- เศรษฐกิจไทยไตรมาสสองปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 9.1 ดังนั้นในครึ่งแรกของปีเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 10.6 โดยมีแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและความมั่นใจของนักลงทุน ส่งผลให้การผลิต การส่งออก การลงทุนและการบริโภคของภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากการที่ราคาพืชผลสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเมืองไทยลดลงร้อยละ 3.6
- หากปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยขยายตัวจากไตรมาสแรกร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นการขยายตัว 5 ไตรมาสติดต่อกันตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2552
- การประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2553 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.0 — 7.5 โดย การส่งออกมีศักยภาพที่จะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 25.7 ภาคการบริโภคของภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.1 และหากสถานการณ์การเมืองในประเทศในช่วงต่อไปไม่มีเหตุการณ์ที่มีความรุนแรง ภาคการท่องเที่ยวและภาคการลงทุนมีศักยภาพที่จะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 4.7 และ 9.2 ตามลำดับ ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 3.0 - 3.5 อัตราการว่างงานร้อยละ 1.3 การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดร้อยละ 4.9 ของ GDP
- ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงที่เหลือของปี ได้แก่ 1) การเร่งรัดฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตานักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งการเร่งรัดการดำเนินการตามแผนการปรองดองอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ 2) การแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 รวมถึงการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ 3) การดูแลและแก้ไขปัญหาการผลิตภาคการเกษตรรวมถึงการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรอย่างเหมาะสมภายใต้สถานการณ์ที่ปริมาณน้ำในเขื่อนยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ รวมถึงการแข็งค่าของเงินบาทท่ามกลางแนวโน้มการอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องของเงินด่อง 4) การเร่งรัดโครงการลงทุนสำคัญๆ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ให้มีความต่อเนื่อง รวมทั้งการเตรียมโครงการสำคัญ ๆ ภายใต้กรอบงบประมาณประจำปี 2554 ให้มีความพร้อมต่อการดำเนินงานและการเบิกจ่าย โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2553 และในไตรมาสแรกของปี 2554 ซึ่งอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงตามแนวโน้มการลดลงของแรงขับเคลื่อนจากเศรษฐกิจโลกและข้อจำกัดการขยายตัวจากฐานที่สูงขึ้น และ 5) การดำเนินนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนอย่างสมดุลเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายใต้แนวโน้มแรงกดดันในการแข็งค่าของเงินบาทและความเสี่ยงด้านความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนและอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินสกุลหลัก
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2553 (% YOY) 2552 2553 ทั้งปี Q1 Q2 ประมาณการ GDP (ณ ราคาคงที่) -2.2 12.0 9.1 7.0-7.5 การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่) -9.0 12.9 12.2 9.2 ภาคเอกชน -12.8 15.8 18.5 12.1 ภาครัฐ 2.7 3.8 -3.4 1.7 การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่) -0.1 4.5 6.5 4.0 ภาคเอกชน -1.1 4.0 6.5 4.1 ภาครัฐบาล 5.8 7.3 6.3 3.9 มูลค่าการส่งออกสินค้า (US$) -13.9 32.0 41.8 25.7 ปริมาณ -14.0 16.5 28.3 17.2 มูลค่าการนาเข้าสินค้า (US$) -24.9 63.6 44.8 32.9 ปริมาณ -22.7 47.4 30.2 24.9 ดุลบัญชีเดินสะพัด ต่อ GDP (%) 7.8 6.7 6.0 4.9 เงินเฟ้อ -0.8 3.8 3.3 3.0-3.5 อัตราการว่างงาน 1.5 1.1 1.3 1.3
เศรษฐกิจไทยไตรมาสสอง และแนวโน้มปี 2553
เศรษฐกิจไทยไตรมาสสองปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 9.1 ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและความเชื่อมั่นทั้งผู้บริโภคและนักลงทุน ส่งผลให้ การผลิต การส่งออก การลงทุนและการบริโภคของภาคเอกชนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากการที่ราคาพืชผลสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว ทาให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเมืองไทยลดลงร้อยละ 3.6
หากปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้วปริมาณกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในไตรมาสสองของปี 2553 เปรียบกับไตรมาสก่อนหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เป็นการขยายตัว 5 ไตรมาสติดต่อกัน ตั้งแต่ไตรมาสสองปี 2552 ดังนั้นในครึ่งแรกของปี 2553 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 10.6
สัญญาณบวกในไตรมาสสอง ปี 2553 ได้แก่
(1) การส่งออกขยายตัวสูงขึ้นอย่างชัดเจน มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 41.8 เร่งตัวขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 32.0 ในไตรมาสแรก ปี 2553 การส่งออกสินค้าหลักๆ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และ อัญมณี เครื่องประดับ ขยายตัวร้อยละ 97.1 43.5 37.2 และ 236.6 ตามลำดับ
