๒.๘ การแก้ไขปัญหาเร่งด่วนกรณีสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือจากการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ในช่วง
ปี ๒๕๔๖ - ๒๕๔๙ พบว่ามีการเพิ่มสูงขึ้นของฝุ่นขนาดเล็ก (PM ) ในช่วงปลายเดือนธันวาคม ถึงเดือน เมษายนของทุกปี (มาตรฐานค่าเฉลี่ย ๒๔
ชั่วโมง ของ PM10 ไม่เกิน ๑๒ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) โดยในปี ๒๕๕๐ เริ่มตรวจพบแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์
ทำให้พื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยเกิดสภาพฟ้าหลัวมีหมอกควันปกคลุม ทัศนวิสัยต่ำกว่า ๑ กิโลเมตร ในหลายจังหวัด
รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน โดยตรวจสอบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า ๑๐ ไมครอน และรายงานข้อมูลทุก
วัน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปได้รับทราบ และขอความร่วมมือในการดูแลให้ความเอาใจใส่ปรับแต่งบำรุงรักษารถยนต์ไม่ให้ระบาย
ควันดำเกินมาตรฐาน และงดการเผาในที่โล่งทุกชนิด รวมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินการร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและจัดหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพื่อระงับ
เหตุในพื้นที่ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๐ เห็นชอบการดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันภาคเหนือ โดยระดมกำลัง
พนักงานดับไฟป่าจากพื้นที่อื่น ๆ ที่มีปัญหาการเกิดไฟป่าน้อยไปสนับสนุนพื้นที่ที่มีปัญหาการเกิดไฟป่ามากกว่า ส่งกำลังสนับสนุนเพิ่มเติม จำนวน ๕๘๐ คน
รณรงค์ป้องกันไฟป่าทุกรูปแบบผ่านสื่อทุกแขนง และมอบหมายให้กองทัพภาคที่ ๓ ดำเนินการสนธิกำลังในการดำเนินการลาดตระเวนป้องปราม และเข้า
ดำเนินการดับไฟในพื้นที่นอกเขตป่าอนุรักษ์ รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขจัดเตรียมคลินิกพิเศษเพื่อให้บริการแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบฯ
และให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดในท้องที่ภาคเหนือทั้ง ๑๗ จังหวัด มีอำนาจในสั่งการให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการกำกับดูแลการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศสมาชิกอาเซียนโดยประสานไปยังประเทศสมาชิกฯ เพื่อขอความร่วมมือใน
การควบคุมไฟที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ สำหรับกรณีหมอกควันข้ามแดนในประเทศสมาชิกอาเซียนในลุ่มน้ำโขง ประเทศไทยจะจัดการประชุมหารือ
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๐ ที่กรุงเทพมหานคร
๒.๙ การแก้ไขปัญหาผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย รัฐบาลได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในด้านที่ดินทำ
กิน และยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ โดยเป็นเรื่องต่อเนื่องมาจากรัฐบาลก่อน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบสภาพ
ปัญหาและดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน และเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๙ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการช่วยเหลือผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย
ในส่วนของจังหวัดสกลนคร จำนวน ๗๔๗ คน แล้วและจะเร่งดำเนินการช่วยเหลือผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยในพื้นที่ ๑๐ จังหวัดที่เหลือ ได้แก่ นครราชสีมา
ยโสธร บุรีรัมย์ สุรินทร์ กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี นครพนม มุกดาหาร สระแก้ว และฉะเชิงเทรา ต่อไป
๒.๑๐ การจัดทำยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดกำหนดขึ้นจากกรอบแนวคิดที่ต้องการให้ประชาชนใน
พื้นที่ ครอบครัวและยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขชุมชน สามารถปรับตัว ปรับวิธีคิด และพึ่งตนเองได้ โดยใช้ศักยภาพของตนเองในการให้ประชาชนในพื้นที่ ครอบ
