การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในธุรกิจเอกชน ไม่เพียงแต่ไม่ขัดกับการทำธุรกิจเพื่อการแข่งขัน หรือแสวงหากำไรแล้ว แต่ยังช่วยส่งเสริมให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว และให้เกิดการเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันความเสี่ยงที่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ธุรกิจร่วมมือกัน เพื่อให้เศรษฐกิจทั้งระบบสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนและสมดุลมากยึ่งขึ้น
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจเอกชน
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า การดำเนินธุรกิจเอกชน ส่วนใหญ่จะเน้นกำไรให้ได้สูงสุด และเป็นที่สงสัยกันมากกว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะสามารถประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจเอกชนได้มากน้อยเพียงใด
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจนมากขึ้น คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรฐกิจพอเพียง จึงได้ศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจเอกชนที่แตกต่างกันใน 4 ลักษณะ คือ ธุรกิจชุมชน (บ้านอนุรักษ์กระดาษสา) ธุรกิจ SME (ชื่อไทยดอทคอม) บริษัทจดทะเบียน (บริษัทแฟรนด้าจิวเวอรี่) และกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด) เป็นกรณีศึกษา ซึ่งผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า หลักปรัชญาของเศรษบกิจพอเพียงสามารถนำประยุกต์ใช้กับการบริหารงานของธุรกิจได้ ดังนี้
ความพอประมาณ: มุ่งผลประโยชน์ระยะยาวมากกว่าระยะสั้น
หลักความพอประมาณของเศรษฐกิจพอเพียงที่สำคัญคือ ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เมื่อเทียบกับการดำเนินธุรกิจได้แก่ การมีจุดมุ่งหมายที่มุ่งหวังได้รับผลประโยชน์หรือผลกำไรสุทธิระยะยาวมากกว่าระยะสั้นนั่นเอง โดยการประยุกต์ใช้หลักความพอประมาณในทางธุรกิจ จะมีลักษณะการดำเนินงานที่สำคัญๆคือ
การผลิตจะเน้นการผลิตเพื่อลูกค้าบางกลุ่มมากกว่าการผลิตเพื่อขายทั่วไป
การรับคำสั่งจะรับคำสั่งเฉพาะที่จะทำได้ตามกำลังที่มีอยู่เพื่อรักษาคุณภาพให้อยู่ในระดับสูง
การแสวงหากำไรจะยึดถือหลักการแบ่งปัน ไม่เบียดเบียนคู่ค้า ให้ร่วมกันเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในระยะยาวและเกิดความไว้วางใจ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อการจ่ายเงินให้แก่พนักงานและ supplier อย่างรวดเร็วตลอดจนกันกำไรส่วนหนึ่งสำหรับพัฒนาความรู้และกิจกรรมสังคม
การก่อหนี้และขยายการลงทุน ขยายธุรกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อกำไรมากพอไม่กู้ยืมเงิน และเน้นเฉพาะสาขาธุรกิจที่ตนเชี่ยวชาญ รวมทั้งจะรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนให้เหมาะสมการข่งขันด้วยความยุติธรรมเพื่อสร้างพันธมิตรธุรกิจ โดยมีเครือข่ายผู้ผลิตที่เล็กกว่าที่จะจัดส่งงานบางส่วนให้ รวมทั้งมีการฝึกอบรมและให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง
ความมีเหตุมีผล: ต้องรู้จักลูกค้า รู้จักตลาด รู้จักคู่แข่ง และรู้จักตัวเอง
ส่วนการประยุกต์ใช้หลักความมีเหตุผล ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินธุรกิจคือ การรู้จักลูกค้า รู้จักตลาด รู้จักคู่แข่ง และรู้จักตัวเอง ซึ่งทำให้การบริหารมีลักษณะที่สำคัญๆดังนี้
