- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูง จากสภาพคล่องที่ทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบหลังจากวันหยุดในเทศกาล สงกรานต์
แต่อัตราดอกเบี้ย R/P 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุ
ปรับตัวลดลง เช่นเดียวกับ US Treasury Yield เนื่องจากคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ และแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 9 ปี ที่ 34.71 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวัน
พฤหัสบดี ตามค่าเงินภูมิภาคและเงินเยน และความต้องการซื้อดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุล
หลัก จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากมีสภาพคล่องทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบหลังจากวันหยุดในเทศกาล
สงกรานต์ ประกอบกับเป็นช่วงต้นปักษ์ที่ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังไม่เร่งดำรงเงินสดสำรอง จึงทยอยนำสภาพคล่องเข้ามาลงทุนระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง
และธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการนำสภาพคล่องจากธุรกรรมปริมาณสูงที่ครบกำหนดมาลงทุนเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน
แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.0 4.03125 และ 4.03125
ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.02 - 4.08 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิด
ตลาดลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.05 ต่อปี ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.04 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 101,000 ล้านบาท โดยเป็น พันธบัตร ธปท. อายุ 14 และ 364 วัน วงเงินรวม
95,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 17 ปี วงเงิน 5,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารทุกประเภทปรับตัวลดลง นอกจากนี้มีการ
ประมูลพันธบัตรการไฟฟ้านครหลวง วงเงิน 1,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 87,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุน
เวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 14,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง (เฉพาะธุรกรรม outright) มีมูลค่า 214,864 ล้านบาท หรือคิดเป็น 53,716 ล้านบาทต่อ
วัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4 ปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติเท่ากับ 4,342 ล้านบาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14 และคิดเป็นร้อย
ละ 2.02 ของมูลค่าธุรกรรม outright โดยสัปดาห์นี้มียอดขายสุทธิเท่ากับ 3,900 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 3 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลง 3-9
basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไปมีอัตราผลตอบแทนลดลง 9-19 basis points เนื่องจากคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายลงอีก ส่งผลให้ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 79 และ 14 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลง 3-12 basis points เนื่องจากมีสัญญาณของการชะลอตัวของภาคอสังหาริม
ทรัพย์ และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนมีนาคมและตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมต่ำลงกว่าที่คาด ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนที่อาจทำให้ Fed ปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบาย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 50 35.01
เฉลี่ย 9 - 12 เม.ย.50 34.90
17 เม.ย. 50 34.85
18 เม.ย. 50 34.74
19 เม.ย. 50 34.71
20 เม.ย. 50 34.73
เฉลี่ย 17 - 20 เม.ย.50 34.79
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 34.79 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทใน
วันอังคารซึ่งเป็นวันทำการแรกของสัปดาห์ปรับแข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า จากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกเป็นจำนวน
มากหลังจากตลาดปิดทำการมาหลายวัน ก่อนเงินบาทจะมีทิศทางแข็งขึ้นตลอดช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ และปรับแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 9 ปีที่ 34.71 บาท
ต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกอย่างต่อเนื่อง และการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาคโดย
เฉพาะเงินเยนที่ได้รับปัจจัยบวกจากความต้องการซื้อเงินเยนเพื่อทำ Carry Trade อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันศุกร์ จากความ
ต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้นำเข้า และส่วนหนึ่งนักลงทุนคาดว่าเป็นการแทรกแซงจาก ธปท. ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงมากเมื่อ
เทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาไม่ดีนัก ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายลงในระยะเวลาอันใกล้ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญอื่นๆ โดยเฉพาะอังกฤษ ยุโรป และออสเตรเลีย มีแนวโน้ม
ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
แต่อัตราดอกเบี้ย R/P 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุ
ปรับตัวลดลง เช่นเดียวกับ US Treasury Yield เนื่องจากคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ และแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 9 ปี ที่ 34.71 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวัน
พฤหัสบดี ตามค่าเงินภูมิภาคและเงินเยน และความต้องการซื้อดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุล
หลัก จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากมีสภาพคล่องทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบหลังจากวันหยุดในเทศกาล
สงกรานต์ ประกอบกับเป็นช่วงต้นปักษ์ที่ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังไม่เร่งดำรงเงินสดสำรอง จึงทยอยนำสภาพคล่องเข้ามาลงทุนระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง
และธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการนำสภาพคล่องจากธุรกรรมปริมาณสูงที่ครบกำหนดมาลงทุนเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน
แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.0 4.03125 และ 4.03125
ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.02 - 4.08 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิด
ตลาดลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.05 ต่อปี ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.04 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 101,000 ล้านบาท โดยเป็น พันธบัตร ธปท. อายุ 14 และ 364 วัน วงเงินรวม
95,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 17 ปี วงเงิน 5,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารทุกประเภทปรับตัวลดลง นอกจากนี้มีการ
ประมูลพันธบัตรการไฟฟ้านครหลวง วงเงิน 1,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 87,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุน
เวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 14,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง (เฉพาะธุรกรรม outright) มีมูลค่า 214,864 ล้านบาท หรือคิดเป็น 53,716 ล้านบาทต่อ
วัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4 ปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติเท่ากับ 4,342 ล้านบาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14 และคิดเป็นร้อย
ละ 2.02 ของมูลค่าธุรกรรม outright โดยสัปดาห์นี้มียอดขายสุทธิเท่ากับ 3,900 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 3 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลง 3-9
basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไปมีอัตราผลตอบแทนลดลง 9-19 basis points เนื่องจากคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายลงอีก ส่งผลให้ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 79 และ 14 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลง 3-12 basis points เนื่องจากมีสัญญาณของการชะลอตัวของภาคอสังหาริม
ทรัพย์ และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนมีนาคมและตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมต่ำลงกว่าที่คาด ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนที่อาจทำให้ Fed ปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบาย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 50 35.01
เฉลี่ย 9 - 12 เม.ย.50 34.90
17 เม.ย. 50 34.85
18 เม.ย. 50 34.74
19 เม.ย. 50 34.71
20 เม.ย. 50 34.73
เฉลี่ย 17 - 20 เม.ย.50 34.79
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 34.79 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทใน
วันอังคารซึ่งเป็นวันทำการแรกของสัปดาห์ปรับแข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า จากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกเป็นจำนวน
มากหลังจากตลาดปิดทำการมาหลายวัน ก่อนเงินบาทจะมีทิศทางแข็งขึ้นตลอดช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ และปรับแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 9 ปีที่ 34.71 บาท
ต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกอย่างต่อเนื่อง และการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาคโดย
เฉพาะเงินเยนที่ได้รับปัจจัยบวกจากความต้องการซื้อเงินเยนเพื่อทำ Carry Trade อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันศุกร์ จากความ
ต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้นำเข้า และส่วนหนึ่งนักลงทุนคาดว่าเป็นการแทรกแซงจาก ธปท. ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงมากเมื่อ
เทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาไม่ดีนัก ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายลงในระยะเวลาอันใกล้ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญอื่นๆ โดยเฉพาะอังกฤษ ยุโรป และออสเตรเลีย มีแนวโน้ม
ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-