1. เรื่องเดิม
1.1 จังหวัดเชียงรายมีความได้เปรียบในด้านที่ตั้งที่อยู่ในกลุ่มพื้นที่จังหวัดเชียงราย-เชียงใหม่-ลำพูน ซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญตามแนวเขตเศรษฐกิจเหนือ - ใต้เชื่อมโยงไทย - พม่า / ลาว - จีน และมีศักยภาพพัฒนาเป็นฐานการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวในอนาคตอันใกล้ โดยปัจจุบันมีการขนส่งตามลำน้ำโขงจากเชียงรุ่ง - เชียงแสนอยู่แล้ว และมีการก่อสร้างถนนเชื่อมโยง แม่สาย - ชายแดนจีน และถนนเชียงของ - หลวงน้ำทา ส่งผลให้อำเภอแม่สายเชียงของ และเชียงแสน เป็นประตูเศรษฐกิจที่สำคัญ และไทยจำเป็นต้องเตรียมการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อรองรับ
1.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2547 มอบหมายรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) พิจารณาทบทวนจุดที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย และรองนายกรัฐมนตรีได้จัดประชุมเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2547 และได้ข้อสรุปใน 2 ประเด็น คือ 1 รัฐบาลกำลังดำเนินการอนุรักษ์เมืองเชียงแสนให้เป็นเมืองมรดกโลก จึงเห็นควรให้พิจารณาใช้พื้นที่อื่นในจังหวัดสำหรับโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมโดยให้พิจารณาพื้นที่อำเภอเชียงของก่อนเป็นลำดับแรก และ 2 มอบหมายการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยชี้แจงทำความเข้าใจกับนักลงทุนฝ่ายจีน และร่วมกับจังหวัดจัดหาพื้นที่แห่งใหม่
2. ความก้าวหน้าการดำเนินงาน
2.1 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 เห็นชอบการจัดตั้งและพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย จำนวน 16,000 ไร่ ในตำบลศรีดอนชัย และตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน ครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2548 โดยมีสาระสำคัญ
สรุปได้ดังนี้
2.1.1 พื้นที่ลงทุน เห็นชอบพื้นที่สำหรับพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ. เชียงราย จำนวน 16,000 ไร่ ในตำบลศรีดอนชัยและตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่สอดคล้องกับการแบ่งเขตการใช้ที่ดิน (Zoning) ของกรมโยธาธิการและผังเมืองและไม่ขัดแย้งต่อพื้นที่อ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.1.2 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เน้นอุตสาหกรรมที่มีการเพิ่มมูลค่าโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าในการผลิตและเป็นอุตสาหกรรมสะอาด ประกอบด้วย แปรรูปเกษตรและอาหาร อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอขั้นปลาย บริการขนส่ง เครื่องใช้ไฟฟ้า/electronics ยา/เครื่องสำอางสมุนไพร อุปกรณ์และเครื่องจักรกลการเกษตร หัตถกรรม/OTOP และแปรรูปไม้และการพิมพ์
2.1.3 สิทธิประโยชน์ เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิประโยชน์ใน 3 เรื่อง ประกอบด้วย
1 เขตนิคมอุตสาหกรรมทั่วไปของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
2 สิทธิประโยชน์ด้านภาษีสำหรับผู้ลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
3 สิทธิด้านภาษีนำเข้า-ส่งออกแบบเขตปลอดอากร (Free Zone) ของกรมศุลกากร โดยพิจารณาลดกระบวนการและขั้นตอนการอนุมัติการลงทุนเป็นกรณีพิเศษสำหรับการเข้าลงทุนของนักลงทุนจีน
2.1.4 การเจรจากับจีน เห็นชอบให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประสานกระทรวงการต่างประเทศเร่งรัดจัดคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเจรจากับทางการจีน (ความคืบหน้า: กนอ. ได้จัดคณะผู้แทนฝ่ายไทยเดินทางไปนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเจรจาโครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 3-4 กรกฎาคม 2549 แล้ว)
2.2 การพัฒนาพื้นที่และแผนสนับสนุน รัฐบาลอนุมัติงบประมาณกว่า 1,300 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาเมือง ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาแผนสนับสนุนด้านคน สังคมและสิ่งแวดล้อม จะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2548 ยกเว้นการวางผังเมืองและการอนุรักษ์เมืองที่ล่าช้ากว่ากำหนด โดยในปี 2548 ได้เสนอคณะรัฐมนตรีวันที่ 25 ตุลาคม 2548 แก้ไขปัญหาการได้มาซึ่งที่ดิน No Man's Land เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งด่านแม่สาย 2 และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อก่อสร้างที่ทำการชั่วคราวด่านพรมแดนฝั่งพม่า ณ สะพานข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 2 ตลอดจนเร่งรัดการดำเนินการแผนสนับสนุนที่ศึกษาแล้วเสร็จในปี 2548 จำนวน 3 เรื่อง คือ การดำเนินการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย
การพัฒนาสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติเชียงแสนให้เป็นศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้กรอบ GMS และ ACMECS และการดำเนินโครงการเพื่อป้องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งปี 2549 โครงการทั้งหมดจะถูกแปลงแผนไปสู่ปฏิบัติเริ่มปีงบประมาณ 2550