เข้าใจในธุรกิจของตน และตลาดที่ตนแข่งขันอยู่อย่างถ่องแท้ ซึ่งจำเป็นต้องสร้างเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ให้ต่างจากคู่แข่ง และมีนวัตกรรมใหม่ๆ มีการวิจัยตลาดรวมทั้งเข้าใจถึง core competency ขององค์กรและเน้นการผลิตที่ตรงกับ core competency ตลอดจนตรวจสอบผลการทำงานของตนกับบริษัทคู่แข่งอย่าสม่ำเสมอ ( benchmarking )
เข้าใจถึง key success factor ของธุรกิจ โดยพยายามไม่ให้พนักงานมีหนี้สินและความกังวล ซึ่งจะกระทบต่องานศิลปะที่ต้องใช้ความประณีต รวมทั้งมีการรักษากระบวนการผลิตให้เป็นธรรมชาติที่สุด
สำหรับธุรกิจที่อิงกับเทคโนโลยีต้องพัฒนาความรู้ของพนักงานอย่างต่อเนื่อง และต้องเน้นที่การนำเสนอเทคโนโลยีมาประยุกต์ ตลอดจนมีการแบ่งกลุ่มลูกค้าอย่างชัดเจน และมีความยืดหยุ่นในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาต่างๆ
ใช้ทรัพยากรที่มีกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระจายการผลิตบางส่วนไปในประเทศที่มีแรงงานถูกกว่าเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน และคิดค้นกระบวนการที่จะนำวัตถุดิบที่มีต้นทุนสูง หรือหายากกลับมาใช้ใหม่
รับความเสี่ยงในระดับที่เหมาะสมโดยใช้หลักบริหารการตลาดแบบ concentrated strategy เพื่อเข้าใจความต้องการของลูกค้าให้ชัดเจนก่อนที่จะขยายตลาดไปยังที่อื่นและให้สิทธิการจัดจำหน่ายในตลาดใหม่ๆแทนการลงทุนเจาะตลาดด้วยตนเอง
การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ต้องเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม
สำหรับการประยุกต์ใช้การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำเนินธุรกิจคือ จะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมโดย
กระจายผลิตภัณฑ์และตลาดเพื่อลดความเสี่ยง โดยการปรับผลิตภัณฑ์จากสินค้าฟุ่มเฟือยมาเป็นสินค้าที่ลูกค้าใช้ประจำ และกระจายตลาดในหลายประเทศ เพื่อลดผลกระทบจากวัฏจักรเศรษฐกิจต่อสินค้าฟุ่มเฟือย
ควบคุมกระบวนการจัดหาวัตถุดิบให้ต่อเนื่อง โดยลงทุนในแหล่งวัตถุดิบของตนเอง รักษาอัตราการหมุนเวียนของพนักงานให้อยู่ในระดับต่ำ ให้ราคาแก่ supplier อย่างเหมาะสม เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระยะยาว และลดต้นทุนของการหา supplier ใหม่ๆ( switching costs ) สะสมเงินออม โดยมีระบบการแบ่งเงินที่เหลือจากเงินหมุนเวียนเป็นเงินออมระยะยาว และมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่เหมาะสมกับการสะสมเงินไว้สำหรับการลงทุนใหม่
สะสมเงินออม โดยมีระบบการแบ่งเงินที่เหลือจากเงินหมุนเวียนเป็นเงินออมระยะยาว และมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่เหมาะสมกับการสะสมเงินไว้สำหรับการลงทุนใหม่
ประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงล่วงหน้าอย่างสม่ำเสมอ โดยมีนโยบายและกำหนดเวลาที่ต้องประเมินความเสี่ยงอย่างชัดเจน มีการสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้า และป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งพยายามสร้างความสมดุลด้านรายรับและรายจ่ายในเงินสกุลต่างประเทศแต่ละสกุล
ส่งเสริมความรู้และคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง
นอกจากการประยุกต์ใช้หลักความพอประมาณ การมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดีตามหลักปรัชญาของเศราฐกิจพอเพียงดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องอาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการดำเนินธุรกิจด้วย ซึ่งธุรกิจต่างๆ จะต้องมีการสร้างความรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และใช้ความรู้ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
