แท็ก
ประเทศญี่ปุ่น
Matsushita Electric Industrial Company Limited (Panasonic)
กลุ่มบริษัทมัตสุชิตะ ได้เร่งดำเนินยุทธศาสตร์แห่งการเติบโตและเสริมสร้างโครงสร้างการบริหารจัดการที่เข้มแข็งในปี 2549 เพื่อรองรับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีแนวโน้มต้องเผชิญกับประเด็น
ท้าทายต่างๆ ของโลกมากขึ้นในอนาคต ดังนี้
1. เร่งรัดการดำเนินยุทธศาสตร์แห่งการเติบโต
1.1 การปล่อยผลิตภัณฑ์ V-products ออกสู่ท้องตลาด เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการขายและรายได้ในตลาดโลก โดยผลิตภัณฑ์ V-products นี้จะมีหลักการ/แนวคิดสำคัญประกอบด้วย เทคโนโลยี black-box (มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและยากต่อการลอกเลียนแบบ) ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และรูปลักษณ์การออกแบบอย่างสากล
1.2 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี
1.3 การลงทุนเชิงกลยุทธ์ในผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญและเป็นที่ต้องการในตลาดโลก (เช่น ตัวเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโทรทัศน์สีจอแบน) และการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มธุรกิจอื่น
1.4 ส่งเสริมการลงทุนทางธุรกิจในต่างประเทศในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยเร่งการเติบโตที่สำคัญ โดยเฉพาะในประเทศจีน ซึ่งสำคัญทั้งในด้านผู้ผลิตและด้านตลาดผู้บริโภค
2. เสริมสร้างโครงสร้างการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง
2.1 ส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ
2.2 เร่งสร้างเสริมการริเริ่มใหม่ๆ ด้าน IT
2.3 ส่งเสริมโครงการเพื่อลดต้นทุนการผลิต
2.4 ลดสินทรัพย์โดยรวมเพื่อเพิ่มการหมุนเวียนทางการเงิน
3. การดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทมัตสุชิตะในภูมิภาคเอเชียและประเทศไทย มีดังนี้
3.1 ยอดขายในภูมิภาคต่างๆ ณ ปี 2547 (107.55 เยน เท่ากับ 1 เหรียญสหรัฐ)
1) ยอดขายรวม 8,714 พันล้านเยน โดยเป็นยอดขายในประเทศญี่ปุ่นมากที่สุดคือ ร้อยละ 53 รองลงมาคือ ในสหรัฐ ยุโรป และอื่นๆ ร้อยละ 27 เอเชีย (รวมไต้หวันและเกาหลี) ร้อยละ 12 และจีน ร้อยละ 8
2) ยอดขายในต่างประเทศ รวม 4,133 พันล้านเยน โดยเป็นยอดขายในสหรัฐ ยุโรป และอื่นๆ มากที่สุดคือ ร้อยละ 58 รองลงมาคือ เอเชีย ร้อยละ 26 และจีน ร้อยละ 16
3) ยอดขายของบริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศ รวม 2,565 พันล้านเยน เป็นยอดขายในเอเชียมากที่สุดคือ ร้อยละ 41 รองลงมาคือ สหรัฐ ยุโรป และอื่นๆ ร้อยละ 35 และจีน ร้อยละ 24
4) ยอดขายในภูมิภาคเอเชีย รวม 1,046 พันล้านเยน โดยเป็นยอดขายในประเทศมาเลเซียมากที่สุดคือ ร้อยละ 31 รองลงมาคือ สิงคโปร์ ร้อยละ 23 ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 14 อินโดนีเซีย ร้อยละ 12 ไต้หวัน ร้อยละ 9 ไทย ร้อยละ 8 และอื่นๆ ร้อยละ 3
3.2 การพัฒนาการดำเนินการของกลุ่มบริษัทมัตสุชิตะในภูมิภาคเอเชีย
1) จำนวนบริษัทของกลุ่มมัตสุชิตะ ทั้งบริษัทเพื่อการผลิต บริษัทเพื่อการขาย ศูนย์วิจัยและพัฒนา ศูนย์การเงิน และอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมจีน ไต้หวัน เกาหลี และฮ่องกง) รวมทั้งสิ้นมีจำนวน 88 บริษัท อยู่ในมาเลเซียมากที่สุดคือ 24 บริษัท ในไทย 20 บริษัท อินโดนีเซีย 15 บริษัท สิงคโปร์ 12 บริษัท อินเดีย 8 บริษัท ฟิลิปปินส์ 4 บริษัท เวียดนาม 2 บริษัท ออสเตรเลีย 2 บริษัท และนิวซีแลนด์ 1 บริษัท โดยมีสำนักงานใหญ่ของภูมิภาคตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์
2) สำหรับในประเทศไทย มีบริษัทของกลุ่มมัตสุชิตะตั้งอยู่รวม 20 บริษัท โดยเป็นบริษัทเพื่อการผลิต 15 บริษัท (เช่นที่ จ.สมุทรปราการ จ.ฉะเชิงเทรา จ.ขอนแก่น) บริษัทเพื่อการขาย 4 บริษัท และบริษัท Holding 1 บริษัท มีการจ้างแรงงานจำนวน 16,000 คน มีจำนวนเงินลงทุนทั้งสิ้นมูลค่า 8,042 ล้านบาท โดยบริษัทเพื่อการผลิตส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตเพื่อส่งออกขายต่างประเทศจำนวนกว่าร้อยละ 70 และเป็นการผลิตเพื่อขายภายในประเทศประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น ส่วนบริษัทเพื่อการขายจะเป็นการขายภายในประเทศทั้งหมด
3) กลุ่มบริษัทมัตสุชิตะ มีความคาดหวังในอนาคตในการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากไทยเป็นประเทศศูนย์กลางทางยุทธศาสตร์สำคัญที่ตั้งอยู่และเป็นสมาชิกของกลุ่มความร่วมมือทางภูมิภาคที่สำคัญ ทั้ง AFTA BIMSTEC และกลุ่มประเทศ CLMV
4. การส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการติดต่อสื่อสารของโลกแบบรวมกลุ่มของกลุ่มบริษัทมัตสุชิตะ โดยการจัดตั้งศูนย์พานาโซนิค ณ กรุงโตเกียว ที่มีการจัดแสดงผลงานและการดำเนินการที่สำคัญของกลุ่มบริษัททั้งในปัจจุบันและในอนาคตที่จะเผยแพร่สู่สายตาชาวโลกในอีกประมาณ 10 ปีข้างหน้า
4.1 ผลงานทางธุรกิจในปัจจุบันจะแบ่งเป็น 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือ
1) ผลิตภัณฑ์โทรศัพท์มือถือและรถยนต์
2) ผลิตภัณฑ์ด้านการรักษาความปลอดภัย
3) ผลิตภัณฑ์ด้านมัลติมีเดียและการเผยแพร่สื่อสาร
4) ผลิตภัณฑ์เครือข่าย IP
4.2 ผลงานของผลิตภัณฑ์ในอนาคตเพื่อสร้างสังคมเครือข่ายเชื่อมโยงเฉพาะตัว แบ่งเป็น 2
ด้าน คือ
1) ชีวิตประจำวัน
2) สังคมเมือง
Ministry of Economy, Trade and Industry (METI)
