ระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน 2550 นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมระดับรัฐมนตรี และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง(GMS Ministerial Meeting) ครั้งที่ 14 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ เปิดเผยว่า การประชุมดังกล่าวมีผลการประชุมที่สำคัญ ดังนี้
1. การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-สปป.ลาว-จีน (MOU on GMS North-south Economic Corridor International Bridge) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาและก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง ณ เมืองเชียงของ-ห้วยทราย ตามแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ เชื่อมจากเชียงรายไปยังคุนหมิงโดยผ่านสปป.ลาว ซึ่งเป็นโครงการตัวอย่างของความสำเร็จที่ประเทศ GMS ร่วมมือเพื่อช่วยเหลือกันเองโดยไทยให้ความช่วยเหลือในการศึกษาออกแบบรายละเอียด วงเงิน 35 ล้านบาท และร่วมกับจีนออกค่าก่อสร้างฝ่ายละครึ่งหนึ่ง วงเงินรวมประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มก่อสร้างสะพานในปี 2552 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2554
2. เห็นชอบยุทธศาสตร์และแผนงาน/โครงการลำดับความสำคัญสูงของ 9 สาขา ซึ่งจะเป็นงานสำคัญของความร่วมมือในอนาคต โดยจะนำเสนอยุทธศาสตร์และจัดทำแผนปฏิบัติการ 9 สาขา ระยะ5 ปี (2551-2555) ต่อที่ประชุมระดับผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม2551 ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว
3. ให้ความเห็นชอบต่อการทบทวนกลางรอบ (Midterm Review) ซึ่งเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนา GMS ในระยะต่อไป โดยมีสาระสำคัญในการปรับเปลี่ยนจุดเน้นการดำเนินงาน จากที่ผ่านมาที่ส่วนใหญ่เป็นการเน้นการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก มาให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับการอำนวยความสะดวกด้านกฎระเบียบและการสนับสนุนการค้าการลงทุน และกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ ควบคู่กับการพิจารณาปรับปรุงกลไกการดำเนินงานบางส่วนเพื่อให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งสนับสนุนบทบาทเชิงรุกของภาคเอกชนในการพัฒนา GMS
4. เห็นชอบต่อการกำหนดแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจในลุ่มแม่น้ำโขง จำนวน 9 เส้นทาง(เพิ่มขึ้นจากเดิม 3 เส้นทาง คือ แนวเหนือ-ใต้ แนวตะวันออก-ตะวันตก และแนวตอนใต้) ให้เป็นแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจหลักของอนุภูมิภาค ซึ่งจะเป็นการพัฒนาแบบองค์รวมที่เป็นการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม ต่อยอดจากการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งหลักในอนุภูมิภาค ตลอดจนเร่งรัดการพัฒนากฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกและดึงดูดการค้าและการลงทุนใน GMS เพิ่มขึ้น
5. เห็นชอบแนวทางการจัดประชุมระดับผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Summit) ครั้งที่ 3 โดยหัวข้อ (Theme) ของการประชุมคือ “Enhanced Competitiveness Through Greater Connectivity“ หรือ “การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของ GMS ด้วยการเชื่อมโยงที่เพิ่มมากขึ้น” ทั้งนี้ประเทศ GMS ได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายการดำเนินงานความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Cross Border Transport Agreement : CBTA) ให้ครบทุกประเทศ เพื่อให้ความตกลงดังกล่าวสามารถเริ่มบังคับใช้การอำนวยความสะดวกการผ่านแดนของคนและสินค้าในอนุภูมิภาคได้อย่างสมบูรณ์ โดยจะมีกิจกรรมที่สำคัญเพิ่มเติม ได้แก่ การประชุมกลุ่มเยาวชนลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Youth Forum) การหารือระหว่างผู้นำและภาคเอกชน และการหารือระหว่างผู้นำและหุ้นส่วนการพัฒนา (Development Partners)
6. รัฐมนตรีประเทศ GMS ได้ยืนยันการสนับสนุนการดำเนินงานของสภาธุรกิจ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Business Forum) ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยทำหน้าที่ประธาน และส่งเสริมให้มีการหารืออย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในระดับปฏิบัติการและนโยบายระดับสูงโดยจะจัดให้มีการหารือระหว่างภาคเอกชนและผู้นำ 6 ประเทศ ในระหว่างการประชุมระดับผู้นำ 6 ประเทศครั้งที่ 3 ต่อไป