ครัวบริหารจัดการ รวมทั้งให้แต่ละชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งภายในชุมชนและระหว่างชุมชนรัฐจะปรับบทบาทให้เกื้อหนุนชุมชนให้สามารถดำเนินการได้
ตามความต้องการ โดย และชุมชน สามารถปรับตัวไม่จำเป็นต้องดำเนินการทุกชุมชนในคราวเดียวกัน รวมทั้งปรับปรุงบทบาทของ ปรับวิธีคิด และพึ่ง
ตนเองได้ผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานภูมิภาค และความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน โดยใช้ศักยภาพของตนเองในและภาคประชา
สังคมอย่างเหมาะสม เพื่อร่วมกันรับผิดชอบดูแลผู้ด้อยโอกาสและการแก้ไขปัญหาสังคม ตลอดจนรักษาและดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การ
บริหารจัดการ รวมทั้งให้เกิดความเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ ภายใต้ ๕ แผนงาน ด้วยงบประมาณ ให้แต่ละชุมชนช่วยเหลือ ๕,๐๐๐ ล้านบาท
เกื้อกูลกันทั้งภายในชุมชน
ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดให้มีการติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดในภาคต่าง ๆ พร้อมทั้งให้ข้อคิดเห็น
และข้อเสนอแนะ และระหว่างชุมชนแก่จังหวัดและคณะทำงาน ขณะนี้จังหวัดอยู่ระหว่างดำเนินการพิจารณากลั่นกรอง และอนุมัติโครงการตามกรอบงบ
ประมาณที่ได้รับจัดสรรและตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยรัฐบาลได้เร่งรัดให้ทุกจังหวัดที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนในปี ๒๕๕๐ ดำเนินการกระจายเม็ดเงินลงสู่
ชุมชนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕ นอกจากนี้ รัฐบาลได้กำหนดให้ดำเนินการพัฒนาดัชนีชี้วัดผลการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมและสะท้อนการพัฒนา
ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันใน
สังคมไทยซึ่งการดำเนินงานได้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีทั้งการรับฟังความเห็นจากหน่วยงาน การจัดให้มีการลงพื้นที่ชุมชน
สอบถามความคิดเห็นเรื่องความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในมุมมองของชาวบ้าน ใน ๔ ภูมิภาคทั่วประเทศ
การดำเนินการในระยะต่อไปเป็นการขอตั้งงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่กระทรวงมหาดไทยจะจัดทำแผนและข้อเสนองบ
ประมาณตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด โดยกำหนดเกณฑ์การเลือกโครงการจากการประเมินผลการดำเนินงานในปี ๒๕๕๐ และมีการติดตามและ
ประเมินผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด และจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
๒.๑๑ การป้องกันและการควบคุมการระบาดของไข้หวัดนก รัฐบาลได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่
และไข้หวัดนกของภาครัฐและภาคธุรกิจโดยดำเนินการซ้อมแผนระดับกระทรวง และในระดับกรมรวมทั้งได้พัฒนาระบบเตือนภัยไข้หวัดนก โดยการศึกษา
การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์เชื้อไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนกและการดื้อต่อสารต้านเชื้อไวรัส การพัฒนาศักยภาพและความสามารถห้องปฏิบัติการอ้างอิงตรวจ
ยืนยันเชื้อไวรัสไข้หวัดนกให้เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงระดับภูมิภาคในประเทศแถบเอเชีย รวมทั้งการผลิตและเผยแพร่สื่อความรู้ในการป้องกันโรคไข้หวัด
นก ไปยังประชาชนกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการดำเนินการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนก ซึ่งเน้นความปลอดภัย
ของประชาชนเป็นหลัก และจัดตั้งเครือข่ายการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระดับท้องถิ่น ได้แก่ อาสาสมัคร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และให้มีการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการทุกพื้นที่ในประเทศไทย ปีละ ๒ ครั้ง และเพิ่มเติม
รอบพิเศษตามสภาวะโรคทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ที่เคยเกิดโรคไข้หวัดนกปีละ ๔ ครั้ง มีการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก
ภายในจังหวัดและภายในโซนการเลี้ยงสัตว์ปีกและระหว่างโซนการเลี้ยงสัตว์ปีกทั้ง ๕ โซนอย่างเคร่งครัด เร่งรัดเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกปรับปรุงระบบ
การเลี้ยงสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ ให้เป็นแบบระบบปิด นอกจากนี้ได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกและเตรียมความพร้อมรับการระบาด
ใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๓) เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินการในระยะ ๓ ปี ซึ่งจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี
พิจารณาต่อไป
๒.๑๒ การจัดตั้งโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกในการจัดตั้ง
โรงงานผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ขนาดกึ่งอุตสาหกรรม ทำให้สามารถผลิตวัคซีนได้เองใน พ.ศ. ๒๕๕๒ ทั้งชนิดที่ระบาดตามปกติและชนิดที่มาจาก
เชื้อโรคไข้หวัดนก โดยใช้งบประมาณ ๑,๕๒๗ ล้านบาทภายใน ๓ ปี เพื่อผลิตวัคซีนให้ได้ปีละ ๒ ล้านโด๊ส ซึ่งโครงการได้รับการอนุมัติจากคณะ
กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว และจะได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
๒.๑๓ การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง สำหรับการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ได้มอบหมายให้กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณน้ำฝน น้ำท่าน้ำเก็บกักและการขาดแคลนระบบประปา
หมู่บ้าน โดยมีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งรวม ๓๗ จังหวัดซึ่งมีการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้
ก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน ๒,๕๐๐ แห่ง
บูรณะฟื้นฟูแหล่งน้ำ การก่อสร้างฝายคันน้ำ ๑๘,๐๐๐ แห่ง
ปรับปรุงบ่อน้ำตื้น ๑,๔๑๔ บ่อ
เป่าล้างบ่อบาดาล ๔,๖๙๙ บ่อ
เจาะบ่อบาดาลเพิ่มเติม ๑,๔๐๐ บ่อ
ขุดลอกคลองเพื่อเก็บกักน้ำในฤดูแล้ง ๔๕๐ สาย
ขุดลอกตะกอนอ่างเก็บน้ำ ๕๘ แห่ง
ก่อสร้างแหล่งน้ำชุมชนชนบท ๑๖๘ แห่ง
นอกจากนี้ยังดำเนินการซ่อมแซมอุปกรณ์ เช่น เครื่องสูบน้ำ การเตรียมรถแจกจ่ายน้ำ ในส่วนของการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน ทั้งภาค
เกษตร และอุตสาหกรรมตลอดจนประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ด้วยการจ้างงานระยะสั้นในพื้นที่ภายใต้โครงการจ้างงานเร่งด่วน เพื่อชะลอการอพยพ
เคลื่อนย้าย และตรึงผู้ประสบภัยให้อยู่ในพื้นที่ ซึ่งได้รับความช่วยเหลือแล้ว ๑๘๑,๘๒๑ คน
นอกจากนั้น ในปี ๒๕๕๐ ได้เตรียมการแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่สำคัญ คือซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน ๓,๐๐๐ แห่ง การเป่าล้างบ่อบาดาล
๑๕,๐๙๔ บ่อ การเจาะบ่อบาดาลเพิ่มเติม ๔๐๐ บ่อ พัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง เพื่อเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์ในด้านการเกษตรและอุปโภคบริโภค
ประมาณ ๔๕๐,๐๐๐ ไร่ วางแผนปฏิบัติการฝนหลวงทั่วประเทศ สำรองเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ๑,๒๐๐ เครื่อง รถบรรทุกน้ำ ๒๙๕ คัน สำรองเสบียง
อาหารสัตว์และเวชภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์๓,๘๐๐ ตัน การสำรองปัจจัยการผลิตพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์น้ำ การจัดทำแผนจัดสรรน้ำจากอ่างเก็บน้ำ
ขนาดใหญ่ ขนาดกลางทั่วประเทศ และกำหนดแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี ๒๕๕๐ ให้เหมาะสมกับน้ำต้นทุนที่มีอยู่ โดยมีเป้าหมายพื้นที่ปลูก ๑๒.๗๑ ล้าน
ไร่แยกเป็นข้าวนาปรัง ๙.๘๘ ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก ๒.๘๓ ล้านไร่
