สรุปการบรรยายเรื่อง Developing Technology-Based Cluster for Competitiveness โดย Prof. Dr. Michael Luger ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์เมืองและภูมิภาคและการพัฒนาเศรษฐกิจ และผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจเพื่อการแข่งขันแห่งสถาบัน คีนันเพื่อวิสาหกิจมหาชน มหาวิทยาลัย North Carolina ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2549 ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ ชั้น 6 สพศ.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
กรณีศึกษา Research Triangle of North Carolina (RTNC)
1. เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่สามารถแข่งขันได้กับประเทศที่มีต้นทุนและทักษะแรงงานที่มีความชำนาญต่ำกว่าภายใต้การสร้างงานในรูปแบบเศรษฐกิจเดิมๆ หากแต่ต้องปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ใช้เทคโนโลยี แรงงานฝีมือ และกิจกรรมที่จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในระดับสูง ดังนั้น ประเด็นท้าทายคือ การค้นหากิจกรรม/งานที่จะปรับเปลี่ยนชุมชน/ท้องถิ่นไปสู่พื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ (Smart Places)
2. แผนงานเรื่องคลัสเตอร์ จึงได้ถูกนำมาใช้เพื่อเผชิญกับประเด็นท้าท้ายดังกล่าว แต่ต้องมิใช่แนวคิดคลัสเตอร์ในความ
หมายกว้าง หากต้องปรับให้เหมาะสมกับสภาพชุมชน/ท้องถิ่นนั้นๆ คือ มีความเฉพาะเจาะจง และเหมาะสมกับระบบเศรษฐกิจใหม่ของศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้ กรณีศึกษาของ Research Triangle of North Carolina (RTNC) ซึ่งคณะกรรมการวางแผนการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวได้ใช้แนวทาง คลัสเตอร์ โดยได้จัดตั้งสมาคม/กลุ่มนักวิจัยขึ้นมา เพื่อนำแนวทางดังกล่าวไปปฏิบัติ ซึ่งกลุ่มนักวิจัยได้ทำ การสังเคราะห์การวิเคราะห์ของ Prof. Michael Porter ลงสู่ระดับ Sub-region ดังนี้
2.1 Prof. Michael Porter ได้แนะนำให้พิจารณาใน 4 สาขาที่มีความเหมาะสมกับภูมิภาค ได้แก่ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคมและเวชภัณฑ์ และธุรกิจการเกษตรและชีวภาพ ซึ่งยังไม่เป็นที่เห็นชอบของมณฑลโดยส่วนใหญ่ กลุ่มนักวิจัยจึงได้จำกัดขอบเขตลงสู่ระดับ Sub-region ใน 3 เขต และพบว่า คลัสเตอร์อุตสาหกรรมที่เหมาะสมส่วนใหญ่จะมีความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน และมีแนวโน้มการเติบโตด้านการสร้างงาน
2.2 กระบวนการการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกอุตสาหกรรมคลัสเตอร์ เริ่มจาก
(1) จัดทำการเปรียบเทียบคลัสเตอร์ในระดับประเทศ (National Benchmark Cluster) โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยสัมประสิทธิ์ IO (Factor Analysis of Input-Output Coefficients) ที่ใช้ดัชนีอุตสาหกรรม 4 หลัก (SIC/NAICS) ซึ่งจะวัดความสามารถในการจ้างงานของคลัสเตอร์นั้นๆ (มีการสร้าง Location Quotient-LQs และดูการเปลี่ยนแปลงของ LQs)
(2) จากนั้น จะมีการถกเถียงถึงประเด็นที่เห็นด้วย (Pro) และข้อโต้แย้ง (Con) และนโยบายสนับสนุนของแต่ละคลัสเตอร์ที่ได้จัดลำดับความสำคัญไว้ เช่น ควรใช้ทรัพยากรเพื่อสนับสนุน คลัสเตอร์ที่มีศักยภาพมากน้อยแค่ไหน ควรกระตุ้นคลัสเตอร์ใหม่ๆ ที่มีความโดดเด่นอย่างไร และควรจะรักษาคลัสเตอร์ที่เป็นดาวร่วงหรือไม่ เป็นต้น
