- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งเนื่องจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีความต้องการดำรง เงินสดสำรอง
สูงขึ้น แต่อัตราดอกเบี้ย R/P 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับ
ตัวลดลง ตามแนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ และมีค่าเฉลี่ยแทบไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปรับอ่อนค่าลงในช่วงต้นและปลายไตรมาส
ตามค่าเงินในภูมิภาคและความต้องการซื้อดอลลาร์ สรอ. จากธนาคารต่างประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ จากความต้อง
การขายของนักลงทุนหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาไม่ดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีความต้องการดำรง
เงินสดสำรองสูงขึ้นเพื่อการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคาร ประกอบกับมีสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่งจากการโอนเงินในระบบ
ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จึงลดการลงทุนระยะสั้นลง อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ โดยธนาคาร
พาณิชย์ทยอยนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนอย่างต่อเนื่อง หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิด
ตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.0 4.03125 และ 4.03125 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วง
เคลื่อนไหวกว้างขึ้นเป็นร้อยละ 4.02 - 4.12 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดระหว่างร้อยละ 4.04 - 4.05 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 102,740 ล้านบาท โดยเป็น ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
19,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 7 และ 14 วัน วงเงินรวม 75,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี 4 เดือน และ 17 ปี วง
เงิน 8,740 ล้านบาท แต่พันธบัตร ธปท. มีผู้เสนอประมูลน้อยกว่าวงเงินที่เปิดประมูล จึงทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร ธปท. ปรับตัวเพิ่มขึ้น ใน
ขณะที่อัตราผลตอบแทนของตั๋วเงินคลังและพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงตามการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการ
ไฟฟ้านครหลวง วงเงิน 1,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรออกใหม่รวม 72,026 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 79,000 ล้านบาท จึงมี
ปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 6,974 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง (เฉพาะธุรกรรม outright) มีมูลค่า 248,262 ล้านบาท หรือคิดเป็น 49,652 ล้านบาทต่อ
วัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.6 ปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติเท่ากับ 8,853 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 104 และคิดเป็น
ร้อยละ 6.6 ของมูลค่าธุรกรรม outright โดยสัปดาห์นี้มียอดขายสุทธิเท่ากับ 6,400 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 15 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลง 9-12
basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไปมีอัตราผลตอบแทนลดลง 3-6 basis points เนื่องจากมีการปรับลดประมาณการการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับลดลง ส่งผลให้ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้น
48 และ 41 basis point ตามลำดับ
ส่วน US Treasury Yield ในช่วงต้นสัปดาห์ปรับตัวลดลงจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและยอดขายบ้านมือสองที่ลดต่ำลง ต่อมาในช่วง
ปลายสัปดาห์yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของยอดขายสินค้าคงทน และการลดลงของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผล
ตอบแทนพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวลดลง 0-8 basis points อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้น
2-4 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 50 35.01
เฉลี่ย 17 - 20 เม.ย.50 34.79
23 เม.ย. 50 34.77
24 เม.ย. 50 34.78
25 เม.ย. 50 34.71
26 เม.ย. 50 34.73
27 เม.ย. 50 34.79
เฉลี่ย 23 - 27 เม.ย.50 34.77
เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่าง 34.71 - 34.79 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 34.77 บาทต่อ
ดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่จะส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทอย่างมีนัยสำคัญ โดยเงิน
บาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากธนาคารต่างประเทศ แต่การอ่อนค่าของ
เงินบาทถูกจำกัดด้วยความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออกไทย อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตาม
ทิศทางค่าเงินสกุลภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับแข็งค่าขึ้นเนื่องจากดุลการค้าของญี่ปุ่นยังคงเกินดุลในระดับสูง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่า
ลงหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทปรับอ่อนค่าลงตามค่าเงินสกุลภูมิภาคและเงินเยน
ประกอบกับ ธปท. มีการปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลง ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยนักลง
ทุนส่วนใหญ่รอการประกาศผลตัวเลข GDP ของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในคืนวันศุกร์ที่ 27 เม.ย. ทั้งนี้ ตัวเลข GDP ของสหรัฐฯ ประจำไตรมาสแรก
ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ค่อนข้างมาก ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยกดดันเงินดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์หน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