1. บทบาทและภารกิจของ METI
METI รับผิดชอบในการดำเนินการนโยบายที่ครอบคลุมในเรื่องเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม การดำเนินการนโยบายเหล่านี้ จำเป็นต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับความสนใจของคนญี่ปุ่น การวางแผนที่มีการกำหนดมาตรการ และนโยบายต่างๆ จำเป็นต้องคำนึง ถึงหลักเกณฑ์ทางด้านเทคนิคในการบริหาร และความคิดเห็นที่มาจากหลากหลายสาขาที่แตกต่างกันของคนญี่ปุ่น ดังนั้น คณะกรรมการต่างๆ จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่ METI โดยคณะกรรมการเหล่านี้จะทำหน้าที่ตรวจสอบและพิจารณาเรื่องสำคัญต่างๆ ในสาขาที่รับผิดชอบ ตามคำสั่งของรัฐมนตรี การค้นพบของคณะกรรมการคือผลของรายงานที่นำเสนอแก่รัฐมนตรี ซึ่งเนื้อหาของแต่ละรายงานประกอบเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนของ METI และเป็นสูตรในการกำหนดมาตรการและนโยบายที่นำไปสู่การปฏิบัติ การกำหนดเรื่องสำคัญใดๆ ในฐานะโครงสร้างองค์กรของคณะกรรมการเหล่านี้ ถูกกำหนดโดยกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการนั้นๆ ซึ่งคณะกรรมการนี้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องที่จะต้องพิจารณาอย่างดีที่สุด ได้แก่ ผู้นำในภาคอุตสาหกรรม ผู้บริโภค ผู้นำ
ในภาคการเงิน และผู้เชี่ยวชาญจากทุกภาคส่วนของสังคม ซึ่งรวมถึงแรงงาน ภาคการศึกษา และสื่อมวลชน
2. METI แบ่งกลุ่มงานที่สำคัญออกเป็น
2.1 Economic Industrial Policy Bureau ทำหน้าที่ผลักดันให้เกิดการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับปัญหาการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม อาทิ การปฏิรูปทางด้าน IT การปรับเปลี่ยนโครงสร้างอายุที่มีลักษณะเป็นปิรามิดกลับหัวคือมีประชาชนสูงวัยจำนวนมาก และการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ กุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ที่จะช่วยให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ก็คือ การบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสม และการสร้างเศรษฐสังคมที่สามารถนำไปสู่การปรับโครงสร้างสำนักงานฯ นี้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม การสร้างและผลักดันให้เกิดธุรกิจใหม่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านอุตสาหกรรม การเสริมสร้างธุรกรรมทางการเงินเพื่อการอุตสาหกรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยได้มีการจัดทำแบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อมูล และนำมาใช้ประโยชน์ในการอธิบายด้านสังคม การวางแผน การปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดไว้ การรวบรวมและวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางสถิติ
นอกจากนี้ สำนักงานฯ นี้ ยังมีภารกิจในการจัดทำการตรวจสอบ และปรับปรุงระบบต่างๆ ข้างต้นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความมั่นใจของประเทศในอนาคต
2.2 Trade Policy Bureau ทำหน้าที่พัฒนากลยุทธ์ เพื่อผนวกนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศและภายนอกประเทศ ให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ ปัจจุบันสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศของกิจกรรมของบริษัทเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ชายแดนค่อยๆ เลือนราง และสินค้า การบริการ ธุรกิจ และบุคคลต่างเรียกร้องการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีที่มากขึ้น การเร่งการรวมกลุ่มของเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันแนวทางการรวมตัวของประเทศในภูมิภาค ได้เรียนรู้จากตัวอย่างการรวมกลุ่มของ the North American Free Trade Agreement (NFTA) และ the European Union (EU) ก็เป็นประเด็นไปทั่วโลก การปรับตัวกับสภาพการเปลี่ยนแปลงนี้ สำนักงานฯ นี้จึงจำเป็นที่จะต้องติดตามการรวมกลุ่มทางนโยบายเศรษฐกิจ ทั้งภายใน และภายนอกประเทศอย่างกระชันชิด โดยมีวัตถุประสงค์รวม 2 ด้าน คือ การรักษาระบบการค้าเสรี และการปรับสภาพธุรกิจระหว่างประเทศให้เอื้อต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมญี่ปุ่น
2.3 Trade and Economic Cooperation Bureau ทำหน้าที่กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้การค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในการสร้างสะพานเชื่อมกับโลกสำนักงานฯ นี้ทำหน้าที่สนับสนุนการเติบโตทางการค้าโลก และการเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนผ่านการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น เงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (ODA: Official Development Assistance) ของรัฐบาล และการประกันทางการค้า นอกจากนี้ยังให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาธุรกิจการค้าใหม่ๆ นอกประเทศ เพื่อขยายและสนับสนุนให้ธุรกิจของประเทศขยายกว้างไกลไปทั่วโลก