(3) ค้นหาแนวทางให้นักพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคได้คัดเลือก อบรม และลดข้อเท็จทั้งเชิงบวกและลบ เช่น ข้อเท็จเชิงบวก: ธุรกิจในอุตสาหกรรมส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ขาดความเชื่อมโยงในระดับท้องถิ่น ข้อเท็จเชิงลบ: ธุรกิจที่มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรม IT ที่อาจสร้างมูลค่าเพิ่ม กลับไม่ได้ถูกนำมารวมในการวิเคราะห์ ซึ่งเป็นผลจากความผิดพลาดในการคัดเลือก เนื่องจากกระบวนการวิเคราะห์ดังกล่าวยังไม่มีความเป็นวิทยาศาสตร์เพียงพอ คือ อยู่บนพื้นฐานของการตั้งสมมติฐาน ขึ้นกับข้อมูลเฉพาะ และการวินิจฉัยของบุคคล (Subjective) นำไปสู่ความผิดพลาดทั้งเชิงบวกและลบต่อการเลือกสรร รวมทั้งไม่ได้แสดงให้เห็นข้อแตกต่างของแต่ละ Sub-regions ในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน และแรงงาน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 ที่เกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นของตลาดทุน พลวัตรของผู้ประกอบการ และโลกาภิวัตน์
ดังนั้น การวิเคราะห์จึงได้ใช้การคัดเลือกแบบ 2 ทาง คือ พิจารณาทั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีคลัสเตอร์ เพื่อลดปัญหาดังกล่าว ทำให้สามารถขจัดวิสาหกิจที่ขาดความเชื่อมโยงหรือไม่มีอนาคตสำหรับภูมิภาคออกไป
3. กล่าวโดยสรุป North Carolina เป็นตัวอย่างที่ดีมากในเรื่องกระบวนการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ รัฐบาล และมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญมากของคลัสเตอร์ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กได้รับมูลค่าเพิ่มและประโยชน์จาก คลัสเตอร์บริการ และการสนับสนุนต่างๆ ที่จัดเตรียมไว้ให้ เช่น การจัดอบรมเพื่อสร้างศักยภาพให้ผู้ประกอบการ การจัดตั้งกองทุนร่วมทุน รวมทั้งกลไกที่จะให้คำแนะนำและเงินทุนในการเคลื่อนย้ายแรงงานในภูมิภาค
กรณีศึกษาความเป็นไปได้โครงการ Mini-hub (Kerr-Tar Hub)
1. แนวคิด:
1.1 Mini-hub เกิดจากแนวคิดที่ต้องการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความเฉพาะเจาะจง และมีจำนวนมากเพียงพอที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาค (Region Growth Poles) ซึ่งเป็นผลให้เกิดการจัดตั้งอุทยานการวิจัยต่างๆ (Research Park) ในสหรัฐฯ
1.2 Mini-hub คือ การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่มีขนาดเหมาะสมกับธุรกิจเป้าหมายที่ใช้แรงงานทักษะฝีมือเพื่อผลิตสินค้าขั้นสูง มากกว่าใช้การวิจัยและพัฒนา ทำให้สามารถดึงดูดกิจกรรม อาทิ การแปรรูป กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงาน (Back-office) เช่น ศูนย์บริการเฉพาะ การแปรผลและจัดเก็บข้อมูล เข้ามาดำเนินการใน Mini-hub รวมทั้งยังได้จัดเตรียมบริการและ สิ่งอำนวยความสะดวกที่เฉพาะเจาะจงและเหมาะสมกับการเสริมสร้างศักยภาพให้ธุรกิจเป้าหมาย ซึ่งจะแตกต่างจากอุทยานอุตสาหกรรมทั่วๆ ไป ที่จัดเตรียมเพียงสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานและอาคารโรงงานสำหรับธุรกิจที่มีแรงานทักษะต่ำ-ปานกลาง และมีกิจกรรมการให้บริการที่ไม่มากนัก
