3.3 การจัดอันดับขีดความสามารถของไทยเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเซีย
1) การเปรียบเทียบขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย ในปี 2549 ปรากฏว่า ประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงกว่าประเทศไทยมี 5 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน (อันดับที่ 13) สิงคโปร์ (อันดับที่ 5) ญี่ปุ่น (อันดับที่ 7) เกาหลี (อันดับที่ 24) และมาเลเซีย (อันดับที่ 26) ส่วนประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ต่ำกว่า ประเทศไทย มี 5 ประเทศ ได้แก่ จีน (อันดับที่ 54) อินเดีย (อันดับที่ 43) อินโดนีเซีย (อันดับที่ 50) ฟิลิปปินส์ (อันดับที่ 71) และเวียดนาม (อันดับที่ 77)
2) การพิจารณาเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ (1) ประเทศที่มีอันดับสูงขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ (2) ประเทศที่มีอันดับคงเดิม ได้แก่ สิงคโปร์ และ (3) ประเทศที่มีอันดับลดลง ได้แก่ไต้หวัน เกาหลี มาเลเซีย จีน และเวียดนาม
3) การพิจารณาในแง่เกณฑ์การจัดอันดับ ปรากฏว่าจากการประเมินในกลุ่มดัชนีขั้นพื้นฐานนั้น ปัจจัยด้านสุขภาพและการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยอยู่ในอันดับที่ต่ำที่สุดในเอเชีย ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีอันดับแรกของโลก แสดงปัจจัยที่ส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันในด้านสุขภาพ และการศึกษาขั้นพิ้นฐานของไทยยังต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอยู่มาก เมื่อเทียบกับ ความสามารถในการแข่งขัน ภาคสถาบัน หรือ โครงสร้างพื้นฐาน ที่ดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะที่เมื่อพิจารณาในกลุ่มดัชนีการเพิ่มประสิทธิภาพปรากฏว่าภาพรวมการฝึกอบรมและการศึกษาขั้นสูงของไทยนั้นมีอันดับที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินเดีย อินโดนิเซีย จีน ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม รวมทั้งในด้านความพร้อมทางเทคโนโลยีของไทยก็ยังอยู่ในอันดับที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมด ส่วนในกลุ่มดัชนีนวัตกรรมปรากฏว่าความซับซ้อนทางธุรกิจหรือประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโช่อุปทาน และนวัตกรรมใหม่ๆ ในภูมิภาคนี้ ประเทศไทยยังเป็นรองมาเลเซีย เกาหลี ไต้หวัน และอินเดีย ส่วน อินโดนิเซีย จีน ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม อยู่ในอันดับที่เป็นรองจากไทยอยู่ ซึ่งแสดงว่าไทยยังมีความสามารถในการบริหารห่วงโซ่อุปทานได้ดีพอสมควร รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ของไทยก็ยังสามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้
4. สรุปและข้อเสนอแนะ
4.1 การจัดอันดับประเทศต่างๆ ตามเกณฑ์ของ 3 สถาบันมีความแตกต่างกัน โดยการจัดอันดับความเป็นโลกาภิวัตน์นั้นเป็นการพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เศรษฐกิจ การเมือง และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในขณะที่การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของทั้งสถาบัน IMD และ WEF เป็นการพิจารณาถึงกลุ่มปัจจัยภายในประเทศที่มีผลต่อการกำหนดขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศนั้นๆ เป็นสำคัญ
4.2 ผลการจัดอันดับในปี 2549 นี้ ปรากฏว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกแล้วประเทศไทยมีความเป็นโลกาภิวัตน์เพิ่มขึ้น แต่มีขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง โดยปัจจัยร่วมที่ทั้ง 3 สถาบันพิจารณาในแง่บวกกับประเทศไทย ได้แก่ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะทางด้านมหภาค การคลัง และ การค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น รวมทั้ง บทบาทของประเทศไทยกับการเป็นสมาชิกในองค์การระหว่างประเทศยังอยู่ในระดับที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศอื่น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยร่วมที่เป็นลบของประเทศไทยในความเห็นของ 3 สถาบัน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณสุข การศึกษาขั้นพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และของประชาชน รวมทั้งผลิตภาพการผลิตของประเทศ
