แท็ก
ทรัพยากรธรรมชาติ
(1) แนวทางการเสริมสร้างทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 อาจเรียกว่า "เศรษฐกิจบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)" ซึ่งให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความสมดุลยั่งยืน กระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรและภูมิปัญญาให้สืบทอด และใช้ประโยชน์ต่อไปได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งกำหนดมาตรการที่จำเป็นเพื่อควบคุมกิจกรรมหรืออุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษและส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีข้อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างทุนที่สำคัญ ดังนี้
การเสริมสร้างทุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ได้แก่ การคุ้มครองพันธุกรรมท้องถิ่น เร่งฟื้นฟูคุ้มครองแหล่งต้นกำเนิดเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ สนับสนุนการจดสิทธิบัตรภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้ชุมชน และควบคุมกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
สำหรับการพัฒนาและใช้ประโยชน์ ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาระบบข้อมูลและองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งกระจายอำนาจให้ชุมชนมีส่วนร่วมและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ
การเสริมสร้างทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ โดยปรับกระบวนทรรศน์การพัฒนาให้คนเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ มุ่งพัฒนาและอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม ยึดระบบนิเวศเป็นสำคัญ กำหนดนโยบายการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่และความสมัครใจของชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนมีสิทธิในการบริหารจัดการและดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมทั้งให้มีกระบวนการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจิตสำนึกต่อสาธารณะ แก่เยาวชนและชุมชน
(2) บทบาทการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนา
ภาครัฐ ปรับบทบาทจากผู้ควบคุม สั่งการ มาเป็นผู้ประสานงานและสนับสนุนให้ภาคส่วนต่างๆมีบทบาทมากขึ้น บังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ด้วยตนเอง
ภาคธุรกิจเอกชนต้องมีการทำธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพด้านนวัตกรรมและการตลาด และสนับสนุนการเงินแก่ชุมชนในการใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
องค์กรพัฒนาเอกชน/ภาควิชาการ เป็นพี่เลี้ยงในการสร้างองค์ความรู้และยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมวิจัยและพัฒนากับชุมชน และร่วมตรวจสอบการบริหารจัดการภาครัฐ
ประชาชน/ชุมชน สำรวจปรับปรุงตนเองให้มีจิตสำนึก ร่วมในการวิจัยพัฒนา จัดทำฐานข้อมูล เรียนรู้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่เพิ่มพูนความรู้เดิม รวมถึงทำความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิชุมชน เสริมสร้างบทบาทผู้นำชุมชน เข้าร่วมบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่น และร่วมตรวจสอบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างองค์ความรู้ เพิ่มบทบาทการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น
ภาคการเมือง ต้องสนับสนุนการกระจายผลประโยชน์ที่โปร่งใส ไม่ใช้อิทธิพลแทรกแซง สนับสนุนการนำแผนพัฒนาฯ ไปใช้ในแนวทางที่โปร่งใสอย่างจริงจัง
สื่อมวลชน ควรผลิตสื่อที่สร้างสรรค์ เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(3) ประเด็นที่ต้องทำความชัดเจนเพิ่มเติม
การกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานความหลากหลายทางชีวภาพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ เพื่อนำแนวคิดเรื่องความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน มาสร้างแนวทางการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม กำหนดขอบเขต เงื่อนไข และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดเอกภาพและความเข้าใจร่วมกันของทุกฝ่าย
การจัดทำแผนที่นำทาง (Road Map) เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ กำหนดเป้าหมาย ระยะเวลา ขั้นตอน ลำดับความสำคัญ และความเชื่อมโยงกับปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก
แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการพัฒนาห่วงโซ่การผลิตของสินค้าและบริการ จากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญ เช่น สมุนไพร บริการด้านสุขภาพ พันธุกรรมพืชและสัตว์ แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ เป็นต้น
การควบคุมมลพิษที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งต้องให้ความสำคัญมาตรการป้องกัน เช่น การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน การควบคุมอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษสูง รวมทั้งการกำหนดมาตรการเฝ้าระวังระดับชุมชน หรือระดับหน่วยงาน เช่น การกำหนดตัวชี้วัดผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพของประชาชน เป็นต้น
การกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละลุ่มน้ำ เช่น การกำหนดประเภทอุตสาหกรรมให้สอดคล้อง กับศักยภาพและปริมาณน้ำที่มีอยู่
5 การดำเนินงานขั้นต่อไป
สศช. จะนำผลที่ได้จากการระดมความคิดเห็นในระดับภาคทั้ง 4 ภาค ดังกล่าว ไปเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) และวางบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการพัฒนาประเทศอย่างเหมาะสม โดย
5.1 จัดระดมความคิดเห็นเพิ่มเติมเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) เกี่ยวกับแนวคิด ยุทธศาสตร์ และบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ในระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2549 ณ โรงแรมวรบุรี อโยธยา คอนเวนชั่น รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