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ปี ๒๕๔๖ - ๒๕๔๙ พบว่ามีการเพิ่มสูงขึ้นของฝุ่นขนาดเล็ก (PM ) ในช่วงปลายเดือนธันวาคม ถึงเดือน เมษายนของทุกปี (มาตรฐานค่าเฉลี่ย ๒๔
ชั่วโมง ของ PM10 ไม่เกิน ๑๒ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) โดยในปี ๒๕๕๐ เริ่มตรวจพบแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์
ทำให้พื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยเกิดสภาพฟ้าหลัวมีหมอกควันปกคลุม ทัศนวิสัยต่ำกว่า ๑ กิโลเมตร ในหลายจังหวัด
รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน โดยตรวจสอบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า ๑๐ ไมครอน และรายงานข้อมูลทุก
วัน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปได้รับทราบ และขอความร่วมมือในการดูแลให้ความเอาใจใส่ปรับแต่งบำรุงรักษารถยนต์ไม่ให้ระบาย
ควันดำเกินมาตรฐาน และงดการเผาในที่โล่งทุกชนิด รวมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินการร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและจัดหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพื่อระงับ
เหตุในพื้นที่ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๐ เห็นชอบการดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันภาคเหนือ โดยระดมกำลัง
พนักงานดับไฟป่าจากพื้นที่อื่น ๆ ที่มีปัญหาการเกิดไฟป่าน้อยไปสนับสนุนพื้นที่ที่มีปัญหาการเกิดไฟป่ามากกว่า ส่งกำลังสนับสนุนเพิ่มเติม จำนวน ๕๘๐ คน
รณรงค์ป้องกันไฟป่าทุกรูปแบบผ่านสื่อทุกแขนง และมอบหมายให้กองทัพภาคที่ ๓ ดำเนินการสนธิกำลังในการดำเนินการลาดตระเวนป้องปราม และเข้า
ดำเนินการดับไฟในพื้นที่นอกเขตป่าอนุรักษ์ รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขจัดเตรียมคลินิกพิเศษเพื่อให้บริการแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบฯ
และให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดในท้องที่ภาคเหนือทั้ง ๑๗ จังหวัด มีอำนาจในสั่งการให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการกำกับดูแลการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศสมาชิกอาเซียนโดยประสานไปยังประเทศสมาชิกฯ เพื่อขอความร่วมมือใน
การควบคุมไฟที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ สำหรับกรณีหมอกควันข้ามแดนในประเทศสมาชิกอาเซียนในลุ่มน้ำโขง ประเทศไทยจะจัดการประชุมหารือ
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๐ ที่กรุงเทพมหานคร
๒.๙ การแก้ไขปัญหาผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย รัฐบาลได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในด้านที่ดินทำ
กิน และยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ โดยเป็นเรื่องต่อเนื่องมาจากรัฐบาลก่อน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบสภาพ
ปัญหาและดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน และเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๙ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการช่วยเหลือผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย
ในส่วนของจังหวัดสกลนคร จำนวน ๗๔๗ คน แล้วและจะเร่งดำเนินการช่วยเหลือผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยในพื้นที่ ๑๐ จังหวัดที่เหลือ ได้แก่ นครราชสีมา
ยโสธร บุรีรัมย์ สุรินทร์ กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี นครพนม มุกดาหาร สระแก้ว และฉะเชิงเทรา ต่อไป
๒.๑๐ การจัดทำยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดกำหนดขึ้นจากกรอบแนวคิดที่ต้องการให้ประชาชนใน
พื้นที่ ครอบครัวและยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขชุมชน สามารถปรับตัว ปรับวิธีคิด และพึ่งตนเองได้ โดยใช้ศักยภาพของตนเองในการให้ประชาชนในพื้นที่ ครอบ
