(ต่อ3)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสสี่ ปี 2547 และแนวโน้มปี 2548

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 9, 2005 14:57 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

3.  ข้อจำกัด/ปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจปี  2548 
3.1 ข้อจำกัด/ปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก
(1) การแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ และผลต่อเศรษฐกิจโลกในปี 2548 การขาดดุบัญชี เดินสะพัดของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2547 การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดคิดเป็นประมาณร้อยละ 5.7 ของ GDP และในปีงบประมาณ 2547 สหรัฐฯ ขาดดุลงบ ประมาณเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 3.6 ของ GDP ซึ่ง เป็นการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน จากปัญหาพื้น ฐานดังกล่าวทำให้นักลงทุนเริ่มขาดความมั่นใจใน เศรษฐกิจสหรัฐฯ และลดการถือครองสินทรัพย์หรือตรา สารทางการเงินในสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. และได้มีการ ปรับพอร์ตการลงทุนมาถือครองสินทรัพย์ในสกุลเงินยูโร มากขึ้น เงินดอลลาร์สรอ.จึงมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ประกอบกับธนาคารกลางของประเทศในเอเชียบาง ประเทศ อาทิ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นได้เริ่มลดการแทรก แซงค่าเงิน ในขณะที่ประเทศจีนได้ขยายช่วงการเคลื่อน ไหวของอัตราแลกเปลี่ยนออกประมาณร้อยละ 3 จากการ ที่การประชุมของรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลาง 20 ประเทศ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2547 ที่กรุง เบอร์ลิน ได้เรียกร้องให้ประเทศในเอเชียปล่อยค่าเงินให้มี ความยืดหยุ่นตามปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น เงินดอลลาร์ สรอ. จึงอ่อนค่าลง และตลาดมีความกังวลมากขึ้นว่าเงิน ดอลลาร์ สรอ. จะอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วและมีการเก็ง กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนกันมากขึ้นจนทำให้อัตราแลก เปลี่ยนมีความผันผวน และค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนลงมาก ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของประเทศต่าง ๆ โดย เฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียไปตลาดสหรัฐฯ และทำ ให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่รุนแรงกว่าที่คาด กันไว้ ประกอบกับราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับค่อนข้าง สูงอาจจะซ้ำเติมให้ภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รุนแรงกว่าแนวโน้มปกติ
อย่างไรก็ตาม คาดว่าสหรัฐฯ จะดำเนินนโยบายการเงินที่ เข้มงวดมากขึ้น และปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามลำดับ โดยอัตราดอกเบี้ย Fed funds จะอยู่ในระดับประมาณ ร้อยละ 3.50 ภายในสิ้นปี 2548 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ แท้จริงยังอยู่ในระดับต่ำแม้ว่าจะได้ปรับเพิ่มมาแล้วรวม 6 ครั้งตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2547 ค่าเงินที่อ่อนลงและอัตรา ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะทำให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่ม ลดลง ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มสูงกว่า อัตราดอกเบี้ยในเอเชีย และทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ที่ได้คำนึงค่าเงินดอลลาร์ที่จะอ่อนตัวลงแล้วยังสามารถ ทำให้เกิดความต้องการสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะจากญี่ปุ่นซึ่งอัตราดอกเบี้ยภาย ในประเทศเป็นร้อยละ 0 ดังนั้นแรงกดดันที่ทำให้เงิน ดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจะไม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำ ให้เศรษฐกิจโลกขาดเสถียรภาพ และที่สำคัญเศรษฐกิจ สหรัฐฯ ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 4.4 ทำให้ความมั่นใจใน เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีมากขึ้นและมีความจำเป็นต้องปรับ เพิ่มดอกเบี้ยต่อไปอีก
(2) การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน เศรษฐกิจจีนที่ยังขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 9.5 ได้ สร้างความกังวลว่าเศรษฐกิจยังมีความร้อนแรง และเมื่อ ประกอบกับความอ่อนแอของภาคการเงิน อาจสร้างแรง กดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ และปัญหาหนี้เสียที่อาจจะเกิดขึ้น จนอาจทำให้เศรษฐกิจมีการปรับตัวชะลอลงอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตามขณะนี้เศรษฐกิจจีนมีความสมดุลมากขึ้น และโอกาสที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวอย่างรุนแรงยังมีน้อย ด้วยเหตุผลที่สำคัญ 3 ประการคือ
ประการแรก ความพยายามของรัฐบาลจีนในการชะลอความร้อนแรงของ เศรษฐกิจเฉพาะสาขาที่เป็นเป้าหมายของรัฐบาลปรากฏ ผลมากขึ้น อาทิ เครื่องชี้การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร แสดงว่าสาขาการผลิตที่เป็นเป้าหมายของนโยบาย รัฐบาล อันประกอบด้วย สาขาเหล็ก สาขายานยนต์และ สาขาก่อสร้าง ชะลอลงต่อเนื่องยกเว้นสาขาโลหะพื้นฐาน ซึ่งความต้องการจากต่างประเทศยังอยู่ในระดับสูง และ เมื่อประกอบกับปัจจัยภายนอกที่คาดว่าเศรษฐกิจ ประเทศคู่ค้าหลักจะชะลอตัว ราคาพลังงานที่ยังอยู่ใน ระดับสูง รวมทั้งเป้าหมายของรัฐบาลจีนที่จะชะลอ เศรษฐกิจลงผ่านการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบาย การคลังที่เข้มงวดมากขึ้น จึงคาดว่าการชะลอตัวของ เศรษฐกิจจีนในปี 2548 จะค่อยเป็นค่อยไป
ประการที่สอง ในการประชุมประจำปีของธนาคารกลางจีน ได้ กำหนดแนวทางในการดำเนินงานในปี 2548 ไว้ใน 2 เรื่องหลัก ๆ ที่ทำให้เชื่อได้ว่าจะมีการดูแลภาคการเงิน อย่างจริงจังมากขึ้นและลดความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตของ ภาคการเงินลง เรื่องแรก เป็นเรื่องการปรับปรุงการดูแล ระบบการเงิน โดยเฉพาะโครงสร้างการปล่อยสินเชื่อให้มี ความเข้มแข็งเพื่อรองรับความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ และดูแลเสถียรภาพด้านราคาไม่ให้ราคาปรับ ขึ้นสูงเกินไป และเรื่องที่สอง เป็นเรื่องการดำเนินการ ปฏิรูปเพื่อให้เกิดการพัฒนาในภาคการเงินและขจัด อุปสรรคต่อพัฒนาการทางการเงิน และมีเป้าหมายชัด เจนว่าจะค่อย ๆ ดำเนินการปฏิรูปกลไกอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งรักษาค่าเงินหยวนให้อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ
ประการที่สาม การปรับอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจากแรง กดดันจากภายนอกจะไม่เกิดขึ้นแบบทันทันใด จะเห็นว่า แม้ในการประชุมรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลาง ของกลุ่ม G-7 เมื่อวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาจะมีการ หารือในประเด็นเรื่องความจำเป็นที่จะต้องให้ค่าเงินของ จีนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ก็ปราศจากรายละเอียดของ ระยะเวลาที่ชัดเจน จึงทำให้นักลงทุนต่างก็คาดว่า การ ปรับกลไกอัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นไปตามกำหนดเวลาที่ ประเทศจีนเองพิจารณาว่ามีความเหมาะสมที่สุด โดยจะ ต้องมีการเตรียมการเกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงินในการ ประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และการพัฒนา ตลาดเงินให้มีโครงสร้างที่สามารถสะท้อนโครงสร้างอัตรา ดอกเบี้ยได้อย่างเหมาะสม
(3) ราคาน้ำมันดิบที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงและยังมีแนว โน้มผันผวนได้ง่าย ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัว ต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลกที่จะมีผลต่อการส่งออกของ ไทย ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าจะเพิ่มขึ้นเร็วจาก ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น แต่ปริมาณการใช้ปรับชะลอลง เพียงช้า ๆ ซึ่งจะทำให้การเกินดุลการค้าลดลงอย่างรวด เร็ว รวมทั้งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและ นักลงทุนจากการที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังค่อน ข้างผันผวน
ปัจจัยที่คาดว่าจะทำให้ราคาน้ำมันดิบทรงตัวอยู่ในระดับ สูง นั้นเป็นปัจจัยทั้งในด้านความต้องการใช้ และ ปริมาณการผลิตประกอบด้วย
(3.1) ความต้องการใช้น้ำมันดิบยังเพิ่มขึ้นในขณะที่ ปริมาณสำรองน้ำมันลดลง
-International Energy Agency (IEA) ได้ปรับ ประมาณการความต้องการใช้น้ำมันดิบในปี 2548 เป็นเฉลี่ยวันละ 84.0 ล้านบาเรลจาก ประมาณการเดิมเฉลี่ย 83.8 บาเรลต่อวัน ซึ่งการ คาดการณ์ปริมาณความต้องการใช้ในปี 2548 สูง กว่าในปี 2547 ประมาณวันละ 1.5 ล้านบาเรล ชะลอตัวลงกว่าที่เพิ่มขึ้นประมาณวันละ 2.7 ล้าน บาเรลในปี 2547 เล็กน้อย
-ปริมาณน้ำมันสำรองของกลุ่มประเทศ OECD ลดลง ในเดือนธันวาคม 2547ปริมาณน้ำมัน สำรองอยู่ที่ระดับ 2,576.8 ล้านบาเรล โดยที่ใน ไตรมาสสุดท้ายปี 2547 นั้นสต็อกน้ำมันลดลง โดยเฉลี่ยวันละ 190,000 บาเรล ซึ่งต่ำกว่าค่า เฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่ลดลงประมาณวันละ 950,000 บาเรล ซึ่งทำให้คาดว่าแรงกดดันต่อ ราคาจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณสำรองยังมีอยู่ แต่ไม่มากนัก
(3.2) ด้านปริมาณการผลิต: ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการที่ เพิ่มขึ้นทำให้กำลังการผลิตส่วนเกินลดลงตาม ลำดับ ข้อมูลล่าสุดในเดือนมกราคม 2548 แสดงว่า กลุ่มประเทศโอเปค 10 ประเทศที่ไม่รวมอิรักทำการ ผลิตน้ำมันดิบประมาณวันละ 27.21 ล้านบาเรล ซึ่ง สูงกว่าโควต้าวันละ 27 ล้านบาเรลเล็กน้อย3 แต่ลด ลงกว่าปริมาณการผลิตวันละ 27.76 ล้านบาเรล ใน เดือนธันวาคม นอกจากนี้ยังมีการผลิตของประเทศอิ รักอีกวันละ 1.8 ล้านบาเรล ในขณะที่กำลังการผลิต ส่วนเกิน (Surplus capacity) มีเพียงประมาณวันละ 1.6-2.1 ล้านบาเรลต่อวัน ลดลงจากประมาณวัน 2.6 ล้านบาเรลในช่วงต้นปี 2547 และวันละ 4.5 ล้าน บาเรลในช่วงกลางปี 2546 กำลังการผลิตที่เหลืออยู่ น้อยทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นและอ่อนไหวต่อสถาน การณ์ชั่วคราวที่มีผลกระทบต่อการผลิต โดยที่คาด ว่ากำลังการผลิตของกลุ่มโอเปคอาจจะเพิ่มขึ้น ประมาณวันละ 1 ล้านบาเรลในปี 2548 สำหรับนอก กลุ่มโอเปคนั้นปริมาณการผลิตลดลงเล็กน้อยในช่วง