1.3 Mini-hub จะดำเนินการเสมือนเป็นสาขาย่อย หรือเป็นอุทยานเทคโนโลยีขั้นกลางที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจที่แตกตัวออกจาก Research Triangle Regional Park-RTP ซึ่งมีสถานะเป็น Central Hub โดยจะดำเนินการในพื้นที่ที่มีค่าเช่าไม่สูงนัก แต่สามารถเข้าถึงแรงงานได้อย่างเหมาะสม โดยมีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกเฉพาะและสามารถเชื่อมโยง/สนับสนุน Main/Central Hub ได้ ได้แก่ ศูนย์บ่มเพาะ และศูนย์เร่งรัดการเติบโต ห้องปฏิบัติการวิจัย/ทดสอบ การเสริมสร้างศักยภาพด้าน IT ระดับก้าวหน้า ห้องประชุมสัมมนา และการให้บริการเฉพาะด้าน ได้แก่ การอบรมแรงงานที่เฉพาะเจาะจง การส่งเสริมการส่งออก/การตลาด การทบทวนกฎระเบียบ การช่วยเหลือการทำธุรกิจ
1.4 Mini-hub จัดเป็นทรัพยากรของภูมิภาค มิใช่เครื่องมือการพัฒนาเศรษฐกิจสำหรับมณฑลหนึ่งๆ สามารถนำมาซึ่งผลตอบแทนตามที่คาดหวัง เนื่องจากเป็นความพยายามร่วมกันระหว่างมณฑล รัฐ Research Triangle Regional Park และที่ปรึกษา ซึ่งเมื่อพัฒนาให้มีรูปแบบที่เหมาะสมจะช่วยสนับสนุนให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่ๆ และยังสามารถกระจายสู่พื้นที่ต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว
1.5 สิทธิประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับ คือ เรื่องภาษี โดยเฉพาะในเขตที่ห่างไกลที่สุด หรือเขตที่มีระดับความเจริญต่ำสุด (Lowest Tier) มุ่งเน้นเฉพาะคลัสเตอร์ที่เป็นนโยบายของรัฐ อันจะนำมาซึ่งเงินทุนจากรัฐหรือจากมูลนิธิต่างๆ ทั้งนี้ ความสำเร็จของ Mini-hub จะสร้างให้เกิดความต้องการอุทยานอุตสาหกรรม ซึ่ง Regional Triangle Park คือตัวอย่างของความสำเร็จดังกล่าว
2. การขับเคลื่อน:
ต้องได้รับการยอมรับจากมณฑลในประเด็นต่างๆ ดังนี้ แนวทางการบริหารจัดการ การคัดเลือกอุตสาหกรรมเป้าหมายและทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม การตัดสินใจในเรื่องสิทธิประโยชน์และการส่งเสริม การจัดหากลไกทางการเงินและสิ่งจูงใจที่จำเป็น
3. ตัวอย่างความสำเร็จ:
3.1 Vance-Granville ซึ่งเป็นที่ตั้งที่แรกของ Min-hub มีเนื้อที่ 1,000 เอเคอร์ ตั้งอยู่ใกล้กับวิทยาลัยชุมชน Vance-Granville บริหารงานและเป็นเจ้าของโดยนิติบุคคลที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร ทั้งนี้ แต่ละมณฑลจะแบ่งปันรายได้และค่าใช้จ่าย โดยมีตัวแทนจากแต่ละมณฑลเข้าร่วมเป็นกรรมการ และสมาชิกของคณะกรรมการจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ
3.2 อย่างไรก็ตาม ยังคงมีงานที่ต้องดำเนินการต่อไปใน 2 เรื่อง คือ การนำแนวคิดคลัสเตอร์สู่การปฏิบัติ ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าธุรกิจอะไรที่เป็นเป้าหมาย และอะไรที่ไม่ใช่ และอะไรที่เป็นความจำเป็นทั้งในเรื่องแรงงาน โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก และสิทธิประโยชน์ และการจัดหาแรงงาน และอุปสงค์
ความเห็น/ข้อสังเกตของที่ประชุม
1. แนวคิดการจัดตั้ง Mini-hub ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี แต่ละพื้นที่ และสภาพภูมิศาสตร์ แนวคิดดังกล่าวเปรียบเสมือนการวางแผนพัฒนาชุมชนควบคู่ไปกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate) ที่เน้นการพึ่งตนเอง ลดการอพยพแรงงาน แก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งอาจนำมาประยุกต์กับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย