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีจุดอ่อนในด้านการให้ความช่วยเหลือทางสันติภาพกับ UN และการติดต่อสื่อสารที่มีโทรศัพท์เป็นตัวชี้วัดยังอยู่ในระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
4.3 ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียแล้ว ลำดับของประเทศในปี 2549 ทั้งในแง่ความเป็นโลกาภิวัตน์ และขีดความสามารถในการแข่งขันตามเกณฑ์ของ WEF มีลำดับเดิมเท่ากับเมื่อปีที่ผ่านมา แต่เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ของ IMD แล้ว ปรากฏว่า ลำดับของประเทศไทยลดต่ำลง โดยมี 3 ประเทศที่สามารถปรับอันดับขีดความสามารถได้สูงขึ้นกว่าไทย ได้แก่ จีน มาเลเซีย และอินเดีย ซึ่งนับเป็นคู่แข่งที่สำคัญทางเศรษฐกิจของไทย
4.4 ผลการจัดอันดับประเทศของทั้ง 3 สถาบัน สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์สถานะของประเทศโดยเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งปรากฏว่าส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับการกรอบแนวคิดหลักที่ใช้วางยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550-2554) โดยเฉพาะในส่วนของยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืนที่ให้ความสำคัญกับความท้าทายของประเทศที่ต้องเผชิญในอนาคต และจุดอ่อนในเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ ซึ่งได้มีการวางแนวทางการพัฒนาที่สำคัญไว้ คือ การปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มผลิตภาพและคุณค่าของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และความเป็นไทย การสร้างภูมิคุ้มกันของระบบเศรษฐกิจ และการสนับสนุนการแข่งขันที่เป็นธรรมและสามารถกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาได้อย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ หากสามารถนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวไปปรับสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ขีดความสามารถของประเทศไทยโดยเปรียบเทียบก็น่าที่จะปรับตัวดีขึ้นได้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
1) การเปรียบเทียบขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย ในปี 2549 ปรากฏว่า ประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงกว่าประเทศไทยมี 5 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน (อันดับที่ 13) สิงคโปร์ (อันดับที่ 5) ญี่ปุ่น (อันดับที่ 7) เกาหลี (อันดับที่ 24) และมาเลเซีย (อันดับที่ 26) ส่วนประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ต่ำกว่า ประเทศไทย มี 5 ประเทศ ได้แก่ จีน (อันดับที่ 54) อินเดีย (อันดับที่ 43) อินโดนีเซีย (อันดับที่ 50) ฟิลิปปินส์ (อันดับที่ 71) และเวียดนาม (อันดับที่ 77)
2) การพิจารณาเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ (1) ประเทศที่มีอันดับสูงขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ (2) ประเทศที่มีอันดับคงเดิม ได้แก่ สิงคโปร์ และ (3) ประเทศที่มีอันดับลดลง ได้แก่ไต้หวัน เกาหลี มาเลเซีย จีน และเวียดนาม
3) การพิจารณาในแง่เกณฑ์การจัดอันดับ ปรากฏว่าจากการประเมินในกลุ่มดัชนีขั้นพื้นฐานนั้น ปัจจัยด้านสุขภาพและการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยอยู่ในอันดับที่ต่ำที่สุดในเอเชีย ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีอันดับแรกของโลก แสดงปัจจัยที่ส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันในด้านสุขภาพ และการศึกษาขั้นพิ้นฐานของไทยยังต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอยู่มาก เมื่อเทียบกับ ความสามารถในการแข่งขัน ภาคสถาบัน หรือ โครงสร้างพื้นฐาน ที่ดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะที่เมื่อพิจารณาในกลุ่มดัชนีการเพิ่มประสิทธิภาพปรากฏว่าภาพรวมการฝึกอบรมและการศึกษาขั้นสูงของไทยนั้นมีอันดับที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินเดีย อินโดนิเซีย จีน ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม รวมทั้งในด้านความพร้อมทางเทคโนโลยีของไทยก็ยังอยู่ในอันดับที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมด ส่วนในกลุ่มดัชนีนวัตกรรมปรากฏว่าความซับซ้อนทางธุรกิจหรือประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโช่อุปทาน และนวัตกรรมใหม่ๆ ในภูมิภาคนี้ ประเทศไทยยังเป็นรองมาเลเซีย เกาหลี ไต้หวัน และอินเดีย ส่วน อินโดนิเซีย จีน ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม อยู่ในอันดับที่เป็นรองจากไทยอยู่ ซึ่งแสดงว่าไทยยังมีความสามารถในการบริหารห่วงโซ่อุปทานได้ดีพอสมควร รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ของไทยก็ยังสามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้
