แท็ก
อัตราดอกเบี้ย
- สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้น ก่อนจะปรับลดลงมาอยู่ระดับ
เดิมในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากสภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูง ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดไม่
เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ไทย ปรับตัวลด
ลง เนื่องจากรายงานภาวะเศรษฐกิจแสดงสัญญาณการชะลอตัว ในขณะที่ US Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้น
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ และปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 9 ปี อีกครั้งในวันพฤหัสบดีที่ 35.14 บาท ต่อ
ดอลลาร์ สรอ. หลังจากการคาดการณ์ว่าธปท. อาจยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ในระยะเวลาอันใกล้ หลังจากที่นายฉลองภพ สุสังกร์กา
ญจน์ เข้ารับตำแหน่ง รมว. คลังคนใหม่ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น หลังจากตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกเริ่มฟื้นตัว
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากมีสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่งจากการ
โอนเงินระดับสูงของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูง ความต้องการลงทุนในตลาด
เงินระยะสั้นจึงลดลง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 4.53125 ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อน
หน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.5625 ต่อปี ในวันอังคาร ก่อนจะปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ระดับเดิมในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากสภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับ
สูง และธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่
ร้อยละ 4.5 และ 4.53125 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.1 - 4.58 ขณะที่อัตรากลาง
(Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.55 ต่อปี ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 107,000 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตร ธปท. อายุ 7 14 364 วัน และ 3 ปี วงเงิน
รวม 100,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 12 ปี วงเงิน 6,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้นพันธบัตร
รัฐบาลที่มีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย วงเงิน 1,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตรา
สารภาครัฐครบกำหนด 109,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 2,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 281,172 ล้านบาท หรือคิดเป็น 70,293 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์
ก่อนเล็กน้อย โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 60 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวลดลง ตามรายงานเศรษฐกิจที่
แสดงถึงสัญญาณการชะลอตัว และทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มีแนวโน้มลดลง ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัว
ลดลง 0-12 basis points ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 37 และ 29 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีการแกว่งตัวระหว่างสัปดาห์ ซึ่งเป็นผลจากการย้ายเงินทุนจากตลาดพันธบัตรไปยังตลาดหุ้นที่ฟื้นตัวขึ้น
ภายหลังการปรับตัวลงอย่างรุนแรงในสัปดาห์ก่อน และถึงแม้ว่ารายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจของ Fed จะบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในหลายภูมิภาคที่ทิศ
ทางชะลอลง และในปลายสัปดาห์ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนกุมภาพันธ์จะออกมาต่ำกว่าที่คาด แต่นักลงทุนให้ความสำคัญต่อรายงานอัตรา
การว่างงานที่ลดลง อัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการปรับเพิ่มตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมกราคม ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้อัตรา
เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 6 เดือนขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้น 6-10 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ก.พ. 50 35.69
เฉลี่ย 26 ก.พ. - 2 มี.ค.50 35.46
6 มี.ค. 50 35.23
6 มี.ค. 50 35.23
8 มี.ค. 50 35.14
9 มี.ค. 50 35.16
เฉลี่ย 6 - 9 มี.ค.50 35.18
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.18 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 0.8 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทมี
ทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์และปรับแข็งค่าทำสถิติสูงสุดอีกครั้งในรอบ 9 ปี ที่ 35.14 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพฤหัสบดี
ซึ่งเป็นไปตามการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาค ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกและนักลงทุน เนื่องจาก
มีการคาดการณ์ว่า ธปท. อาจยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ในระยะเวลาอันใกล้ หลังจากที่นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ เข้ารับตำแหน่ง รม
ว. คลังคนใหม่ โดยการยกเลิกมาตรการกันสำรองดังกล่าวจะทำให้ค่าเงินบาทในตลาด onshore และ offshore กลับมาเคลื่อนไหวในทิศทางเดียว
กัน อย่างไรก็ตาม เงินบาทในวันศุกร์ปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อย เนื่องจากนักลงทุนรอความชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการกันสำรอง เช่นเดียวกับเงินบาทใน
ตลาด offshore ที่ค่อนข้างทรงตัว ทั้งนี้ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวในช่วงปลายสัปดาห์ว่าพร้อมที่จะยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 หากการเพิ่ม
ทางเลือกให้เงินทุนนำเข้าสามารถทำ fully hedge ที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 15 มีนาคมนี้ สามารถดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพได้ ในขณะเดียวกัน
เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวขึ้น แสดงถึงการกลับมาลงทุนใน
สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงของนักลงทุนอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เงินดอลลาร์ สรอ. ไม่แข็งค่ามากนัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของ
สหรัฐฯ ออกมาไม่ดีนัก ประกอบกับรายงาน Beige Book ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในหลายพื้นที่ส่ง
