นี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค ยังเป็นผลมาจากการเติบโตของการบริโภคภาคครัวเรือนร้อยละ 39.6 การลงทุนร้อยละ 36.6 และการส่ง
ออกร้อยละ 18.6 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขยายตัวของการส่งออกและการลงทุนในจีน และกลุ่มประเทศ NIEs (เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง
และสิงคโปร์) ในขณะที่การบริโภคในญี่ปุ่น อินเดีย และอาเซียน5 มีส่วนสำคัญด้านการบริโภคภาคครัวเรือน
3.2 บทบาทที่เพิ่มขึ้นของจีน และอินเดีย
* อัตราส่วนการค้าระหว่างกันในกลุ่มญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และอาเซียน5 เพิ่มจากร้อยละ 52.5 ในปี 2542 เป็นร้อย
ละ 56.5 ในปี 2548 โดยส่วนแบ่งการค้าของจีนเพิ่มจากร้อยละ 15.6 เป็นร้อยละ 28.2 ทั้งนี้ การค้าระหว่างประเทศของจีนที่เพิ่มขึ้นมาจากการ
ขยายตัวของการส่งออกของภูมิภาคต่างๆ ในประเทศจีน
* การลงทุนของญี่ปุ่นในจีนมีมูลค่า 891.9 พันล้านเยน ในช่วงปี 2538-2542 และเพิ่มขึ้นเป็น 1,101.3 พันล้านเยน ในช่วงปี
2543-2547 โดยในระยะแรกเป็นการลงทุนการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศจีน เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น และเริ่มขยายสู่การใช้จีนเป็นฐาน
การผลิตเพื่อการส่งออกในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้การค้าระหว่างญี่ปุ่นและจีนเพิ่มจาก 89.2 พันล้านเยน ในปี 2544 เป็น 189.4 พันล้านเยน ใน
ปี 2548 หรือเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัวในช่วงสี่ปี
* อินเดียเริ่มให้ความสำคัญกับการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกับประเทศในอาเซียน ทั้งนี้
อินเดียได้จัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับไทย ในลักษณะ Early Harvest Scheme ในสินค้า 82 รายการ ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนกันยายน 2547 ส่วน
แบ่งตลาดส่งออกของอินเดียในในอาเซียน ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ เพิ่มจากร้อยละ 13.3 ในปี 2542 เป็น ร้อยละ 20.9 ในปี 2548
3.3 ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ
* สภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจที่เข้มงวดในจีนและความดึงดูดใจของ ASEAN ค่าจ้างแรงงานภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น การแข็ง
ค่าของเงินหยวน และการทบทวนการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2551 ซึ่งจะมีผลให้บริษัทต่างชาติในจีนต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น ต่าง
เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในจีน ในขณะที่การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างอาเซียนและประเทศคู่ค้าต่างๆ ทั้งในระดับ
ทวิภาคี และพหุภาคี จะส่งผลให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นแหล่งวัตถุดิบ หรือห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญ รวมทั้งการได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรตามกฎว่าด้วย
แหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin) ของอาเซียนที่กำหนดให้วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าต้องเป็นวัตถุดิบที่ผลิตในอาเซียนอย่างน้อยร้อยละ
40 จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรถยนต์
* การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ทั้งในด้านการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ (Business Tie-ups) และเงินทุน (Capital Tie-
ups) จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจญี่ปุ่นในการตองสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาดโดยเฉพาะในอินเดีย และจีน โดยทั่วไปผู้ประกอบการ
ญี่ปุ่นพิจารณา 3 ปัจจัยหลักในการตัดสินใจสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ได้แก่ กฎระเบียบเกี่ยวกับการลงทุน หรือสัดส่วนการถือครองหุ้นของคนต่างชาติใน
การดำเนินธุรกิจ การแสวงหาทรัพยากร และผลกระทบจากกระแสการเปิดเขตการค้าเสรี
* การพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ความเป็นสากล ผู้ประกอบการญี่ปุ่นจะต้องเน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเร็วของตลาดโลก โดยไม่มุ่งเน้นที่การตอบสนองเพียงแต่ตลาดภายในประเทศ รวมถึงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาในต่างประเทศเพื่อใช้ประโยชน์
จากการเข้าถึงและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Know-How และทรัพยากรมนุษย์จากทั่วโลก
4. ข้อสังเกต
4.1 JETRO ให้ความสนใจต่อความเคลื่อนไหวในจีนและอินเดีย รวมทั้งกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพ เช่น เกาหลีใต้ และบราซิล ซึ่งจะ
กระทบต่อการค้าและการลงทุนของญี่ปุ่นทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยอาจจะเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามได้ในขณะเดียวกัน หากมีการกำหนดทิศ
ทางและแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์
4.2 จีนยังคงเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่นซึ่งถูกมองใน 2 สถานะ ทั้งที่เป็นตลาดสำหรับการค้าและการลงทุน ขณะเดียวกันเป็นนักลง
ทุนในประเทศกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพ เช่น รัสเซีย
