- สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเกือบตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 และ 4.96875 - 5 ต่อปีตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วันปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ทั้งของไทยและสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง
- เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ในกรอบที่แข็งค่าขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสถานการณ์การเมืองที่ชัดเจนขึ้น การแข็งค่าของเงินหยวน ตลอดจนการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากรายงาน Beige Book ของ Fed ระบุว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเกือบตลอดสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต้องการดำรงเงินสดสำรองไว้ในระดับสูงในช่วงต้นปักษ์และเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน ประกอบกับมีสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ1 วัน จึงปิดตลาดสูงขึ้นจากร้อยละ 4.84375 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ และอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นจากร้อยละ 4.96875 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีในวันพุธ ก่อนจะปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ระดับเดิมในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.6 - 5.0 ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 4.96 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 45,000 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 19,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงิน 22,000 ล้านบาท โดยพันธบัตร ธปท. และตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน มีอัตราผลตอบแทนลดลง ส่วนตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วันมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 20,500 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 24,500 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 117,280 ล้านบาท คิดเป็น 23,456 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 31 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 65 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้มีทิศทางปรับตัวลดลงตั้งแต่ต้นสัปดาห์ ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปปรับตัวลดลง 1-8 basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุ ต่ำกว่า 6 เดือน มีอัตราผลตอบแทนไม่เปลี่ยนแปลง ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 25 และ 16 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์จากการประกาศตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น และปรับลดลงในปลายสัปดาห์จากสรุปรายงานภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังชะลอตัว ที่ทำให้นักลงทุนคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจจะอยู่ในระดับสู.สุดแล้ว ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง 3-10 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มิ.ย. 49 38.30
เฉลี่ย 17 - 21 ก.ค. 49 38.06
24 ก.ค. 49 37.97
25 ก.ค. 49 37.94
26 ก.ค. 49 37.96
27 ก.ค. 49 37.82
28 ก.ค. 49 37.80
เฉลี่ย 24 - 28 ก.ค. 49 37.90
เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่าง 37.80 - 37.97 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในกรอบที่แข็งค่าขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.4 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า ในช่วงต้นสัปดาห์เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสถานการณ์การเมืองในประเทศที่มีความชัดเจนขึ้น หลังจากศาลอาญามีคำตัดสินให้จำคุกคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการเปิดทางให้มีการสรรหากรรมการฯ ชุดใหม่เพื่อจัดการเลือกตั้งในวันที่ 15 ต.ค. นี้ อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ ตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง และปรับแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ที่ระดับ 37.80 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ ซึ่งเป็นไปตามค่าเงินในภูมิภาคที่ปรับแข็งค่าขึ้นตามค่าหยวนซึ่งแข็งค่าขึ้นทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่ที่ระดับ 7.7972 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ. ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนในประเทศจากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง จากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ หลังจากรายงาน Beige Book ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัว ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate จะยุติลงในระยะเวลาอันใกล้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ทั้งของไทยและสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง
- เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ในกรอบที่แข็งค่าขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสถานการณ์การเมืองที่ชัดเจนขึ้น การแข็งค่าของเงินหยวน ตลอดจนการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากรายงาน Beige Book ของ Fed ระบุว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเกือบตลอดสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต้องการดำรงเงินสดสำรองไว้ในระดับสูงในช่วงต้นปักษ์และเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน ประกอบกับมีสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ1 วัน จึงปิดตลาดสูงขึ้นจากร้อยละ 4.84375 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ และอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นจากร้อยละ 4.96875 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีในวันพุธ ก่อนจะปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ระดับเดิมในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.6 - 5.0 ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 4.96 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 45,000 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 19,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงิน 22,000 ล้านบาท โดยพันธบัตร ธปท. และตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน มีอัตราผลตอบแทนลดลง ส่วนตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วันมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 20,500 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 24,500 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 117,280 ล้านบาท คิดเป็น 23,456 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 31 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 65 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้มีทิศทางปรับตัวลดลงตั้งแต่ต้นสัปดาห์ ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปปรับตัวลดลง 1-8 basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุ ต่ำกว่า 6 เดือน มีอัตราผลตอบแทนไม่เปลี่ยนแปลง ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 25 และ 16 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์จากการประกาศตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น และปรับลดลงในปลายสัปดาห์จากสรุปรายงานภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังชะลอตัว ที่ทำให้นักลงทุนคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจจะอยู่ในระดับสู.สุดแล้ว ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง 3-10 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มิ.ย. 49 38.30
เฉลี่ย 17 - 21 ก.ค. 49 38.06
24 ก.ค. 49 37.97
25 ก.ค. 49 37.94
26 ก.ค. 49 37.96
27 ก.ค. 49 37.82
28 ก.ค. 49 37.80
เฉลี่ย 24 - 28 ก.ค. 49 37.90
เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่าง 37.80 - 37.97 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในกรอบที่แข็งค่าขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.4 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า ในช่วงต้นสัปดาห์เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสถานการณ์การเมืองในประเทศที่มีความชัดเจนขึ้น หลังจากศาลอาญามีคำตัดสินให้จำคุกคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการเปิดทางให้มีการสรรหากรรมการฯ ชุดใหม่เพื่อจัดการเลือกตั้งในวันที่ 15 ต.ค. นี้ อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ ตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง และปรับแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ที่ระดับ 37.80 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ ซึ่งเป็นไปตามค่าเงินในภูมิภาคที่ปรับแข็งค่าขึ้นตามค่าหยวนซึ่งแข็งค่าขึ้นทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่ที่ระดับ 7.7972 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ. ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนในประเทศจากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง จากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ หลังจากรายงาน Beige Book ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัว ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate จะยุติลงในระยะเวลาอันใกล้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-