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ที่ผ่านมา GMS สามารถสร้างเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกับหุ้นส่วนการพัฒนาได้มากกว่า 30 องค์กร ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี รวมเป็นมูลค่า 817 ล้านเหรียญสหรัฐ (ปี 2535-2549) โดยมีธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ได้มีหุ้นส่วนการพัฒนามาเข้าร่วมมากกว่า 20 ราย โดยสาขาที่ประเทศ GMS สนใจจะขอรับความช่วยเหลือ ได้แก่ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การดำเนินงานผ่อนคลายกฎระเบียบและพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเทคโนโลยีทันสมัยที่ช่วยพัฒนาอนุภูมิภาค และได้เน้นย้ำให้ ADB เพิ่มบทบาททั้งในด้านการสนับสนุนทางการเงินและวิชาการ และการเป็น “Honest Broker”หรือนายหน้าผู้ซื่อสัตย์ที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างประเทศต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ให้กับแผนงาน GMS ต่อไป
เนื่องจากการประชุมครั้งนี้ตรงกับการฉลองวาระครบรอบ 15 ปี ของ GMS ดังนั้น จึงได้มีการเชิญบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการริเริ่มบุกเบิกแผนงาน GMS (GMS Pioneers) อาทิ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การว่าด้วยการค้าและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNCTAD)มาร่วมเป็นเกียรติในการประชุม ซึ่งท่านได้กล่าวชื่นชมต่อความก้าวหน้าในการดำเนินงานของ GMS ที่เกิดจากการผลักดันร่วมกันอย่างแข็งขันและต่อเนื่องของประเทศสมาชิก และเน้นว่าในระยะต่อไปแผนงาน GMS ควรเพิ่มความสำคัญยิ่งขึ้นในหลายประการด้วยกัน ประการแรก คือ การพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดช่องว่างที่เกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี (Digital Divide) ประการที่สอง เป็นความท้าทายในการกำหนดนโยบายการพัฒนาพลังงานในอนุภูมิภาค ที่จำเป็นต้องมีการสร้างสมดุลระหว่างการผลิตพืชพลังงานกับการผลิตพืชอาหารเพื่อการบริโภคที่เพียงพอ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ ซึ่งในปัจจุบันเรื่องนี้ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างลงตัว และแนวโน้มของการผลิตพลังงานจากพืชที่เพิ่มสูงขึ้นได้ส่งผลทำให้ราคาอาหารสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน ประการที่สาม ต้องมีการอำนวยความสะดวกการเดินทางของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น และประการที่สี่ คือการพัฒนาการเติบโตของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงโดยเน้นประเด็นการแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมและความไม่เป็นธรรม (Inclusive growth) ที่ให้ความสำคัญต่อการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจในสังคมด้วยวิถีทางการพัฒนาแบบยั่งยืนให้แก่ประชาชนทุกระดับโดยเฉพาะประชาชนยากจน
การประชุมครั้งนี้ ไทยได้ผลักดันประเด็นสำคัญหลายประการ อาทิ การเร่งรัดให้ดำเนินงานตามผลการประชุม Summit ครั้งที่ 2 ให้เกิดเป็นรูปธรรม ได้แก่ (1) การดำเนินงานตามความตกลงขนส่งข้ามพรมแดน (CBTA) ตามกำหนด (2) การเร่งจัดตั้งเขตปลอดโรคสัตว์ของอนุภูมิภาค โดยเร่งรัดให้ GMS จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมงบประมาณ ปรับเปลี่ยนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และการจัดตั้ง Vaccine Bank ให้เป็นรูปธรรม (3) การเร่งผลักดันการก่อสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมของอนุภูมิภาคให้ครบเต็มระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกัมพูชา ลาว และพม่า เป็นต้น
ส่วนการดำเนินงานของไทยในระยะเร่งด่วนเพื่อสนับสนุนแผนงาน GMS คือ ในปี 2550 ประเทศไทย โดย สศช. รับเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะทำงานเตรียมการ GMS Summit ครั้งที่ 3 (GMS 3rd Task Force for Preparation of the 3rd GMS Summit) ณ จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 27-28 กันยายน 2550 และการเร่งรัดการดำเนินงานความตกลงขนส่งข้ามพรมแดน (Cross Border TransportAgreement-CBTA) โดยกระทรวงคมนาคมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย (1) ดำเนินการนำร่อง CBTA ภายในปี 2550 ณ ด่านนำร่องมุกดาหาร-สะหวันนะเขต ระหว่างไทย-ลาว (2) เร่งรัดการลงนามความตกลงว่าด้วยสิทธิจราจรข้ามพรมแดนระหว่างไทย-กัมพูชา สำหรับการขนส่งข้ามพรมแดน ณ ด่านอรัญประเทศ-ปอยเปต (3) ผลักดันการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-พม่า ภายในปี 2550 เพื่อเริ่มดำเนินการนำร่อง CBTA ณ ด่านแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก และแม่สอด-เมียวะดี และ (4) ให้สัตยาบันพิธีสารและภาคผนวกแนบท้าย จำนวน 20 ฉบับ ภายในเดือนมีนาคม 2551
