- คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.50 ต่อปี เพื่อช่วย
กระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อมีแนวโน้มผ่อนคลาย
- หลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ
4.0 4.03125 และ 4.03125 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ โดยสภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงในช่วงกลางถึง
ปลายสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับ
ตัวลดลง ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่วน US Treasury Yield เปลี่ยนแปลงในช่วงแคบๆ เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ โดย
แข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ แต่การปรับ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ส่งผลกระทบต่อเงินบาทมากนัก ขณะที่
เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลหลัก แม้ว่ารายงานการประชุม FOMC ยังแสดงความกังวลต่อความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 11 เมษายน ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.5 มาอยู่ที่
ร้อยละ 4.0 ต่อปี เนื่องจากความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีเพิ่มขึ้น จากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวต่อเนื่องและการส่ง
ออกมีแนวโน้มลดลง ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อปรับลดลงและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในช่วงเป้าหมาย ทั้งนี้ คณะกรรมการส่งสัญญาณว่านโยบายการ
เงินมีแนวโน้มผ่อนคลายและจะมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงได้อีกในระยะต่อไป ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกเป็นลำดับ โดย
เฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการ
สำรองเงินเพื่อการปิดสำรองรายปักษ์ในวันอังคารมาลงทุนเป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีการคาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายลงในวันพุธ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 4.46875 และ 4.28125 ต่อปี ใน
ช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.125 และ 4.15625 ต่อปี ตามลำดับ ในวันอังคาร แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยน
แปลงที่ร้อยละ 4.50 ต่อปี สำหรับในวันพุธ หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.5 สถาบันการ
เงินได้เสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.0 4.03125 และ 4.03125 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ
1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ และอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงปลายสัปดาห์ โดยสภาพคล่องโดยรวมทรงตัวในระดับสูงเนื่องจาก
เป็นช่วงต้นปักษ์ที่ธนาคารพาณิชย์ไม่เร่งสำรองเงินสดมากนัก ประกอบกับธนาคารพาณิชย์มีการสำรองสภาพคล่องไว้เพียงพอสำหรับการเบิกถอนเงินสด
ของลูกค้าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.6 - 4.52 ขณะที่อัตรากลาง
(Mode) ปิดตลาดลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.54 ต่อปี ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.05 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบาย
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 52,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
21,000 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงินอายุ 182 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 12 และ 14 วัน วงเงินรวม 22,000 ล้านบาท
และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี 6 เดือน และ 7 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 8,000 ล้านบาท แต่พันธบัตรรุ่นอายุ 7 ปี 6 เดือน มีผู้เสนอประมูลน้อย จึง
ทำให้มีการจัดสรรเพียง 5,665 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้นพันธบัตร ธปท. ที่มีอัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้น
เล็กน้อย และมีการประมูลพันธบัตรการรถไฟแห่งประเทศไทย วงเงิน 836.29 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 103,759 ล้าน
บาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 49,258 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง (เฉพาะธุรกรรม outright) มีมูลค่า 206,078 ล้านบาท หรือคิดเป็น 51,519 ล้านบาท
ต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5 ปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้นมากเป็น 5,058 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.45 ของมูลค่า
ธุรกรรม Outright ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 380 และมียอดขายสุทธิเท่ากับ 640 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลง 16-30
basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปมีอัตราผลตอบแทนลดลง 5-12 basis points ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่ง
ผลให้ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 41 และ 27 basis point ตามลำดับ
ส่วน US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้ปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ โดยในช่วงต้น-กลางสัปดาห์อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงหลังจากปรับ
ตัวสูงขึ้นมาก ภายหลังการประกาศตัวเลขการจ้างงานในวันศุกร์ ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 50 35.01
เฉลี่ย 2 - 5 เม.ย.50 34.93
9 เม.ย. 50 34.88
10 เม.ย. 50 34.87
11 เม.ย. 50 34.93
12 เม.ย. 50 34.93
เฉลี่ย 9 - 12 เม.ย.50 34.90
เงินบาทของผู้ส่งออก ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงในช่วงก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายเงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 34.90 บาทต่อ
ดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่าง 34.88 -34.93 บาทต่อ
ดอลลาร์ สรอ. ท่ามกลางปริมาณซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบางก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากความต้องการซื้อ
เงินการเงิน เนื่องจากมีการคาดการณ์ถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ตาม หลังจากคณะกรรมการฯ ตัดสินใจปรับลดอัตราลงร้อยละ
0.5 เงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้แล้ว สำหรับในวันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ เงินบาท
ยังคงทรงตัวเนื่องจากไม่มีปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเงินบาทอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับ
เงินสกุลหลัก แม้ว่าจะได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน มี.ค. ที่ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด และรายงานการ
ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ ยังแสดงความกังวลถึงความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ทั้งนี้ เนื่องจากเงินยูโรมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลข
เศรษฐกิจของยุโรปที่แสดงถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง ขณะที่เงินเยนแข็งค่าขึ้นจากการคาดการณ์ว่าอาจมีการหารือเรื่องการอ่อนค่า
เกินไปของเงินเยนในการประชุมกลุ่ม G-7 ปลายสัปดาห์นี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
กระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อมีแนวโน้มผ่อนคลาย
- หลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ
4.0 4.03125 และ 4.03125 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ โดยสภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงในช่วงกลางถึง
ปลายสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับ
ตัวลดลง ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่วน US Treasury Yield เปลี่ยนแปลงในช่วงแคบๆ เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ โดย
แข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ แต่การปรับ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ส่งผลกระทบต่อเงินบาทมากนัก ขณะที่
เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลหลัก แม้ว่ารายงานการประชุม FOMC ยังแสดงความกังวลต่อความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 11 เมษายน ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.5 มาอยู่ที่
ร้อยละ 4.0 ต่อปี เนื่องจากความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีเพิ่มขึ้น จากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวต่อเนื่องและการส่ง
ออกมีแนวโน้มลดลง ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อปรับลดลงและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในช่วงเป้าหมาย ทั้งนี้ คณะกรรมการส่งสัญญาณว่านโยบายการ
เงินมีแนวโน้มผ่อนคลายและจะมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงได้อีกในระยะต่อไป ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกเป็นลำดับ โดย
เฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการ
สำรองเงินเพื่อการปิดสำรองรายปักษ์ในวันอังคารมาลงทุนเป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีการคาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายลงในวันพุธ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 4.46875 และ 4.28125 ต่อปี ใน
ช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.125 และ 4.15625 ต่อปี ตามลำดับ ในวันอังคาร แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยน
แปลงที่ร้อยละ 4.50 ต่อปี สำหรับในวันพุธ หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.5 สถาบันการ
เงินได้เสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.0 4.03125 และ 4.03125 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ
1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ และอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงปลายสัปดาห์ โดยสภาพคล่องโดยรวมทรงตัวในระดับสูงเนื่องจาก
เป็นช่วงต้นปักษ์ที่ธนาคารพาณิชย์ไม่เร่งสำรองเงินสดมากนัก ประกอบกับธนาคารพาณิชย์มีการสำรองสภาพคล่องไว้เพียงพอสำหรับการเบิกถอนเงินสด
ของลูกค้าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.6 - 4.52 ขณะที่อัตรากลาง
(Mode) ปิดตลาดลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.54 ต่อปี ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.05 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบาย
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 52,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
21,000 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงินอายุ 182 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 12 และ 14 วัน วงเงินรวม 22,000 ล้านบาท
และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี 6 เดือน และ 7 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 8,000 ล้านบาท แต่พันธบัตรรุ่นอายุ 7 ปี 6 เดือน มีผู้เสนอประมูลน้อย จึง
ทำให้มีการจัดสรรเพียง 5,665 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้นพันธบัตร ธปท. ที่มีอัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้น
เล็กน้อย และมีการประมูลพันธบัตรการรถไฟแห่งประเทศไทย วงเงิน 836.29 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 103,759 ล้าน
บาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 49,258 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง (เฉพาะธุรกรรม outright) มีมูลค่า 206,078 ล้านบาท หรือคิดเป็น 51,519 ล้านบาท
ต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5 ปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้นมากเป็น 5,058 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.45 ของมูลค่า
ธุรกรรม Outright ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 380 และมียอดขายสุทธิเท่ากับ 640 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลง 16-30
basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปมีอัตราผลตอบแทนลดลง 5-12 basis points ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่ง
ผลให้ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 41 และ 27 basis point ตามลำดับ
ส่วน US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้ปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ โดยในช่วงต้น-กลางสัปดาห์อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงหลังจากปรับ
ตัวสูงขึ้นมาก ภายหลังการประกาศตัวเลขการจ้างงานในวันศุกร์ ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 50 35.01
เฉลี่ย 2 - 5 เม.ย.50 34.93
9 เม.ย. 50 34.88
10 เม.ย. 50 34.87
11 เม.ย. 50 34.93
12 เม.ย. 50 34.93
เฉลี่ย 9 - 12 เม.ย.50 34.90
เงินบาทของผู้ส่งออก ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงในช่วงก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายเงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 34.90 บาทต่อ
ดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่าง 34.88 -34.93 บาทต่อ
ดอลลาร์ สรอ. ท่ามกลางปริมาณซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบางก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากความต้องการซื้อ
เงินการเงิน เนื่องจากมีการคาดการณ์ถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ตาม หลังจากคณะกรรมการฯ ตัดสินใจปรับลดอัตราลงร้อยละ
0.5 เงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้แล้ว สำหรับในวันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ เงินบาท
ยังคงทรงตัวเนื่องจากไม่มีปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเงินบาทอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับ
เงินสกุลหลัก แม้ว่าจะได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน มี.ค. ที่ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด และรายงานการ
ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ ยังแสดงความกังวลถึงความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ทั้งนี้ เนื่องจากเงินยูโรมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลข
เศรษฐกิจของยุโรปที่แสดงถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง ขณะที่เงินเยนแข็งค่าขึ้นจากการคาดการณ์ว่าอาจมีการหารือเรื่องการอ่อนค่า
เกินไปของเงินเยนในการประชุมกลุ่ม G-7 ปลายสัปดาห์นี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-