รวมทั้ง ยังเป็นหน่วยงานที่ให้ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น และความสามารถต่างๆ เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศให้มาลงทุนในประเทศญี่ปุ่น สำนักงานฯ นี้ยังทำหน้าที่เป็นผู้นำในการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนโดยตรงในประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของนายกรัฐมนตรี Koisumi ที่กำหนดให้ปริมาณการลงทุนโดยตรงจากนักลงทุนชาวต่างชาติในประเทสเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ภายใน 5 ปีข้างหน้า ขณะที่มีการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนทางการค้าการควบคุมขั้นต่ำก็ดำเนินการไปพร้อมๆ กัน สำนักงานฯ นี้จึงเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบสินค้าส่งออกและสินค้านำเข้าที่นำไปสู่การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราและกฎหมายการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ
2.4 Industrial Science and Technology Policy and Environment Bureau ทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความฝัน และนักคิดค้นประดิษฐ์สิ่งท้าทายใหม่ๆ ในอนาคต ปัจจุบันความฝันที่จะไปให้ถึงยังอวกาศ และการตรวจโลกจุลภาคของมนุษย์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริงแล้ว จิตวิญญาณของความท้าทาย ความฝัน เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ทำหน้าทีเสมือนแรงผลักดันให้เกิดการขยายอุตสาหกรรมใหม่ๆ ได้เร็ว ได้แก่ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาค และ อีโคเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาทำให้เกิดการไล่ตามความฝันอย่างต่อเนื่อง และจะเป็นกุญแจสำคัญในการก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำในเศรษฐกิจศตวรรษที่ 21 และบทบาทที่สำคัญของรัฐบาลก็คือการให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นและกำหนดเงื่อนไข เพื่อให้คนทำงานตามความฝันที่ตั้งไว้ ซึ่งจะทำให้เปลี่ยนเป็นพลังงานที่ก่อให้เกิดความร่ำรวยของประเทศ
2.5 Manufacturing Industries Bureau ทำหน้าที่กำหนดนโยบายที่พัฒนามาจากระดับ โรงงานสำนักงานฯ นี้ ดูแลอุตสาหกรรมที่สนับสนุนกิจกรรมทางด้านเศรษฐสังคมของญี่ปุ่นและของโลก โดยดูแลอุตสาหกรรมที่มีขนาดเล็กไปจนถึงอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูง และรวมถึงศิลปะ หัตถกรรมดั้งเดิมที่ผลิตจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยพยายามตอบคำถามเหล่านี้
* ทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมแข็งแรงพอที่จะสามารถแข่งขันชนะคู่แข่งต่างชาติ
* ทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมผลิตโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
* ทำอย่างไรให้สามารถผลิตยาใหม่ๆ หรือผลิตวัสดุใหม่ ได้จากเทคโนโลยียีน
* ทำอย่างไรให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจแฟชั่นของโลก
2.6 Commerce and Information Policy Bureau สร้างธุรกิจที่เข็มแข็งให้เศรษฐสังคมมีความมั่งคั่ง
ปัจจุบันผู้บริโภคต้องการสื่อสารกันผ่านอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ ต้องการความบันเทิงจากภาพยนตร์ ฟังเพลง เล่นเกมส์ ทำให้มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะเหล่านี้ เพื่อไปใช้ไปประกอบเป็นอาชีพในอนาคต ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมซื้อของถูกและต้องการความสะดวกในการไปซื้อสินค้า ดังนั้น การกระจายข้อมูลผ่านทางเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร การพัฒนาการให้บริการและการกระจายชนิดของอุตสาหกรรม เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการตระหนักถึงคุณค่าของแต่ละบุคคล และนำไปสู่ชีวิตที่ร่ำรวย การพัฒนาธุรกิจใหม่ในเรื่องนี้จำเป็นต้องมีการสร้างมูลค่าเพิ่มและกระตุ้นเศรษฐกิจและกิจกรรมทางอุตสาหกรรมภานใยประเทศ
สำนักงานฯ นี้เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรการต่างๆ ที่ครอบคลุมการกระจายข้อมูลการพัฒนาการบริการและอุตสาหกรรม และการคุ้มครองผู้บริโภค โดยสำนักงานฯ นี้ได้มีการพิจารณาทั้งในระดับบุคคลและระดับเศรษฐกิจทั้งหมด โดยกำหนดเป้าหมายสูงสุดในการสร้างเศรษฐสังคมในศตวรรษที่ 21 ให้มีความร่ำรวยยิ่งขึ้น
2.7 Agency for Natural Resources and Energy ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบทอดมรดกข้ามยุคสมัย
ปัญหาปริมาณน้ำมันและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมนับเป็นปัญหาที่วิกฤตต่อมนุษย์ชาติสำนักงานฯ นี้จึงทำหน้าที่แก้ไขปัญหาความท้าทายนี้ โดยการกำหนดนโยบายด้านพลังงานอย่างเป็นองค์รวม เพื่อสร้างพื้นฐานกิจกรรมทางเศรษฐกิจและชีวิตรายวัน
2.8 Nuclear and Industrial Safety Agency ดูแลเรื่องการสร้างความสงบของจิตใจ สำนักงานฯ นี้ เป็นหน่วยงานอิสระที่แลทางด้านการบริหารจัดการในเรื่องความปลอดภัยของพลังงานนิวเคลียร์ และความปลอดภัยของอุตสาหกรรม ในด้านความปลอดภัยของพลังงานนิวเคลียร์ สำนักงานฯ นี้จะรับผิดชอบในเรื่องการออกกฎระเบียบเพื่อรักษาความปลอดภัย และการกำหนดมาตรการการเตรียมความพร้อมแบบทันท่วงที สำหรับโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์และโรงกลั่น การนำมาผลิตใหม่ และการจัดการของเสีย / สิ่งอำนวยการจำกัดของเสีย สำหรับด้านความปลอดภัยของอุตสาหกรรม สำนักงานฯ นี้ คำนึงถึงมาตรการความปลอดภัยในเรื่องไฟฟ้า ก๊าซ เครื่องใช้ไฟฟ้า ดินประสิว ก๊าซความดันสูง ปิโตรเคมี Complex ปิโตรเลียมเหลว และเหมืองแร่
