- สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ ก่อนจะกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงปลายสัปดาห์ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุก
ประเภทยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ไทย ยังคงปรับ
ตัวลดลง เนื่องจากการคาดการณ์ว่าอาจมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ และ US Treasury Yield ปรับตัวลดลงเช่นกัน
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ และปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 9 ปี อีกครั้งในวันศุกร์ที่ 34.90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากความต้อง
การขายดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก หลังจากคาดการณ์ว่า ธปท. อาจยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ในวันที่ 15 มี.ค. ซึ่งจะทำให้เงินบาท
แข็งค่าขึ้น ขณะที่เงินบาท offshore เริ่มปรับอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์ที่ขาดดุลเคลียริ่งหรือดำรงเงินสดสำรองได้ต่ำ
กว่าเกณฑ์เฉลี่ยสำหรับการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันพุธลดการลงทุนลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ระยะ 1 วัน อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ใหม่ที่ธนาคารพาณิชย์ไม่เร่งสำรอง
เงินสดมากนัก จึงนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยน
แปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.5 4.53125 และ 4.53125 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่าง
ร้อยละ 4.0 - 4.6 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.55 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 89,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
17,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 14 วัน วงเงินรวม 60,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี 4 เดือน และ 12 ปี วงเงินรวม
8,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารทุกประเภทปรับตัวลดลง นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ อายุ 6 ปี วง
เงิน 1,000 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 10 12 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐ
ครบกำหนด 84,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 4,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 265,779 ล้านบาท หรือคิดเป็น 53,156 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 24 แต่ปริมาณธุรกรรม Outright ลดลงเพียงร้อยละ 7 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก เนื่องจาก
หลายฝ่ายเห็นว่า ธปท.ควรลดอัตราดอกเบี้ยให้รวดเร็วขึ้น ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 10-19
basis points ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 100 และ 26 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ในช่วงต้นสัปดาห์ ปรับตัวลดลงอย่างมาก เนื่องจากมีการย้ายเงินทุนมาที่ตลาดพันธบัตรเพื่อลดความ
เสี่ยง เนื่องจากมีข้อมูลที่แสดงถึงความอ่อนแอของภาคอสังหาริมทรัพย์ จากการเพิ่มขึ้นของอัตราการผิดนัดชำระหนี้ ประกอบกับตัวเลขยอดค้าปลีกที่ลดต่ำ
ลง ซึ่งจะส่งผลถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และถึงแม้ว่าในปลายสัปดาห์ดัชนีราคาผู้ผลิตและ ดัชนีราคาผู้บริโภคจะปรับเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นแรงกดดันต่อภาวะ
เงินเฟ้อ แต่ทำให้อัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลด
ลง 0-8 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ก.พ. 50 35.69
เฉลี่ย 6 - 9 มี.ค.50 35.18
12 มี.ค. 50 35.18
13 มี.ค. 50 35.12
14 มี.ค. 50 35.04
15 มี.ค. 50 34.97
16 มี.ค. 50 34.90
เฉลี่ย 12 - 16 มี.ค.50 35.04
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.04 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.4 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทมีทิศ
ทางแข็งค่าขึ้น อย่างต่อเนื่องตลอดสัปดาห์และปรับแข็งค่าที่สุดอีกครั้งในรอบกว่า 9 ปี ที่ 34.90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ โดยมีปัจจัยสนับสนุน
จากการแข็งค่า ของเงินสกุลภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกเป็นจำนวนมากเพื่อตัดขาดทุน หลังจาก
คาดการณ์ว่า ธปท. อาจยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ในวันพฤหัสบดีที่ 15 มี.ค. ซึ่งเป็นวันแรกที่ ธปท. ได้เพิ่มทางเลือกให้เงินทุนนำเข้า
สามารถทำ fully hedge อันจะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะต่อไป สำหรับค่าเงินบาทในตลาด offshore เคลื่อนไหวในกรอบ
แคบๆ และปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจาก
ตัวเลขเศรษฐกิจออกมาไม่ดี ประกอบกับนักลงทุนส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ในธุรกิจปล่อยกู้จำนองชั้นรอง (Subprime