2.3 กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ การศึกษากฎหมายเฉพาะเพื่อกำหนดกลไกบริหารจัดการเป็นการเฉพาะในระยะยาว ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาคณะกรรมการกฤษฎีกาในวาระที่ 3
3 ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ระดับชาติ
สร้างฐานการผลิตใหม่ ด้วยการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นประตูการค้าฐานการผลิต และระบายสินค้าของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยอาศัยวัตถุดิบและแรงงานจากพื้นที่โดยรอบทั้งภายในและประเทศเพื่อนบ้าน นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มีพื้นที่เขตเศรษฐกิจเฉพาะที่สามารถดำเนินการผ่อนคลายกฎระเบียบที่เป็นตัวกีดขวางการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ และปรับปรุงกฎหมาย/นโยบายสนับสนุนการลงทุนในประเทศ ทั้งด้านสิทธิประโยชน์ One-Stop Services การผ่อนปรนใช้แรงงานต่างด้าว และธุรกรรมเงินตรา ต่างประเทศ
ระดับชุมชน และพื้นที่ส่งเสริมชุมชนในฐานรากให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการเพิ่มปริมาณการค้าการลงทุนการผลิต นำไปสู่การจ้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อม ลดปัญหาการว่างงาน เพิ่มรายได้ และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคต่างๆ จะช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตสภาพแวดล้อมชุมชนดีขึ้น เชื่อมโยงธุรกิจชุมชน โครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ตลาดระดับภาคและประเทศ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดน
1.1 วันที่ 19 มีนาคม 2545 : คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบแผนปฏิบัติการพัฒนาเมืองชายแดนและให้ดำเนินการใน 3 เมือง คือ เชียงแสน แม่สาย สะเดา ในลักษณะเป็นโครงการนำร่อง และ สศช. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในการพัฒนาเมืองเชียงแสน แม่สาย เป็นโครงการนำร่องในลักษณะ เขตเศรษฐกิจชายแดน แห่งแรกของไทย โดย สศช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำกรอบแนวคิดการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย ให้ครอบคลุมเมืองชายแดนหลัก แม่สาย เชียงแสน เชียงของ เนื่องจากเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีความได้เปรียบด้านที่ตั้งที่อยู่ในแนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้เชื่อมโยง ไทย-พม่า/ลาว-จีน และมีศักยภาพพัฒนาเป็นฐานการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ประกอบกับมีการขนส่งตามลำน้ำโขงจากเชียงรุ่ง-เชียงแสนอยู่แล้วในปัจจุบัน และมีการก่อสร้างถนน เชื่อมโยงแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก-เชียงตุง-ชายแดนจีน และถนนเชียงของ-ห้วยทราย-หลวงน้ำทา-บ่อเต้น(ชายแดนจีน) กำหนดแล้วเสร็จในปี 2547 และปี 2550 ตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลทั้ง 3 อำเภอ เป็นประตูเศรษฐกิจที่สำคัญ และไทยจำเป็นต้องเตรียมการพัฒนาเชิงพื้นที่รองรับอย่างเร่งด่วน
1.2 วันที่ 18 พ.ย 2545 : รองนายกรัฐมนตรี (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) อนุมัติแนวคิดการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย และมอบหมายหน่วยงานดำเนินการคู่ขนานในหลายเรื่อง โดยเรื่องสำคัญ คือมอบหมาย กนอ. ศึกษาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม และกรมโยธาธิการและผังเมืองเร่งจัดวางผังเมืองรวมและผังเฉพาะชุมชนชายแดนในพื้นที่ 3 อำเภอ
1.3 วันที่ 16 มิถุนายน 2546 : รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้เดินทางเยือนมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน และมีการลงนามความตกลงระหว่างไทยกับมณฑลยูนนาน เป็นบันทึกการประชุม 2 ฉบับ คือ ความร่วมมือเพื่อจัดทำแผนพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจร่วมกันระหว่าง สศช. กับ Yunnan Planning and Development Commission (YPDC) และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กับ เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ระดับสูงนครคุนหมิง Kunming High Tech Industrial Zone เพื่อสนับสนุนการค้า การลงทุนในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย
1.4 วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ 2546 : คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางปฏิบัติการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย เพื่อให้เกิดผลการลงทุนร่วมไทย-จีนอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) สิทธิประโยชน์ เห็นควรให้ใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้วของ 3 หน่วยงานหลัก คือ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กรมศุลกากร และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) เพื่อจัดให้มีเขตนิคมอุตสาหกรรมทั่วไป (กฎหมาย กนอ.) ที่ได้รับสิทธิประโยชน์แบบเขตปลอดอากร (กฎหมายกรมศุลกากร) พร้อมสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้ (กฎหมาย สกท.)
