- สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันจันทร์ ก่อนที่จะทรงตัวในระดับสูงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยR/P 1 วัน ปิด
ตลาดลดลง ในขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อน
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ
ระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่พันธบัตรฯ ระยะยาวปรับตัวลดลง
- เงินบาทอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ตามค่าเงินภูมิภาคในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ จากการคาดการณ์ว่ามีเงินทุนต่างชาติไหล ออกจากภูมิภาค
เป็นจำนวนมาก ก่อนจะปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากแรงขายทำกำไรของนักลงทุนและตัวเลข
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาไม่ดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันทำการแรกของสัปดาห์ เนื่องจากเป็นวันปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ โดยธนาคาร
พาณิชย์มีความต้องการลงทุนลดลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดใน
อัตราเดิมที่ร้อยละ 4.65625 4.6875 และ 4.75 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์
เนื่องจากเป็นช่วงเตรียมจ่ายเงินเดือนของภาครัฐ ประกอบกับเป็นช่วงต้นปักษ์ที่ธนาคารพาณิชย์ไม่เร่งสำรองเงินสดมากนัก จึงมีความต้องการลงทุนเพิ่ม
ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.5625 - 4.625
ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงเล็กน้อยมาอยู่
ระหว่างร้อยละ 4.45 - 4.72 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดระหว่างร้อยละ 4.67 - 4.68 ต่อปี แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 33,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
18,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน รัฐบาลอายุ 10 ปี 6 เดือน วงเงิน 4,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตั๋วเงินคลัง
และพันธบัตร ธปท. ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลงมาก นอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรการรถไฟแห่งประเทศไทย อายุ
8 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 34,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 1,000
ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 122,123 ล้านบาท คิดเป็น 24,424 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย
โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 51 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน
(yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากคาดว่า ธปท.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในต้นเดือน มิ.ย. ส่วนอัตราผลตอบแทนของ
พันธบัตรระยะยาวปรับตัวลดลง จากการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยเข้าใกล้ระดับสูงสุดแล้ว ประกอบกับมีแรงซื้อพันธบัตรฯ ระยะยาวจาก ธปท. และ
ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ที่ลดต่ำลงมาก ทำให้มีการย้ายการลงทุนมาที่ตลาดตราสารหนี้มากขึ้น ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่
1 ปี ลงไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-11 basis points อายุ 2 ปีขึ้นไป ปรับตัวลดลง 3-17 basis points ดัชนีราคา (Clean price index)
ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 5 และ 19 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ โดยปรับตัวลดลงในต้นสัปดาห์จากการปรับตัวลดลงของภาวะตลาดหลักทรัพย์
แต่กลับมาปรับตัวสูงขึ้นช่วงกลางสัปดาห์จากการปรับตัวทางเทคนิค และการประกาศตัวเลขการสร้างบ้านใหม่ที่สูงเกินคาด ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์
พันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปี ลงไปมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 0-2 basis points อายุ 2-5 ปี ลดลง 0-1 basis points อายุตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป
เพิ่มขึ้น 1-2 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน เม.ย. 49 37.94
เฉลี่ย 15 - 19 พ.ค. 49 38.03
22 พ.ค. 49 38.29
23 พ.ค. 49 38.25
24 พ.ค. 49 38.44
25 พ.ค. 49 38.30
26 พ.ค. 49 38.17
เฉลี่ย 22 - 26 พ.ค. 49 38.29
เงินบาทสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนในทิศทางที่อ่อนค่าลง โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.29 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง
ร้อยละ 0.6 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์มีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ตามค่าเงินภูมิภาคและเงินเยน หลังจาก
นักลงทุนมีการคาดการณ์ว่ามีเงินทุนต่างชาติไหลออกจากภูมิภาคเป็นจำนวนมาก รวมถึงประเทศไทยที่ส่วนหนึ่งคาดว่าเป็นเงินทุนไหลออกเพื่อเข้าซื้อหุ้น
ของบริษัทไทยเบฟเวอเรจฯ ที่ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ในขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยมีปัจจัยสนับ
สนุนจากการย้ายการลงทุนจากสินค้าโภคภัณฑ์ เช่นทองคำ เปลี่ยนเป็นการลงทุนในสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ สรอ. ของกองทุนเพื่อการเก็งกำไรหรือ
Hedge Fund อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ แม้ว่าจะยังมีปัจจัยลบภายในประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเงินดอลลาร์
สรอ. ปรับอ่อนค่าลงหลังจากมีแรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรของนักลงทุน ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าการ