5.2 ยกร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 เพื่อระดมความคิดเห็นในระดับชาติในการประชุมประจำปี 2549 ของ สศช. ในเดือนมิถุนายน 2549
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
การเสริมสร้างทุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ได้แก่ การคุ้มครองพันธุกรรมท้องถิ่น เร่งฟื้นฟูคุ้มครองแหล่งต้นกำเนิดเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ สนับสนุนการจดสิทธิบัตรภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้ชุมชน และควบคุมกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
สำหรับการพัฒนาและใช้ประโยชน์ ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาระบบข้อมูลและองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งกระจายอำนาจให้ชุมชนมีส่วนร่วมและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ
การเสริมสร้างทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ โดยปรับกระบวนทรรศน์การพัฒนาให้คนเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ มุ่งพัฒนาและอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม ยึดระบบนิเวศเป็นสำคัญ กำหนดนโยบายการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่และความสมัครใจของชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนมีสิทธิในการบริหารจัดการและดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมทั้งให้มีกระบวนการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจิตสำนึกต่อสาธารณะ แก่เยาวชนและชุมชน
(2) บทบาทการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนา
ภาครัฐ ปรับบทบาทจากผู้ควบคุม สั่งการ มาเป็นผู้ประสานงานและสนับสนุนให้ภาคส่วนต่างๆมีบทบาทมากขึ้น บังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ด้วยตนเอง
ภาคธุรกิจเอกชนต้องมีการทำธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพด้านนวัตกรรมและการตลาด และสนับสนุนการเงินแก่ชุมชนในการใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
องค์กรพัฒนาเอกชน/ภาควิชาการ เป็นพี่เลี้ยงในการสร้างองค์ความรู้และยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมวิจัยและพัฒนากับชุมชน และร่วมตรวจสอบการบริหารจัดการภาครัฐ
ประชาชน/ชุมชน สำรวจปรับปรุงตนเองให้มีจิตสำนึก ร่วมในการวิจัยพัฒนา จัดทำฐานข้อมูล เรียนรู้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่เพิ่มพูนความรู้เดิม รวมถึงทำความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิชุมชน เสริมสร้างบทบาทผู้นำชุมชน เข้าร่วมบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่น และร่วมตรวจสอบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างองค์ความรู้ เพิ่มบทบาทการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น
ภาคการเมือง ต้องสนับสนุนการกระจายผลประโยชน์ที่โปร่งใส ไม่ใช้อิทธิพลแทรกแซง สนับสนุนการนำแผนพัฒนาฯ ไปใช้ในแนวทางที่โปร่งใสอย่างจริงจัง
สื่อมวลชน ควรผลิตสื่อที่สร้างสรรค์ เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(3) ประเด็นที่ต้องทำความชัดเจนเพิ่มเติม
การกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานความหลากหลายทางชีวภาพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ เพื่อนำแนวคิดเรื่องความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน มาสร้างแนวทางการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม กำหนดขอบเขต เงื่อนไข และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดเอกภาพและความเข้าใจร่วมกันของทุกฝ่าย
การจัดทำแผนที่นำทาง (Road Map) เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ กำหนดเป้าหมาย ระยะเวลา ขั้นตอน ลำดับความสำคัญ และความเชื่อมโยงกับปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก
แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการพัฒนาห่วงโซ่การผลิตของสินค้าและบริการ จากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญ เช่น สมุนไพร บริการด้านสุขภาพ พันธุกรรมพืชและสัตว์ แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ เป็นต้น
การควบคุมมลพิษที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งต้องให้ความสำคัญมาตรการป้องกัน เช่น การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน การควบคุมอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษสูง รวมทั้งการกำหนดมาตรการเฝ้าระวังระดับชุมชน หรือระดับหน่วยงาน เช่น การกำหนดตัวชี้วัดผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพของประชาชน เป็นต้น
การกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละลุ่มน้ำ เช่น การกำหนดประเภทอุตสาหกรรมให้สอดคล้อง กับศักยภาพและปริมาณน้ำที่มีอยู่
5 การดำเนินงานขั้นต่อไป
สศช. จะนำผลที่ได้จากการระดมความคิดเห็นในระดับภาคทั้ง 4 ภาค ดังกล่าว ไปเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) และวางบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการพัฒนาประเทศอย่างเหมาะสม โดย
5.1 จัดระดมความคิดเห็นเพิ่มเติมเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) เกี่ยวกับแนวคิด ยุทธศาสตร์ และบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ในระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2549 ณ โรงแรมวรบุรี อโยธยา คอนเวนชั่น รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
5.2 ยกร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 เพื่อระดมความคิดเห็นในระดับชาติในการประชุมประจำปี 2549 ของ สศช. ในเดือนมิถุนายน 2549
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-