ที่ผ่านมาเนื่องจากปริมาณการผลิตของประเทศแค นาดา นอรเวย์ และอ่าวเม็กซิโก ลดลงในเดือน มกราคม 2548 ปริมาณการผลิตรวมของโลกเท่ากับ วันละ 83.55 ล้านบาเรลลดลงจากวันละ 84.21 ล้าน บาเรลในเดือนธันวาคม 2547 และสำหรับคาดการณ์ ในปี 2548 นั้นทั้งคาดการณ์ปริมาณการผลิตของ ประเทศดังกล่าวจะยังคงลดลง รวมทั้งของประเทศ รัสเซีย ทำให้ปริมาณการผลิตของนอกกลุ่มโอเป คลดลงประมาณวันละ 175,000 บาเรลในปี 2548 ดัง ละนั้นจะเห็นว่าโดยภาพรวมสถานการณ์ด้านการผลิต ยังมีแนวโน้มตึงตัว
(3.3) ปัจจัยเชิงจิตวิทยาและเชิงเทคนิค (การเก็งกำไร ราคาน้ำมันโดยกองทุนบริหารความเสี่ยง หรือ Hedge fund) ทำให้ราคาน้ำมันสูงกว่าที่ควรจะเป็น ตามปัจจัยพื้นฐานด้านความต้องการและปริมาณการ ผลิตน้ำมันดิบมาก ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนถึงเงื่อนไขทั้ง ทางด้านความต้องการและด้านการผลิตดังที่ได้กล่าวแล้ว
3.2 ข้อจำกัด/ปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศ
ปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจประกอบ ด้วย การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยและราคาสินค้าที่สูงขึ้น ราคา น้ำมันที่เพิ่มขึ้นภายหลังการยกเลิกการตรึงราคา ปัญหาภัย แล้ง และการระบาดต่อเนื่องของไข้หวัดนกที่มีผลกระทบต่อ การส่งออก รวมทั้งผลกระทบจากธรณีภัยพิบัติถ้าไม่สามารถ ดำเนินการฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่ตามแผนที่กำหนด
(1) ราคาสินค้าและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ราคาสินค้าและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นได้เริ่มส่ง ผลกระทบต่อการใช้จ่ายของครัวเรือนตั้งแต่ต้นปี 2547 โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าคงทนถาวรที่มีความอ่อนไหวต่อ ราคา รายได้และอัตราดอกเบี้ยมากกว่ากลุ่มสินค้าที่ไม่คง ทนถาวรหรือกึ่งคงทนถาวร ประกอบกับความเชื่อมั่นผู้ป บริโภคที่ลดลง การใช้จ่ายของครัวเรือนสำหรับผลิตภัณฑ์ โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ณ ราคาคงที่ในปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 20.8 ใน ปี 2546 การใช้จ่ายในกลุ่มนี้ที่ชะลอลงชัดเจน คือ หมวด ยานยนต์และอุปกรณ์ซึ่งขยายตัวร้อยละ 17.8 เทียบกับ ร้อยละ 36.4 ในปี 2546 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับตัว ของการใช้จ่ายจากฐานที่ขยายตัวค่อนข้างสูงไปแล้วใน ช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้จะเห็นว่าสินเชื่อเพื่อ การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่ต้นปี โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2547 ยอดคงค้างสินเชื่อ ประเภทนี้เพิ่มจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วประมาณร้อย ละ 12.1 ต่ำกว่าการขยายตัวในอัตราร้อยละ 14.3 ณ สิ้น ปี 2545 และร้อยละ 30.0 ณ สิ้นปี 2546 แม้ว่าในปี 2545 อัตราดอกเบี้ยโดยเปรียบเทียบคาดว่าจะ เพิ่มขึ้นช้ากว่าราคาสินค้า นั่นคืออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ไม่เพิ่มขึ้น แต่การคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะ ทำให้ประชาชนมีความระมัดระวังในการก่อหนี้เพื่อการใช้ จ่าย และทำให้ความต้องการสินค้าทั้งจากตลาดภายใน และตลาดต่างประเทศขยายตัวช้าลงและขณะเดียวกันจะ มีผลกระทบต่อการตัดสินใจในการขยายการลงทุนบ้าง โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ที่ความเชื่อมั่นธุรกิจลดลง ต่ำกว่าระดับ 50 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2547 โดยค่า เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ระดับ 49.0 ต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 50.0 ในปี 2546