2.9 Small and Medium Enterprise Agency จัดทำกรอบสนับสนุนเศรษฐกิจญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นมีจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 4.69 ล้านแห่ง หรือ คิดเป็นร้อยละ 99.7 ของจำนวนธุรกิจทั้งหมด ซึ่งรวมถึงร้อยละ 70 ของจำนวนแรงงานของญี่ปุ่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นตัวกำหนดกรอบภาพรวมทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจำเป็นที่จะต้องทำการปรับโครงสร้างของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไปด้วย สำนักงานฯ นี้ เป็นผู้กำหนดมาตรการคุ้มครองวิสาหกิจ ในการสร้างเครือข่ายความปลอดภัยทางการเงิน เพื่อป้องกันการไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ ให้การสนับสนุน
ผู้ประกอบการแต่ละราย และการเอาชนะสิ่งท้าท้ายใหม่ๆ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อยสาขาใหม่ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และการขยายการจ้างงาน
2.10 Japan Patent Office สร้างธุรกิจของประเทศบนพื้นฐานความถูกต้องทางทรัพย์สินทางปัญญา
ญี่ปุ่นได้รับการรับรองสิทธิบัตรเป็นจำนวนมากที่สุดในโลก คือประมาณ 420,000 สิทธิบัตรต่อปี การที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเอาชนะการแข่งขันทางการค้าญี่ปุ่นจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความได้เปรียบในเรื่องความสามารถและเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้มีการจัดตั้ง Intellectual Creation Cycle เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการยกระดับเทคโนโลยีคุณภาพสูง การป้องกันและคุ้มครองสิทธิในเทคโนโลยีใหม่ และการใช้เทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่
สำนักงานฯ นี้ ทำหน้าที่กำหนดมาตรการที่ได้รวมไปถึงเป้าหมายที่ให้บรรลุ World-class prompt และตรวจสอบสิทธิบัตรต่างๆ อย่างเที่ยงตรงและโปร่งใส เพื่อให้มีสิทธิบัตรที่เกิดจากคนในชาติเพิ่มมากขึ้น และถือเป็นลำดับสำคัญลำดับแรกๆ ที่ต้องทำ
2.11 Minister's Secretariat ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการเรื่องโดยรวมของ METI
METI รับผิดชอบในเรื่องการบริหารจัดการในขอบเขตกว้างและหลากหลายมิติ ซึ่งรวมไปถึง การค้า อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พลังงาน ผู้บริโภค เศรษฐกิจภายในประเทศ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เทคโนโลยีและสิทธิบัตร ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องระหว่างประเทศ
ภารกิจสำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือ การนำนโยบายแต่ละนโยบายที่กำหนดจากหลากหลายสาขามากำหนดเป็นนโยบายแนวทางการพัฒนาเศรษฐสังคมของญี่ปุ่นต่อโลก สำนักงานฯ นี้ รับผิดชอบในเรื่องการบริหารจัดการกระทรวงในภาพรวม เช่น การประสานภาพรวมในนโยบายที่สำคัญ การตรวจสอบกฎหมาย การบริหารงบประมาณ การประเมินนโยบาย การสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การบริหารองค์กรและบุคลากร ที่สำคัญก็คือ การมีบทบาทในกิจกรรมการบริหารในฐานะองค์กรเดียว Single body
3. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์
3.1 โดยทั่วไปทุกกระทรวงจะต้องจัดทำแผนยุทธศาสตร์ รวมทั้ง METI ด้วย โดยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์นี้ ไม่มีการกำหนดระยะเวลาจัดทำที่แน่นอน แต่จะขึ้นอยู่กับตามความต้องการ ความเหมาะสม และการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยที่สำคัญต่างๆ ในขณะนั้น แผนยุทธศาสตร์จะประกาศใช้โดยรัฐมนตรีที่รับผิดชอบกระทรวงนั้นๆ ในที่นี้ก็คือ METI และไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ (ซึ่งต่างจาก White Paper ที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี) ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์ที่ประกาศใช้นี้ METI จะทำหน้าที่ประสานและผลักดันให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมตามแผนที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างแผนยุทธศาสตร์สนับสนุน อุตสาหกรรมใหม่ (New Industry Promotion Strategy 2005) ซึ่งได้จัดทำขึ้นในเดือนมิถุนายน 2005
3.2 แผนยุทธศาสตร์สนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่ 2005 : สาระสำคัญ ได้แก่
3.2.1 สาขาที่มีโอกาสใน 7 สาขา ได้แก่ 1) การพัฒนาปฏิกิริยาการใช้เซลล์พลังงานในยานพาหนะ 2) พัฒนา IT สำหรับฐานทางธุรกิจ 3) พัฒนาการนำหุ่นยนต์มาใช้ในกระบวนการผลิตและการสร้างตลาดสำหรับหุ่นยนต์เพื่อการบริการ 4) จัดทำศูนย์กลางการผลิตและการกระจายสินค้าในเอเชีย 5) พัฒนาธุรกิจเพื่อสร้างอุตสาหกรรมสุขภาพที่แข็งขันใหม่ 6) พัฒนากฎระเบียบในการใช้เทคโนโลยี สำหรับสิ่งของหมุนเวียน 7) สร้างการเป็นผู้นำในการสนับสนุนการบริการจ้างงานจากภายนอก
3.2.2 การฟื้นฟูความร่วมมือในภูมิภาค โดยการสนับสนุนให้เกิดการสร้างความเข็มแข็งพื้นฐานและการสร้างชุมชนที่มีความเชื่อใจ
3.2.3 ให้ความสำคัญกับนโยบายข้ามสาขา ได้แก่ การสร้างผู้เชี่ยวชาญระดับปริญญาตรีในสาขาการวางยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมและธุรกิจ สนับสนุนการจ้างงานผู้ที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูงจากต่างประเทศ จัดทำการวิจัยและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การใช้เทคโนโลยี สนับสนุนการใช้ IT เพื่อการตลาด ให้แรงจูงใจทางด้านภาษีสำหรับการลงทุนเพื่อการพัฒนา บุคลากร การวิจัยและพัฒนา และ IT นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการบริหารจัดการที่ เน้นทรัพย์สินทางปัญญา
(ยังมีต่อ .../..Economic and Social Research Institute (ESRI)
