(ต่อ1)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก และแนวโน้มปี 2550

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 5, 2007 16:03 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          ในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ แรงกดดันเงินเฟ้อลดลงมากและอัตราการว่างงานต่ำ
- แรงกดดันต่อราคาสินค้าลดลงต่อเนื่อง ไตรมาสแรกของปี 2550 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 2.4 ลดลงจากเฉลี่ยร้อยละ 4.7 ในปี 2549 และได้ลดลงต่อเนื่องเป็นร้อยละ 1.8 ในเดือนเมษายน และร้อยละ 1.9 ในเดือนพฤษภาคม(3) เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศชะลอตัวลงมากและค่าเงินบาทแข็ง ทำให้ต้นทุนนำเข้าสินค้าลดลงอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในไตรมาสแรกเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 1.4 เทียบกับเฉลี่ยร้อยละ 2.3 ในปี 2549 และลดลงเป็นร้อยละ 1.2 ในเดือนเมษายน และร้อยละ 0.7 ในเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ดัชนีราคาผู้ผลิตก็ชะลอลงอย่าง
ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทที่ช่วยลดต้นทุนราคาสินค้านำเข้า
*********************************************************************************************************
หมายเหตุ (3) ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2550 เงินเฟ้อเท่ากับ 2.2 และเงินเฟ้อพื้นฐานเท่ากับ 1.3
*********************************************************************************************************
- การจ้างงานรวมเพิ่มขึ้น และอัตราการว่างงานต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ในไตรมาสแรกปี 2550 มีผู้มีงานทำจำนวน 35.31 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยผู้มีงานทำภาคเกษตรกรรมจำนวน 12.42 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรจำนวน 22.89 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 มีอัตราการว่างงานอยู่ร้อยละ 1.6 ต่ำกว่าร้อยละ 1.9 ของช่วงเดียวกันปีที่แล้วอย่างไรก็ตาม มีเครื่องชี้บางประการถึงความเสี่ยงที่อาจจะ ทำให้การว่างงานเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ ได้แก่ แนวโน้มการ
จ้างงานนอกภาคเกษตรบางสาขาชะลอตัว เช่น สาขาการก่อสร้าง การค้าส่งค้าปลีก การเงินการธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น การจ้างงานต่ำระดับ (ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)เพิ่มขึ้นจากประมาณ 520,000 คน ในไตรมาสแรกปีที่แล้ว เป็น 630,000 คน ในไตรมาส
แรกของปี 2550 สัดส่วนตำแหน่งงานว่างต่อจำนวนผู้สมัครงานใหม่ที่ลดลง 1.6 เท่า ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2549 เหลือเพียง 0.3 เท่า ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2550 แม้ว่าสัดส่วนของผู้สมัครงานใหม่ต่อจำนวนการบรรจุงานลดลงเล็กน้อยจาก 2.9 เท่า ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2549 เป็น 2.2 เท่า ณ
สิ้นไตรมาสแรกปี 2550 แสดงว่าการจ้างงานมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวต่อไปหากภาคการผลิตและการลงทุนยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน และความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการและประเภทของแรงงานที่มีอยู่ในตลาดมีความไม่สอดคล้องกัน นอกจากนี้อัตราการว่างงานร้อยละ 1.6 ในไตรมาสแรกของปีแสดงว่าตลาดแรงงานยังไม่สามารถรองรับแรงงานใหม่ได้ทั้งหมด เนื่องจากำลังแรงงานไตรมาสแรกปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.47 เร็วกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.06 ในช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
- การใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลง ในไตรมาสแรกของปีการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม(4) ลดลงร้อยละ 5.7 ต่อเนื่อง
จากที่ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 3.7 ในช่วงปี 2549 แม้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะยังเพิ่มขึ้น แสดงถึงการใช้ปิโตรเลียมอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ผู้บริโภคได้มีการปรับตัวไปใช้ก๊าซโซฮอล์มากขึ้นโดยในไตรมาสแรกนี้มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ต่อเนื่องจากที่ได้มีการปรับตัวไปมากในปี 2549 และในเดือนเมษายนปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลงร้อยละ 4.2 และการใช้ก๊าซโซฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0