สำหรับการบริหารจัดการเขตนิคมอุตสาหกรรมควรดำเนินการในรูปแบบการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One-Stop Services : OSS) โดยระยะแรก กนอ. เป็นเจ้าภาพดำเนินการในลักษณะจัดให้มีผู้อำนวยการ CEO (ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจทำหน้าที่นี้ได้) โดยประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมอบอำนาจหรือจัดส่งผู้แทนเข้าร่วมปฏิบัติการในศูนย์ OSS ส่วนระยะยาวให้ กนอ. ศึกษาเพื่อจัดการบริหารในลักษณะพื้นที่เฉพาะแบบเบ็ดเสร็จมีความเป็นเอกภาพในการกำกับดูแลภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายฉบับเดียว
2) แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธาน และเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 15 หน่วยงาน เป็นกรรมการ เพื่อพิจารณกำหนดแนวทางการจัดตั้งและบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย ให้สนับสนุนภาคเอกชนลงทุนด้านการผลิต การค้า และการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรม
3) อนุมัติจัดสรรงบกลางปี 2546 จำนวน 7.002 ล้านบาท ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการจำเป็นเร่งด่วน 2 โครงการ คือ โครงการศึกษาความเหมาะสมจัดตั้งนิคม/เขตประกอบการอุตสาหกรรมและสถานีขนถ่ายสินค้าเชียงแสน และโครงการการเตรียมการ "พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ" ภายใต้การดำเนินงานของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
1.5 วันที่ 2 มีนาคม 2547 : คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนงาน/โครงการและแนวทางการจัดตั้งเขต
เศรษฐกิจชายแดน จังหวัดเชียงราย ดังนี้
1) เห็นชอบแนวทางการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน จังหวัดเชียงราย และให้หาข้อสรุปพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมภายใน 1 เดือน
2) เห็นชอบการใช้งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำนวน 475.02 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการเร่งด่วนสนับสนุนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนเชียงราย 5 โครงการ
2.1 โครงการต่อเนื่องสะพานข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 2 ระยะ 1 วงเงิน 453.5 ล้านบาท ประกอบด้วย การจัดเตรียมพื้นที่และก่อสร้างอาคารด่านศุลกากรชั่วคราว โดย กรมศุลกากร กรมการปกครอง และกรมโยธาธิการและผังเมือง และปรับปรุงถนนเลี่ยงเมืองแม่สาย โดยกรมทางหลวง
2.2 โครงการจัดลานจอดรถหลังท่าเทียบเรือเชียงแสน วงเงิน 1.4 ล้านบาท โดย จังหวัดเชียงราย
2.3 โครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย วงเงิน 5 ล้านบาท โดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.4 โครงการศึกษากลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจ ชายแดน จ.เชียงราย วงเงิน 5.12 ล้านบาท โดย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
2.5 โครงการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างถนนแนวใหม่แยกทางหลวงหมายเลข 1 (เชียงราย) - อ.เชียงแสน ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร วงเงิน 10 ล้านบาท โดยกรมทางหลวง
3) เห็นชอบโครงการเพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณปี 2548 จำนวน 1 โครงการ วงเงิน 380 ล้านบาท คือ โครงการต่อเนื่องสะพานข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 2 ระยะ 2 เพื่อก่อสร้างด่านศุลกากรถาวร โดย กรมศุลกากร
4) มอบหมาย สศช. เป็นเจ้าภาพจัดประชุมหารือแนวทางการจัดตั้ง One Stop Service บริเวณชายแดน โดยเชิญรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธานการประชุม เพื่อให้ได้ข้อยุติการกำหนดแนวทางดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ต่อไป
1.4 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2547 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาข้อยุติพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจ ดังนี้
1) รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการสนับสนุนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน จังหวัดเชียงราย 3 เรื่องหลัก ดังนี้ 1 โครงการเร่งด่วนที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 2 มีนาคม 2547 2 โครงการศึกษากฎหมายเฉพาะสำหรับเขตเศรษฐกิจของไทย 3 โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและสถานีขนถ่ายสินค้าอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
2) เห็นชอบในการจัดสรรงบกลางปี 2548 จำนวน 101.43 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการเร่งด่วนด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวสนับสนุนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนเชียงราย จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
- โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP วงเงิน 25 ล้านบาท โดยสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวโครงการสวนสมุนไพรไทยและการท่องเที่ยวเกษตรสาธิตเชิงนิเวศ วงเงิน 21.63 ล้านบาท โดย สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
- โครงการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน ระยะที่ 1 วงเงิน 54.8 ล้านบาท โดยกรมศิลปากร
3) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) รับเรื่องความเหมาะสมของพื้นที่ที่จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดเชียงราย ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้นำข้อสังเกตของเลขาธิการนายกรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาเพื่อให้ได้ข้อยุติแล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
1.5 วันที่ 7 ธันวาคม 2547 รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) ได้จัดประชุมเพื่อทบทวนจุดที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย จนได้ข้อสรุป 2 ประการ คือ 1 นโยบายอนุรักษ์เมืองเชียงแสนให้เป็นเมืองมรดกโลก จึงต้องพิจารณาใช้พื้นที่อื่นในจังหวัดเพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม (พิจารณาพื้นที่อำเภอเชียงของก่อนเป็นลำดับแรก) และ 2 แนวทางดำเนินการ มอบหมายการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยรับไปชี้แจงทำความเข้าใจกับนักลงทุนฝ่ายจีน ตลอดจนร่วมกับจังหวัดจัดหาพื้นที่แห่งใหม่
1.6 วันที่ 11 มกราคม 2548 คณะรัฐมนตรีรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน และรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน ครั้งที่ 4 / 2547 โดยมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย 2 เรื่อง คือ เร่งรัดการจัดวางผังเมืองรวมให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน เพิ่มเติม
1.7 วันที่ 25 ตุลาคม 2548 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ 2 วาระ โดยเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย 2 เรื่อง คือ
1) การแก้ไขปัญหาการได้มาซึ่งที่ดิน No Man's Land เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งด่านแม่สาย 2 โดยอนุมัติให้จังหวัดเชียงรายสามารถจ่ายเงินค่าชดเชยที่ดินเป็นกรณีพิเศษให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อให้สามารถส่งมอบพื้นที่ให้กรมศุลกากรดำเนินการจัดตั้ง One Stop Service ชายแดน ณ ด่านแม่สาย 2 ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
2) การให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อก่อสร้างที่ทำการชั่วคราวด่านพรมแดนฝั่งพม่า ณ สะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 2 โดยให้กระทรวงการต่างประเทศจัดสรรงบประมาณจากแผนการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2549 (รายการเงินอุดหนุนการให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือทางด้านวิชาการและเศรษฐกิจจากต่างประเทศ) วงเงิน 1.3 ล้านบาท และประสานกับรัฐบาลพม่าเร่งรัดการพัฒนาด่านพรมแดนฝั่งพม่าเพื่อให้สะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 2 สามารถเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการได้โดยเร็ว
1.8 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย สรุปได้ดังนี้
3.1 พื้นที่ลงทุน เห็นชอบพื้นที่สำหรับพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย จำนวน 16,000 ไร่ ในตำบลศรีดอนชัยและตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่สอดคล้องกับการแบ่งเขตการใช้ที่ดิน (Zoning) ของกรมโยธาธิการและผังเมือง และไม่ขัดแย้งต่อพื้นที่อ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม
3.2 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เน้นอุตสาหกรรมที่มีการเพิ่มมูลค่าโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าในการผลิตและเป็นอุตสาหกรรมสะอาด ประกอบด้วย แปรรูปเกษตรและอาหาร อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอขั้นปลาย บริการขนส่ง เครื่องใช้ไฟฟ้า/electronics ยา/เครื่องสำอางสมุนไพร อุปกรณ์และเครื่องจักรกลการเกษตร หัตถกรรม/OTOP และแปรรูปไม้และการพิมพ์
3.3 สิทธิประโยชน์ เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิประโยชน์ใน 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1 เขตนิคมอุตสาหกรรมทั่วไปของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2 สิทธิประโยชน์ด้านภาษีสำหรับผู้ลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 3 สิทธิด้านภาษีนำเข้า-ส่งออกแบบเขตปลอดอากร (Free Zone) ของกรมศุลกากร พิจารณาลดกระบวนการและขั้นตอนการอนุมัติการลงทุนสำหรับนักลงทุน
3.4 การเจรจากับจีน เห็นชอบให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประสานกระทรวงการต่างประเทศเร่งรัดจัดคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเจรจากับทางการจีน เพื่อเชิญชวนมาลงทุน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