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
กลุ่มบริษัทมัตสุชิตะ ได้เร่งดำเนินยุทธศาสตร์แห่งการเติบโตและเสริมสร้างโครงสร้างการบริหารจัดการที่เข้มแข็งในปี 2549 เพื่อรองรับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีแนวโน้มต้องเผชิญกับประเด็น
ท้าทายต่างๆ ของโลกมากขึ้นในอนาคต ดังนี้
1. เร่งรัดการดำเนินยุทธศาสตร์แห่งการเติบโต
1.1 การปล่อยผลิตภัณฑ์ V-products ออกสู่ท้องตลาด เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการขายและรายได้ในตลาดโลก โดยผลิตภัณฑ์ V-products นี้จะมีหลักการ/แนวคิดสำคัญประกอบด้วย เทคโนโลยี black-box (มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและยากต่อการลอกเลียนแบบ) ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และรูปลักษณ์การออกแบบอย่างสากล
1.2 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี
1.3 การลงทุนเชิงกลยุทธ์ในผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญและเป็นที่ต้องการในตลาดโลก (เช่น ตัวเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโทรทัศน์สีจอแบน) และการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มธุรกิจอื่น
1.4 ส่งเสริมการลงทุนทางธุรกิจในต่างประเทศในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยเร่งการเติบโตที่สำคัญ โดยเฉพาะในประเทศจีน ซึ่งสำคัญทั้งในด้านผู้ผลิตและด้านตลาดผู้บริโภค
2. เสริมสร้างโครงสร้างการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง
2.1 ส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ
2.2 เร่งสร้างเสริมการริเริ่มใหม่ๆ ด้าน IT
2.3 ส่งเสริมโครงการเพื่อลดต้นทุนการผลิต
2.4 ลดสินทรัพย์โดยรวมเพื่อเพิ่มการหมุนเวียนทางการเงิน
3. การดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทมัตสุชิตะในภูมิภาคเอเชียและประเทศไทย มีดังนี้
3.1 ยอดขายในภูมิภาคต่างๆ ณ ปี 2547 (107.55 เยน เท่ากับ 1 เหรียญสหรัฐ)
1) ยอดขายรวม 8,714 พันล้านเยน โดยเป็นยอดขายในประเทศญี่ปุ่นมากที่สุดคือ ร้อยละ 53 รองลงมาคือ ในสหรัฐ ยุโรป และอื่นๆ ร้อยละ 27 เอเชีย (รวมไต้หวันและเกาหลี) ร้อยละ 12 และจีน ร้อยละ 8
2) ยอดขายในต่างประเทศ รวม 4,133 พันล้านเยน โดยเป็นยอดขายในสหรัฐ ยุโรป และอื่นๆ มากที่สุดคือ ร้อยละ 58 รองลงมาคือ เอเชีย ร้อยละ 26 และจีน ร้อยละ 16
3) ยอดขายของบริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศ รวม 2,565 พันล้านเยน เป็นยอดขายในเอเชียมากที่สุดคือ ร้อยละ 41 รองลงมาคือ สหรัฐ ยุโรป และอื่นๆ ร้อยละ 35 และจีน ร้อยละ 24
4) ยอดขายในภูมิภาคเอเชีย รวม 1,046 พันล้านเยน โดยเป็นยอดขายในประเทศมาเลเซียมากที่สุดคือ ร้อยละ 31 รองลงมาคือ สิงคโปร์ ร้อยละ 23 ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 14 อินโดนีเซีย ร้อยละ 12 ไต้หวัน ร้อยละ 9 ไทย ร้อยละ 8 และอื่นๆ ร้อยละ 3
3.2 การพัฒนาการดำเนินการของกลุ่มบริษัทมัตสุชิตะในภูมิภาคเอเชีย
1) จำนวนบริษัทของกลุ่มมัตสุชิตะ ทั้งบริษัทเพื่อการผลิต บริษัทเพื่อการขาย ศูนย์วิจัยและพัฒนา ศูนย์การเงิน และอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมจีน ไต้หวัน เกาหลี และฮ่องกง) รวมทั้งสิ้นมีจำนวน 88 บริษัท อยู่ในมาเลเซียมากที่สุดคือ 24 บริษัท ในไทย 20 บริษัท อินโดนีเซีย 15 บริษัท สิงคโปร์ 12 บริษัท อินเดีย 8 บริษัท ฟิลิปปินส์ 4 บริษัท เวียดนาม 2 บริษัท ออสเตรเลีย 2 บริษัท และนิวซีแลนด์ 1 บริษัท โดยมีสำนักงานใหญ่ของภูมิภาคตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์
2) สำหรับในประเทศไทย มีบริษัทของกลุ่มมัตสุชิตะตั้งอยู่รวม 20 บริษัท โดยเป็นบริษัทเพื่อการผลิต 15 บริษัท (เช่นที่ จ.สมุทรปราการ จ.ฉะเชิงเทรา จ.ขอนแก่น) บริษัทเพื่อการขาย 4 บริษัท และบริษัท Holding 1 บริษัท มีการจ้างแรงงานจำนวน 16,000 คน มีจำนวนเงินลงทุนทั้งสิ้นมูลค่า 8,042 ล้านบาท โดยบริษัทเพื่อการผลิตส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตเพื่อส่งออกขายต่างประเทศจำนวนกว่าร้อยละ 70 และเป็นการผลิตเพื่อขายภายในประเทศประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น ส่วนบริษัทเพื่อการขายจะเป็นการขายภายในประเทศทั้งหมด
3) กลุ่มบริษัทมัตสุชิตะ มีความคาดหวังในอนาคตในการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากไทยเป็นประเทศศูนย์กลางทางยุทธศาสตร์สำคัญที่ตั้งอยู่และเป็นสมาชิกของกลุ่มความร่วมมือทางภูมิภาคที่สำคัญ ทั้ง AFTA BIMSTEC และกลุ่มประเทศ CLMV
4. การส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการติดต่อสื่อสารของโลกแบบรวมกลุ่มของกลุ่มบริษัทมัตสุชิตะ โดยการจัดตั้งศูนย์พานาโซนิค ณ กรุงโตเกียว ที่มีการจัดแสดงผลงานและการดำเนินการที่สำคัญของกลุ่มบริษัททั้งในปัจจุบันและในอนาคตที่จะเผยแพร่สู่สายตาชาวโลกในอีกประมาณ 10 ปีข้างหน้า
4.1 ผลงานทางธุรกิจในปัจจุบันจะแบ่งเป็น 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือ
1) ผลิตภัณฑ์โทรศัพท์มือถือและรถยนต์
2) ผลิตภัณฑ์ด้านการรักษาความปลอดภัย
3) ผลิตภัณฑ์ด้านมัลติมีเดียและการเผยแพร่สื่อสาร
4) ผลิตภัณฑ์เครือข่าย IP
4.2 ผลงานของผลิตภัณฑ์ในอนาคตเพื่อสร้างสังคมเครือข่ายเชื่อมโยงเฉพาะตัว แบ่งเป็น 2
ด้าน คือ
1) ชีวิตประจำวัน
2) สังคมเมือง
Ministry of Economy, Trade and Industry (METI)
1. บทบาทและภารกิจของ METI