*********************************************************************************************************
หมายเหตุ (4) ใช้ข้อมูลของกรมธุรกิจพลังงานซึ่งมีข้อมูล 4 เดือน ทำให้ขนาดของการเปลี่ยนแปลงต่างจากข้อมูลของสำนักงานนโยบาย
และแผนพลังงานซึ่งมีข้อมูลเพียง 3 เดือน แต่อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงชี้ทิศทางที่สอดคล้องกัน
*********************************************************************************************************
- เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2550 เท่ากับ 71.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 3.5 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และเท่ากับการนำเข้า 7 เดือน ซึ่งนับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่มีเสถียรภาพ
- ฐานะการคลังมีการขาดดุลเงินสด ในไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ 2550 (ม.ค.-มี.ค. 2550) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังจำนวน 307,517.95 ล้านบาท และมีรายจ่ายจำนวน 437,267.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 22.59 เป็นผลให้มีดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 132,226.07 ล้านบาท ซึ่งขาดดุลเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อนจำนวน 79,541.57 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 5,691.33 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลมีดุลเงินสดขาดดุลก่อนกู้จำนวน 126,534.74 ล้านบาท รัฐบาลได้มีการชดเชยการขาดดุลด้วยการออกพันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงิน ทำให้รัฐบาลมีดุลเงินสด(หลังกู้) ขาดดุลจำนวน 21,274.74 ล้านบาท
- หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2550 มีจำนวน 3.21 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.10 ของ GDP ลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 40.48 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2549 และต่ำกว่าเมื่อเทียบกับร้อยละ 41.45 ณ สิ้นเดือน มีนาคม 2549
ภาวะการเงิน : อัตราดอกเบี้ยทุกประเภทปรับลดลงเป็นลำดับ การขยายตัวของเงินฝากชะลอลง โดยเฉพาะเงินฝากประจำ แต่สินเชื่อชะลอตัวลงมากกว่า สภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินจึงอยู่ในระดับสูง ส่วนค่าเงินบาทและดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริงมีแนวโน้มแข็งขึ้น
- อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลดลงคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รวม 2 ครั้ง ครั้งละ 25 จุด ในไตรมาสแรกของปี มาอยู่ที่ร้อยละ 4.50 ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัว และอัตราเงินเฟ้อลดต่ำลงอย่าง
ต่อเนื่อง และปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องในการประชุมเดือนเมษายนและพฤษภาคมอีก ครั้งละ 50 จุด ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงเป็นร้อยละ 3.50 ต่อปี ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคง Fed Fund Rate ไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายใน
ประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ มีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งญี่ปุ่น กลุ่มยูโร และอังกฤษ
- อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ปรับลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวปรับลดลงมากกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงเพียงเล็กน้อย อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ย
ของ 5 ธนาคารใหญ่ ณ สิ้นไตรมาสแรก อยู่ที่ร้อยละ 7.63 และ 3.50 ปรับลดลงจากสิ้นปี 2549 ร้อยละ 0.13 และ 1.0 ตามลำดับ และอัตราดอกเบี้ยยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องใน ไตรมาสสอง ล่าสุดอัตราดอกเบี้ย MLR และเงินฝาก ประจำ 12 เดือน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ร้อยละ 7.25
และ 2.38 ต่อปี ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริงค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อปรับลดลงเร็ว การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมากกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจริง(Effective spread) ของธนาคารเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.86 ในไตรมาสสี่ เป็นร้อยละ 3.32 ในไตรมาสแรก