คาดการณ์ของตลาด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ตลาดลดลง ในขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อน
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ
ระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่พันธบัตรฯ ระยะยาวปรับตัวลดลง
- เงินบาทอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ตามค่าเงินภูมิภาคในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ จากการคาดการณ์ว่ามีเงินทุนต่างชาติไหล ออกจากภูมิภาค
เป็นจำนวนมาก ก่อนจะปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากแรงขายทำกำไรของนักลงทุนและตัวเลข
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาไม่ดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันทำการแรกของสัปดาห์ เนื่องจากเป็นวันปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ โดยธนาคาร
พาณิชย์มีความต้องการลงทุนลดลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดใน
อัตราเดิมที่ร้อยละ 4.65625 4.6875 และ 4.75 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์
เนื่องจากเป็นช่วงเตรียมจ่ายเงินเดือนของภาครัฐ ประกอบกับเป็นช่วงต้นปักษ์ที่ธนาคารพาณิชย์ไม่เร่งสำรองเงินสดมากนัก จึงมีความต้องการลงทุนเพิ่ม
ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.5625 - 4.625
ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงเล็กน้อยมาอยู่
ระหว่างร้อยละ 4.45 - 4.72 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดระหว่างร้อยละ 4.67 - 4.68 ต่อปี แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 33,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
18,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน รัฐบาลอายุ 10 ปี 6 เดือน วงเงิน 4,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตั๋วเงินคลัง
และพันธบัตร ธปท. ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลงมาก นอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรการรถไฟแห่งประเทศไทย อายุ
8 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 34,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 1,000
ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 122,123 ล้านบาท คิดเป็น 24,424 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย
โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 51 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน
(yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากคาดว่า ธปท.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในต้นเดือน มิ.ย. ส่วนอัตราผลตอบแทนของ
พันธบัตรระยะยาวปรับตัวลดลง จากการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยเข้าใกล้ระดับสูงสุดแล้ว ประกอบกับมีแรงซื้อพันธบัตรฯ ระยะยาวจาก ธปท. และ
ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ที่ลดต่ำลงมาก ทำให้มีการย้ายการลงทุนมาที่ตลาดตราสารหนี้มากขึ้น ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่
1 ปี ลงไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-11 basis points อายุ 2 ปีขึ้นไป ปรับตัวลดลง 3-17 basis points ดัชนีราคา (Clean price index)
ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 5 และ 19 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ โดยปรับตัวลดลงในต้นสัปดาห์จากการปรับตัวลดลงของภาวะตลาดหลักทรัพย์
แต่กลับมาปรับตัวสูงขึ้นช่วงกลางสัปดาห์จากการปรับตัวทางเทคนิค และการประกาศตัวเลขการสร้างบ้านใหม่ที่สูงเกินคาด ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์
พันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปี ลงไปมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 0-2 basis points อายุ 2-5 ปี ลดลง 0-1 basis points อายุตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป
เพิ่มขึ้น 1-2 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน เม.ย. 49 37.94
เฉลี่ย 15 - 19 พ.ค. 49 38.03
22 พ.ค. 49 38.29
23 พ.ค. 49 38.25
24 พ.ค. 49 38.44
25 พ.ค. 49 38.30
26 พ.ค. 49 38.17
เฉลี่ย 22 - 26 พ.ค. 49 38.29
เงินบาทสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนในทิศทางที่อ่อนค่าลง โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.29 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง
ร้อยละ 0.6 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์มีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ตามค่าเงินภูมิภาคและเงินเยน หลังจาก
นักลงทุนมีการคาดการณ์ว่ามีเงินทุนต่างชาติไหลออกจากภูมิภาคเป็นจำนวนมาก รวมถึงประเทศไทยที่ส่วนหนึ่งคาดว่าเป็นเงินทุนไหลออกเพื่อเข้าซื้อหุ้น
ของบริษัทไทยเบฟเวอเรจฯ ที่ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ในขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยมีปัจจัยสนับ
สนุนจากการย้ายการลงทุนจากสินค้าโภคภัณฑ์ เช่นทองคำ เปลี่ยนเป็นการลงทุนในสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ สรอ. ของกองทุนเพื่อการเก็งกำไรหรือ
Hedge Fund อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ แม้ว่าจะยังมีปัจจัยลบภายในประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเงินดอลลาร์
สรอ. ปรับอ่อนค่าลงหลังจากมีแรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรของนักลงทุน ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าการ
คาดการณ์ของตลาด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-