- ความต้องการลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีสภาพคล่องทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบหลังช่วงเทศกาลปีใหม่ และสถาบันการเงินนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุน อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินจึงปรับตัวลดลงเล็กน้อย
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นมาก อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่สูงขึ้นเล็กน้อย และ US Treasury Yield ปรับสูงขึ้นมากเมื่อนักลงทุนคาดว่า Fed อาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. เริ่มปรับแข็งค่าขึ้น เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าที่คาดไว้ หลังจากมีความกังวลต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีสัญญาณของความแข็งแกร่ง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจาก สถาบันการเงินที่ดำรงเงินสดสำรองได้ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยลดการลงทุนลง และ สถาบันการเงินบางแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อ คืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมา อยู่ที่ร้อยละ 1.875 - 1.90625 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ความ ต้องการลงทุนเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากเริ่มมีสภาพคล่องทยอย ไหลกลับเข้าสู่ระบบการเงินหลังจากช่วงวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลปีใหม่ และสถาบันการเงินนำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้เพื่อปิดสำรองราย ปักษ์ปลายสัปดาห์มาลงทุนระยะสั้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันจึงปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.84375 และ 1.96875 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันปิดตลาด คงที่ตลอดสัปดาห์ที่ระดับร้อยละ 2.0 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มี ช่วงเคลื่อนไหวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 - 1.97 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 1.91 ต่อปีในช่วงต้น สัปดาห์มาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปีในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มมีการเผยแพร่ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ หรือ Bangkok Interbank Offered Rate (BIBOR) อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ร่วม ตลาดทั้งธนาคารพาณิชย์และบริษัทเอกชนใช้เป็นอัตราอ้างอิง (Benchmark) สำหรับกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมที่สำคัญในตลาด เงิน อันจะส่งเสริมให้เกิดการกู้ยืมระยะสั้นแบบมีระยะเวลา (term) มากขึ้น นอกเหนือจากการกู้ยืมระหว่างธนาคารประเภทข้ามคืน (overnight) และประเภทข้ามคืนเมื่อทวงถาม (on call) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 16,000 ล้านบาท โดย เป็นพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 10 และ 15 ปี รวม 3 รุ่น วงเงิน 4,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน ล้านบาท อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย และมีการ ประมูลพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วันในวงเงิน 5,000 ล้านบาท แต่เนื่องจากผู้ ประมูลเสนออัตราผลตอบแทนของพันธบัตรในรุ่นนี้ค่อนข้างสูง โดยสูงกว่า อัตราผลตอบแทนของตั๋วเงินคลังอายุ 28 วันในสัปดาห์ที่แล้วถึง 37.4 basis point ธปท.จึงจัดสรรพันธบัตรในรุ่นนี้ให้แก่ผู้ประมูลเพียง 3,160 ล้านบาท สำหรับตั๋วเงินคลังวงเงิน 8,000 ล้านบาท ได้มีการประมูลไปเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว เนื่องจากในวันจันทร์เป็นวันหยุดราชการ ดังนั้นในรอบสัปดาห์จึงมีพันธบัตร ออกใหม่รวม 14,160 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองในสัปดาห์แรกของปีค่อนข้าง หนาแน่น มูลค่าซื้อขายรวมเท่ากับ 56,214 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 14,053 ล้าน บาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 19.3 โดยเป็นธุรกรรม Outright 31,774 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 56.5 พันธบัตร ธปท. มีปริมาณการซื้อขาย สูงสุด ตามอุปทานในตลาดแรกที่เพิ่มขึ้น รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตรา ผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก สัปดาห์ก่อนเล็กน้อย แต่พันธบัตรฯ ระยะยาวอายุมากกว่า 12 ปี อัตรา ผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรฯ และหุ้นกู้เอกชนเกือบไม่เปลี่ยนแปลง
สำหรับ US Treasury Yield ได้ปรับตัวสูงขึ้นในวันอังคารที่ 4 ม.ค. หลังการ เปิดเผยรายงานการประชุมของ Fed ซึ่งส่งสัญญาณว่าสหรัฐฯ อาจจะมี นโยบายการเงินที่เข้มงวดกว่าเดิม โดยจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง และอาจจะอยู่ในระดับที่สูงกว่านักลงทุนเคยคาดการณ์ไว้ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ โดยพันธบัตรฯ อายุ 1-7 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 7-15 basis point สำหรับพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 10 ปรับเพิ่มขึ้น 3-5 basis point
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทในสัปดาห์แรกของปี 2548 ยังคงมีปริมาณการซื้อขายค่อนข้างเบาบาง โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.07 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า ในช่วงต้นสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่า ขึ้นหลังปรับอ่อนค่าลงมากในปลายสัปดาห์ที่แล้วจากสถานการณ์คลื่นยักษ์ที่ เกิดขึ้นใน 6 จังหวัดภาคใต้ อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วน ใหญ่ตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับ แข็งค่าขึ้นเป็นลำดับเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากมีแรงซื้อกลับเงิน ดอลลาร์ สรอ. หลังจากมีการเทขายเพื่อทำกำไรเป็นจำนวนมากในช่วงก่อน เทศกาลปีใหม่ ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่า การคาดการณ์ของตลาด นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ สรอ. ยังได้รับปัจจัย สนับสนุนจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในเชิง รุกมากกว่าที่ตลาดเคยคาดไว้ในการประชุมช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากที่ รายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 4 ม.ค. แสดงความกังวล เกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทาง เศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของ สหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 7 ม.