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ เปิดเผยว่า การประชุมดังกล่าวมีผลการประชุมที่สำคัญ ดังนี้
1. การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-สปป.ลาว-จีน (MOU on GMS North-south Economic Corridor International Bridge) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาและก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง ณ เมืองเชียงของ-ห้วยทราย ตามแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ เชื่อมจากเชียงรายไปยังคุนหมิงโดยผ่านสปป.ลาว ซึ่งเป็นโครงการตัวอย่างของความสำเร็จที่ประเทศ GMS ร่วมมือเพื่อช่วยเหลือกันเองโดยไทยให้ความช่วยเหลือในการศึกษาออกแบบรายละเอียด วงเงิน 35 ล้านบาท และร่วมกับจีนออกค่าก่อสร้างฝ่ายละครึ่งหนึ่ง วงเงินรวมประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มก่อสร้างสะพานในปี 2552 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2554
2. เห็นชอบยุทธศาสตร์และแผนงาน/โครงการลำดับความสำคัญสูงของ 9 สาขา ซึ่งจะเป็นงานสำคัญของความร่วมมือในอนาคต โดยจะนำเสนอยุทธศาสตร์และจัดทำแผนปฏิบัติการ 9 สาขา ระยะ5 ปี (2551-2555) ต่อที่ประชุมระดับผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม2551 ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว
3. ให้ความเห็นชอบต่อการทบทวนกลางรอบ (Midterm Review) ซึ่งเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนา GMS ในระยะต่อไป โดยมีสาระสำคัญในการปรับเปลี่ยนจุดเน้นการดำเนินงาน จากที่ผ่านมาที่ส่วนใหญ่เป็นการเน้นการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก มาให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับการอำนวยความสะดวกด้านกฎระเบียบและการสนับสนุนการค้าการลงทุน และกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ ควบคู่กับการพิจารณาปรับปรุงกลไกการดำเนินงานบางส่วนเพื่อให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งสนับสนุนบทบาทเชิงรุกของภาคเอกชนในการพัฒนา GMS
4. เห็นชอบต่อการกำหนดแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจในลุ่มแม่น้ำโขง จำนวน 9 เส้นทาง(เพิ่มขึ้นจากเดิม 3 เส้นทาง คือ แนวเหนือ-ใต้ แนวตะวันออก-ตะวันตก และแนวตอนใต้) ให้เป็นแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจหลักของอนุภูมิภาค ซึ่งจะเป็นการพัฒนาแบบองค์รวมที่เป็นการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม ต่อยอดจากการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งหลักในอนุภูมิภาค ตลอดจนเร่งรัดการพัฒนากฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกและดึงดูดการค้าและการลงทุนใน GMS เพิ่มขึ้น
5. เห็นชอบแนวทางการจัดประชุมระดับผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Summit) ครั้งที่ 3 โดยหัวข้อ (Theme) ของการประชุมคือ “Enhanced Competitiveness Through Greater Connectivity“ หรือ “การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของ GMS ด้วยการเชื่อมโยงที่เพิ่มมากขึ้น” ทั้งนี้ประเทศ GMS ได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายการดำเนินงานความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Cross Border Transport Agreement : CBTA) ให้ครบทุกประเทศ เพื่อให้ความตกลงดังกล่าวสามารถเริ่มบังคับใช้การอำนวยความสะดวกการผ่านแดนของคนและสินค้าในอนุภูมิภาคได้อย่างสมบูรณ์ โดยจะมีกิจกรรมที่สำคัญเพิ่มเติม ได้แก่ การประชุมกลุ่มเยาวชนลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Youth Forum) การหารือระหว่างผู้นำและภาคเอกชน และการหารือระหว่างผู้นำและหุ้นส่วนการพัฒนา (Development Partners)
6. รัฐมนตรีประเทศ GMS ได้ยืนยันการสนับสนุนการดำเนินงานของสภาธุรกิจ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Business Forum) ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยทำหน้าที่ประธาน และส่งเสริมให้มีการหารืออย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในระดับปฏิบัติการและนโยบายระดับสูงโดยจะจัดให้มีการหารือระหว่างภาคเอกชนและผู้นำ 6 ประเทศ ในระหว่างการประชุมระดับผู้นำ 6 ประเทศครั้งที่ 3 ต่อไป