สูงขึ้น แต่อัตราดอกเบี้ย R/P 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับ
ตัวลดลง ตามแนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ และมีค่าเฉลี่ยแทบไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปรับอ่อนค่าลงในช่วงต้นและปลายไตรมาส
ตามค่าเงินในภูมิภาคและความต้องการซื้อดอลลาร์ สรอ. จากธนาคารต่างประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ จากความต้อง
การขายของนักลงทุนหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาไม่ดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีความต้องการดำรง
เงินสดสำรองสูงขึ้นเพื่อการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคาร ประกอบกับมีสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่งจากการโอนเงินในระบบ
ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จึงลดการลงทุนระยะสั้นลง อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ โดยธนาคาร
พาณิชย์ทยอยนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนอย่างต่อเนื่อง หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิด
ตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.0 4.03125 และ 4.03125 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วง
เคลื่อนไหวกว้างขึ้นเป็นร้อยละ 4.02 - 4.12 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดระหว่างร้อยละ 4.04 - 4.05 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 102,740 ล้านบาท โดยเป็น ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
19,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 7 และ 14 วัน วงเงินรวม 75,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี 4 เดือน และ 17 ปี วง
เงิน 8,740 ล้านบาท แต่พันธบัตร ธปท. มีผู้เสนอประมูลน้อยกว่าวงเงินที่เปิดประมูล จึงทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร ธปท. ปรับตัวเพิ่มขึ้น ใน
ขณะที่อัตราผลตอบแทนของตั๋วเงินคลังและพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงตามการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการ
ไฟฟ้านครหลวง วงเงิน 1,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรออกใหม่รวม 72,026 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 79,000 ล้านบาท จึงมี
ปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 6,974 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง (เฉพาะธุรกรรม outright) มีมูลค่า 248,262 ล้านบาท หรือคิดเป็น 49,652 ล้านบาทต่อ
วัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.6 ปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติเท่ากับ 8,853 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 104 และคิดเป็น
ร้อยละ 6.6 ของมูลค่าธุรกรรม outright โดยสัปดาห์นี้มียอดขายสุทธิเท่ากับ 6,400 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 15 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลง 9-12
basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไปมีอัตราผลตอบแทนลดลง 3-6 basis points เนื่องจากมีการปรับลดประมาณการการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับลดลง ส่งผลให้ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้น
48 และ 41 basis point ตามลำดับ
ส่วน US Treasury Yield ในช่วงต้นสัปดาห์ปรับตัวลดลงจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและยอดขายบ้านมือสองที่ลดต่ำลง ต่อมาในช่วง
ปลายสัปดาห์yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของยอดขายสินค้าคงทน และการลดลงของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผล
ตอบแทนพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวลดลง 0-8 basis points อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้น
2-4 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 50 35.01
เฉลี่ย 17 - 20 เม.ย.50 34.79
23 เม.ย. 50 34.77
24 เม.ย. 50 34.78
25 เม.ย. 50 34.71
26 เม.ย. 50 34.73
27 เม.ย. 50 34.79
เฉลี่ย 23 - 27 เม.ย.50 34.77
เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่าง 34.71 - 34.79 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 34.77 บาทต่อ
ดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่จะส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทอย่างมีนัยสำคัญ โดยเงิน
บาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากธนาคารต่างประเทศ แต่การอ่อนค่าของ
เงินบาทถูกจำกัดด้วยความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออกไทย อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตาม
ทิศทางค่าเงินสกุลภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับแข็งค่าขึ้นเนื่องจากดุลการค้าของญี่ปุ่นยังคงเกินดุลในระดับสูง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่า
ลงหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทปรับอ่อนค่าลงตามค่าเงินสกุลภูมิภาคและเงินเยน
ประกอบกับ ธปท. มีการปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลง ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยนักลง
ทุนส่วนใหญ่รอการประกาศผลตัวเลข GDP ของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในคืนวันศุกร์ที่ 27 เม.ย. ทั้งนี้ ตัวเลข GDP ของสหรัฐฯ ประจำไตรมาสแรก
ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ค่อนข้างมาก ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยกดดันเงินดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์หน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-