- สภาพคล่องทรงตัวอยู่ในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสภาพคล่องบางส่วนทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบหลังจากผ่านพ้นช่วงสิ้นเดือน แต่
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นและ
ระยะยาวยังคงปรับตัวลดลง ส่วนพันธบัตรฯ ระยะปานกลางอัตราผลตอบแทนเกือบไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัว
ลดลง
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยตลอดสัปดาห์ จากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. และการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลัก
ทรัพย์ ขณะที่เงินบาท offshore แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วจากความต้องการส่งมอบเงินบาทในตลาดต่างประเทศ ส่วนเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น
เป็นส่วนใหญ่หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นยังคงทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ตลอดสัปดาห์ เนื่องจากสภาพคล่องบางส่วนทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบ
หลังจากผ่านพ้นช่วงสิ้นเดือน โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก แม้ว่าสภาพคล่องจะตึงตัวขึ้นเป็นบางช่วง
หลังจากสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่งจากการโอนเงินในระบบธนาคารพาณิชย์ ซึ่งทำให้ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น หนาแน่น
ในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวเคลื่อนไหวระหว่างวันสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อน
ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ที่ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.78125 และ 4.78125 ต่อปี ตามลำดับ
สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.25 - 4.80 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ตลอด
สัปดาห์ที่ร้อยละ 4.78 ต่อปี ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สาม
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 103,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
15,000 ล้านบาทพันธบัตร ธปท. อายุ 14 และ 354 วัน วงเงินรวม 80,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 12 ปี และ 19 ปี 6 เดือน วง
เงินรวม 8,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้นพันธบัตรธปท. ที่มีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้นเล็กน้อย และในสัปดาห์นี้
มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 64,190 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 39,310 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 190,359 ล้านบาท หรือคิดเป็น 38,072 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 27 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 74 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวลดลงในวันจันทร์ เนื่องจากตลาดมั่นใจว่า
อัตราดอกเบี้ยจะยังคงมีทิศทางปรับตัวลดลงตามการส่งสัญญาณของ ธปท. ก่อนที่จะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ตามแรงขายทำกำไร ทำให้ ณ
สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ระยะสั้นและระยะยาวปรับตัวลดลงเล็กน้อย แต่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ระยะปานกลางปรับตัวเพิ่มขึ้น
เล็กน้อย ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 2 และ 6 basis point ตามลำดับ
สำหรับความเคลื่อนไหวของ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลงซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาค
เกษตรเมื่อปลายสัปดาห์ก่อนที่ออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ ประกอบกับพันธบัตรทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่ออกมาในช่วงกลางสัปดาห์ได้รับการตอบรับค่อนข้าง
ดีจากตลาด แต่ในวันศุกร์อัตราผลตอบแทนสูงขึ้นเมื่อผู้แทนของ Fed แถลงว่าอาจมีความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาระดับอัตราเงิน
เฟ้อ อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 0-6 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ม.ค. 50 35.93
เฉลี่ย 29 ม.ค. - 2 ก.พ. 50 35.79
5 ก.พ. 50 35.79
6 ก.พ. 50 35.77
7 ก.พ. 50 35.75
8 ก.พ. 50 35.73
9 ก.พ. 50 35.72
เฉลี่ย 5 - 9 ก.พ. 50 35.70
เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 35.72 - 35.82 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ท่ามกลางปริมาณซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบาง
โดยเงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.70 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า และมีทิศทางแข็งค่าขึ้น
ตลอดสัปดาห์ แม้ว่าการแข็งค่าจะเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากนักลงทุนเกรงว่า ธปท. จะมีการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ปัจจัยสนับสนุนค่าเงิน
บาทในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก และการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยกว่า 9 พันล้าน
บาท ขณะที่เงินบาทในตลาด offshore ยังคงปรับแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 34.92 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่
33.60 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในช่วงปลายสัปดาห์นี้ จากความต้องการส่งมอบเงินบาทในตลาดต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. แข็ง
ค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก แม้ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน ม.ค. จะออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์เล็กน้อย แต่การ
จ้างงานในไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 มีการปรับเพิ่มขึ้นมาก สะท้อนถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี และสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้
บริโภคจัดทำโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกนในเดือน ม.ค. ที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นและ
ระยะยาวยังคงปรับตัวลดลง ส่วนพันธบัตรฯ ระยะปานกลางอัตราผลตอบแทนเกือบไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัว
ลดลง
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยตลอดสัปดาห์ จากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. และการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลัก
ทรัพย์ ขณะที่เงินบาท offshore แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วจากความต้องการส่งมอบเงินบาทในตลาดต่างประเทศ ส่วนเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น
เป็นส่วนใหญ่หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นยังคงทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ตลอดสัปดาห์ เนื่องจากสภาพคล่องบางส่วนทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบ
หลังจากผ่านพ้นช่วงสิ้นเดือน โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก แม้ว่าสภาพคล่องจะตึงตัวขึ้นเป็นบางช่วง
หลังจากสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่งจากการโอนเงินในระบบธนาคารพาณิชย์ ซึ่งทำให้ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น หนาแน่น
ในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวเคลื่อนไหวระหว่างวันสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อน
ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ที่ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.78125 และ 4.78125 ต่อปี ตามลำดับ
สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.25 - 4.80 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ตลอด
สัปดาห์ที่ร้อยละ 4.78 ต่อปี ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สาม
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 103,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
15,000 ล้านบาทพันธบัตร ธปท. อายุ 14 และ 354 วัน วงเงินรวม 80,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 12 ปี และ 19 ปี 6 เดือน วง
เงินรวม 8,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้นพันธบัตรธปท. ที่มีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้นเล็กน้อย และในสัปดาห์นี้
มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 64,190 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 39,310 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 190,359 ล้านบาท หรือคิดเป็น 38,072 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 27 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 74 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวลดลงในวันจันทร์ เนื่องจากตลาดมั่นใจว่า
อัตราดอกเบี้ยจะยังคงมีทิศทางปรับตัวลดลงตามการส่งสัญญาณของ ธปท. ก่อนที่จะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ตามแรงขายทำกำไร ทำให้ ณ
สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ระยะสั้นและระยะยาวปรับตัวลดลงเล็กน้อย แต่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ระยะปานกลางปรับตัวเพิ่มขึ้น
เล็กน้อย ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 2 และ 6 basis point ตามลำดับ
สำหรับความเคลื่อนไหวของ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลงซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาค
เกษตรเมื่อปลายสัปดาห์ก่อนที่ออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ ประกอบกับพันธบัตรทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่ออกมาในช่วงกลางสัปดาห์ได้รับการตอบรับค่อนข้าง
ดีจากตลาด แต่ในวันศุกร์อัตราผลตอบแทนสูงขึ้นเมื่อผู้แทนของ Fed แถลงว่าอาจมีความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาระดับอัตราเงิน
เฟ้อ อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 0-6 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ม.ค. 50 35.93
เฉลี่ย 29 ม.ค. - 2 ก.พ. 50 35.79
5 ก.พ. 50 35.79
6 ก.พ. 50 35.77
7 ก.พ. 50 35.75
8 ก.พ. 50 35.73
9 ก.พ. 50 35.72
เฉลี่ย 5 - 9 ก.พ. 50 35.70
เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 35.72 - 35.82 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ท่ามกลางปริมาณซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบาง
โดยเงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.70 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า และมีทิศทางแข็งค่าขึ้น
ตลอดสัปดาห์ แม้ว่าการแข็งค่าจะเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากนักลงทุนเกรงว่า ธปท. จะมีการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ปัจจัยสนับสนุนค่าเงิน
บาทในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก และการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยกว่า 9 พันล้าน
บาท ขณะที่เงินบาทในตลาด offshore ยังคงปรับแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 34.92 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่
33.60 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในช่วงปลายสัปดาห์นี้ จากความต้องการส่งมอบเงินบาทในตลาดต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. แข็ง
ค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก แม้ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน ม.ค. จะออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์เล็กน้อย แต่การ
จ้างงานในไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 มีการปรับเพิ่มขึ้นมาก สะท้อนถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี และสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้
บริโภคจัดทำโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกนในเดือน ม.ค. ที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-