2. โครงการ Mini-hub ของมณรัฐนอร์ทแคโรไรน่า สหรัฐฯ มิใช่เรื่องใหม่ หากแต่เป็นตัวอย่างสำคัญเรื่องวิธีปฏิบัติ เฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นส่วนหนึ่งของคลัสเตอร์อุตสาหกรรม โดยมีประเด็นที่สำคัญคือ ต้องได้รับการยอมรับจากมณฑล นอกจากนี้ ยังเป็นตัวอย่างในการสร้างโอกาสให้ผู้จัดการ นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกร ได้มีโอกาสทำงาน และแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ร่วมกัน เนื่องจากแต่ละ Mini-hub จะมีสาขาของมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ด้วย
3. จากการที่ Michael Porter ได้ให้คำแนะนำเรื่องคลัสเตอร์ระดับภูมิภาค 4 สาขา ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่มีประโยชน์ ที่ได้ส่งเสริมให้คนจำนวนมากเข้ามามีส่วนร่วมและปรับปรุงข้อมูล ดังนั้น ผลการศึกษาต่างๆ ควรต้องได้รับการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยเพื่อนำมาใช้ให้เกิดผล และต้องจุดประกายให้คนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย มีการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ
4. แนวทางสำคัญในการพัฒนาคลัสเตอร์ คือ ต้องหาศักยภาพที่ประเทศมีอยู่ให้พบ พิจารณาว่าเราอยู่ตรงไหนเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ และนำศักยภาพนั้นๆ มาบ่มเพาะ หามาตรการ/แนวทางที่เหมาะสม พร้อมไปกับการมองไปในอนาคต/มองไปข้างหน้า
5. ในประเด็นเรื่องการจัดการกับปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะหรือการที่แรงงานอพยพไปทำงานในชุมชนอื่นๆ นั้น จำเป็นที่จะต้องค้นหาสาเหตุก่อน เช่น ในพื้นที่อาจไม่มีงานให้ทำเพียงพอ ทั้งนี้ กรณีของมณรัฐนอร์ทแคโรไรน่า ได้แก้ปัญหาด้วยการสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมทักษะแรงงานที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นกลาง และเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ที่สอดคล้องกับความต้องการและการคาดการณ์ในการสร้างงานใหม่ๆ ของอุตสาหกรรมในพื้นที่ โดยได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิในมณฑล
บทสรุป
การพัฒนาเขตเศรษฐกิจของมณรัฐนอร์ทแคโรไรน่า สหรัฐอเมริกา เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการผลักดันแนวคิดการพัฒนาคลัสเตอร์สู่การปฏิบัติ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรม เฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ ผลักดันให้อุตสาหกรรมที่ตกลงกันแล้วว่าจะเป็นเป้าหมายในนโยบายของรัฐ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและเติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยการจัดเตรียมสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก การอบรม และการให้ความช่วยเหลือในการทำธุรกิจแบบจำเพาะ ตลอดจนการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี ซึ่งช่วยให้เกิดการตระหนักว่า ภาครัฐจะต้องมีความชัดเจนในเรื่องของอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยการคัดเลือกจะต้องใช้ทั้งการวิเคราะห์เชิงเทคนิค และต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้เกี่ยวข้องซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญมาก อย่างไรก็ตามการดำเนินงานพัฒนาคลัสเตอร์ในแต่ละพื้นที่ต้องมีความจำเพาะเจาะจงและมีข้อมูลเฉพาะ เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของคน และสภาวะของพื้นที่นั้นๆ
นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า การจัดให้มีการบรรยายในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังจำนวนประมาณ 100 ท่าน ซึ่งเกินกว่าจำนวนที่ตอบรับอยู่มาก รวมทั้งมีประเด็นซักถามมาก อาจกล่าวได้ว่า หน่วยงานต่างๆ ตื่นตัวในแนวคิดและวิธีปฏิบัติเรื่องการพัฒนาคลัสเตอร์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
กรณีศึกษา Research Triangle of North Carolina (RTNC)
1. เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่สามารถแข่งขันได้กับประเทศที่มีต้นทุนและทักษะแรงงานที่มีความชำนาญต่ำกว่าภายใต้การสร้างงานในรูปแบบเศรษฐกิจเดิมๆ หากแต่ต้องปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ใช้เทคโนโลยี แรงงานฝีมือ และกิจกรรมที่จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในระดับสูง ดังนั้น ประเด็นท้าทายคือ การค้นหากิจกรรม/งานที่จะปรับเปลี่ยนชุมชน/ท้องถิ่นไปสู่พื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ (Smart Places)
2. แผนงานเรื่องคลัสเตอร์ จึงได้ถูกนำมาใช้เพื่อเผชิญกับประเด็นท้าท้ายดังกล่าว แต่ต้องมิใช่แนวคิดคลัสเตอร์ในความ
หมายกว้าง หากต้องปรับให้เหมาะสมกับสภาพชุมชน/ท้องถิ่นนั้นๆ คือ มีความเฉพาะเจาะจง และเหมาะสมกับระบบเศรษฐกิจใหม่ของศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้ กรณีศึกษาของ Research Triangle of North Carolina (RTNC) ซึ่งคณะกรรมการวางแผนการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวได้ใช้แนวทาง คลัสเตอร์ โดยได้จัดตั้งสมาคม/กลุ่มนักวิจัยขึ้นมา เพื่อนำแนวทางดังกล่าวไปปฏิบัติ ซึ่งกลุ่มนักวิจัยได้ทำ การสังเคราะห์การวิเคราะห์ของ Prof. Michael Porter ลงสู่ระดับ Sub-region ดังนี้
2.1 Prof. Michael Porter ได้แนะนำให้พิจารณาใน 4 สาขาที่มีความเหมาะสมกับภูมิภาค ได้แก่ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคมและเวชภัณฑ์ และธุรกิจการเกษตรและชีวภาพ ซึ่งยังไม่เป็นที่เห็นชอบของมณฑลโดยส่วนใหญ่ กลุ่มนักวิจัยจึงได้จำกัดขอบเขตลงสู่ระดับ Sub-region ใน 3 เขต และพบว่า คลัสเตอร์อุตสาหกรรมที่เหมาะสมส่วนใหญ่จะมีความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน และมีแนวโน้มการเติบโตด้านการสร้างงาน
2.2 กระบวนการการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกอุตสาหกรรมคลัสเตอร์ เริ่มจาก
(1) จัดทำการเปรียบเทียบคลัสเตอร์ในระดับประเทศ (National Benchmark Cluster) โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยสัมประสิทธิ์ IO (Factor Analysis of Input-Output Coefficients) ที่ใช้ดัชนีอุตสาหกรรม 4 หลัก (SIC/NAICS) ซึ่งจะวัดความสามารถในการจ้างงานของคลัสเตอร์นั้นๆ (มีการสร้าง Location Quotient-LQs และดูการเปลี่ยนแปลงของ LQs)
(2) จากนั้น จะมีการถกเถียงถึงประเด็นที่เห็นด้วย (Pro) และข้อโต้แย้ง (Con) และนโยบายสนับสนุนของแต่ละคลัสเตอร์ที่ได้จัดลำดับความสำคัญไว้ เช่น ควรใช้ทรัพยากรเพื่อสนับสนุน คลัสเตอร์ที่มีศักยภาพมากน้อยแค่ไหน ควรกระตุ้นคลัสเตอร์ใหม่ๆ ที่มีความโดดเด่นอย่างไร และควรจะรักษาคลัสเตอร์ที่เป็นดาวร่วงหรือไม่ เป็นต้น