1.1 จังหวัดเชียงรายมีความได้เปรียบในด้านที่ตั้งที่อยู่ในกลุ่มพื้นที่จังหวัดเชียงราย-เชียงใหม่-ลำพูน ซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญตามแนวเขตเศรษฐกิจเหนือ - ใต้เชื่อมโยงไทย - พม่า / ลาว - จีน และมีศักยภาพพัฒนาเป็นฐานการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวในอนาคตอันใกล้ โดยปัจจุบันมีการขนส่งตามลำน้ำโขงจากเชียงรุ่ง - เชียงแสนอยู่แล้ว และมีการก่อสร้างถนนเชื่อมโยง แม่สาย - ชายแดนจีน และถนนเชียงของ - หลวงน้ำทา ส่งผลให้อำเภอแม่สายเชียงของ และเชียงแสน เป็นประตูเศรษฐกิจที่สำคัญ และไทยจำเป็นต้องเตรียมการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อรองรับ
1.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2547 มอบหมายรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) พิจารณาทบทวนจุดที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย และรองนายกรัฐมนตรีได้จัดประชุมเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2547 และได้ข้อสรุปใน 2 ประเด็น คือ 1 รัฐบาลกำลังดำเนินการอนุรักษ์เมืองเชียงแสนให้เป็นเมืองมรดกโลก จึงเห็นควรให้พิจารณาใช้พื้นที่อื่นในจังหวัดสำหรับโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมโดยให้พิจารณาพื้นที่อำเภอเชียงของก่อนเป็นลำดับแรก และ 2 มอบหมายการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยชี้แจงทำความเข้าใจกับนักลงทุนฝ่ายจีน และร่วมกับจังหวัดจัดหาพื้นที่แห่งใหม่
2. ความก้าวหน้าการดำเนินงาน
2.1 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 เห็นชอบการจัดตั้งและพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย จำนวน 16,000 ไร่ ในตำบลศรีดอนชัย และตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน ครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2548 โดยมีสาระสำคัญ
สรุปได้ดังนี้
2.1.1 พื้นที่ลงทุน เห็นชอบพื้นที่สำหรับพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ. เชียงราย จำนวน 16,000 ไร่ ในตำบลศรีดอนชัยและตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่สอดคล้องกับการแบ่งเขตการใช้ที่ดิน (Zoning) ของกรมโยธาธิการและผังเมืองและไม่ขัดแย้งต่อพื้นที่อ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.1.2 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เน้นอุตสาหกรรมที่มีการเพิ่มมูลค่าโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าในการผลิตและเป็นอุตสาหกรรมสะอาด ประกอบด้วย แปรรูปเกษตรและอาหาร อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอขั้นปลาย บริการขนส่ง เครื่องใช้ไฟฟ้า/electronics ยา/เครื่องสำอางสมุนไพร อุปกรณ์และเครื่องจักรกลการเกษตร หัตถกรรม/OTOP และแปรรูปไม้และการพิมพ์
2.1.3 สิทธิประโยชน์ เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิประโยชน์ใน 3 เรื่อง ประกอบด้วย
1 เขตนิคมอุตสาหกรรมทั่วไปของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
2 สิทธิประโยชน์ด้านภาษีสำหรับผู้ลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
3 สิทธิด้านภาษีนำเข้า-ส่งออกแบบเขตปลอดอากร (Free Zone) ของกรมศุลกากร โดยพิจารณาลดกระบวนการและขั้นตอนการอนุมัติการลงทุนเป็นกรณีพิเศษสำหรับการเข้าลงทุนของนักลงทุนจีน
2.1.4 การเจรจากับจีน เห็นชอบให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประสานกระทรวงการต่างประเทศเร่งรัดจัดคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเจรจากับทางการจีน (ความคืบหน้า: กนอ. ได้จัดคณะผู้แทนฝ่ายไทยเดินทางไปนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเจรจาโครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 3-4 กรกฎาคม 2549 แล้ว)
2.2 การพัฒนาพื้นที่และแผนสนับสนุน รัฐบาลอนุมัติงบประมาณกว่า 1,300 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาเมือง ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาแผนสนับสนุนด้านคน สังคมและสิ่งแวดล้อม จะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2548 ยกเว้นการวางผังเมืองและการอนุรักษ์เมืองที่ล่าช้ากว่ากำหนด โดยในปี 2548 ได้เสนอคณะรัฐมนตรีวันที่ 25 ตุลาคม 2548 แก้ไขปัญหาการได้มาซึ่งที่ดิน No Man's Land เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งด่านแม่สาย 2 และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อก่อสร้างที่ทำการชั่วคราวด่านพรมแดนฝั่งพม่า ณ สะพานข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 2 ตลอดจนเร่งรัดการดำเนินการแผนสนับสนุนที่ศึกษาแล้วเสร็จในปี 2548 จำนวน 3 เรื่อง คือ การดำเนินการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย
การพัฒนาสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติเชียงแสนให้เป็นศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้กรอบ GMS และ ACMECS และการดำเนินโครงการเพื่อป้องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งปี 2549 โครงการทั้งหมดจะถูกแปลงแผนไปสู่ปฏิบัติเริ่มปีงบประมาณ 2550