ครัวบริหารจัดการ รวมทั้งให้แต่ละชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งภายในชุมชนและระหว่างชุมชนรัฐจะปรับบทบาทให้เกื้อหนุนชุมชนให้สามารถดำเนินการได้
ตามความต้องการ โดย และชุมชน สามารถปรับตัวไม่จำเป็นต้องดำเนินการทุกชุมชนในคราวเดียวกัน รวมทั้งปรับปรุงบทบาทของ ปรับวิธีคิด และพึ่ง
ตนเองได้ผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานภูมิภาค และความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน โดยใช้ศักยภาพของตนเองในและภาคประชา
สังคมอย่างเหมาะสม เพื่อร่วมกันรับผิดชอบดูแลผู้ด้อยโอกาสและการแก้ไขปัญหาสังคม ตลอดจนรักษาและดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การ
บริหารจัดการ รวมทั้งให้เกิดความเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ ภายใต้ ๕ แผนงาน ด้วยงบประมาณ ให้แต่ละชุมชนช่วยเหลือ ๕,๐๐๐ ล้านบาท
เกื้อกูลกันทั้งภายในชุมชน
ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดให้มีการติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดในภาคต่าง ๆ พร้อมทั้งให้ข้อคิดเห็น
และข้อเสนอแนะ และระหว่างชุมชนแก่จังหวัดและคณะทำงาน ขณะนี้จังหวัดอยู่ระหว่างดำเนินการพิจารณากลั่นกรอง และอนุมัติโครงการตามกรอบงบ
ประมาณที่ได้รับจัดสรรและตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยรัฐบาลได้เร่งรัดให้ทุกจังหวัดที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนในปี ๒๕๕๐ ดำเนินการกระจายเม็ดเงินลงสู่
ชุมชนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕ นอกจากนี้ รัฐบาลได้กำหนดให้ดำเนินการพัฒนาดัชนีชี้วัดผลการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมและสะท้อนการพัฒนา
ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันใน
สังคมไทยซึ่งการดำเนินงานได้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีทั้งการรับฟังความเห็นจากหน่วยงาน การจัดให้มีการลงพื้นที่ชุมชน
สอบถามความคิดเห็นเรื่องความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในมุมมองของชาวบ้าน ใน ๔ ภูมิภาคทั่วประเทศ
การดำเนินการในระยะต่อไปเป็นการขอตั้งงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่กระทรวงมหาดไทยจะจัดทำแผนและข้อเสนองบ
ประมาณตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด โดยกำหนดเกณฑ์การเลือกโครงการจากการประเมินผลการดำเนินงานในปี ๒๕๕๐ และมีการติดตามและ
ประเมินผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด และจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
๒.๑๑ การป้องกันและการควบคุมการระบาดของไข้หวัดนก รัฐบาลได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่
และไข้หวัดนกของภาครัฐและภาคธุรกิจโดยดำเนินการซ้อมแผนระดับกระทรวง และในระดับกรมรวมทั้งได้พัฒนาระบบเตือนภัยไข้หวัดนก โดยการศึกษา
การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์เชื้อไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนกและการดื้อต่อสารต้านเชื้อไวรัส การพัฒนาศักยภาพและความสามารถห้องปฏิบัติการอ้างอิงตรวจ
ยืนยันเชื้อไวรัสไข้หวัดนกให้เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงระดับภูมิภาคในประเทศแถบเอเชีย รวมทั้งการผลิตและเผยแพร่สื่อความรู้ในการป้องกันโรคไข้หวัด
นก ไปยังประชาชนกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการดำเนินการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนก ซึ่งเน้นความปลอดภัย
ของประชาชนเป็นหลัก และจัดตั้งเครือข่ายการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระดับท้องถิ่น ได้แก่ อาสาสมัคร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และให้มีการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการทุกพื้นที่ในประเทศไทย ปีละ ๒ ครั้ง และเพิ่มเติม
รอบพิเศษตามสภาวะโรคทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ที่เคยเกิดโรคไข้หวัดนกปีละ ๔ ครั้ง มีการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก
ภายในจังหวัดและภายในโซนการเลี้ยงสัตว์ปีกและระหว่างโซนการเลี้ยงสัตว์ปีกทั้ง ๕ โซนอย่างเคร่งครัด เร่งรัดเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกปรับปรุงระบบ
การเลี้ยงสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ ให้เป็นแบบระบบปิด นอกจากนี้ได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกและเตรียมความพร้อมรับการระบาด
ใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๓) เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินการในระยะ ๓ ปี ซึ่งจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี
พิจารณาต่อไป
๒.๑๒ การจัดตั้งโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกในการจัดตั้ง
โรงงานผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ขนาดกึ่งอุตสาหกรรม ทำให้สามารถผลิตวัคซีนได้เองใน พ.ศ. ๒๕๕๒ ทั้งชนิดที่ระบาดตามปกติและชนิดที่มาจาก
เชื้อโรคไข้หวัดนก โดยใช้งบประมาณ ๑,๕๒๗ ล้านบาทภายใน ๓ ปี เพื่อผลิตวัคซีนให้ได้ปีละ ๒ ล้านโด๊ส ซึ่งโครงการได้รับการอนุมัติจากคณะ
กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว และจะได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
๒.๑๓ การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง สำหรับการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ได้มอบหมายให้กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณน้ำฝน น้ำท่าน้ำเก็บกักและการขาดแคลนระบบประปา
หมู่บ้าน โดยมีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งรวม ๓๗ จังหวัดซึ่งมีการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้
ก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน ๒,๕๐๐ แห่ง
บูรณะฟื้นฟูแหล่งน้ำ การก่อสร้างฝายคันน้ำ ๑๘,๐๐๐ แห่ง
ปรับปรุงบ่อน้ำตื้น ๑,๔๑๔ บ่อ
เป่าล้างบ่อบาดาล ๔,๖๙๙ บ่อ
เจาะบ่อบาดาลเพิ่มเติม ๑,๔๐๐ บ่อ
ขุดลอกคลองเพื่อเก็บกักน้ำในฤดูแล้ง ๔๕๐ สาย
ขุดลอกตะกอนอ่างเก็บน้ำ ๕๘ แห่ง
ก่อสร้างแหล่งน้ำชุมชนชนบท ๑๖๘ แห่ง
นอกจากนี้ยังดำเนินการซ่อมแซมอุปกรณ์ เช่น เครื่องสูบน้ำ การเตรียมรถแจกจ่ายน้ำ ในส่วนของการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน ทั้งภาค
เกษตร และอุตสาหกรรมตลอดจนประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ด้วยการจ้างงานระยะสั้นในพื้นที่ภายใต้โครงการจ้างงานเร่งด่วน เพื่อชะลอการอพยพ
เคลื่อนย้าย และตรึงผู้ประสบภัยให้อยู่ในพื้นที่ ซึ่งได้รับความช่วยเหลือแล้ว ๑๘๑,๘๒๑ คน
นอกจากนั้น ในปี ๒๕๕๐ ได้เตรียมการแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่สำคัญ คือซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน ๓,๐๐๐ แห่ง การเป่าล้างบ่อบาดาล
๑๕,๐๙๔ บ่อ การเจาะบ่อบาดาลเพิ่มเติม ๔๐๐ บ่อ พัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง เพื่อเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์ในด้านการเกษตรและอุปโภคบริโภค
ประมาณ ๔๕๐,๐๐๐ ไร่ วางแผนปฏิบัติการฝนหลวงทั่วประเทศ สำรองเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ๑,๒๐๐ เครื่อง รถบรรทุกน้ำ ๒๙๕ คัน สำรองเสบียง
อาหารสัตว์และเวชภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์๓,๘๐๐ ตัน การสำรองปัจจัยการผลิตพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์น้ำ การจัดทำแผนจัดสรรน้ำจากอ่างเก็บน้ำ
ขนาดใหญ่ ขนาดกลางทั่วประเทศ และกำหนดแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี ๒๕๕๐ ให้เหมาะสมกับน้ำต้นทุนที่มีอยู่ โดยมีเป้าหมายพื้นที่ปลูก ๑๒.๗๑ ล้าน
ไร่แยกเป็นข้าวนาปรัง ๙.๘๘ ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก ๒.๘๓ ล้านไร่
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-