- ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้นก่อนการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันพฤหัสบดี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองค่อนข้างเบาบาง ทำให้ดัชนีราคาปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) พันธบัตรฯ ไทยและพันธบัตรสหรัฐฯ มีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- เงินบาทยังคงมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค เหตุการณ์ก่อการร้ายที่จังหวัดสงขลา และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในเชิงรุกในการ ประชุม FOMC ครั้งต่อไปในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยก่อนการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันพฤหัสบดี โดยธนาคารพาณิชย์บางรายมีการดำรงเงินสดสำรองต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยจึงมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 1.84375 ต่อปี ในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 2 ต่อปีในวันศุกร์ และอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 2 ต่อปี ในปลายสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 2.03125 ต่อปี ในวันพฤหัสบดี ก่อนจะปรับลดลงมาอยู่ในอัตราเดิมในวันศุกร์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการลงทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้นหลังจากเริ่มต้นปักษ์ใหม่ หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วัน ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นจากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 - 2.5 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.9 - 2 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 37,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง 4 รุ่น อายุ 90 92 181 และ 183 วัน วงเงินรวม 8,000 ล้านบาท เนื่องจากสัปดาห์หน้ามีวันหยุดราชการหลายวัน
จึงนำตั๋วเงินคลังมาประมูลในสัปดาห์นี้ และมีการเปิดประมูลพันธบัตร ธปท. อายุ 29 63 และ 365 วัน วงเงินรวม 26,500 ล้านบาท แต่มีผู้เสนอประมูลเพียง 22,930 ล้านบาท เนื่องจากวงเงินที่เปิดประมูลประจำสัปดาห์ในเดือน เม.ย. สูงกว่าเดือน มี.ค. ที่เปิดประมูลสัปดาห์ละ 18,000 ล้านบาท และส่วนหนึ่งเนื่องจากนักลงทุนรอความชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท ดังนั้น ตราสารหนี้ภาครัฐที่จัดสรรในสัปดาห์นี้มีมูลค่า 33,930 ล้านบาท และตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะพันธบัตร ธปท.อายุ 29 และ 63 วันที่มีผู้ประมูลต่ำกว่าวงเงินเสนอประมูล มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 6-7 basis points ในขณะที่ตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 181 วัน และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย
มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 56,103 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 14,026 ล้านบาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 20.7 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 82.9 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาเป็นตั๋วเงินคลัง มูลค่าการซื้อขายในสัปดาห์นี้เป็นไปอย่างเบาบาง เนื่องจากสัปดาห์หน้ามีวันหยุด 3 วันในเทศกาลสงกรานต์ นักลงทุนจึงชะลอการลงทุนเพื่อรอดูภาวะตลาด ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 14 และ 3 basis points ตามลำดับ
อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-8 basis points เนื่องจากมีแรงขายเพื่อทำกำไรก่อนวันหยุดยาว ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนของ US Treasury ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-4 basis points ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อาทิ ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ลดลง รวมถึงการให้สัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ Fed ที่ว่าอัตราดอกเบี้ยมี
โอกาสจะปรับขึ้น
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.45 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.7 โดยเงินบาทในต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าและมีทิศทาง
อ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากปัจจัยกดดันภายในประเทศ ได้แก่ ความกังวลต่อเหตุการณ์วางระเบิดที่จังหวัดสงขลา และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยตลอดช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา สำหรับปัจจัยกดดันภายนอกประเทศ ได้แก่ ทิศทางการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยน และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดี เป็นปัจจัยสนับสนุนการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ของนักลงทุน นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังมีการกล่าวเป็นนัยว่า Fed อาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเชิงรุกในการประชุมครั้งต่อไป เนื่องจากความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนกุมภาพันธ์ที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 1 เม.ย. จะออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด แต่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น โดยเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าที่สุดในรอบ 2 เดือนเมื่อเทียบกับเงินยูโรที่ระดับ 1.2838 ดอลลาร์ สรอ. ต่อยูโร ในวันจันทร์ และแข็งค่าที่สุดในรอบเกือบ 6 เดือนเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ
108.67 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพุธ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองค่อนข้างเบาบาง ทำให้ดัชนีราคาปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) พันธบัตรฯ ไทยและพันธบัตรสหรัฐฯ มีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- เงินบาทยังคงมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค เหตุการณ์ก่อการร้ายที่จังหวัดสงขลา และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในเชิงรุกในการ ประชุม FOMC ครั้งต่อไปในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยก่อนการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันพฤหัสบดี โดยธนาคารพาณิชย์บางรายมีการดำรงเงินสดสำรองต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยจึงมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 1.84375 ต่อปี ในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 2 ต่อปีในวันศุกร์ และอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 2 ต่อปี ในปลายสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 2.03125 ต่อปี ในวันพฤหัสบดี ก่อนจะปรับลดลงมาอยู่ในอัตราเดิมในวันศุกร์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการลงทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้นหลังจากเริ่มต้นปักษ์ใหม่ หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วัน ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นจากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 - 2.5 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.9 - 2 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 37,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง 4 รุ่น อายุ 90 92 181 และ 183 วัน วงเงินรวม 8,000 ล้านบาท เนื่องจากสัปดาห์หน้ามีวันหยุดราชการหลายวัน
จึงนำตั๋วเงินคลังมาประมูลในสัปดาห์นี้ และมีการเปิดประมูลพันธบัตร ธปท. อายุ 29 63 และ 365 วัน วงเงินรวม 26,500 ล้านบาท แต่มีผู้เสนอประมูลเพียง 22,930 ล้านบาท เนื่องจากวงเงินที่เปิดประมูลประจำสัปดาห์ในเดือน เม.ย. สูงกว่าเดือน มี.ค. ที่เปิดประมูลสัปดาห์ละ 18,000 ล้านบาท และส่วนหนึ่งเนื่องจากนักลงทุนรอความชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท ดังนั้น ตราสารหนี้ภาครัฐที่จัดสรรในสัปดาห์นี้มีมูลค่า 33,930 ล้านบาท และตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะพันธบัตร ธปท.อายุ 29 และ 63 วันที่มีผู้ประมูลต่ำกว่าวงเงินเสนอประมูล มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 6-7 basis points ในขณะที่ตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 181 วัน และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย
มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 56,103 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 14,026 ล้านบาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 20.7 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 82.9 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาเป็นตั๋วเงินคลัง มูลค่าการซื้อขายในสัปดาห์นี้เป็นไปอย่างเบาบาง เนื่องจากสัปดาห์หน้ามีวันหยุด 3 วันในเทศกาลสงกรานต์ นักลงทุนจึงชะลอการลงทุนเพื่อรอดูภาวะตลาด ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 14 และ 3 basis points ตามลำดับ
อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-8 basis points เนื่องจากมีแรงขายเพื่อทำกำไรก่อนวันหยุดยาว ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนของ US Treasury ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-4 basis points ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อาทิ ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ลดลง รวมถึงการให้สัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ Fed ที่ว่าอัตราดอกเบี้ยมี
โอกาสจะปรับขึ้น
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.45 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.7 โดยเงินบาทในต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าและมีทิศทาง
อ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากปัจจัยกดดันภายในประเทศ ได้แก่ ความกังวลต่อเหตุการณ์วางระเบิดที่จังหวัดสงขลา และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยตลอดช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา สำหรับปัจจัยกดดันภายนอกประเทศ ได้แก่ ทิศทางการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยน และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดี เป็นปัจจัยสนับสนุนการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ของนักลงทุน นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังมีการกล่าวเป็นนัยว่า Fed อาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเชิงรุกในการประชุมครั้งต่อไป เนื่องจากความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนกุมภาพันธ์ที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 1 เม.ย. จะออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด แต่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น โดยเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าที่สุดในรอบ 2 เดือนเมื่อเทียบกับเงินยูโรที่ระดับ 1.2838 ดอลลาร์ สรอ. ต่อยูโร ในวันจันทร์ และแข็งค่าที่สุดในรอบเกือบ 6 เดือนเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ
108.67 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพุธ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-