(3) ค้นหาแนวทางให้นักพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคได้คัดเลือก อบรม และลดข้อเท็จทั้งเชิงบวกและลบ เช่น ข้อเท็จเชิงบวก: ธุรกิจในอุตสาหกรรมส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ขาดความเชื่อมโยงในระดับท้องถิ่น ข้อเท็จเชิงลบ: ธุรกิจที่มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรม IT ที่อาจสร้างมูลค่าเพิ่ม กลับไม่ได้ถูกนำมารวมในการวิเคราะห์ ซึ่งเป็นผลจากความผิดพลาดในการคัดเลือก เนื่องจากกระบวนการวิเคราะห์ดังกล่าวยังไม่มีความเป็นวิทยาศาสตร์เพียงพอ คือ อยู่บนพื้นฐานของการตั้งสมมติฐาน ขึ้นกับข้อมูลเฉพาะ และการวินิจฉัยของบุคคล (Subjective) นำไปสู่ความผิดพลาดทั้งเชิงบวกและลบต่อการเลือกสรร รวมทั้งไม่ได้แสดงให้เห็นข้อแตกต่างของแต่ละ Sub-regions ในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน และแรงงาน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 ที่เกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นของตลาดทุน พลวัตรของผู้ประกอบการ และโลกาภิวัตน์
ดังนั้น การวิเคราะห์จึงได้ใช้การคัดเลือกแบบ 2 ทาง คือ พิจารณาทั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีคลัสเตอร์ เพื่อลดปัญหาดังกล่าว ทำให้สามารถขจัดวิสาหกิจที่ขาดความเชื่อมโยงหรือไม่มีอนาคตสำหรับภูมิภาคออกไป
3. กล่าวโดยสรุป North Carolina เป็นตัวอย่างที่ดีมากในเรื่องกระบวนการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ รัฐบาล และมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญมากของคลัสเตอร์ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กได้รับมูลค่าเพิ่มและประโยชน์จาก คลัสเตอร์บริการ และการสนับสนุนต่างๆ ที่จัดเตรียมไว้ให้ เช่น การจัดอบรมเพื่อสร้างศักยภาพให้ผู้ประกอบการ การจัดตั้งกองทุนร่วมทุน รวมทั้งกลไกที่จะให้คำแนะนำและเงินทุนในการเคลื่อนย้ายแรงงานในภูมิภาค
กรณีศึกษาความเป็นไปได้โครงการ Mini-hub (Kerr-Tar Hub)
1. แนวคิด:
1.1 Mini-hub เกิดจากแนวคิดที่ต้องการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความเฉพาะเจาะจง และมีจำนวนมากเพียงพอที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาค (Region Growth Poles) ซึ่งเป็นผลให้เกิดการจัดตั้งอุทยานการวิจัยต่างๆ (Research Park) ในสหรัฐฯ
1.2 Mini-hub คือ การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่มีขนาดเหมาะสมกับธุรกิจเป้าหมายที่ใช้แรงงานทักษะฝีมือเพื่อผลิตสินค้าขั้นสูง มากกว่าใช้การวิจัยและพัฒนา ทำให้สามารถดึงดูดกิจกรรม อาทิ การแปรรูป กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงาน (Back-office) เช่น ศูนย์บริการเฉพาะ การแปรผลและจัดเก็บข้อมูล เข้ามาดำเนินการใน Mini-hub รวมทั้งยังได้จัดเตรียมบริการและ สิ่งอำนวยความสะดวกที่เฉพาะเจาะจงและเหมาะสมกับการเสริมสร้างศักยภาพให้ธุรกิจเป้าหมาย ซึ่งจะแตกต่างจากอุทยานอุตสาหกรรมทั่วๆ ไป ที่จัดเตรียมเพียงสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานและอาคารโรงงานสำหรับธุรกิจที่มีแรงานทักษะต่ำ-ปานกลาง และมีกิจกรรมการให้บริการที่ไม่มากนัก
1.3 Mini-hub จะดำเนินการเสมือนเป็นสาขาย่อย หรือเป็นอุทยานเทคโนโลยีขั้นกลางที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจที่แตกตัวออกจาก Research Triangle Regional Park-RTP ซึ่งมีสถานะเป็น Central Hub โดยจะดำเนินการในพื้นที่ที่มีค่าเช่าไม่สูงนัก แต่สามารถเข้าถึงแรงงานได้อย่างเหมาะสม โดยมีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกเฉพาะและสามารถเชื่อมโยง/สนับสนุน Main/Central Hub ได้ ได้แก่ ศูนย์บ่มเพาะ และศูนย์เร่งรัดการเติบโต ห้องปฏิบัติการวิจัย/ทดสอบ การเสริมสร้างศักยภาพด้าน IT ระดับก้าวหน้า ห้องประชุมสัมมนา และการให้บริการเฉพาะด้าน ได้แก่ การอบรมแรงงานที่เฉพาะเจาะจง การส่งเสริมการส่งออก/การตลาด การทบทวนกฎระเบียบ การช่วยเหลือการทำธุรกิจ
