- คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.0 ต่อปี เพื่อ
ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวสูงขึ้นจากราคาน้ำมัน ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางสัปดาห์ สำหรับช่วงปลายสัปดาห์
อัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่เคลื่อนไหวตามความต้องการกู้ยืม/ลงทุนของธนาคารพาณิชย์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเฉพาะธุรกรรม Outright ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ จากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์
ไทยกว่าหมื่นล้านบาท ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้น หลังจากนักลงทุนคาดว่ามีความเป็นไปได้เพิ่มขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมสิ้นเดือนมิถุนายนนี้
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 7 มิถุนายน 2549 มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่
ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวสูงขึ้นจากราคาน้ำมัน ขณะที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจโดย
เฉพาะจากภาคการส่งออก แม้ว่าการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณชะลอตัว ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้น่าจะทำ
ให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว
ในวันทำการแรกของสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่ม
ขึ้นในตลาดซื้อคืนระยะ 7 และ 14 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วันปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.59375 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7
และ 14 วันปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 และ 4.78125 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร โดยสถาบันการเงิน
ส่วนใหญ่ต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงเพื่อรอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับขึ้น
อัตรานโยบายในวันพุธ อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วันจึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.65625 และ 4.8125 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7
วันยังปิดตลาดในอัตราเดิม โดยในช่วงต้นสัปดาห์ มีการทำธุรกรรมระยะ 14 วันเบาบางมาก แต่หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ
0.25 ความต้องการลงทุนในระยะ 14 วัน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ย
นโยบายที่ร้อยละ 4.875 4.96875 และ 5.0 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ สำหรับในวันพฤหัสบดี สภาพคล่อง
ทรงตัวในระดับสูง โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดัง
กล่าวปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 และ 4.9375 ต่อปี ตามลำดับ ก่อนจะปรับสูงขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวกับวันพุธในวันทำการสุดท้ายของ
สัปดาห์ เมื่อธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องไว้รองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดต่อเนื่องในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ส่วน
อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงปลายสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.25 -
5.16 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.65 - 4.68 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 -- 4.93 ต่อปี ในช่วง
กลางถึงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 56,800 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
15,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงิน 34,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 และ 7 ปี 6 เดือน วงเงินรวม
6,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนของตราสารทุกประเภทปรับตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อายุ 9 ปี วงเงิน
1,800 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 18,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 38,800 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 152,799 ล้านบาท คิดเป็น 30,560 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 และ
เป็นธุรกรรม Outright เพียงร้อยละ 43 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน
(yield) ของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวสูงขึ้น 4-14 basis points ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่อัตราผลตอบ
แทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1-10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-2 basis points และอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 1-
5 basis points เนื่องจากคาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะควบคุมภาวะเงินเฟ้อในอนาคตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ ดัชนีราคา (Clean
price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย
US Treasury yield ในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะในพันธบัตรอายุต่ำกว่า 10 ปี เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าอาจจะ
มีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปลายเดือนนี้ ต่อมาในปลายสัปดาห์อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงทุกช่วงอายุ เนื่องจากการลดลงของดัชนีราคาตลาด
หลักทรัพย์ ทำให้นักลงทุนบางส่วนย้ายเงินลงทุนมาที่ตลาดตราสารหนี้เพื่อลดผลขาดทุน ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 10 ปี
ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-9 basis points ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปปรับลดลง 2-7 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน พ.ค. 49 37.97
เฉลี่ย 31 พ.ค. - 2 มิ.ย. 49 38.15
5 มิ.ย. 49 38.06
6 มิ.ย. 49 38.12
7 มิ.ย. 49 38.25
8 มิ.ย. 49 38.38
9 มิ.ย. 49 38.37
เฉลี่ย 5 - 9 มิ.ย. 49 38.24
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.24 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงิน
บาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ตามทิศทางค่าในภูมิภาคและเงินเยน หลังจากเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาค
เกษตรในเดือนพฤษภาคมที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงกลางสัปดาห์ตามการอ่อนค่าของเงิน
ในภูมิภาค ตลอดจนการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยกว่าหมื่นล้านบาท ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นหลังจากนักลงทุน
คาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้เพิ่มขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกครั้งในการประชุมสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ เมื่อ
ประธานและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ แสดงความกังวลต่อความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยใน
ช่วงกลางสัปดาห์ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทมากนัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้แล้ว สำหรับในวันศุกร์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการเนื่องใน
โอกาสงานพระราชพิธีฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ปริมาณการซื้อขายในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนมีไม่มากนัก โดยเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็ก