สร้างเสริมให้พนักงานได้รับความรู้อย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างสม่ำเสมอ
ร่วมกับผู้ประกอบการอื่นๆ ในการพัฒนาความรู้ และมาตรฐานของธุรกิจ โดย Social venture network และ กลุ่มพันธมิตรผู้ให้บริการ website ภาษาไทย
ส่วนทางด้านคุณธรรมนั้น ต้องมีการสร้างความตระหนักและให้ยึดมั่นในคุณธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉาพะในด้านความเพียร ความอดทน และความซื่อสัตย์ โดย
-ให้มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
-ให้มีคุณธรรมและความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า โดยรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และรักษาความลับของลูกค้าอย่างเคร่งครัด
-ให้มีคุณธรรมกับสังคมรอบข้างโดยการป้องกันผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและจัดทำโครงการเพื่อสังคม
-ส่งเสริมคุณธรรมให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร โดยปกครองด้วยหลักความเมตตาและการให้สิทธิ์ลาเพื่อไปนั่งสมาธิ การปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเคร่งครัด และยอมรับผลกระทบอย่างเท่าเทียมกันในช่วงวิกฤต
สรุป
ภาคธุรกิจเอกชนที่มีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้ธุรกิจของตนดำเนินงานได้อย่างมีเหตุผล รู้จักลูกค้า รู้จักตลาด รู้จักคู่แข่ง และรู้ตนเอง รวมทั้งพนักงานมีความรู้ และยึดมั่นในคุณธรรมได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจน จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจมีเครื่องป้องกันผลกระทบจากภาวะความเสี่ยงภัยจากการดำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสม สามารถดำเนินธุรกิจร่วมมือกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจได้รับผลประโยชน์หรือผลกำไรสุทธิระยะยาวและยั่งยืน รวมทั้งช่วยเศรษฐกิจทั้งระบบสามารถเติบโตอย่างมั่นคง แข็งแรงได้ในที่สุด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วส/พห-
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจเอกชน
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า การดำเนินธุรกิจเอกชน ส่วนใหญ่จะเน้นกำไรให้ได้สูงสุด และเป็นที่สงสัยกันมากกว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะสามารถประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจเอกชนได้มากน้อยเพียงใด
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจนมากขึ้น คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรฐกิจพอเพียง จึงได้ศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจเอกชนที่แตกต่างกันใน 4 ลักษณะ คือ ธุรกิจชุมชน (บ้านอนุรักษ์กระดาษสา) ธุรกิจ SME (ชื่อไทยดอทคอม) บริษัทจดทะเบียน (บริษัทแฟรนด้าจิวเวอรี่) และกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด) เป็นกรณีศึกษา ซึ่งผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า หลักปรัชญาของเศรษบกิจพอเพียงสามารถนำประยุกต์ใช้กับการบริหารงานของธุรกิจได้ ดังนี้
ความพอประมาณ: มุ่งผลประโยชน์ระยะยาวมากกว่าระยะสั้น
หลักความพอประมาณของเศรษฐกิจพอเพียงที่สำคัญคือ ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เมื่อเทียบกับการดำเนินธุรกิจได้แก่ การมีจุดมุ่งหมายที่มุ่งหวังได้รับผลประโยชน์หรือผลกำไรสุทธิระยะยาวมากกว่าระยะสั้นนั่นเอง โดยการประยุกต์ใช้หลักความพอประมาณในทางธุรกิจ จะมีลักษณะการดำเนินงานที่สำคัญๆคือ
