การประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้างไตรมาสที่ 2/2553

ข่าวทั่วไป Tuesday October 12, 2010 09:25 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

การประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้างเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลของสิ่งก่อสร้างทุกประเภทที่เอกชนได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง ต่อเติมหรือดัดแปลงเกี่ยวกับจำนวนผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง จำนวนสิ่งก่อสร้างและพื้นที่ก่อสร้าง ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับหน่วยงานภาครัฐในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับเอกชนใช้ในการจัดทำตัวชี้วัดด้านที่อยู่อาศัย ใช้ในการติดตามภาวะเศรษฐกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ การส่งเสริมการขายและการลงทุน

ข้อมูลพื้นที่การก่อสร้าง ไตรมาสที่ 2/2553 เป็นข้อมูลในระดับภาคและทั่วประเทศ ที่อยู่ในเขตเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล(บางส่วน) ในพื้นที่ที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 สรุปได้ดังนี้

1. จำนวนผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง และพื้นที่ก่อสร้าง

ในไตรมาส 2 ปี 2553 มีเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่ ต่อเติมหรือดัดแปลงจำนวนทั้งสิ้น 42,646 ราย เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสิ่งก่อสร้างใช้เป็นอาคารอาคารโรงเรือน 37,650 ราย และที่มิใช่อาคารโรงเรือน 4,996 ราย ดังนี้

1.1 สิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือน

สำหรับสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือนนั้นมีผู้ใด้ใบอนุญาตให้ก่อสร้าง 37,650 รายมีพื้นที่ก่อสร้าง 14.1 ล้าน ต.ร.ม. ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 97.6)ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่ และร้อยละ 2.4ได้รับอนุญาตให้ต่อเติมหรือดัดแปลง

เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่าจำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารโรงเรือนลดลงร้อยละ 8.9 และมีพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตลดลงร้อยละ 9.1 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปี 2552 จำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 และพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5

1.2 สิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือน

สำหรับสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนมีเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง 4,996 ราย ส่วนใหญ่ร้อยละ 99.6 ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่ และร้อยละ 0.4 ได้รับอนุญาตให้ต่อเติมหรือดัดแปลง โดยเป็นสิ่งก่อสร้างประเภทลานจอดรถ สนามกีฬา ปั๊มน้ำมันป้ายโฆษณา สระว่ายน้ำ ฯลฯ มีพื้นที่ก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 343,534 ต.ร.ม. และประเภทท่อ/ทางระบายน้ำ ถนน รั้ว/กำแพง สะพาน เขื่อน/คันดิน ฯลฯ มีความ ยาวก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 465,252 เมตร

เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่าจำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลงร้อยละ 8.8 และมีพื้นที่ก่อสร้างในส่วนที่คิดเป็นความยาวลดลงร้อยละ 36.4 พื้นที่ก่อสร้างที่คิดเป็นพื้นที่ ลดลงร้อยละ 25.9 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2552 พบว่าจำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 โดยมีพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างลดลงร้อยละ 12.8 และความยาวของสิ่งก่อสร้างลดลงร้อยละ 19.5

2. ชนิดของสิ่งก่อสร้าง

2.1 สิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือน

อาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในไตรมาส 2/2553 ส่วนใหญ่เป็นอาคารโรงเรือนเพื่ออยู่อาศัยโดยมีพื้นที่รวม 10.1 ล้าน ต.ร.ม. หรือร้อยละ 71.6 ของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือนทั้งสิ้น ส่วนอาคารโรงเรือนที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์และสำนักงานมี พื้นที่รวม 1.5 ล้าน ต.ร.ม. คิดเป็นร้อยละ 10.4 เพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงานมีพื้นที่ก่อสร้างรวม 1.1 ล้านต.ร.ม. คิดเป็นร้อยละ 8.1 เป็นการก่อสร้างโรงแรม คิดเป็นพื้นที่ 677,534 ต.ร.ม. และเป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อการศึกษา และสาธารณสุข จำนวน 109,406 ต.ร.ม.

เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่าอาคารโรงเรือนมีพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโดยรวมลดลงร้อยละ 9.1 (จากพื้นที่ 15,511,177 ตร.ม. เป็น 14,095,777 ตร.ม.) โดยเฉพาะการก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์และสำนักงาน และการก่อสร้างอาคารเพื่อการศึกษาและสาธารณสุข ลดลงในสัดส่วนเท่ากัน คือร้อยละ 30.9 รองลงมาเป็นการก่อสร้าง เพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงาน ลดลงร้อยละ 17.1 (จากพื้นที่การก่อสร้าง 1,370,019 ตร.ม.เป็น 1,135,418 ตร.ม.) สำหรับการก่อสร้างเพื่ออยู่อาศัย มีพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตลดลงร้อยละ 7.0 ส่วนการก่อสร้างโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 112.1 (จากพื้นที่ 319,432 ตร.ม. เป็น 677,534 ล้าน ตร.ม.) และการก่อสร้าง อื่น ๆ ลดลงร้อยละ 10.3

หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2552 พบว่า อาคารโรงเรือนมีพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5 (จากพื้นที่ 10,103,077 ตร.ม. เป็น 14,095,777 ตร.ม.)

