(ต่อ3)รายงานผลการดำเนินการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 22, 2007 14:50 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          ๑.๒.๕ การพัฒนาและเสริมสร้างระบบงานยุติธรรม  รัฐบาลได้ดำเนินโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการสัมมนาบุคลากรในกระบวนการ
ยุติธรรม มีผู้เข้ารับการอบรมเป็นผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม โครงการพัฒนาระบบการนำพิจารณาคดีครบองค์คณะและต่อ
เนื่องเพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรคในการพิจารณาคดีของผู้พิพากษา โครงการตรวจประเมินระบบและการให้การรับรองมาตรฐานศาลยุติธรรม โครงการ
ส่งเสริมการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทในชั้นศาลอุทธรณ์ โครงการคลังสมองทางกฎหมายเพื่อยกระดับข้อมูลสารสนเทศให้เป็นศูนย์ความรู้ด้านกฎหมาย
ภายในและต่างประเทศ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการวางระบบ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องสู่
ความสมานฉันท์ และโครงการพัฒนาระบบงานอนุญาโตตุลาการ
๑.๓ จัดทำแผนแม่บทพัฒนาการเมือง รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรมทางการเมือง วัฒนธรรมและการ
เรียนรู้ใหม่ ทางการเมือง โดยในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและยกร่างแผนแม่บทสภาพัฒนาการ
เมือง ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์๒๕๕ และคณะกรรมการฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ๖ คณะ คือ คณะอนุกรรมการยกร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมือง
คณะอนุกรรมการการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง คณะอนุกรรมการยกร่างกฎหมาย คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของ
ประชาชน และคณะอนุกรรมการประสานงาน
คณะกรรมการฯ ได้จัดทำกระบวนการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง ยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แก้ไขและปรับปรุงกฎหมาย/กฎระเบียบที่จำ
เป็น จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นทั่วประเทศ๒๘ เวที มีผู้เข้าร่วมประมาณ ๓, คน และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ โดยคณะกรรมการฯ และคณะ
อนุกรรมการฯ ได้ประชุมรับหลักการเมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕ ในประเด็นเกี่ยวกับรูปแบบองค์กร และอำนาจหน้าที่ โครงสร้าง และคณะกรรมการ
ของสภาพัฒนาการเมือง โดยเห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีสภาพัฒนาการเมืองไว้ในร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕ ซึ่งในขั้นต่อไปคณะกรรมการฯ จะจัด
ประชุมสัมมนาเพื่อเสนอผลการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาการเมือง ซึ่งประกอบด้วย๖ ยุทธศาสตร์ ๒๗ พันธกิจ และกลยุทธ์การพัฒนากว่า ๒ กลยุทธ์ การ
ยกร่างต้นแบบสภาพัฒนาการเมือง และร่างกฎหมายสภาพัฒนาการเมืองประมาณเดือนพฤษภาคม๒๕๕
๑.๔ จัดทำแผนแม่บทการใช้ทรัพยากรสื่อสารของชาติ การใช้เครื่องมือสื่อสารของรัฐ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรสื่อ
สารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ ทั้งในด้านการศึกษา และการปลูกฝังความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งการเน้นการทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระของการปฏิรูปการเมืองนอกจากนี้ รัฐบาลได้ให้
ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านการสื่อสารเข้าสู่ระบบใหม่
(3G) ความต้องการและความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อทรัพยากรสื่อสารของชาติเป็นต้น
๑.๔.๑ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารความต้องการด้านสื่อสาร นับว่าเป็นบริการโครงสร้างพื้นฐานของภาค
รัฐที่ต้องจัดหาให้ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมและทั่วถึง รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและการอำนวยความสะดวกในการติดต่อกับหน่วยงาน
ภาครัฐ ดังนั้น รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการเร่งรัดเพื่อพัฒนาและลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานสาขาสื่อสาร อย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดทำแผนแม่บท
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ ๒) ของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕ - ๒๕๕๔ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารของประเทศไทย การลงทุนโครงการขยายโครงข่ายโทรศัพท์ประจำที่ จำนวน ๕.๖๕๕ แสนเลขหมาย เพื่อยกระดับคุณภาพและตอบ
สนองความต้องการของผู้ใช้บริการที่มีอยู่ทั่วประเทศ และบรรเทาปัญหาความขาดแคลนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานในเขตนครหลวงและเขตภูมิภาค ซึ่ง
ขณะนี้โครงการมีความก้าวหน้าร้อยละ ๘๘.๗๔ (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม ๒๕๕) รวมทั้งโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA 2000-1x ในส่วน
ภูมิภาค เพื่อขยายพื้นที่บริการ และกระจายความเจริญทางด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคมไปสู่ส่วนภูมิภาคโดยได้ดำเนินการติดตั้งสถานีฐานจำนวน ๑,๖
แห่ง ใน ๕๑ จังหวัด และชุมสายที่รองรับเลขหมายโทรศัพท์ได้ไม่น้อยกว่า ๒.๓ ล้านเลขหมาย ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ใช้ 40 บริการไม่น้อยกว่า ๑.๕
แสนเลขหมายในปี ๒๕๕ และโครงการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เพื่อพัฒนาเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ
(Government Information Network: GIN) เชื่อมต่อกระทรวง ทบวง และกรม ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อพัฒนาระบบบริการภาครัฐผ่าน
ระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-Service) จำนวน ๒๓ บริการ ซึ่งจะแล้วเสร็จและสามารถให้บริการได้ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕
สำหรับการให้บริการระบบอินเทอร์เน็ต รัฐบาลได้ขยายการให้บริการวงจรอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (1.24 Gbps) ผ่านระบบเคเบิล
ใต้น้ำใยแก้วSEA-ME-WE 4 เชื่อมตรงสู่ยุโรป โดยร่วมมือกับ Telecom Italia และ France Telecom ซึ่งเป็นการเสริมสร้างโครงข่ายอินเทอร์
เน็ตระหว่างประเทศให้รองรับความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ขนาดความจุ
International Bandwidth เพิ่มขึ้นจาก 9.2 Gbps เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๙ เป็น 12.8 Gbps ในเดือนมีนาคม ๒๕๕
(ยังมีต่อ).../๑.๔.๒ การจัดทำ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