4.3 แนวโน้มของญี่ปุ่นจะเพิ่มการลงทุน R&D ในประเทศต่างๆ ที่เป็นฐานการลงทุนในการผลิตสินค้าอยู่แล้ว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ออกร้อยละ 18.6 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขยายตัวของการส่งออกและการลงทุนในจีน และกลุ่มประเทศ NIEs (เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง
และสิงคโปร์) ในขณะที่การบริโภคในญี่ปุ่น อินเดีย และอาเซียน5 มีส่วนสำคัญด้านการบริโภคภาคครัวเรือน
3.2 บทบาทที่เพิ่มขึ้นของจีน และอินเดีย
* อัตราส่วนการค้าระหว่างกันในกลุ่มญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และอาเซียน5 เพิ่มจากร้อยละ 52.5 ในปี 2542 เป็นร้อย
ละ 56.5 ในปี 2548 โดยส่วนแบ่งการค้าของจีนเพิ่มจากร้อยละ 15.6 เป็นร้อยละ 28.2 ทั้งนี้ การค้าระหว่างประเทศของจีนที่เพิ่มขึ้นมาจากการ
ขยายตัวของการส่งออกของภูมิภาคต่างๆ ในประเทศจีน
* การลงทุนของญี่ปุ่นในจีนมีมูลค่า 891.9 พันล้านเยน ในช่วงปี 2538-2542 และเพิ่มขึ้นเป็น 1,101.3 พันล้านเยน ในช่วงปี
2543-2547 โดยในระยะแรกเป็นการลงทุนการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศจีน เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น และเริ่มขยายสู่การใช้จีนเป็นฐาน
การผลิตเพื่อการส่งออกในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้การค้าระหว่างญี่ปุ่นและจีนเพิ่มจาก 89.2 พันล้านเยน ในปี 2544 เป็น 189.4 พันล้านเยน ใน
ปี 2548 หรือเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัวในช่วงสี่ปี
* อินเดียเริ่มให้ความสำคัญกับการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกับประเทศในอาเซียน ทั้งนี้
อินเดียได้จัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับไทย ในลักษณะ Early Harvest Scheme ในสินค้า 82 รายการ ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนกันยายน 2547 ส่วน
แบ่งตลาดส่งออกของอินเดียในในอาเซียน ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ เพิ่มจากร้อยละ 13.3 ในปี 2542 เป็น ร้อยละ 20.9 ในปี 2548
3.3 ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ
* สภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจที่เข้มงวดในจีนและความดึงดูดใจของ ASEAN ค่าจ้างแรงงานภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น การแข็ง
ค่าของเงินหยวน และการทบทวนการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2551 ซึ่งจะมีผลให้บริษัทต่างชาติในจีนต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น ต่าง
เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในจีน ในขณะที่การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างอาเซียนและประเทศคู่ค้าต่างๆ ทั้งในระดับ
ทวิภาคี และพหุภาคี จะส่งผลให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นแหล่งวัตถุดิบ หรือห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญ รวมทั้งการได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรตามกฎว่าด้วย
แหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin) ของอาเซียนที่กำหนดให้วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าต้องเป็นวัตถุดิบที่ผลิตในอาเซียนอย่างน้อยร้อยละ
40 จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรถยนต์
* การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ทั้งในด้านการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ (Business Tie-ups) และเงินทุน (Capital Tie-
ups) จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจญี่ปุ่นในการตองสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาดโดยเฉพาะในอินเดีย และจีน โดยทั่วไปผู้ประกอบการ
ญี่ปุ่นพิจารณา 3 ปัจจัยหลักในการตัดสินใจสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ได้แก่ กฎระเบียบเกี่ยวกับการลงทุน หรือสัดส่วนการถือครองหุ้นของคนต่างชาติใน
การดำเนินธุรกิจ การแสวงหาทรัพยากร และผลกระทบจากกระแสการเปิดเขตการค้าเสรี
* การพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ความเป็นสากล ผู้ประกอบการญี่ปุ่นจะต้องเน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเร็วของตลาดโลก โดยไม่มุ่งเน้นที่การตอบสนองเพียงแต่ตลาดภายในประเทศ รวมถึงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาในต่างประเทศเพื่อใช้ประโยชน์
จากการเข้าถึงและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Know-How และทรัพยากรมนุษย์จากทั่วโลก
4. ข้อสังเกต
4.1 JETRO ให้ความสนใจต่อความเคลื่อนไหวในจีนและอินเดีย รวมทั้งกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพ เช่น เกาหลีใต้ และบราซิล ซึ่งจะ
กระทบต่อการค้าและการลงทุนของญี่ปุ่นทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยอาจจะเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามได้ในขณะเดียวกัน หากมีการกำหนดทิศ
ทางและแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์
4.2 จีนยังคงเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่นซึ่งถูกมองใน 2 สถานะ ทั้งที่เป็นตลาดสำหรับการค้าและการลงทุน ขณะเดียวกันเป็นนักลง
ทุนในประเทศกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพ เช่น รัสเซีย
4.3 แนวโน้มของญี่ปุ่นจะเพิ่มการลงทุน R&D ในประเทศต่างๆ ที่เป็นฐานการลงทุนในการผลิตสินค้าอยู่แล้ว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-