2.2 สิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือน

สำหรับสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนนั้นส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างท่อ/ทางระบายน้ำ ที่มีความยาว 248,603 เมตร หรือร้อยละ 53.4 ของสิ่งก่อสร้างที่มีความยาวทั้งสิ้น เป็นการก่อสร้าง รั้ว/กำแพงซึ่งมีความยาว 87,512 เมตรหรือร้อยละ 18.8 และถนนยาว 76,948 เมตรหรือร้อยละ 16.5

เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่าสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนมีความยาวของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโดยรวมลดลงร้อยละ 25.9 (จากความยาว 627,943 ม. เป็น 465,252 ม.) และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2552 ลดลง ร้อยละ 19.5 (จากความยาว 577,739 ม. เป็น 465,252 ม.)

สำหรับสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนที่คิดเป็นพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างลานจอดรถได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างคิดเป็นพื้นที่ 196,548 ต.ร.ม.หรือร้อยละ 57.2 และปั๊มน้ำมันได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างคิดเป็นพื้นที่ 22,392 ต.ร.ม. หรือร้อยละ 6.5

เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่าพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโดยรวมเลดลงร้อยละ 36.4 (จากพื้นที่ 540,059 ตร.ม. เป็น 343,534 ตร.ม.) และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2552 ลดลงร้อยละ 12.8 (จากพื้นที่ 393,972 ตร.ม. เป็น 343,534 ตร.ม.) (แผนภูมิ 5)

สรุป จากการประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้างในไตรมาส 2/2553 พบว่าจำนวนผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารโรงเรือนจำนวน 37,650 รายลดลงร้อยละ 8.9 จากไตรมาสที่ผ่านมา ในขณะที่พื้นที่ก่อสร้างซึ่งมีจำนวน 14.1 ล้าน ตร.ม. ลดลงร้อยละ 9.1 จากไตรมาสที่ผ่านมา หากจำแนกตามชนิดของสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ร้อยละ 71.6 จะเป็นการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย คิดเป็นพื้นที่ก่อสร้าง 10.1 ล้าน ตร.ม. ลดลงร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.1 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 สำหรับสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่อาคารโรงเรือน มีพื้นที่ก่อสร้างลดลงร้อยละ 36.4 และความยาวของสิ่งก่อสร้างลดลงร้อยละ 25.9 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม จากการประมวลข้อมูลพบว่าจำนวนผู้ได้รับอนุญาตและพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างประเภทอาคารโรงเรือนในไตรมาส 2/2553 ในภาพรวมลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา และการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนของสิ่งก่อสร้างที่ทั้งพื้นที่ก่อสร้างและความยาวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา

จำนวนผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง และพื้นที่ก่อสร้าง

ในไตรมาสสอง ปี 2553 มีเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่ ต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารและ สิ่งก่อสร้างจำนวน 42,646 ราย เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารโรงเรือน 37,650 ราย คิดเป็นพื้นที่ 14.1 ล้านตารางเมตร และได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือน 4,996 ราย โดยเป็นสิ่งก่อสร้างประเภทลานจอดรถ สนามกีฬา ปั๊มน้ำมันป้ายโฆษณา สระว่ายน้ำ ฯลฯ คิดเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 343,534 ตารางเมตร และประเภทท่อ/ทางระบายน้ำถนน รั้ว/กำแพง สะพาน เขื่อน/คันดิน ฯลฯ คิดเป็นความยาวทั้งสิ้น 465,252 เมตร

สำหรับผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการก่อสร้างอาคารโรงเรือนนั้น พบว่า ส่วนใหญ่(ร้อยละ 97.6) ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่ และร้อยละ 2.4 ได้รับอนุญาตให้ต่อเติมหรือดัดแปลง เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า จำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารโรงเรือนลดลงร้อยละ 8.9 และมีพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 9.1 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2552 พบว่า จำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 และมีพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5

สำหรับสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนนั้น พบว่า ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 99.6 ) เป็นการได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่ และร้อยละ 0.4 เป็นการได้รับอนุญาตให้ต่อเติมหรือดัดแปลง เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า จำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลงร้อยละ 8.8 และมีพื้นที่ก่อสร้างในส่วนที่คิดเป็นพื้นที่ (เช่น ลานจอดรถ สนามกีฬา ปั๊มน้ำมันป้ายโฆษณา และสระว่ายน้ำ) ลดลงร้อยละ 36.4 และพื้นที่ก่อสร้างในส่วนที่คิดเป็นความยาว (เช่น ท่อ/ทางระบายน้ำ ถนน รั้ว/กำแพง สะพาน และเขื่อน/ คันดิน) ลดลงเช่นเดียวกันคือร้อยละ 25.9 เมื่อเปรียบเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปี 2552 พบว่า จำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 แต่พื้นที่ก่อสร้างและความยาวของสิ่งก่อสร้างลดลงร้อยละ 12.8 และร้อยละ 19.5 ตามลำดับ