(2) ค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 6.5 เป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 โดยเฉพาะราคายางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 108.7 93.8 และ 26.9 ตามลำดับ ทำให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30.0 ประกอบกับภาวะการจ้างงานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยมีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.3
(3) การลงทุนในภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 18.5 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ15.8 ในไตรมาสที่ผ่านมา เป็นการขยายตัวทั้งการลงทุนในสิ่งก่อสร้างและเครื่องมือเครื่องจักร จะเห็นได้จากปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ และการนำเข้าสินค้าทุน ที่ขยายตัวร้อยละ 12.2 และ 35.2 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 และ 23.8 ตามลำดับ
(4) ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 18.0 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ ได้แก่ รถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์ วัสดุก่อสร้าง เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และยางและผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 93.9 36.3 10.4 32.7 และ 16.8 ตามลำดับ ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและภาวะการก่อสร้างที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น อัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมโดยรวมอยู่ที่ระดับร้อยละ 66.1 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 58.4 ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
"...เศรษฐกิจไทยไตรมาสสอง ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 9.1 ดังนั้นครึ่งแรกของปี 2553 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 10.6 "
ถึงแม้ว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ประเทศไทยประสบปัญหาความไม่สงบทางการเมืองที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเมืองไทยมีจำนวน 2.9 ล้านคน ลดลงร้อยละ 3.6 แต่เมื่อรวมในครึ่งปีแรกมีจำนวนนักท่องเที่ยวจำนวน 7.5 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าภาคการท่องเที่ยวของไทยก็ยังมีศักยภาพที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้สูง
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2553
จากการประเมินศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศ ด้านการผลิต การส่งออก การบริโภคภาคครัวเรือน การลงทุน รวมทั้งหากสถานการณ์ในประเทศทางด้านการเมืองในช่วงต่อไปไม่มีเหตุการณ์ที่มีความรุนแรง ประกอบกับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปีจะเริ่มชะลอลง เนื่องจากฐานราคาสินค้าได้ปรับตัวขึ้นแล้วในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา ดังนั้น สศช. คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2553 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 7.0 — 7.5 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 3.0 - 3.5 และเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในช่วงร้อยละ 0 - 1.25 การบริโภคของภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.1 การลงทุนขยายตัวร้อยละ 9.2 มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 25.7 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 4.9 ของ GDP ลดลงจากการเกินดุลร้อยละ 7.8 ในปี 2552
"...เศรษฐกิจไทยปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 7.0 - 7.5 "
1. ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสสอง ปี 2553 ในด้านต่างๆ เป็นดังนี้
- ด้านการใช้จ่าย
การใช้จ่ายครัวเรือน: ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ในไตรมาสที่สองขยายตัวต่อเนื่องในอัตราที่เร่งขึ้นร้อยละ 6.5 เทียบกับไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 ได้รับแรงสนับสนุนจาก (1) ภาวะการจ้างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะในสาขาก่อสร้าง (2) รายได้เกษตรกรสูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงอยู่ในระดับสูงเนื่องมาจากความต้องการของตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น (3) การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลตามโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เริ่มมีเม็ดเงินเข้ามาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.2 ได้แก่ สินค้าประเภทรถยนต์นั่ง และเครื่องปรับอากาศ ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมใน ไตรมาสนี้เท่ากับ 68.0 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนที่ระดับ 70.9 เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในช่วงระหว่างเดือนมีนาคมต่อเนื่องถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2553 อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นในไตรมาสนี้ได้ปรับตัวดีขึ้นนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมิถุนายน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการเยียวยาผลกระทบทางการเมืองของรัฐบาลได้ช่วยหนุนและพลิกฟื้นความเชื่อมั่นของภาคเอกชนกลับคืนมาบางส่วน(1)
การใช้จ่ายภาคครัวเรือน %YoY 2552 --------- 2553 ---------- ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 H1 การใช้จ่ายภาคเอกชน -1.1 -2.5 -2.2 -1.3 1.4 4.0 6.5 5.3 สินค้าคงทน -8.2 -18.0 -13.8 -8.5 8.8 29.8 32.2 31.0 สินค้ากึ่งคงทน -6.7 -8.6 -9.1 -10.3 0.7 11.2 7.4 9.3 สินค้าไม่คงทน 0.0 -1.6 -1.3 0.9 2.1 1.5 1.4 1.4 - อาหาร 1.4 1.2 -0.2 3.2 1.4 0.9 1.7 1.3 - มิใช่อาหาร -1.0 -3.7 -2.0 -0.8 2.6 1.9 1.2 1.5 บริการ 2.9 7.1 4.8 2.8 -2.0 -4.3 5.6 1.0 ที่มา: สศช.
การลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวร้อยละ 18.5 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 15.8 โดยเป็นการขยายตัวทั้งการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้างที่ขยายตัวร้อยละ 21.7 และ 8.4 ตามลำดับ สอดคล้องกับดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 21.2 การนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 35.2 และ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ภายในประเทศที่ขยายตัวร้อยละ 37.3 เช่นเดียวกับยอดขายปูนซีเมนต์ภายในประเทศและพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างที่ขยายตัวร้อยละ 12.2 และ 10.4 ตามลำดับ
"...การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า โดยขยายตัวทั้งการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง..."
หมายเหตุ
(1) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 เท่ากับ 69.4
ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจอยู่ที่ระดับ 49.3 ลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 52.5 อันเนื่องมาจากความกังวลจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่เริ่มตึงเครียดตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมและสิ้นสุดในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนเมษายนลดลงมาอยู่ที่ระดับ 46.0 จาก 55.7 ในเดือนมีนาคม ก่อนที่จะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 49.9 และ 52.1 ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ตามลำดับ
การส่งออก: มูลค่าและปริมาณการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ใน ไตรมาสที่สองเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.8 ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสแรกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.0 โดยปริมาณและราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3 และ 10.0 ตามลำดับ เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 33.9 การที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นผลจากอุปสงค์จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเป็นผลจากการเปิดการค้าเสรีอาเซียน รวมทั้งมูลค่าการส่งออกที่ต่ำในปีก่อนหน้า ทั้งนี้การส่งออกภาคอุตสาหกรรมขยายตัวดีขึ้น ส่วนภาคการเกษตรประสบปัญหาภัยธรรมชาติทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยส่งผลต่อราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น เมื่อคิดในรูปเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3
"...มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 41.8 ต่อเนื่องจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 32.0 ตลาดส่งออกเพิ่มขึ้นทั้งในตลาดหลักและตลาดอื่นๆ..."
ตลาดส่งออก: เพิ่มขึ้นทั้งในตลาดหลักและตลาดอื่นๆ โดยเฉพาะตลาดอาเซียน (9) ที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.3 เช่นเดียวกับจีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (15) ที่ขยายตัวร้อยละ 30.7 26.4 34.6 และ 24.1 ตามลำดับ สำหรับตลาดใหม่ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ออสเตรเลีย (ร้อยละ 97.6) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 41.7) ไต้หวัน (ร้อยละ 36.1) และอินเดีย (ร้อยละ 25.2) เป็นต้น
การนาเข้า: มูลค่า ปริมาณและราคานาเข้าสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นสูง ในไตรมาสที่สอง มูลค่าการนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 44.8 ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 63.6 โดยราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ปริมาณการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 33.5 ขยายตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 47.4 ในไตรมาสที่แล้ว ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศทำให้มีความต้องการนำเข้าสินค้าทั้งในรูปวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปเพื่อตอบสนองกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าทุกภาคเศรษฐกิจขยายตัว โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานต่ำของปีที่ผ่านมา
สินค้านำเข้าทุกหมวดขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้น โดยสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 41.2 เทียบกับร้อยละ 23.1 ในไตรมาสแรก เนื่องจากการลงทุนภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น และอัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเครื่องจักร เช่นเดียวกับสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสาเร็จรูปที่ขยายตัวร้อยละ 55.8 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว (ร้อยละ 70.4) ตามการส่งออกที่เพิ่มขึ้น และภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ความต้องการสินค้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตเพิ่มมากขึ้น ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 39.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 32.8 ในไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่สินค้าเชื้อเพลิงและน้ามันหล่อลื่นมีราคานาเข้าเพิ่มขึ้น ทาให้ปริมาณการนาเข้าขยายตัวในอัตราที่ต่า โดยมูลค่านำเข้าขยายตัวร้อยละ 48.0 จากขยายตัวร้อยละ 41.7 ในไตรมาสที่ผ่านมา (ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 และราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3) ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และราคาน้ำมันดิบในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจทำให้มีความต้องการสินค้าเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
"...มูลค่าการนาเข้าขยายตัว ร้อยละ 44.8 ต่อเนื่องจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 63.6 สินค้านาเข้าทุกหมวดขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้น..."
อัตราการค้า (Term of Trade) ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากราคาส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นมากกว่าราคานำเข้า โดยราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ขณะที่ราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 ทำให้อัตราการค้าในไตรมาสที่สองของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0
"...อัตราการค้าปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 1.0..."
