แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
มหาวิทยาลัยบูรพา
ธนาคารพาณิชย์
อัตราดอกเบี้ย
โรงแรมคอนราด
- การคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมสัปดาห์หน้า และการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนของธนาคารพาณิชย์
ในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 7 และ 14 วัน ปิดตลาดลดลง ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับ
ตัวลดลง ตามการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่วน US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่รอผลการประชุม กนง. ในสัปดาห์หน้า และยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่จะส่งผล
กระทบต่อเงินบาทอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ จากความกังวลของนักลงทุนต่อสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวัน
ออกกลาง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการดำรงเงินสดสำรอง
ในระดับสูงจึงลดการลงทุน ขณะที่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเพื่อชดเชยการขาดดุลเคลียริ่งและเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับ
การเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดยาว โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ยังปิดตลาดไม่
เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.5 และ 4.53125 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิด ตลาดลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 4.375 ในช่วง
ปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.3125 ต่อปี ในวันพุธ จากการคาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายในการประชุมสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ โดยธนาคาร
พาณิชย์ทยอยนำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้มาลงทุนระยะสั้น ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ
4.46875 และ 4.28125 ต่อ ปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.0 - 4.58 ขณะที่
อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงเล็กน้อย จากร้อยละ 4.55 ต่อปี ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.54 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 116,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
13,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 14 และ 364 วัน วงเงินรวม 95,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี 6 เดือน และ 17 ปี วง
เงินรวม 8,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้นพันธบัตร ธปท. อายุ 14 วัน และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐ
ครบกำหนด 126,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 10,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง (เฉพาะธุรกรรม outright) มีมูลค่า 195,443 ล้านบาท หรือคิดเป็น 48,860 ล้านบาทต่อ
วัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 20 โดยปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติยังคงลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 40 คิดเป็นมูลค่า 1,186
ล้านบาท และมียอดขายสุทธิลดลงเป็น 76 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 6-12 basis points เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์การปรับลด
อัตราดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์ถัดไป ส่งผลให้ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 45 และ 37 basis point ตามลำดับ
ส่วน US Treasury Yield ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-15 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 เดือน ที่มีอัตราผลตอบ
แทนลดลงเล็กน้อย โดยในช่วงต้น-กลางสัปดาห์อัตราผลตอบแทนปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ แต่ในปลายสัปดาห์มีการประกาศตัวเลขการจ้างงานซึ่งสูงกว่า
ที่คาดมาก ทำให้นักลงทุนคาดว่า Fed จะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งหน้า จึงทำให้อัตราผลตอบแทนในวันศุกร์ปรับตัวสูงขึ้นมาก
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 50 35.01
เฉลี่ย 26 - 30 มี.ค.50 34.95
2 เม.ย. 50 34.95
3 เม.ย. 50 34.94
4 เม.ย. 50 34.93
5 เม.ย. 50 34.89
เฉลี่ย 2 - 5 เม.ย.50 34.93
เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่าง 34.89 - 34.95 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยในรอบสัปดาห์ที่ 34.93 บาทต่อ
ดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากยังไม่ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทอย่างมีนัยสำคัญ และ
นักลงทุนรอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 11 เม.ย. ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ลงถึงร้อยละ 0.5 การแข็งค่าของเงินบาทเป็นไปตามค่าเงินภูมิภาคส่วนใหญ่ หลังจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนความต้องการซื้อ
เงินบาทจากผู้ส่งออก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินปอนด์ เนื่องจากความกังวลของนักลงทุนต่อ
สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกลาง ประกอบกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางยุโรปส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในกลุ่มยู
โร แต่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน เนื่องจากดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ Tankan แสดงถึงความเชื่อมั่นของผู้ผลิตที่ต่ำกว่าที่
ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่วนใหญ่รอตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในวันศุกร์ที่ 6 เม.ย. โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรใน
เดือน มี.ค. ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อเงินดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์หน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 7 และ 14 วัน ปิดตลาดลดลง ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับ
ตัวลดลง ตามการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่วน US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่รอผลการประชุม กนง. ในสัปดาห์หน้า และยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่จะส่งผล
กระทบต่อเงินบาทอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ จากความกังวลของนักลงทุนต่อสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวัน
ออกกลาง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการดำรงเงินสดสำรอง
ในระดับสูงจึงลดการลงทุน ขณะที่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเพื่อชดเชยการขาดดุลเคลียริ่งและเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับ
การเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดยาว โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ยังปิดตลาดไม่
เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.5 และ 4.53125 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิด ตลาดลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 4.375 ในช่วง
ปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.3125 ต่อปี ในวันพุธ จากการคาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายในการประชุมสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ โดยธนาคาร
พาณิชย์ทยอยนำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้มาลงทุนระยะสั้น ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ
4.46875 และ 4.28125 ต่อ ปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.0 - 4.58 ขณะที่
อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงเล็กน้อย จากร้อยละ 4.55 ต่อปี ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.54 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 116,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
13,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 14 และ 364 วัน วงเงินรวม 95,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี 6 เดือน และ 17 ปี วง
เงินรวม 8,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้นพันธบัตร ธปท. อายุ 14 วัน และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐ
ครบกำหนด 126,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 10,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง (เฉพาะธุรกรรม outright) มีมูลค่า 195,443 ล้านบาท หรือคิดเป็น 48,860 ล้านบาทต่อ
วัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 20 โดยปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติยังคงลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 40 คิดเป็นมูลค่า 1,186
ล้านบาท และมียอดขายสุทธิลดลงเป็น 76 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 6-12 basis points เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์การปรับลด
อัตราดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์ถัดไป ส่งผลให้ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 45 และ 37 basis point ตามลำดับ
ส่วน US Treasury Yield ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-15 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 เดือน ที่มีอัตราผลตอบ
แทนลดลงเล็กน้อย โดยในช่วงต้น-กลางสัปดาห์อัตราผลตอบแทนปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ แต่ในปลายสัปดาห์มีการประกาศตัวเลขการจ้างงานซึ่งสูงกว่า
ที่คาดมาก ทำให้นักลงทุนคาดว่า Fed จะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งหน้า จึงทำให้อัตราผลตอบแทนในวันศุกร์ปรับตัวสูงขึ้นมาก
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 50 35.01
เฉลี่ย 26 - 30 มี.ค.50 34.95
2 เม.ย. 50 34.95
3 เม.ย. 50 34.94
4 เม.ย. 50 34.93
5 เม.ย. 50 34.89
เฉลี่ย 2 - 5 เม.ย.50 34.93
เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่าง 34.89 - 34.95 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยในรอบสัปดาห์ที่ 34.93 บาทต่อ
ดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากยังไม่ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทอย่างมีนัยสำคัญ และ
นักลงทุนรอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 11 เม.ย. ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ลงถึงร้อยละ 0.5 การแข็งค่าของเงินบาทเป็นไปตามค่าเงินภูมิภาคส่วนใหญ่ หลังจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนความต้องการซื้อ
เงินบาทจากผู้ส่งออก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินปอนด์ เนื่องจากความกังวลของนักลงทุนต่อ
สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกลาง ประกอบกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางยุโรปส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในกลุ่มยู
โร แต่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน เนื่องจากดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ Tankan แสดงถึงความเชื่อมั่นของผู้ผลิตที่ต่ำกว่าที่
ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่วนใหญ่รอตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในวันศุกร์ที่ 6 เม.ย. โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรใน
เดือน มี.ค. ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อเงินดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์หน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-