2.3 กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ การศึกษากฎหมายเฉพาะเพื่อกำหนดกลไกบริหารจัดการเป็นการเฉพาะในระยะยาว ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาคณะกรรมการกฤษฎีกาในวาระที่ 3
3 ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ระดับชาติ
สร้างฐานการผลิตใหม่ ด้วยการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นประตูการค้าฐานการผลิต และระบายสินค้าของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยอาศัยวัตถุดิบและแรงงานจากพื้นที่โดยรอบทั้งภายในและประเทศเพื่อนบ้าน นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มีพื้นที่เขตเศรษฐกิจเฉพาะที่สามารถดำเนินการผ่อนคลายกฎระเบียบที่เป็นตัวกีดขวางการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ และปรับปรุงกฎหมาย/นโยบายสนับสนุนการลงทุนในประเทศ ทั้งด้านสิทธิประโยชน์ One-Stop Services การผ่อนปรนใช้แรงงานต่างด้าว และธุรกรรมเงินตรา ต่างประเทศ
ระดับชุมชน และพื้นที่ส่งเสริมชุมชนในฐานรากให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการเพิ่มปริมาณการค้าการลงทุนการผลิต นำไปสู่การจ้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อม ลดปัญหาการว่างงาน เพิ่มรายได้ และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคต่างๆ จะช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตสภาพแวดล้อมชุมชนดีขึ้น เชื่อมโยงธุรกิจชุมชน โครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ตลาดระดับภาคและประเทศ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดน
1.1 วันที่ 19 มีนาคม 2545 : คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบแผนปฏิบัติการพัฒนาเมืองชายแดนและให้ดำเนินการใน 3 เมือง คือ เชียงแสน แม่สาย สะเดา ในลักษณะเป็นโครงการนำร่อง และ สศช. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในการพัฒนาเมืองเชียงแสน แม่สาย เป็นโครงการนำร่องในลักษณะ เขตเศรษฐกิจชายแดน แห่งแรกของไทย โดย สศช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำกรอบแนวคิดการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย ให้ครอบคลุมเมืองชายแดนหลัก แม่สาย เชียงแสน เชียงของ เนื่องจากเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีความได้เปรียบด้านที่ตั้งที่อยู่ในแนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้เชื่อมโยง ไทย-พม่า/ลาว-จีน และมีศักยภาพพัฒนาเป็นฐานการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ประกอบกับมีการขนส่งตามลำน้ำโขงจากเชียงรุ่ง-เชียงแสนอยู่แล้วในปัจจุบัน และมีการก่อสร้างถนน เชื่อมโยงแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก-เชียงตุง-ชายแดนจีน และถนนเชียงของ-ห้วยทราย-หลวงน้ำทา-บ่อเต้น(ชายแดนจีน) กำหนดแล้วเสร็จในปี 2547 และปี 2550 ตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลทั้ง 3 อำเภอ เป็นประตูเศรษฐกิจที่สำคัญ และไทยจำเป็นต้องเตรียมการพัฒนาเชิงพื้นที่รองรับอย่างเร่งด่วน
1.2 วันที่ 18 พ.ย 2545 : รองนายกรัฐมนตรี (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) อนุมัติแนวคิดการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย และมอบหมายหน่วยงานดำเนินการคู่ขนานในหลายเรื่อง โดยเรื่องสำคัญ คือมอบหมาย กนอ. ศึกษาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม และกรมโยธาธิการและผังเมืองเร่งจัดวางผังเมืองรวมและผังเฉพาะชุมชนชายแดนในพื้นที่ 3 อำเภอ
1.3 วันที่ 16 มิถุนายน 2546 : รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้เดินทางเยือนมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน และมีการลงนามความตกลงระหว่างไทยกับมณฑลยูนนาน เป็นบันทึกการประชุม 2 ฉบับ คือ ความร่วมมือเพื่อจัดทำแผนพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจร่วมกันระหว่าง สศช. กับ Yunnan Planning and Development Commission (YPDC) และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กับ เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ระดับสูงนครคุนหมิง Kunming High Tech Industrial Zone เพื่อสนับสนุนการค้า การลงทุนในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย
1.4 วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ 2546 : คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางปฏิบัติการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย เพื่อให้เกิดผลการลงทุนร่วมไทย-จีนอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) สิทธิประโยชน์ เห็นควรให้ใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้วของ 3 หน่วยงานหลัก คือ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กรมศุลกากร และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) เพื่อจัดให้มีเขตนิคมอุตสาหกรรมทั่วไป (กฎหมาย กนอ.) ที่ได้รับสิทธิประโยชน์แบบเขตปลอดอากร (กฎหมายกรมศุลกากร) พร้อมสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้ (กฎหมาย สกท.)
