษฐกิจขยายตัวได้มากกว่าในครึ่งแรกจากการที่การส่งออกสุทธิทั้งสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น โดยที่อุปสงค์ภายในประเทศทั้งการใช้จ่ายและการลงทุนจะชะลอตัวลงในภาวะที่ราคาน้ำมัน ราคาสินค้า และอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
-เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมนับว่ายังมั่นคงแต่แรงกดดันเงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นตลอดปี และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากในครึ่งแรกของปีทำให้การดำเนินนโยบายการเงินมีความเข้มงวดมากขึ้นตามลำดับ ในขณะที่ยังรักษาเป้าหมายการคลังสมดุล ทั้งนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้มีความมั่นคง โดยเฉลี่ยทั้งปีอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 4.5 อัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 1.8 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 3,714 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเท่ากับร้อยละ 2.0 ของ GDP และทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศเท่ากับ 53.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 คิดเป็นประมาณ 3.2 เท่าของหนี้สินต่างประเทศระยะสั้น
-คาดว่าในปี 2549 เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนทั้งจากอุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออก การส่งออกสุทธิของทั้งสินค้าและบริการจะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้มากกว่าในปี 2548 เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวเต็มที่มากขึ้น การนำเข้าชะลอตัว ในขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศชะลอตัวลงและสนับสนุนการขยายตัวได้
น้อยลงกว่าในปี 2548
(ยังมีต่อ).../1.ภาพรวมเศรษฐกิจ..
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
-โดยรวมทั้งปี 2548 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 4.5 โดยที่ครึ่งหลังของปีเศรษฐกิจขยายตัวได้มากกว่าในครึ่งแรกจากการที่การส่งออกสุทธิทั้งสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น โดยที่อุปสงค์ภายในประเทศทั้งการใช้จ่ายและการลงทุนจะชะลอตัวลงในภาวะที่ราคาน้ำมัน ราคาสินค้า และอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
-เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมนับว่ายังมั่นคงแต่แรงกดดันเงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นตลอดปี และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากในครึ่งแรกของปีทำให้การดำเนินนโยบายการเงินมีความเข้มงวดมากขึ้นตามลำดับ ในขณะที่ยังรักษาเป้าหมายการคลังสมดุล ทั้งนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้มีความมั่นคง โดยเฉลี่ยทั้งปีอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 4.5 อัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 1.8 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 3,714 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเท่ากับร้อยละ 2.0 ของ GDP และทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศเท่ากับ 53.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 คิดเป็นประมาณ 3.2 เท่าของหนี้สินต่างประเทศระยะสั้น
-คาดว่าในปี 2549 เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนทั้งจากอุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออก การส่งออกสุทธิของทั้งสินค้าและบริการจะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้มากกว่าในปี 2548 เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวเต็มที่มากขึ้น การนำเข้าชะลอตัว ในขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศชะลอตัวลงและสนับสนุนการขยายตัวได้
น้อยลงกว่าในปี 2548
(ยังมีต่อ).../1.ภาพรวมเศรษฐกิจ..
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-