1.4 Mini-hub จัดเป็นทรัพยากรของภูมิภาค มิใช่เครื่องมือการพัฒนาเศรษฐกิจสำหรับมณฑลหนึ่งๆ สามารถนำมาซึ่งผลตอบแทนตามที่คาดหวัง เนื่องจากเป็นความพยายามร่วมกันระหว่างมณฑล รัฐ Research Triangle Regional Park และที่ปรึกษา ซึ่งเมื่อพัฒนาให้มีรูปแบบที่เหมาะสมจะช่วยสนับสนุนให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่ๆ และยังสามารถกระจายสู่พื้นที่ต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว
1.5 สิทธิประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับ คือ เรื่องภาษี โดยเฉพาะในเขตที่ห่างไกลที่สุด หรือเขตที่มีระดับความเจริญต่ำสุด (Lowest Tier) มุ่งเน้นเฉพาะคลัสเตอร์ที่เป็นนโยบายของรัฐ อันจะนำมาซึ่งเงินทุนจากรัฐหรือจากมูลนิธิต่างๆ ทั้งนี้ ความสำเร็จของ Mini-hub จะสร้างให้เกิดความต้องการอุทยานอุตสาหกรรม ซึ่ง Regional Triangle Park คือตัวอย่างของความสำเร็จดังกล่าว
2. การขับเคลื่อน:
ต้องได้รับการยอมรับจากมณฑลในประเด็นต่างๆ ดังนี้ แนวทางการบริหารจัดการ การคัดเลือกอุตสาหกรรมเป้าหมายและทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม การตัดสินใจในเรื่องสิทธิประโยชน์และการส่งเสริม การจัดหากลไกทางการเงินและสิ่งจูงใจที่จำเป็น
3. ตัวอย่างความสำเร็จ:
3.1 Vance-Granville ซึ่งเป็นที่ตั้งที่แรกของ Min-hub มีเนื้อที่ 1,000 เอเคอร์ ตั้งอยู่ใกล้กับวิทยาลัยชุมชน Vance-Granville บริหารงานและเป็นเจ้าของโดยนิติบุคคลที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร ทั้งนี้ แต่ละมณฑลจะแบ่งปันรายได้และค่าใช้จ่าย โดยมีตัวแทนจากแต่ละมณฑลเข้าร่วมเป็นกรรมการ และสมาชิกของคณะกรรมการจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ
3.2 อย่างไรก็ตาม ยังคงมีงานที่ต้องดำเนินการต่อไปใน 2 เรื่อง คือ การนำแนวคิดคลัสเตอร์สู่การปฏิบัติ ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าธุรกิจอะไรที่เป็นเป้าหมาย และอะไรที่ไม่ใช่ และอะไรที่เป็นความจำเป็นทั้งในเรื่องแรงงาน โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก และสิทธิประโยชน์ และการจัดหาแรงงาน และอุปสงค์
ความเห็น/ข้อสังเกตของที่ประชุม
1. แนวคิดการจัดตั้ง Mini-hub ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี แต่ละพื้นที่ และสภาพภูมิศาสตร์ แนวคิดดังกล่าวเปรียบเสมือนการวางแผนพัฒนาชุมชนควบคู่ไปกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate) ที่เน้นการพึ่งตนเอง ลดการอพยพแรงงาน แก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งอาจนำมาประยุกต์กับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย
2. โครงการ Mini-hub ของมณรัฐนอร์ทแคโรไรน่า สหรัฐฯ มิใช่เรื่องใหม่ หากแต่เป็นตัวอย่างสำคัญเรื่องวิธีปฏิบัติ เฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นส่วนหนึ่งของคลัสเตอร์อุตสาหกรรม โดยมีประเด็นที่สำคัญคือ ต้องได้รับการยอมรับจากมณฑล นอกจากนี้ ยังเป็นตัวอย่างในการสร้างโอกาสให้ผู้จัดการ นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกร ได้มีโอกาสทำงาน และแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ร่วมกัน เนื่องจากแต่ละ Mini-hub จะมีสาขาของมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ด้วย