สำหรับการบริหารจัดการเขตนิคมอุตสาหกรรมควรดำเนินการในรูปแบบการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One-Stop Services : OSS) โดยระยะแรก กนอ. เป็นเจ้าภาพดำเนินการในลักษณะจัดให้มีผู้อำนวยการ CEO (ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจทำหน้าที่นี้ได้) โดยประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมอบอำนาจหรือจัดส่งผู้แทนเข้าร่วมปฏิบัติการในศูนย์ OSS ส่วนระยะยาวให้ กนอ. ศึกษาเพื่อจัดการบริหารในลักษณะพื้นที่เฉพาะแบบเบ็ดเสร็จมีความเป็นเอกภาพในการกำกับดูแลภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายฉบับเดียว
2) แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธาน และเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 15 หน่วยงาน เป็นกรรมการ เพื่อพิจารณกำหนดแนวทางการจัดตั้งและบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย ให้สนับสนุนภาคเอกชนลงทุนด้านการผลิต การค้า และการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรม
3) อนุมัติจัดสรรงบกลางปี 2546 จำนวน 7.002 ล้านบาท ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการจำเป็นเร่งด่วน 2 โครงการ คือ โครงการศึกษาความเหมาะสมจัดตั้งนิคม/เขตประกอบการอุตสาหกรรมและสถานีขนถ่ายสินค้าเชียงแสน และโครงการการเตรียมการ "พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ" ภายใต้การดำเนินงานของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
1.5 วันที่ 2 มีนาคม 2547 : คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนงาน/โครงการและแนวทางการจัดตั้งเขต
เศรษฐกิจชายแดน จังหวัดเชียงราย ดังนี้
1) เห็นชอบแนวทางการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน จังหวัดเชียงราย และให้หาข้อสรุปพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมภายใน 1 เดือน
2) เห็นชอบการใช้งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำนวน 475.02 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการเร่งด่วนสนับสนุนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนเชียงราย 5 โครงการ
2.1 โครงการต่อเนื่องสะพานข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 2 ระยะ 1 วงเงิน 453.5 ล้านบาท ประกอบด้วย การจัดเตรียมพื้นที่และก่อสร้างอาคารด่านศุลกากรชั่วคราว โดย กรมศุลกากร กรมการปกครอง และกรมโยธาธิการและผังเมือง และปรับปรุงถนนเลี่ยงเมืองแม่สาย โดยกรมทางหลวง
2.2 โครงการจัดลานจอดรถหลังท่าเทียบเรือเชียงแสน วงเงิน 1.4 ล้านบาท โดย จังหวัดเชียงราย
2.3 โครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย วงเงิน 5 ล้านบาท โดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.4 โครงการศึกษากลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจ ชายแดน จ.เชียงราย วงเงิน 5.12 ล้านบาท โดย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
2.5 โครงการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างถนนแนวใหม่แยกทางหลวงหมายเลข 1 (เชียงราย) - อ.เชียงแสน ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร วงเงิน 10 ล้านบาท โดยกรมทางหลวง
3) เห็นชอบโครงการเพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณปี 2548 จำนวน 1 โครงการ วงเงิน 380 ล้านบาท คือ โครงการต่อเนื่องสะพานข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 2 ระยะ 2 เพื่อก่อสร้างด่านศุลกากรถาวร โดย กรมศุลกากร
4) มอบหมาย สศช. เป็นเจ้าภาพจัดประชุมหารือแนวทางการจัดตั้ง One Stop Service บริเวณชายแดน โดยเชิญรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธานการประชุม เพื่อให้ได้ข้อยุติการกำหนดแนวทางดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ต่อไป
1.4 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2547 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาข้อยุติพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจ ดังนี้
1) รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการสนับสนุนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน จังหวัดเชียงราย 3 เรื่องหลัก ดังนี้ 1 โครงการเร่งด่วนที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 2 มีนาคม 2547 2 โครงการศึกษากฎหมายเฉพาะสำหรับเขตเศรษฐกิจของไทย 3 โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและสถานีขนถ่ายสินค้าอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
2) เห็นชอบในการจัดสรรงบกลางปี 2548 จำนวน 101.43 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการเร่งด่วนด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวสนับสนุนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนเชียงราย จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
- โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP วงเงิน 25 ล้านบาท โดยสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวโครงการสวนสมุนไพรไทยและการท่องเที่ยวเกษตรสาธิตเชิงนิเวศ วงเงิน 21.63 ล้านบาท โดย สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
- โครงการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน ระยะที่ 1 วงเงิน 54.8 ล้านบาท โดยกรมศิลปากร
3) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) รับเรื่องความเหมาะสมของพื้นที่ที่จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดเชียงราย ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้นำข้อสังเกตของเลขาธิการนายกรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาเพื่อให้ได้ข้อยุติแล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
1.5 วันที่ 7 ธันวาคม 2547 รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) ได้จัดประชุมเพื่อทบทวนจุดที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย จนได้ข้อสรุป 2 ประการ คือ 1 นโยบายอนุรักษ์เมืองเชียงแสนให้เป็นเมืองมรดกโลก จึงต้องพิจารณาใช้พื้นที่อื่นในจังหวัดเพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม (พิจารณาพื้นที่อำเภอเชียงของก่อนเป็นลำดับแรก) และ 2 แนวทางดำเนินการ มอบหมายการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยรับไปชี้แจงทำความเข้าใจกับนักลงทุนฝ่ายจีน ตลอดจนร่วมกับจังหวัดจัดหาพื้นที่แห่งใหม่
1.6 วันที่ 11 มกราคม 2548 คณะรัฐมนตรีรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน และรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน ครั้งที่ 4 / 2547 โดยมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย 2 เรื่อง คือ เร่งรัดการจัดวางผังเมืองรวมให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน เพิ่มเติม
1.7 วันที่ 25 ตุลาคม 2548 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ 2 วาระ โดยเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย 2 เรื่อง คือ
1) การแก้ไขปัญหาการได้มาซึ่งที่ดิน No Man's Land เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งด่านแม่สาย 2 โดยอนุมัติให้จังหวัดเชียงรายสามารถจ่ายเงินค่าชดเชยที่ดินเป็นกรณีพิเศษให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อให้สามารถส่งมอบพื้นที่ให้กรมศุลกากรดำเนินการจัดตั้ง One Stop Service ชายแดน ณ ด่านแม่สาย 2 ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
2) การให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อก่อสร้างที่ทำการชั่วคราวด่านพรมแดนฝั่งพม่า ณ สะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 2 โดยให้กระทรวงการต่างประเทศจัดสรรงบประมาณจากแผนการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2549 (รายการเงินอุดหนุนการให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือทางด้านวิชาการและเศรษฐกิจจากต่างประเทศ) วงเงิน 1.3 ล้านบาท และประสานกับรัฐบาลพม่าเร่งรัดการพัฒนาด่านพรมแดนฝั่งพม่าเพื่อให้สะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 2 สามารถเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการได้โดยเร็ว
1.8 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย สรุปได้ดังนี้
3.1 พื้นที่ลงทุน เห็นชอบพื้นที่สำหรับพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.เชียงราย จำนวน 16,000 ไร่ ในตำบลศรีดอนชัยและตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่สอดคล้องกับการแบ่งเขตการใช้ที่ดิน (Zoning) ของกรมโยธาธิการและผังเมือง และไม่ขัดแย้งต่อพื้นที่อ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม
3.2 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เน้นอุตสาหกรรมที่มีการเพิ่มมูลค่าโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าในการผลิตและเป็นอุตสาหกรรมสะอาด ประกอบด้วย แปรรูปเกษตรและอาหาร อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอขั้นปลาย บริการขนส่ง เครื่องใช้ไฟฟ้า/electronics ยา/เครื่องสำอางสมุนไพร อุปกรณ์และเครื่องจักรกลการเกษตร หัตถกรรม/OTOP และแปรรูปไม้และการพิมพ์
3.3 สิทธิประโยชน์ เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิประโยชน์ใน 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1 เขตนิคมอุตสาหกรรมทั่วไปของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2 สิทธิประโยชน์ด้านภาษีสำหรับผู้ลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 3 สิทธิด้านภาษีนำเข้า-ส่งออกแบบเขตปลอดอากร (Free Zone) ของกรมศุลกากร พิจารณาลดกระบวนการและขั้นตอนการอนุมัติการลงทุนสำหรับนักลงทุน
3.4 การเจรจากับจีน เห็นชอบให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประสานกระทรวงการต่างประเทศเร่งรัดจัดคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเจรจากับทางการจีน เพื่อเชิญชวนมาลงทุน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-