(2) ปัญหาการระบาดไข้หวัดนกและผลกระทบต่อการส่ง ออกไก่แช่แข็ง
ปี 2547 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกไก่แช่แข็งลดลงถึง ร้อยละ 92.8 และ 92.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการที่ยุ โรปและญี่ปุ่นห้ามการนำเข้าไก่สดแช่เย็นและแช่แข็งจาก ประเทศไทยตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ในช่วงต้นปี และการระบาดยืดเยื้อของไข้หวัดนกในสัตว์ ปีกจะทำให้ตลาดนำเข้ายังคงเข้มงวดในการนำเข้า และ การตรวจโรงงานรวมทั้งการป้องกันการระบาดในฟาร์ม จะทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
(3) การยกเลิกการตรึงราคาน้ำมันดีเซลจะทำให้ต้นทุน การผลิตและราคาสินค้าภายในประเทศเพิ่มขึ้น ในกรณีที่ราคาน้ำมันดิบ (จากแหล่งโอมาน) เฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 38 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล และรัฐบาลได้เริ่ม ทยอยลดการอุดหนุนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในเดือน กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หากไม่มีการอุดหนุนจะทำให้ราคา ขายปลีกของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วโดยเฉลี่ยในปี 2548 เพิ่มเป็นลิตรละ 19.50 บาท โดยที่ราคาขายปลีกน้ำมัน เบนซิน 95 จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นลิตรละ 21.60 บาท และ ราคาน้ำมันเบนซิน 91 ลิตรละ 20.90 บาท ซึ่งมีผลทำให้ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.7 และมีผล กระทบต่อเนื่องต่อการใช้จ่ายครัวเรือน (4) ผลกระทบจากภัยแล้ง จากปริมาณฝนที่น้อยและฤดูฝน ที่สิ้นสุดเร็วกว่าปกติ รวมทั้งฝนทิ้งช่วง ในปี2547 ได้ทำ ให้เกิดภาวะแห้งแล้งในหลายพื้นที่ของประเทศ ปริมาณ น้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำมีน้อย โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำ 4 แห่งคือ กระเสียว (สุพรรณบุรี) ทับเสลา (อุทัยธานี) ลำ พระเพลิง และลำตะคอง (นครราชสีมา) ที่ใช้ระบายให้พื้น ที่ชลประทานเกือบ 460,000 ไร่ มีปริมาณน้ำต่ำกว่าร้อย ละ 15 ของปริมาณน้ำที่ใช้งานได้ โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำ กระเสียวที่ระบายน้ำให้พื้นที่ชลประทาน 130,000 ไร่ มี ปริมาณน้ำเพียง 40 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณ น้ำที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ซึ่งจะทำให้พื้นที่การเกษตร เสียหาย และส่งผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตร เช่น ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง และข้าว โพดเลี้ยงสัตว์ โดยที่ผลกระทบจากภัยแล้งทั้งเกิดขึ้นทั้ง ทางตรงทางอ้อม คิดเป็นความเสียหายประมาณ 11,000 ล้านบาทในปี 2548
(5) อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น คาดว่าจะไม่กระทบต่อการส่งออกจนน่าเป็นห่วง เนื่องจากเป็นการปรับตัวในทิศทางที่สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาคและดัชนีค่าเงินที่แท้จริงไม่ได้แข็งค่าขึ้นมากและในช่วงที่ผ่านมา การส่งออกของไทยยังเพิ่มขึ้นในทิศทางที่สอดคล้องกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
(ยังมีต่อ).../4.สมมติฐาน..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