METI รับผิดชอบในการดำเนินการนโยบายที่ครอบคลุมในเรื่องเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม การดำเนินการนโยบายเหล่านี้ จำเป็นต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับความสนใจของคนญี่ปุ่น การวางแผนที่มีการกำหนดมาตรการ และนโยบายต่างๆ จำเป็นต้องคำนึง ถึงหลักเกณฑ์ทางด้านเทคนิคในการบริหาร และความคิดเห็นที่มาจากหลากหลายสาขาที่แตกต่างกันของคนญี่ปุ่น ดังนั้น คณะกรรมการต่างๆ จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่ METI โดยคณะกรรมการเหล่านี้จะทำหน้าที่ตรวจสอบและพิจารณาเรื่องสำคัญต่างๆ ในสาขาที่รับผิดชอบ ตามคำสั่งของรัฐมนตรี การค้นพบของคณะกรรมการคือผลของรายงานที่นำเสนอแก่รัฐมนตรี ซึ่งเนื้อหาของแต่ละรายงานประกอบเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนของ METI และเป็นสูตรในการกำหนดมาตรการและนโยบายที่นำไปสู่การปฏิบัติ การกำหนดเรื่องสำคัญใดๆ ในฐานะโครงสร้างองค์กรของคณะกรรมการเหล่านี้ ถูกกำหนดโดยกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการนั้นๆ ซึ่งคณะกรรมการนี้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องที่จะต้องพิจารณาอย่างดีที่สุด ได้แก่ ผู้นำในภาคอุตสาหกรรม ผู้บริโภค ผู้นำ
ในภาคการเงิน และผู้เชี่ยวชาญจากทุกภาคส่วนของสังคม ซึ่งรวมถึงแรงงาน ภาคการศึกษา และสื่อมวลชน
2. METI แบ่งกลุ่มงานที่สำคัญออกเป็น
2.1 Economic Industrial Policy Bureau ทำหน้าที่ผลักดันให้เกิดการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับปัญหาการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม อาทิ การปฏิรูปทางด้าน IT การปรับเปลี่ยนโครงสร้างอายุที่มีลักษณะเป็นปิรามิดกลับหัวคือมีประชาชนสูงวัยจำนวนมาก และการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ กุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ที่จะช่วยให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ก็คือ การบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสม และการสร้างเศรษฐสังคมที่สามารถนำไปสู่การปรับโครงสร้างสำนักงานฯ นี้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม การสร้างและผลักดันให้เกิดธุรกิจใหม่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านอุตสาหกรรม การเสริมสร้างธุรกรรมทางการเงินเพื่อการอุตสาหกรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยได้มีการจัดทำแบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อมูล และนำมาใช้ประโยชน์ในการอธิบายด้านสังคม การวางแผน การปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดไว้ การรวบรวมและวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางสถิติ
นอกจากนี้ สำนักงานฯ นี้ ยังมีภารกิจในการจัดทำการตรวจสอบ และปรับปรุงระบบต่างๆ ข้างต้นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความมั่นใจของประเทศในอนาคต
2.2 Trade Policy Bureau ทำหน้าที่พัฒนากลยุทธ์ เพื่อผนวกนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศและภายนอกประเทศ ให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ ปัจจุบันสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศของกิจกรรมของบริษัทเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ชายแดนค่อยๆ เลือนราง และสินค้า การบริการ ธุรกิจ และบุคคลต่างเรียกร้องการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีที่มากขึ้น การเร่งการรวมกลุ่มของเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันแนวทางการรวมตัวของประเทศในภูมิภาค ได้เรียนรู้จากตัวอย่างการรวมกลุ่มของ the North American Free Trade Agreement (NFTA) และ the European Union (EU) ก็เป็นประเด็นไปทั่วโลก การปรับตัวกับสภาพการเปลี่ยนแปลงนี้ สำนักงานฯ นี้จึงจำเป็นที่จะต้องติดตามการรวมกลุ่มทางนโยบายเศรษฐกิจ ทั้งภายใน และภายนอกประเทศอย่างกระชันชิด โดยมีวัตถุประสงค์รวม 2 ด้าน คือ การรักษาระบบการค้าเสรี และการปรับสภาพธุรกิจระหว่างประเทศให้เอื้อต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมญี่ปุ่น
2.3 Trade and Economic Cooperation Bureau ทำหน้าที่กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้การค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในการสร้างสะพานเชื่อมกับโลกสำนักงานฯ นี้ทำหน้าที่สนับสนุนการเติบโตทางการค้าโลก และการเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนผ่านการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น เงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (ODA: Official Development Assistance) ของรัฐบาล และการประกันทางการค้า นอกจากนี้ยังให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาธุรกิจการค้าใหม่ๆ นอกประเทศ เพื่อขยายและสนับสนุนให้ธุรกิจของประเทศขยายกว้างไกลไปทั่วโลก
รวมทั้ง ยังเป็นหน่วยงานที่ให้ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น และความสามารถต่างๆ เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศให้มาลงทุนในประเทศญี่ปุ่น สำนักงานฯ นี้ยังทำหน้าที่เป็นผู้นำในการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนโดยตรงในประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของนายกรัฐมนตรี Koisumi ที่กำหนดให้ปริมาณการลงทุนโดยตรงจากนักลงทุนชาวต่างชาติในประเทสเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ภายใน 5 ปีข้างหน้า ขณะที่มีการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนทางการค้าการควบคุมขั้นต่ำก็ดำเนินการไปพร้อมๆ กัน สำนักงานฯ นี้จึงเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบสินค้าส่งออกและสินค้านำเข้าที่นำไปสู่การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราและกฎหมายการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ
2.4 Industrial Science and Technology Policy and Environment Bureau ทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความฝัน และนักคิดค้นประดิษฐ์สิ่งท้าทายใหม่ๆ ในอนาคต ปัจจุบันความฝันที่จะไปให้ถึงยังอวกาศ และการตรวจโลกจุลภาคของมนุษย์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริงแล้ว จิตวิญญาณของความท้าทาย ความฝัน เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ทำหน้าทีเสมือนแรงผลักดันให้เกิดการขยายอุตสาหกรรมใหม่ๆ ได้เร็ว ได้แก่ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาค และ อีโคเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาทำให้เกิดการไล่ตามความฝันอย่างต่อเนื่อง และจะเป็นกุญแจสำคัญในการก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำในเศรษฐกิจศตวรรษที่ 21 และบทบาทที่สำคัญของรัฐบาลก็คือการให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นและกำหนดเงื่อนไข เพื่อให้คนทำงานตามความฝันที่ตั้งไว้ ซึ่งจะทำให้เปลี่ยนเป็นพลังงานที่ก่อให้เกิดความร่ำรวยของประเทศ
2.5 Manufacturing Industries Bureau ทำหน้าที่กำหนดนโยบายที่พัฒนามาจากระดับ โรงงานสำนักงานฯ นี้ ดูแลอุตสาหกรรมที่สนับสนุนกิจกรรมทางด้านเศรษฐสังคมของญี่ปุ่นและของโลก โดยดูแลอุตสาหกรรมที่มีขนาดเล็กไปจนถึงอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูง และรวมถึงศิลปะ หัตถกรรมดั้งเดิมที่ผลิตจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยพยายามตอบคำถามเหล่านี้
* ทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมแข็งแรงพอที่จะสามารถแข่งขันชนะคู่แข่งต่างชาติ
* ทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมผลิตโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
* ทำอย่างไรให้สามารถผลิตยาใหม่ๆ หรือผลิตวัสดุใหม่ ได้จากเทคโนโลยียีน
* ทำอย่างไรให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจแฟชั่นของโลก
2.6 Commerce and Information Policy Bureau สร้างธุรกิจที่เข็มแข็งให้เศรษฐสังคมมีความมั่งคั่ง
ปัจจุบันผู้บริโภคต้องการสื่อสารกันผ่านอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ ต้องการความบันเทิงจากภาพยนตร์ ฟังเพลง เล่นเกมส์ ทำให้มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะเหล่านี้ เพื่อไปใช้ไปประกอบเป็นอาชีพในอนาคต ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมซื้อของถูกและต้องการความสะดวกในการไปซื้อสินค้า ดังนั้น การกระจายข้อมูลผ่านทางเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร การพัฒนาการให้บริการและการกระจายชนิดของอุตสาหกรรม เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการตระหนักถึงคุณค่าของแต่ละบุคคล และนำไปสู่ชีวิตที่ร่ำรวย การพัฒนาธุรกิจใหม่ในเรื่องนี้จำเป็นต้องมีการสร้างมูลค่าเพิ่มและกระตุ้นเศรษฐกิจและกิจกรรมทางอุตสาหกรรมภานใยประเทศ
สำนักงานฯ นี้เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรการต่างๆ ที่ครอบคลุมการกระจายข้อมูลการพัฒนาการบริการและอุตสาหกรรม และการคุ้มครองผู้บริโภค โดยสำนักงานฯ นี้ได้มีการพิจารณาทั้งในระดับบุคคลและระดับเศรษฐกิจทั้งหมด โดยกำหนดเป้าหมายสูงสุดในการสร้างเศรษฐสังคมในศตวรรษที่ 21 ให้มีความร่ำรวยยิ่งขึ้น
2.7 Agency for Natural Resources and Energy ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบทอดมรดกข้ามยุคสมัย
ปัญหาปริมาณน้ำมันและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมนับเป็นปัญหาที่วิกฤตต่อมนุษย์ชาติสำนักงานฯ นี้จึงทำหน้าที่แก้ไขปัญหาความท้าทายนี้ โดยการกำหนดนโยบายด้านพลังงานอย่างเป็นองค์รวม เพื่อสร้างพื้นฐานกิจกรรมทางเศรษฐกิจและชีวิตรายวัน
2.8 Nuclear and Industrial Safety Agency ดูแลเรื่องการสร้างความสงบของจิตใจ สำนักงานฯ นี้ เป็นหน่วยงานอิสระที่แลทางด้านการบริหารจัดการในเรื่องความปลอดภัยของพลังงานนิวเคลียร์ และความปลอดภัยของอุตสาหกรรม ในด้านความปลอดภัยของพลังงานนิวเคลียร์ สำนักงานฯ นี้จะรับผิดชอบในเรื่องการออกกฎระเบียบเพื่อรักษาความปลอดภัย และการกำหนดมาตรการการเตรียมความพร้อมแบบทันท่วงที สำหรับโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์และโรงกลั่น การนำมาผลิตใหม่ และการจัดการของเสีย / สิ่งอำนวยการจำกัดของเสีย สำหรับด้านความปลอดภัยของอุตสาหกรรม สำนักงานฯ นี้ คำนึงถึงมาตรการความปลอดภัยในเรื่องไฟฟ้า ก๊าซ เครื่องใช้ไฟฟ้า ดินประสิว ก๊าซความดันสูง ปิโตรเคมี Complex ปิโตรเลียมเหลว และเหมืองแร่