4. สรุปและข้อเสนอแนะ
4.1 การจัดอันดับประเทศต่างๆ ตามเกณฑ์ของ 3 สถาบันมีความแตกต่างกัน โดยการจัดอันดับความเป็นโลกาภิวัตน์นั้นเป็นการพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เศรษฐกิจ การเมือง และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในขณะที่การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของทั้งสถาบัน IMD และ WEF เป็นการพิจารณาถึงกลุ่มปัจจัยภายในประเทศที่มีผลต่อการกำหนดขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศนั้นๆ เป็นสำคัญ
4.2 ผลการจัดอันดับในปี 2549 นี้ ปรากฏว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกแล้วประเทศไทยมีความเป็นโลกาภิวัตน์เพิ่มขึ้น แต่มีขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง โดยปัจจัยร่วมที่ทั้ง 3 สถาบันพิจารณาในแง่บวกกับประเทศไทย ได้แก่ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะทางด้านมหภาค การคลัง และ การค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น รวมทั้ง บทบาทของประเทศไทยกับการเป็นสมาชิกในองค์การระหว่างประเทศยังอยู่ในระดับที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศอื่น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยร่วมที่เป็นลบของประเทศไทยในความเห็นของ 3 สถาบัน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณสุข การศึกษาขั้นพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และของประชาชน รวมทั้งผลิตภาพการผลิตของประเทศ
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีจุดอ่อนในด้านการให้ความช่วยเหลือทางสันติภาพกับ UN และการติดต่อสื่อสารที่มีโทรศัพท์เป็นตัวชี้วัดยังอยู่ในระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
4.3 ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียแล้ว ลำดับของประเทศในปี 2549 ทั้งในแง่ความเป็นโลกาภิวัตน์ และขีดความสามารถในการแข่งขันตามเกณฑ์ของ WEF มีลำดับเดิมเท่ากับเมื่อปีที่ผ่านมา แต่เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ของ IMD แล้ว ปรากฏว่า ลำดับของประเทศไทยลดต่ำลง โดยมี 3 ประเทศที่สามารถปรับอันดับขีดความสามารถได้สูงขึ้นกว่าไทย ได้แก่ จีน มาเลเซีย และอินเดีย ซึ่งนับเป็นคู่แข่งที่สำคัญทางเศรษฐกิจของไทย
4.4 ผลการจัดอันดับประเทศของทั้ง 3 สถาบัน สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์สถานะของประเทศโดยเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งปรากฏว่าส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับการกรอบแนวคิดหลักที่ใช้วางยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550-2554) โดยเฉพาะในส่วนของยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืนที่ให้ความสำคัญกับความท้าทายของประเทศที่ต้องเผชิญในอนาคต และจุดอ่อนในเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ ซึ่งได้มีการวางแนวทางการพัฒนาที่สำคัญไว้ คือ การปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มผลิตภาพและคุณค่าของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และความเป็นไทย การสร้างภูมิคุ้มกันของระบบเศรษฐกิจ และการสนับสนุนการแข่งขันที่เป็นธรรมและสามารถกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาได้อย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ หากสามารถนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวไปปรับสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ขีดความสามารถของประเทศไทยโดยเปรียบเทียบก็น่าที่จะปรับตัวดีขึ้นได้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-