- เงินฝากและสินเชื่อชะลอตัว เงินฝาก ณ สิ้นไตรมาสแรกขยายตัวจากระยะเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 2.9 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ส่งผลให้เงินฝากประจำขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงมาก โดยขยายตัวร้อยละ 9เทียบกับร้อยละ 21.8 ในไตรมาสก่อนหน้า สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนขยายตัวเพียงร้อยละ0.8 เทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ6.6 และมีการชะลอตัวในเกือบทุกสาขาตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน นอกจากนี้
ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตชะลอตัวลงอย่างชัดเจน
- สภาพคล่องยังอยู่ในระดับสูง สัดส่วนสินเชื่อ (รวมเงินลงทุนในหลักทรัพย์เอกชน) ต่อเงินฝาก ณ สิ้นไตรมาสหนึ่ง อยู่ที่ร้อยละ 91.4 ลดลงเล็กน้อยจากสิ้นปี 2549 และระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสินเชื่อชะลอตัวลงมากกว่าเงินฝาก สภาพคล่องส่วนเกินของระบบธนาคารพาณิชย์ที่คำนวณเป็นสัดส่วนของสภาพคล่องที่พร้อมนำไปใช้จึงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าประมาณ 844 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสแรก หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2จากระยะเดียวกันของปีก่อน
- ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยในไตรมาสแรกเท่ากับ 35.54 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็ง
ค่าขึ้นจากไตรมาสก่อนและระยะเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 2.7 และ 9.5 ตามลำดับ เนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง เงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนความต้องการเร่งขายเงินตราต่างประเทศของผู้ส่งออกไทย ทั้งส่งมอบทันทีและสัญญาล่วงหน้า ที่ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนมีนาคม และเงินบาทยังคงมีทิศทางแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยที่ 34.83 และ 34.57 บาทต่อดอลลาร์สรอ. ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ตามลำดับ และค่าเฉลี่ยในช่วง 5 เดือนแรกภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก และแนวโน้มปี 2550 4 มิถุนายม 2550
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 11 ของปี 35.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. การแข็งค่าของเงินบาทในอัตราที่เร็วกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ และเงินสกุลภูมิภาคส่วนใหญ่ ทำ ให้ดัชนีค่าเงินบาท (Nominal Effective Exchange Rate: NEER) เฉลี่ยในไตรมาสแรก
สูงขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 7.7 และดัชนี ค่าเงินบาทที่แท้จริง (Real Effective Exchange Rate: REER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 8.3 แต่เป็นอัตราการแข็งค่าที่ ชะลอลงจากปีก่อน และเปลี่ยนแปลงในอัตราที่ใกล้เคียงกับสกุลเงินอื่น ๆ ในภูมิภาคมากขึ้น
- ตลาดหลักทรัพย์และตลาดตราสารหนี้ การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาสแรกมีมูลค่าเฉลี่ยต่อวัน 11.8
พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 43.5 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2549 และดัชนีราคาลดลงจากสิ้นปีเล็กน้อย โดยมีปัจจัยกดดันจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศ และความไม่มั่นใจของนักลงทุนต่อทิศทางการเมืองและนโยบายภาครัฐ อย่างไรก็ตาม แรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติที่มีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นไตรมาส และมียอดซื้อสุทธิในช่วง 5 เดือนแรกรวม 66.6 พันล้านบาท ส่งผลให้ดัชนีราคาปรับตัวสูงขึ้นปิด ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมที่ 737.4 จุด เพิ่มขึ้น 57.6 จุดจากสิ้นปี 2549 มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมเท่ากับ 5.5 ล้านล้านบาท
แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงและการออกพันธบัตรระยะสั้นของ ธปท. จำนวนมากกระตุ้นให้การลงทุนในตลาดตราสารหนี้ขยายตัว มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในไตรมาสแรก 50.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 59.8 และเพิ่มขึ้นเป็น 63.1 พันล้านบาทในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield) ในไตรมาสแรกปรับตัวลดลง 82-112 basis points ซึ่งมากกว่าการลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และในช่วง 5 เดือนแรก yield ลดลงรวม 128-184 basis points ซึ่งทำให้ดัชนีผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นมาก
(ยังมีต่อ).../1.2 ภาพรวม..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