2.9 Small and Medium Enterprise Agency จัดทำกรอบสนับสนุนเศรษฐกิจญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นมีจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 4.69 ล้านแห่ง หรือ คิดเป็นร้อยละ 99.7 ของจำนวนธุรกิจทั้งหมด ซึ่งรวมถึงร้อยละ 70 ของจำนวนแรงงานของญี่ปุ่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นตัวกำหนดกรอบภาพรวมทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจำเป็นที่จะต้องทำการปรับโครงสร้างของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไปด้วย สำนักงานฯ นี้ เป็นผู้กำหนดมาตรการคุ้มครองวิสาหกิจ ในการสร้างเครือข่ายความปลอดภัยทางการเงิน เพื่อป้องกันการไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ ให้การสนับสนุน
ผู้ประกอบการแต่ละราย และการเอาชนะสิ่งท้าท้ายใหม่ๆ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อยสาขาใหม่ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และการขยายการจ้างงาน
2.10 Japan Patent Office สร้างธุรกิจของประเทศบนพื้นฐานความถูกต้องทางทรัพย์สินทางปัญญา
ญี่ปุ่นได้รับการรับรองสิทธิบัตรเป็นจำนวนมากที่สุดในโลก คือประมาณ 420,000 สิทธิบัตรต่อปี การที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเอาชนะการแข่งขันทางการค้าญี่ปุ่นจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความได้เปรียบในเรื่องความสามารถและเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้มีการจัดตั้ง Intellectual Creation Cycle เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการยกระดับเทคโนโลยีคุณภาพสูง การป้องกันและคุ้มครองสิทธิในเทคโนโลยีใหม่ และการใช้เทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่
สำนักงานฯ นี้ ทำหน้าที่กำหนดมาตรการที่ได้รวมไปถึงเป้าหมายที่ให้บรรลุ World-class prompt และตรวจสอบสิทธิบัตรต่างๆ อย่างเที่ยงตรงและโปร่งใส เพื่อให้มีสิทธิบัตรที่เกิดจากคนในชาติเพิ่มมากขึ้น และถือเป็นลำดับสำคัญลำดับแรกๆ ที่ต้องทำ
2.11 Minister's Secretariat ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการเรื่องโดยรวมของ METI
METI รับผิดชอบในเรื่องการบริหารจัดการในขอบเขตกว้างและหลากหลายมิติ ซึ่งรวมไปถึง การค้า อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พลังงาน ผู้บริโภค เศรษฐกิจภายในประเทศ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เทคโนโลยีและสิทธิบัตร ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องระหว่างประเทศ
ภารกิจสำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือ การนำนโยบายแต่ละนโยบายที่กำหนดจากหลากหลายสาขามากำหนดเป็นนโยบายแนวทางการพัฒนาเศรษฐสังคมของญี่ปุ่นต่อโลก สำนักงานฯ นี้ รับผิดชอบในเรื่องการบริหารจัดการกระทรวงในภาพรวม เช่น การประสานภาพรวมในนโยบายที่สำคัญ การตรวจสอบกฎหมาย การบริหารงบประมาณ การประเมินนโยบาย การสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การบริหารองค์กรและบุคลากร ที่สำคัญก็คือ การมีบทบาทในกิจกรรมการบริหารในฐานะองค์กรเดียว Single body
3. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์
3.1 โดยทั่วไปทุกกระทรวงจะต้องจัดทำแผนยุทธศาสตร์ รวมทั้ง METI ด้วย โดยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์นี้ ไม่มีการกำหนดระยะเวลาจัดทำที่แน่นอน แต่จะขึ้นอยู่กับตามความต้องการ ความเหมาะสม และการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยที่สำคัญต่างๆ ในขณะนั้น แผนยุทธศาสตร์จะประกาศใช้โดยรัฐมนตรีที่รับผิดชอบกระทรวงนั้นๆ ในที่นี้ก็คือ METI และไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ (ซึ่งต่างจาก White Paper ที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี) ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์ที่ประกาศใช้นี้ METI จะทำหน้าที่ประสานและผลักดันให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมตามแผนที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างแผนยุทธศาสตร์สนับสนุน อุตสาหกรรมใหม่ (New Industry Promotion Strategy 2005) ซึ่งได้จัดทำขึ้นในเดือนมิถุนายน 2005
3.2 แผนยุทธศาสตร์สนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่ 2005 : สาระสำคัญ ได้แก่
3.2.1 สาขาที่มีโอกาสใน 7 สาขา ได้แก่ 1) การพัฒนาปฏิกิริยาการใช้เซลล์พลังงานในยานพาหนะ 2) พัฒนา IT สำหรับฐานทางธุรกิจ 3) พัฒนาการนำหุ่นยนต์มาใช้ในกระบวนการผลิตและการสร้างตลาดสำหรับหุ่นยนต์เพื่อการบริการ 4) จัดทำศูนย์กลางการผลิตและการกระจายสินค้าในเอเชีย 5) พัฒนาธุรกิจเพื่อสร้างอุตสาหกรรมสุขภาพที่แข็งขันใหม่ 6) พัฒนากฎระเบียบในการใช้เทคโนโลยี สำหรับสิ่งของหมุนเวียน 7) สร้างการเป็นผู้นำในการสนับสนุนการบริการจ้างงานจากภายนอก
3.2.2 การฟื้นฟูความร่วมมือในภูมิภาค โดยการสนับสนุนให้เกิดการสร้างความเข็มแข็งพื้นฐานและการสร้างชุมชนที่มีความเชื่อใจ
3.2.3 ให้ความสำคัญกับนโยบายข้ามสาขา ได้แก่ การสร้างผู้เชี่ยวชาญระดับปริญญาตรีในสาขาการวางยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมและธุรกิจ สนับสนุนการจ้างงานผู้ที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูงจากต่างประเทศ จัดทำการวิจัยและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การใช้เทคโนโลยี สนับสนุนการใช้ IT เพื่อการตลาด ให้แรงจูงใจทางด้านภาษีสำหรับการลงทุนเพื่อการพัฒนา บุคลากร การวิจัยและพัฒนา และ IT นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการบริหารจัดการที่ เน้นทรัพย์สินทางปัญญา
(ยังมีต่อ .../..Economic and Social Research Institute (ESRI)
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-