สัญญาณชะลอตัว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เดิมในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากสภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูง ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดไม่
เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ไทย ปรับตัวลด
ลง เนื่องจากรายงานภาวะเศรษฐกิจแสดงสัญญาณการชะลอตัว ในขณะที่ US Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้น
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ และปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 9 ปี อีกครั้งในวันพฤหัสบดีที่ 35.14 บาท ต่อ
ดอลลาร์ สรอ. หลังจากการคาดการณ์ว่าธปท. อาจยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ในระยะเวลาอันใกล้ หลังจากที่นายฉลองภพ สุสังกร์กา
ญจน์ เข้ารับตำแหน่ง รมว. คลังคนใหม่ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น หลังจากตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกเริ่มฟื้นตัว
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากมีสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่งจากการ
โอนเงินระดับสูงของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูง ความต้องการลงทุนในตลาด
เงินระยะสั้นจึงลดลง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 4.53125 ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อน
หน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.5625 ต่อปี ในวันอังคาร ก่อนจะปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ระดับเดิมในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากสภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับ
สูง และธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่
ร้อยละ 4.5 และ 4.53125 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.1 - 4.58 ขณะที่อัตรากลาง
(Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.55 ต่อปี ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 107,000 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตร ธปท. อายุ 7 14 364 วัน และ 3 ปี วงเงิน
รวม 100,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 12 ปี วงเงิน 6,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้นพันธบัตร
รัฐบาลที่มีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย วงเงิน 1,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตรา
สารภาครัฐครบกำหนด 109,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 2,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 281,172 ล้านบาท หรือคิดเป็น 70,293 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์
ก่อนเล็กน้อย โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 60 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวลดลง ตามรายงานเศรษฐกิจที่
แสดงถึงสัญญาณการชะลอตัว และทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มีแนวโน้มลดลง ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัว
ลดลง 0-12 basis points ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 37 และ 29 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีการแกว่งตัวระหว่างสัปดาห์ ซึ่งเป็นผลจากการย้ายเงินทุนจากตลาดพันธบัตรไปยังตลาดหุ้นที่ฟื้นตัวขึ้น
ภายหลังการปรับตัวลงอย่างรุนแรงในสัปดาห์ก่อน และถึงแม้ว่ารายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจของ Fed จะบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในหลายภูมิภาคที่ทิศ
ทางชะลอลง และในปลายสัปดาห์ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนกุมภาพันธ์จะออกมาต่ำกว่าที่คาด แต่นักลงทุนให้ความสำคัญต่อรายงานอัตรา
การว่างงานที่ลดลง อัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการปรับเพิ่มตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมกราคม ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้อัตรา
เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 6 เดือนขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้น 6-10 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ก.พ. 50 35.69
เฉลี่ย 26 ก.พ. - 2 มี.ค.50 35.46
6 มี.ค. 50 35.23
6 มี.ค. 50 35.23
8 มี.ค. 50 35.14
9 มี.ค. 50 35.16
เฉลี่ย 6 - 9 มี.ค.50 35.18
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.18 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 0.8 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทมี
ทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์และปรับแข็งค่าทำสถิติสูงสุดอีกครั้งในรอบ 9 ปี ที่ 35.14 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพฤหัสบดี
ซึ่งเป็นไปตามการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาค ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกและนักลงทุน เนื่องจาก
มีการคาดการณ์ว่า ธปท. อาจยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ในระยะเวลาอันใกล้ หลังจากที่นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ เข้ารับตำแหน่ง รม
ว. คลังคนใหม่ โดยการยกเลิกมาตรการกันสำรองดังกล่าวจะทำให้ค่าเงินบาทในตลาด onshore และ offshore กลับมาเคลื่อนไหวในทิศทางเดียว
กัน อย่างไรก็ตาม เงินบาทในวันศุกร์ปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อย เนื่องจากนักลงทุนรอความชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการกันสำรอง เช่นเดียวกับเงินบาทใน
ตลาด offshore ที่ค่อนข้างทรงตัว ทั้งนี้ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวในช่วงปลายสัปดาห์ว่าพร้อมที่จะยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 หากการเพิ่ม
ทางเลือกให้เงินทุนนำเข้าสามารถทำ fully hedge ที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 15 มีนาคมนี้ สามารถดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพได้ ในขณะเดียวกัน
เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวขึ้น แสดงถึงการกลับมาลงทุนใน
สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงของนักลงทุนอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เงินดอลลาร์ สรอ. ไม่แข็งค่ามากนัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของ
สหรัฐฯ ออกมาไม่ดีนัก ประกอบกับรายงาน Beige Book ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในหลายพื้นที่ส่ง
สัญญาณชะลอตัว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-