ดุลการค้า: เกินดุลเพิ่มขึ้น ในไตรมาสที่สอง เกินดุล 4,645 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 150,437 ล้านบาท) สูงกว่าการเกินดุล 2,133 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 69,834 ล้านบาท) ในไตรมาสที่แล้ว
"...เกินดุลเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า..."
ด้านการผลิต
สาขาเกษตรกรรม หดตัวร้อยละ 1.1 เนื่องจากภัยแล้งและสภาพอากาศร้อน ประกอบกับปัญหาการแพร่ระบาดของเพลี้ยในไร่มันสำปะหลังและนาข้าวส่งผลให้ผลผลิตอ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ยางพารา และข้าวเปลือกลดลงร้อยละ 47.7 23.8 4.3 และ 2.1 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามผลผลิตปาล์มน้ำมันยังคงขยายตัวร้อยละ 18.3 ส่วนหนึ่งมาจากพื้นที่ให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
"...สาขาเกษตรกรรมหดตัว ร้อยละ 1.1 เนื่องจากภัยแล้ง ในขณะราคาพืชผลและรายได้เกษตกรเพิ่มขึ้น..."
ราคาพืชผลขยายตัวร้อยละ 27.8 เป็นผลมาจากราคายางพาราที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 108.7 เนื่องจากความต้องการยางพาราจากอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่องของจีนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ราคามันสำปะหลังขยายตัวร้อยละ 93.8 เป็นผลมาจากผลผลิตได้รับความเสียหายจากการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งทำให้อุปทานมันสำปะหลังอยู่ในภาวะตึงตัว ขณะที่อุปสงค์ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ราคาข้าวเปลือกภายในประเทศลดลงร้อยละ 20.1 สอดคล้องกับทิศทางราคาในตลาดโลก เนื่องจากความต้องการสั่งซื้อข้าวจากประเทศคู่ค้าสำคัญลดลง เช่น ฟิลิปปินส์ได้หันไปนำเข้าข้าวจากเวียดนามซึ่งมีราคาต่ำกว่าทดแทนการนำเข้าจากไทย ราคาปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 6.5 ชะลอจากไตรมาสที่ผ่านมาตามราคาสุกรและไก่เนื้อเป็นหลัก เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น
การที่ราคาและผลผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นส่งผลทำให้รายได้เกษตรกรในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 30.0 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์รวมครึ่งแรกของปี สาขาเกษตรกรรมหดตัวร้อยละ 0.9
"...สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 18.0 จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและการปรับตัวดีขึ้นของการก่อสร้าง..."
สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 18.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ส่งผลทำให้อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าเพื่อใช้ภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 22.6 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 20.1 ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยอุตสาหกรรมที่เป็นตัวขับเคลื่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 93.9 และ 36.3 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นการเร่งผลิตตามยอดจอง ประกอบกับผู้บริโภคมีความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจึงมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อีกทั้งปัจจัยหนุนจากรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 10.4 ปรับตัวดีขึ้นตามภาวะการก่อสร้างที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกขยายตัวร้อยละ 19.8 ชะลอตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 50.2 โดยเฉพาะการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ขยายตัวร้อยละ 22.2 และ 32.0 ซึ่งชะลอตัวจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 61.1 และ 52.2 ตามลำดับ สอดคล้องกับมูลค่าการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแผงวงจรไฟฟ้าที่ขยายตัวร้อยละ 20.5 และ 27.7 ชะลอตัวจากที่ขยายตัวร้อยละ 53.0 และ 59.5 ตามลำดับ โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดหลักของไทย เช่น ตลาดจีน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การผลิตภัณฑ์เครื่องหนังและรองเท้าหนังเพื่อการส่งออกขยายตัวร้อยละ 21.8 และ 8.3 ตามลำดับ โดยเร่งตัวจากที่ขยายตัวร้อยละ 14.1 และหดตัวร้อยละ 6.5 ในไตรมาสที่ผ่านมา ส่วนอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารทะเลกระป๋องขยายตัวร้อยละ 12.2 และ 0.4 ชะลอตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 23.9 และ 8.8 ตามลำดับ ในส่วนของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกระหว่างร้อยละ 30 - 60 ของการผลิตรวมขยายตัวร้อยละ 17.6 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์พาณิชย์ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 108.2 เมื่อรวมครึ่งแรกของปี ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 20.4
อัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 66.1 ลดลงจากร้อยละ 68.4 ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เคมี (ร้อยละ 88.5 จากร้อยละ 81.1) วัสดุก่อสร้าง (ร้อยละ 73.6 จากร้อยละ 72.9) และยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (ร้อยละ 72.0 จากร้อยละ 69.2) อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 60.0 จากร้อยละ 56.0) อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ การผลิตยาสูบ เครื่องหนัง รองเท้าและเครื่องเรือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 48.9 29.9 46.2 และ 26.5 ตามลำดับ