3. จากการที่ Michael Porter ได้ให้คำแนะนำเรื่องคลัสเตอร์ระดับภูมิภาค 4 สาขา ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่มีประโยชน์ ที่ได้ส่งเสริมให้คนจำนวนมากเข้ามามีส่วนร่วมและปรับปรุงข้อมูล ดังนั้น ผลการศึกษาต่างๆ ควรต้องได้รับการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยเพื่อนำมาใช้ให้เกิดผล และต้องจุดประกายให้คนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย มีการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ
4. แนวทางสำคัญในการพัฒนาคลัสเตอร์ คือ ต้องหาศักยภาพที่ประเทศมีอยู่ให้พบ พิจารณาว่าเราอยู่ตรงไหนเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ และนำศักยภาพนั้นๆ มาบ่มเพาะ หามาตรการ/แนวทางที่เหมาะสม พร้อมไปกับการมองไปในอนาคต/มองไปข้างหน้า
5. ในประเด็นเรื่องการจัดการกับปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะหรือการที่แรงงานอพยพไปทำงานในชุมชนอื่นๆ นั้น จำเป็นที่จะต้องค้นหาสาเหตุก่อน เช่น ในพื้นที่อาจไม่มีงานให้ทำเพียงพอ ทั้งนี้ กรณีของมณรัฐนอร์ทแคโรไรน่า ได้แก้ปัญหาด้วยการสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมทักษะแรงงานที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นกลาง และเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ที่สอดคล้องกับความต้องการและการคาดการณ์ในการสร้างงานใหม่ๆ ของอุตสาหกรรมในพื้นที่ โดยได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิในมณฑล
บทสรุป
การพัฒนาเขตเศรษฐกิจของมณรัฐนอร์ทแคโรไรน่า สหรัฐอเมริกา เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการผลักดันแนวคิดการพัฒนาคลัสเตอร์สู่การปฏิบัติ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรม เฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ ผลักดันให้อุตสาหกรรมที่ตกลงกันแล้วว่าจะเป็นเป้าหมายในนโยบายของรัฐ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและเติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยการจัดเตรียมสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก การอบรม และการให้ความช่วยเหลือในการทำธุรกิจแบบจำเพาะ ตลอดจนการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี ซึ่งช่วยให้เกิดการตระหนักว่า ภาครัฐจะต้องมีความชัดเจนในเรื่องของอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยการคัดเลือกจะต้องใช้ทั้งการวิเคราะห์เชิงเทคนิค และต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้เกี่ยวข้องซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญมาก อย่างไรก็ตามการดำเนินงานพัฒนาคลัสเตอร์ในแต่ละพื้นที่ต้องมีความจำเพาะเจาะจงและมีข้อมูลเฉพาะ เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของคน และสภาวะของพื้นที่นั้นๆ
นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า การจัดให้มีการบรรยายในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังจำนวนประมาณ 100 ท่าน ซึ่งเกินกว่าจำนวนที่ตอบรับอยู่มาก รวมทั้งมีประเด็นซักถามมาก อาจกล่าวได้ว่า หน่วยงานต่างๆ ตื่นตัวในแนวคิดและวิธีปฏิบัติเรื่องการพัฒนาคลัสเตอร์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-