ค. ออกมาต่ำกว่าที่มี การคาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจส่งผลให้การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่มากเท่าที่ตลาด คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นมาก อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่สูงขึ้นเล็กน้อย และ US Treasury Yield ปรับสูงขึ้นมากเมื่อนักลงทุนคาดว่า Fed อาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. เริ่มปรับแข็งค่าขึ้น เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าที่คาดไว้ หลังจากมีความกังวลต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีสัญญาณของความแข็งแกร่ง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจาก สถาบันการเงินที่ดำรงเงินสดสำรองได้ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยลดการลงทุนลง และ สถาบันการเงินบางแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อ คืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมา อยู่ที่ร้อยละ 1.875 - 1.90625 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ความ ต้องการลงทุนเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากเริ่มมีสภาพคล่องทยอย ไหลกลับเข้าสู่ระบบการเงินหลังจากช่วงวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลปีใหม่ และสถาบันการเงินนำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้เพื่อปิดสำรองราย ปักษ์ปลายสัปดาห์มาลงทุนระยะสั้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันจึงปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.84375 และ 1.96875 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันปิดตลาด คงที่ตลอดสัปดาห์ที่ระดับร้อยละ 2.0 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มี ช่วงเคลื่อนไหวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 - 1.97 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 1.91 ต่อปีในช่วงต้น สัปดาห์มาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปีในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มมีการเผยแพร่ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ หรือ Bangkok Interbank Offered Rate (BIBOR) อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ร่วม ตลาดทั้งธนาคารพาณิชย์และบริษัทเอกชนใช้เป็นอัตราอ้างอิง (Benchmark) สำหรับกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมที่สำคัญในตลาด เงิน อันจะส่งเสริมให้เกิดการกู้ยืมระยะสั้นแบบมีระยะเวลา (term) มากขึ้น นอกเหนือจากการกู้ยืมระหว่างธนาคารประเภทข้ามคืน (overnight) และประเภทข้ามคืนเมื่อทวงถาม (on call) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 16,000 ล้านบาท โดย เป็นพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 10 และ 15 ปี รวม 3 รุ่น วงเงิน 4,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน ล้านบาท อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย และมีการ ประมูลพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วันในวงเงิน 5,000 ล้านบาท แต่เนื่องจากผู้ ประมูลเสนออัตราผลตอบแทนของพันธบัตรในรุ่นนี้ค่อนข้างสูง โดยสูงกว่า อัตราผลตอบแทนของตั๋วเงินคลังอายุ 28 วันในสัปดาห์ที่แล้วถึง 37.4 basis point ธปท.จึงจัดสรรพันธบัตรในรุ่นนี้ให้แก่ผู้ประมูลเพียง 3,160 ล้านบาท สำหรับตั๋วเงินคลังวงเงิน 8,000 ล้านบาท ได้มีการประมูลไปเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว เนื่องจากในวันจันทร์เป็นวันหยุดราชการ ดังนั้นในรอบสัปดาห์จึงมีพันธบัตร ออกใหม่รวม 14,160 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองในสัปดาห์แรกของปีค่อนข้าง หนาแน่น มูลค่าซื้อขายรวมเท่ากับ 56,214 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 14,053 ล้าน บาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 19.3 โดยเป็นธุรกรรม Outright 31,774 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 56.5 พันธบัตร ธปท. มีปริมาณการซื้อขาย สูงสุด ตามอุปทานในตลาดแรกที่เพิ่มขึ้น รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตรา ผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก สัปดาห์ก่อนเล็กน้อย แต่พันธบัตรฯ ระยะยาวอายุมากกว่า 12 ปี อัตรา ผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรฯ และหุ้นกู้เอกชนเกือบไม่เปลี่ยนแปลง
สำหรับ US Treasury Yield ได้ปรับตัวสูงขึ้นในวันอังคารที่ 4 ม.ค. หลังการ เปิดเผยรายงานการประชุมของ Fed ซึ่งส่งสัญญาณว่าสหรัฐฯ อาจจะมี นโยบายการเงินที่เข้มงวดกว่าเดิม โดยจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง และอาจจะอยู่ในระดับที่สูงกว่านักลงทุนเคยคาดการณ์ไว้ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ โดยพันธบัตรฯ อายุ 1-7 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 7-15 basis point สำหรับพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 10 ปรับเพิ่มขึ้น 3-5 basis point
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทในสัปดาห์แรกของปี 2548 ยังคงมีปริมาณการซื้อขายค่อนข้างเบาบาง โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.07 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า ในช่วงต้นสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่า ขึ้นหลังปรับอ่อนค่าลงมากในปลายสัปดาห์ที่แล้วจากสถานการณ์คลื่นยักษ์ที่ เกิดขึ้นใน 6 จังหวัดภาคใต้ อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วน ใหญ่ตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับ แข็งค่าขึ้นเป็นลำดับเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากมีแรงซื้อกลับเงิน ดอลลาร์ สรอ. หลังจากมีการเทขายเพื่อทำกำไรเป็นจำนวนมากในช่วงก่อน เทศกาลปีใหม่ ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่า การคาดการณ์ของตลาด นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ สรอ. ยังได้รับปัจจัย สนับสนุนจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในเชิง รุกมากกว่าที่ตลาดเคยคาดไว้ในการประชุมช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากที่ รายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 4 ม.ค. แสดงความกังวล เกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทาง เศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของ สหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 7 ม.ค. ออกมาต่ำกว่าที่มี การคาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจส่งผลให้การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่มากเท่าที่ตลาด คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-