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ที่ผ่านมา GMS สามารถสร้างเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกับหุ้นส่วนการพัฒนาได้มากกว่า 30 องค์กร ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี รวมเป็นมูลค่า 817 ล้านเหรียญสหรัฐ (ปี 2535-2549) โดยมีธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ได้มีหุ้นส่วนการพัฒนามาเข้าร่วมมากกว่า 20 ราย โดยสาขาที่ประเทศ GMS สนใจจะขอรับความช่วยเหลือ ได้แก่ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การดำเนินงานผ่อนคลายกฎระเบียบและพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเทคโนโลยีทันสมัยที่ช่วยพัฒนาอนุภูมิภาค และได้เน้นย้ำให้ ADB เพิ่มบทบาททั้งในด้านการสนับสนุนทางการเงินและวิชาการ และการเป็น “Honest Broker”หรือนายหน้าผู้ซื่อสัตย์ที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างประเทศต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ให้กับแผนงาน GMS ต่อไป
เนื่องจากการประชุมครั้งนี้ตรงกับการฉลองวาระครบรอบ 15 ปี ของ GMS ดังนั้น จึงได้มีการเชิญบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการริเริ่มบุกเบิกแผนงาน GMS (GMS Pioneers) อาทิ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การว่าด้วยการค้าและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNCTAD)มาร่วมเป็นเกียรติในการประชุม ซึ่งท่านได้กล่าวชื่นชมต่อความก้าวหน้าในการดำเนินงานของ GMS ที่เกิดจากการผลักดันร่วมกันอย่างแข็งขันและต่อเนื่องของประเทศสมาชิก และเน้นว่าในระยะต่อไปแผนงาน GMS ควรเพิ่มความสำคัญยิ่งขึ้นในหลายประการด้วยกัน ประการแรก คือ การพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดช่องว่างที่เกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี (Digital Divide) ประการที่สอง เป็นความท้าทายในการกำหนดนโยบายการพัฒนาพลังงานในอนุภูมิภาค ที่จำเป็นต้องมีการสร้างสมดุลระหว่างการผลิตพืชพลังงานกับการผลิตพืชอาหารเพื่อการบริโภคที่เพียงพอ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ ซึ่งในปัจจุบันเรื่องนี้ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างลงตัว และแนวโน้มของการผลิตพลังงานจากพืชที่เพิ่มสูงขึ้นได้ส่งผลทำให้ราคาอาหารสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน ประการที่สาม ต้องมีการอำนวยความสะดวกการเดินทางของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น และประการที่สี่ คือการพัฒนาการเติบโตของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงโดยเน้นประเด็นการแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมและความไม่เป็นธรรม (Inclusive growth) ที่ให้ความสำคัญต่อการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจในสังคมด้วยวิถีทางการพัฒนาแบบยั่งยืนให้แก่ประชาชนทุกระดับโดยเฉพาะประชาชนยากจน
การประชุมครั้งนี้ ไทยได้ผลักดันประเด็นสำคัญหลายประการ อาทิ การเร่งรัดให้ดำเนินงานตามผลการประชุม Summit ครั้งที่ 2 ให้เกิดเป็นรูปธรรม ได้แก่ (1) การดำเนินงานตามความตกลงขนส่งข้ามพรมแดน (CBTA) ตามกำหนด (2) การเร่งจัดตั้งเขตปลอดโรคสัตว์ของอนุภูมิภาค โดยเร่งรัดให้ GMS จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมงบประมาณ ปรับเปลี่ยนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และการจัดตั้ง Vaccine Bank ให้เป็นรูปธรรม (3) การเร่งผลักดันการก่อสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมของอนุภูมิภาคให้ครบเต็มระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกัมพูชา ลาว และพม่า เป็นต้น
ส่วนการดำเนินงานของไทยในระยะเร่งด่วนเพื่อสนับสนุนแผนงาน GMS คือ ในปี 2550 ประเทศไทย โดย สศช. รับเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะทำงานเตรียมการ GMS Summit ครั้งที่ 3 (GMS 3rd Task Force for Preparation of the 3rd GMS Summit) ณ จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 27-28 กันยายน 2550 และการเร่งรัดการดำเนินงานความตกลงขนส่งข้ามพรมแดน (Cross Border TransportAgreement-CBTA) โดยกระทรวงคมนาคมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย (1) ดำเนินการนำร่อง CBTA ภายในปี 2550 ณ ด่านนำร่องมุกดาหาร-สะหวันนะเขต ระหว่างไทย-ลาว (2) เร่งรัดการลงนามความตกลงว่าด้วยสิทธิจราจรข้ามพรมแดนระหว่างไทย-กัมพูชา สำหรับการขนส่งข้ามพรมแดน ณ ด่านอรัญประเทศ-ปอยเปต (3) ผลักดันการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-พม่า ภายในปี 2550 เพื่อเริ่มดำเนินการนำร่อง CBTA ณ ด่านแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก และแม่สอด-เมียวะดี และ (4) ให้สัตยาบันพิธีสารและภาคผนวกแนบท้าย จำนวน 20 ฉบับ ภายในเดือนมีนาคม 2551
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-