การผลิตจะเน้นการผลิตเพื่อลูกค้าบางกลุ่มมากกว่าการผลิตเพื่อขายทั่วไป
การรับคำสั่งจะรับคำสั่งเฉพาะที่จะทำได้ตามกำลังที่มีอยู่เพื่อรักษาคุณภาพให้อยู่ในระดับสูง
การแสวงหากำไรจะยึดถือหลักการแบ่งปัน ไม่เบียดเบียนคู่ค้า ให้ร่วมกันเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในระยะยาวและเกิดความไว้วางใจ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อการจ่ายเงินให้แก่พนักงานและ supplier อย่างรวดเร็วตลอดจนกันกำไรส่วนหนึ่งสำหรับพัฒนาความรู้และกิจกรรมสังคม
การก่อหนี้และขยายการลงทุน ขยายธุรกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อกำไรมากพอไม่กู้ยืมเงิน และเน้นเฉพาะสาขาธุรกิจที่ตนเชี่ยวชาญ รวมทั้งจะรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนให้เหมาะสมการข่งขันด้วยความยุติธรรมเพื่อสร้างพันธมิตรธุรกิจ โดยมีเครือข่ายผู้ผลิตที่เล็กกว่าที่จะจัดส่งงานบางส่วนให้ รวมทั้งมีการฝึกอบรมและให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง
ความมีเหตุมีผล: ต้องรู้จักลูกค้า รู้จักตลาด รู้จักคู่แข่ง และรู้จักตัวเอง
ส่วนการประยุกต์ใช้หลักความมีเหตุผล ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินธุรกิจคือ การรู้จักลูกค้า รู้จักตลาด รู้จักคู่แข่ง และรู้จักตัวเอง ซึ่งทำให้การบริหารมีลักษณะที่สำคัญๆดังนี้
เข้าใจในธุรกิจของตน และตลาดที่ตนแข่งขันอยู่อย่างถ่องแท้ ซึ่งจำเป็นต้องสร้างเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ให้ต่างจากคู่แข่ง และมีนวัตกรรมใหม่ๆ มีการวิจัยตลาดรวมทั้งเข้าใจถึง core competency ขององค์กรและเน้นการผลิตที่ตรงกับ core competency ตลอดจนตรวจสอบผลการทำงานของตนกับบริษัทคู่แข่งอย่าสม่ำเสมอ ( benchmarking )
เข้าใจถึง key success factor ของธุรกิจ โดยพยายามไม่ให้พนักงานมีหนี้สินและความกังวล ซึ่งจะกระทบต่องานศิลปะที่ต้องใช้ความประณีต รวมทั้งมีการรักษากระบวนการผลิตให้เป็นธรรมชาติที่สุด
สำหรับธุรกิจที่อิงกับเทคโนโลยีต้องพัฒนาความรู้ของพนักงานอย่างต่อเนื่อง และต้องเน้นที่การนำเสนอเทคโนโลยีมาประยุกต์ ตลอดจนมีการแบ่งกลุ่มลูกค้าอย่างชัดเจน และมีความยืดหยุ่นในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาต่างๆ
ใช้ทรัพยากรที่มีกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระจายการผลิตบางส่วนไปในประเทศที่มีแรงงานถูกกว่าเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน และคิดค้นกระบวนการที่จะนำวัตถุดิบที่มีต้นทุนสูง หรือหายากกลับมาใช้ใหม่
รับความเสี่ยงในระดับที่เหมาะสมโดยใช้หลักบริหารการตลาดแบบ concentrated strategy เพื่อเข้าใจความต้องการของลูกค้าให้ชัดเจนก่อนที่จะขยายตลาดไปยังที่อื่นและให้สิทธิการจัดจำหน่ายในตลาดใหม่ๆแทนการลงทุนเจาะตลาดด้วยตนเอง
การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ต้องเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม
สำหรับการประยุกต์ใช้การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำเนินธุรกิจคือ จะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมโดย
กระจายผลิตภัณฑ์และตลาดเพื่อลดความเสี่ยง โดยการปรับผลิตภัณฑ์จากสินค้าฟุ่มเฟือยมาเป็นสินค้าที่ลูกค้าใช้ประจำ และกระจายตลาดในหลายประเทศ เพื่อลดผลกระทบจากวัฏจักรเศรษฐกิจต่อสินค้าฟุ่มเฟือย