น้อยจากความต้องการขายเงินดอลลาร์ของนักลงทุนเพื่อทำกำไรหลังจากเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวสูงขึ้นจากราคาน้ำมัน ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางสัปดาห์ สำหรับช่วงปลายสัปดาห์
อัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่เคลื่อนไหวตามความต้องการกู้ยืม/ลงทุนของธนาคารพาณิชย์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเฉพาะธุรกรรม Outright ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ จากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์
ไทยกว่าหมื่นล้านบาท ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้น หลังจากนักลงทุนคาดว่ามีความเป็นไปได้เพิ่มขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมสิ้นเดือนมิถุนายนนี้
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 7 มิถุนายน 2549 มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่
ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวสูงขึ้นจากราคาน้ำมัน ขณะที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจโดย
เฉพาะจากภาคการส่งออก แม้ว่าการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณชะลอตัว ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้น่าจะทำ
ให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว
ในวันทำการแรกของสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่ม
ขึ้นในตลาดซื้อคืนระยะ 7 และ 14 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วันปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.59375 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7
และ 14 วันปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 และ 4.78125 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร โดยสถาบันการเงิน
ส่วนใหญ่ต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงเพื่อรอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับขึ้น
อัตรานโยบายในวันพุธ อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วันจึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.65625 และ 4.8125 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7
วันยังปิดตลาดในอัตราเดิม โดยในช่วงต้นสัปดาห์ มีการทำธุรกรรมระยะ 14 วันเบาบางมาก แต่หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ
0.25 ความต้องการลงทุนในระยะ 14 วัน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ย
นโยบายที่ร้อยละ 4.875 4.96875 และ 5.0 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ สำหรับในวันพฤหัสบดี สภาพคล่อง
ทรงตัวในระดับสูง โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดัง
กล่าวปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 และ 4.9375 ต่อปี ตามลำดับ ก่อนจะปรับสูงขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวกับวันพุธในวันทำการสุดท้ายของ
สัปดาห์ เมื่อธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องไว้รองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดต่อเนื่องในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ส่วน
อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงปลายสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.25 -
5.16 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.65 - 4.68 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 -- 4.93 ต่อปี ในช่วง
กลางถึงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 56,800 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
15,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงิน 34,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 และ 7 ปี 6 เดือน วงเงินรวม
6,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนของตราสารทุกประเภทปรับตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อายุ 9 ปี วงเงิน
1,800 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 18,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 38,800 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 152,799 ล้านบาท คิดเป็น 30,560 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 และ
เป็นธุรกรรม Outright เพียงร้อยละ 43 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน
(yield) ของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวสูงขึ้น 4-14 basis points ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่อัตราผลตอบ
แทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1-10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-2 basis points และอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 1-
5 basis points เนื่องจากคาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะควบคุมภาวะเงินเฟ้อในอนาคตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ ดัชนีราคา (Clean
price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย
US Treasury yield ในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะในพันธบัตรอายุต่ำกว่า 10 ปี เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าอาจจะ
มีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปลายเดือนนี้ ต่อมาในปลายสัปดาห์อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงทุกช่วงอายุ เนื่องจากการลดลงของดัชนีราคาตลาด
หลักทรัพย์ ทำให้นักลงทุนบางส่วนย้ายเงินลงทุนมาที่ตลาดตราสารหนี้เพื่อลดผลขาดทุน ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 10 ปี
ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-9 basis points ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปปรับลดลง 2-7 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน พ.ค. 49 37.97
เฉลี่ย 31 พ.ค. - 2 มิ.ย. 49 38.15
5 มิ.ย. 49 38.06
6 มิ.ย. 49 38.12
7 มิ.ย. 49 38.25
8 มิ.ย. 49 38.38
9 มิ.ย. 49 38.37
เฉลี่ย 5 - 9 มิ.ย. 49 38.24
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.24 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงิน
บาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ตามทิศทางค่าในภูมิภาคและเงินเยน หลังจากเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาค
เกษตรในเดือนพฤษภาคมที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงกลางสัปดาห์ตามการอ่อนค่าของเงิน
ในภูมิภาค ตลอดจนการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยกว่าหมื่นล้านบาท ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นหลังจากนักลงทุน
คาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้เพิ่มขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกครั้งในการประชุมสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ เมื่อ
ประธานและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ แสดงความกังวลต่อความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยใน
ช่วงกลางสัปดาห์ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทมากนัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้แล้ว สำหรับในวันศุกร์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการเนื่องใน
โอกาสงานพระราชพิธีฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ปริมาณการซื้อขายในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนมีไม่มากนัก โดยเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็ก
น้อยจากความต้องการขายเงินดอลลาร์ของนักลงทุนเพื่อทำกำไรหลังจากเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-