พื้นที่ก่อสร้างจำแนกตามชนิดของสิ่งก่อสร้าง

อาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในไตรมาสที่สองนั้น ส่วนใหญ่เป็นอาคารโรงเรือนเพื่ออยู่อาศัยโดยมีพื้นที่รวม 10.1 ล้าน ตารางเมตร หรือร้อยละ 71.6 ของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือนทั้งสิ้น ส่วนอาคารโรงเรือนที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์และสำนักงานมีพื้นที่รวม 1.5 ล้านตารางเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 10.4 เพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงานมีพื้นที่ก่อสร้างรวม 1.1 ล้านตารางเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 8.1 เป็นการก่อสร้างโรงแรม คิดเป็นพื้นที่ 677,534 ตารางเมตร และเป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อการศึกษาและสาธารณสุข จำนวน 109,406 ตารางเมตรเท่านั้น

เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่า อาคารโรงเรือนมีพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโดยรวมลดลงร้อยละ 9.1 โดยเฉพาะการก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิชย์และสำนักงาน และการก่อสร้างเพื่อการศึกษาและสาธารณสุขมีพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตลดลงในสัดส่วนเท่ากันร้อยละ 30.9 ส่วนการก่อสร้างเพื่ออยู่อาศัยลดลงร้อยละ 7.0 อาคารเพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงาน ลดลงร้อยละ 17.1 การก่อสร้างโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 112.1 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2552 พบว่า อาคารโรงเรือนมีพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5

สำหรับสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนนั้น ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้าง ท่อ/ทางระบายน้ำ มีความยาว 248,603 เมตร คิดเป็นร้อยละ 53.4 ของสิ่งก่อสร้างที่มีหน่วยวัดเป็นความยาว รั้ว/กำแพงและถนน มีความยาว 87,512 เมตร และ 76,948 เมตรตามลำดับ สำหรับการก่อสร้างลานจอดรถมีพื้นที่ 196,548 ตารางเมตรหรือร้อยละ 57.2 สนามกีฬา และปั๊มน้ำมันได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง คิดเป็นพื้นที่ 25,408 ตารางเมตรและ 22,392 ตารางเมตรหรือร้อยละ 7.4 และร้อยละ 6.5 ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่า สิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนมีความยาวของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโดยรวม ลดลงร้อยละ 25.9 และลดลงร้อยละ 19.5 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2552 ส่วนสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนที่เป็นพื้นที่ได้รับ อนุญาตให้ก่อสร้างโดยรวมลดลงร้อยละ 36.4 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และลดลงร้อยละ 12.8 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2552 ตามลำดับ

ข้อมูลการก่อสร้างจำแนกตามภาค

เมื่อพิจารณาข้อมูลการก่อสร้างใหม่ประเภทอาคารโรงเรือนจำแนกตามภาค พบว่ามีจำ นวนผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างทั้งสิ้น 36,765 ราย เป็นผู้ที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุดถึง 10,667 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.0 รองลงมา คือ ภาคกลางมีผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจำนวน 7,651 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.8 ส่วนพื้นที่ก่อสร้างกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต ให้ก่อสร้างมากที่สุด คือ 5.2 ล้าน ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 38.0 ของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่ทั้งสิ้นทั่วประเทศ (13.6 ล้านตารางเมตร)

สำหรับการได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ที่มิใช่อาคารโรงเรือนในไตรมาสที่สองของปี 2553 มีจำนวนผู้ได้รับอนุญาตให้ ก่อสร้างทั้งสิ้น 4,978 ราย โดยเป็นผู้ได้รับอนุญาตการก่อสร้างในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมากที่สุดจำนวน 2,365 ราย (ร้อยละ 47.5) ในขณะที่ภาคใต้มีจำนวนผู้ได้รับอนุญาต การก่อสร้างประเภทนี้น้อยที่สุดเพียง 240 ราย (ร้อยละ 4.8)

สำหรับพื้นที่สิ่งก่อสร้างใหม่ที่มิใช่อาคารโรงเรือนนั้นได้รับอนุญาตพื้นที่การก่อสร้างรวม 341,420 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ก่อสร้างใน กรุงเทพฯและปริมณฑลมากที่สุด จำนวน 195,161 ตารางเมตรหรือร้อยละ 57.2 ส่วนความยาวของสิ่งก่อสร้างประเภทท่อ/ทางระบายน้ำ ถนน รั้ว/ กำแพง สะพาน เขื่อน/คันดิน ฯลฯ ที่เป็นการก่อสร้างใหม่นั้นได้รับอนุญาตทั้งสิ้น 464,175 เมตร ซึ่งเป็นการก่อสร้างในกรุงเทพฯและปริมณฑลมากที่สุดคือ 237,515 เมตรหรือร้อยละ 51.2

หากกล่าวโดยรวมแล้ว การได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง ส่วนใหญ่จะเป็นการอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่ทั้งในส่วนที่เป็นอาคารโรงเรือน และมิใช่อาคารโรงเรือน สำหรับการอนุญาตให้ต่อเติมหรือดัดแปลงนั้น จะมีสัดส่วนการได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งจะเป็นลักษณะเช่นเดียวกันในทุกภาค

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ


แท็ก ข้อมูล  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