ควบคุมกระบวนการจัดหาวัตถุดิบให้ต่อเนื่อง โดยลงทุนในแหล่งวัตถุดิบของตนเอง รักษาอัตราการหมุนเวียนของพนักงานให้อยู่ในระดับต่ำ ให้ราคาแก่ supplier อย่างเหมาะสม เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระยะยาว และลดต้นทุนของการหา supplier ใหม่ๆ( switching costs ) สะสมเงินออม โดยมีระบบการแบ่งเงินที่เหลือจากเงินหมุนเวียนเป็นเงินออมระยะยาว และมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่เหมาะสมกับการสะสมเงินไว้สำหรับการลงทุนใหม่
สะสมเงินออม โดยมีระบบการแบ่งเงินที่เหลือจากเงินหมุนเวียนเป็นเงินออมระยะยาว และมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่เหมาะสมกับการสะสมเงินไว้สำหรับการลงทุนใหม่
ประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงล่วงหน้าอย่างสม่ำเสมอ โดยมีนโยบายและกำหนดเวลาที่ต้องประเมินความเสี่ยงอย่างชัดเจน มีการสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้า และป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งพยายามสร้างความสมดุลด้านรายรับและรายจ่ายในเงินสกุลต่างประเทศแต่ละสกุล
ส่งเสริมความรู้และคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง
นอกจากการประยุกต์ใช้หลักความพอประมาณ การมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดีตามหลักปรัชญาของเศราฐกิจพอเพียงดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องอาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการดำเนินธุรกิจด้วย ซึ่งธุรกิจต่างๆ จะต้องมีการสร้างความรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และใช้ความรู้ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
สร้างเสริมให้พนักงานได้รับความรู้อย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างสม่ำเสมอ
ร่วมกับผู้ประกอบการอื่นๆ ในการพัฒนาความรู้ และมาตรฐานของธุรกิจ โดย Social venture network และ กลุ่มพันธมิตรผู้ให้บริการ website ภาษาไทย
ส่วนทางด้านคุณธรรมนั้น ต้องมีการสร้างความตระหนักและให้ยึดมั่นในคุณธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉาพะในด้านความเพียร ความอดทน และความซื่อสัตย์ โดย
-ให้มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
-ให้มีคุณธรรมและความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า โดยรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และรักษาความลับของลูกค้าอย่างเคร่งครัด
-ให้มีคุณธรรมกับสังคมรอบข้างโดยการป้องกันผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและจัดทำโครงการเพื่อสังคม
-ส่งเสริมคุณธรรมให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร โดยปกครองด้วยหลักความเมตตาและการให้สิทธิ์ลาเพื่อไปนั่งสมาธิ การปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเคร่งครัด และยอมรับผลกระทบอย่างเท่าเทียมกันในช่วงวิกฤต
สรุป
ภาคธุรกิจเอกชนที่มีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้ธุรกิจของตนดำเนินงานได้อย่างมีเหตุผล รู้จักลูกค้า รู้จักตลาด รู้จักคู่แข่ง และรู้ตนเอง รวมทั้งพนักงานมีความรู้ และยึดมั่นในคุณธรรมได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจน จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจมีเครื่องป้องกันผลกระทบจากภาวะความเสี่ยงภัยจากการดำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสม สามารถดำเนินธุรกิจร่วมมือกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจได้รับผลประโยชน์หรือผลกำไรสุทธิระยะยาวและยั่งยืน รวมทั้งช่วยเศรษฐกิจทั้งระบบสามารถเติบโตอย่างมั่นคง แข็งแรงได้ในที่สุด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วส/พห-