Mortgage Lenders) ในสหรัฐฯ ส่งผลให้มีความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นจำนวนมาก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ประเภทยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ไทย ยังคงปรับ
ตัวลดลง เนื่องจากการคาดการณ์ว่าอาจมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ และ US Treasury Yield ปรับตัวลดลงเช่นกัน
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ และปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 9 ปี อีกครั้งในวันศุกร์ที่ 34.90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากความต้อง
การขายดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก หลังจากคาดการณ์ว่า ธปท. อาจยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ในวันที่ 15 มี.ค. ซึ่งจะทำให้เงินบาท
แข็งค่าขึ้น ขณะที่เงินบาท offshore เริ่มปรับอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์ที่ขาดดุลเคลียริ่งหรือดำรงเงินสดสำรองได้ต่ำ
กว่าเกณฑ์เฉลี่ยสำหรับการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันพุธลดการลงทุนลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ระยะ 1 วัน อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ใหม่ที่ธนาคารพาณิชย์ไม่เร่งสำรอง
เงินสดมากนัก จึงนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยน
แปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.5 4.53125 และ 4.53125 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่าง
ร้อยละ 4.0 - 4.6 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.55 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 89,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
17,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 14 วัน วงเงินรวม 60,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี 4 เดือน และ 12 ปี วงเงินรวม
8,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารทุกประเภทปรับตัวลดลง นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ อายุ 6 ปี วง
เงิน 1,000 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 10 12 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐ
ครบกำหนด 84,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 4,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 265,779 ล้านบาท หรือคิดเป็น 53,156 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 24 แต่ปริมาณธุรกรรม Outright ลดลงเพียงร้อยละ 7 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก เนื่องจาก
หลายฝ่ายเห็นว่า ธปท.ควรลดอัตราดอกเบี้ยให้รวดเร็วขึ้น ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 10-19
basis points ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 100 และ 26 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ในช่วงต้นสัปดาห์ ปรับตัวลดลงอย่างมาก เนื่องจากมีการย้ายเงินทุนมาที่ตลาดพันธบัตรเพื่อลดความ
เสี่ยง เนื่องจากมีข้อมูลที่แสดงถึงความอ่อนแอของภาคอสังหาริมทรัพย์ จากการเพิ่มขึ้นของอัตราการผิดนัดชำระหนี้ ประกอบกับตัวเลขยอดค้าปลีกที่ลดต่ำ
ลง ซึ่งจะส่งผลถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และถึงแม้ว่าในปลายสัปดาห์ดัชนีราคาผู้ผลิตและ ดัชนีราคาผู้บริโภคจะปรับเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นแรงกดดันต่อภาวะ
เงินเฟ้อ แต่ทำให้อัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลด
ลง 0-8 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ก.พ. 50 35.69
เฉลี่ย 6 - 9 มี.ค.50 35.18
12 มี.ค. 50 35.18
13 มี.ค. 50 35.12
14 มี.ค. 50 35.04
15 มี.ค. 50 34.97
16 มี.ค. 50 34.90
เฉลี่ย 12 - 16 มี.ค.50 35.04
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.04 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.4 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทมีทิศ
ทางแข็งค่าขึ้น อย่างต่อเนื่องตลอดสัปดาห์และปรับแข็งค่าที่สุดอีกครั้งในรอบกว่า 9 ปี ที่ 34.90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ โดยมีปัจจัยสนับสนุน
จากการแข็งค่า ของเงินสกุลภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกเป็นจำนวนมากเพื่อตัดขาดทุน หลังจาก
คาดการณ์ว่า ธปท. อาจยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ในวันพฤหัสบดีที่ 15 มี.ค. ซึ่งเป็นวันแรกที่ ธปท. ได้เพิ่มทางเลือกให้เงินทุนนำเข้า
สามารถทำ fully hedge อันจะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะต่อไป สำหรับค่าเงินบาทในตลาด offshore เคลื่อนไหวในกรอบ
แคบๆ และปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจาก
ตัวเลขเศรษฐกิจออกมาไม่ดี ประกอบกับนักลงทุนส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ในธุรกิจปล่อยกู้จำนองชั้นรอง (Subprime
Mortgage Lenders) ในสหรัฐฯ ส่งผลให้มีความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นจำนวนมาก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-