สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจเกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์มาแล้ว 4 ครั้ง (ปี 2518 2528 2539 และ 2549) โดยในปี 2549 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ร่วมกับกองอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัยทำการสำรวจเกี่ยวกับข้อมูลอนามัยการเจริญพันธุ์ของประเทศ เช่น การวางแผนครอบครัว อนามัยแม่และเด็ก เป็นต้น เพื่อนำไปจัดทำตัวชี้วัดในการประเมินสถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ของประชากร
สำหรับการสำรวจในปี 2552 สำนักงานสถิติแห่งชาติและกรมอนามัยได้ทำบันทึกความร่วมมือในการจัดทำการสำรวจครั้งนี้ร่วมกัน นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ และวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ และการเข้าถึงบริการด้านอนามัยของประชากร ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤษภาคม 2552 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Two Stage Sampling ทั้งในเขตเทศบาลและ นอกเขตเทศบาล ทั่วประเทศ มีจำนวนครัวเรือนตัวอย่างประมาณ 30,000 ครัวเรือน โดยสัมภาษณ์หญิงอายุ 15 — 59 ปี จำนวน 37,511 คน ซึ่งจำนวนนี้เป็นหญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องที่ยังมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 1 ปี จำนวน 2,509 คน วัยรุ่นอายุ 15 — 24 ปี จำนวน 11,971 คน (ชาย 5,364 คน หญิง 6,607 คน) ซึ่งสรุปผลการสำรวจได้ดังนี้
1. การวางแผนครอบครัว
1.1. การเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน
จากผลการสำรวจปี 2552 พบว่าก่อนแต่งงานหญิงสมรสอายุ 15 — 49 ปีที่ตนเองและ/หรือสามีได้รับข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวจากบุคลากรสาธารณสุขมีเพียงร้อยละ 15.0 และตนเองและ/หรือสามีได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาทาลัสซีเมียหรือเชื้อ HIV ร้อยละ 21.7 โดยแยกเป็นตรวจหาทั้งสองอย่างร้อยละ 18.6 ตรวจหาทาลัสซีเมียอย่างเดียวร้อยละ 0.8 และหาเชื้อ HIV อย่างเดียวร้อยละ 2.3 โดยผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลได้รับบริการทั้งด้านข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว รวมทั้งการตรวจเลือดก่อนแต่งงานในสัดส่วนที่มากกว่าผู้อยู่นอกเขตเทศบาลอย่างเห็นได้ชัด
1.2 อายุแรกสมรส
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2549 พบว่า หญิงไทยมีอายุแรกสมรสเฉลี่ย (SMAM) ลดลงเล็กน้อย คือจาก 23.1 ปี เป็น 22.2 ปี โดยหญิงที่อยู่ในเขตเทศบาล สมรสช้ากว่าหญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาล และพบว่าความแตกต่างของอายุแรกสมรสเฉลี่ยของหญิงที่อยู่ในเขตเทศบาล และหญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาลเริ่มลดลงคือ ลดจาก 3.3 ปี ในปี 2549 เป็น 2.8 ปีในปี 2552
1.3 จำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ย
จำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ย เป็นตัวชี้วัดหนึ่งของภาวะเจริญพันธุ์ที่แสดงถึงพฤติกรรมการมีบุตรสะสมของหญิง และสามารถใช้วัดขนาดครอบครัวโดยเฉลี่ยของหญิงเมื่อสิ้นสุดวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 45 — 49 ปี) จากการสำรวจปี 2552 หญิงอายุ 15 - 49 ปี มีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ย 1.30 คนโดยหญิงที่อยู่ในเขตเทศบาล มีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยต่ำกว่าที่อยู่นอกเขตเทศบาล ( 1.11 คน และ 1.40 คน ตามลำดับ) หญิงอายุมากขึ้นมีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยสูงกว่าหญิงอายุน้อย สะท้อนการมีบุตรสะสมที่เพิ่มตามอายุ
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจในปี 2549 พบว่า จำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยของหญิงอายุ 15 - 49 ปีในปี 2552 มีจำ นวนสูงกว่าโดยเฉพาะหญิงอายุ 20 — 24 ปี มีจำนวนเพิ่มสูงกว่ากลุ่มอายุอื่น คือ จาก 0.44 คน ในปี 2549 เป็น 0.59 คน
ถ้าพิจารณาจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยของหญิงที่สิ้นสุดวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 45-49 ปี) เพื่อศึกษาภาวะเจริญพันธุ์สมบูรณ์ โดยเปรียบเทียบกับปี 2549 พบว่า มีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยใกล้เคียงกันคือประมาณ 2.15 คนและนอกเขตเทศบาลมีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยสูงกว่าในเขตเทศบาลเช่นกันแต่อย่างไรก็ตาม พบว่า ในเขตเทศบาลมีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก 1.79 คน เป็น 1.89 คน ขณะที่นอกเขตเทศบาลลดลงจาก 2.33 คนเป็น 2.28 คน ตามลำดับ
2. การอนามัยแม่และเด็ก
จากการศึกษาการอนามัยแม่และเด็กของหญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องที่ยังมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 1 ปี สรุปได้ดังนี้
2.1 การคลอดบุตร
สถานที่คลอดบุตรและบุคลากรผู้ทำคลอด มีความสำคัญมากต่อความปลอดภัยของแม่และบุตร ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ส่วนมากคำนึงถึงนอกเหนือจากค่าใช้จ่ายในการคลอดและการเดินทางไปคลอด ซึ่งจากผลการสำรวจพบว่า มากกว่าร้อยละ 90 ของหญิงตั้งครรภ์บุตรคนสุดท้อง (ที่ยังมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 1 ปี) คลอดบุตรนั้นที่โรงพยาบาลของรัฐ โดยกว่า 2 ใน 5 คลอดที่โรงพยาบาลชุมชน (ร้อยละ 42.0) รองลงมาคือ โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปและสถานพยาบาลอื่น ๆ ของรัฐ (ร้อยละ 38.1 และ 10.8 ตามลำดับ) สำหรับบุคลากรผู้ทำคลอด พบว่า 2 ใน 3 เป็นแพทย์ และ 1 ใน 3 เป็นพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
2.2 การให้บุตรดื่มนมแม่
หญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปี ที่ให้บุตรคนสุดท้องที่ยังมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 6 เดือน ดื่มนมแม่ภายใน 24 ชั่วโมงก่อนเวลาสัมภาษณ์ มีประมาณ 3.2 แสนคน (คิดเป็น ร้อยละ 84.0 ของหญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 6 เดือน) แต่พบว่ามีเพียงร้อยละ 15.1 ที่ดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียว ร้อยละ 27.3 ดื่มนมแม่และน้ำ และมีถึงร้อยละ 41.6 ที่ให้บุตรดื่มนมแม่และเครื่องดื่ม/อาหารอื่น ๆ ด้วย เช่น น้ำผลไม้ นมผงกล้วยบด เป็นต้น
หากพิจารณาการให้บุตรดื่มนมแม่อย่างเดียว ตามเขตการปกครองและภาค พบว่า มีความแตกต่างกันไม่มากนักระหว่างในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล (ร้อยละ 12.2 และ 16.0 ตามลำดับ) แต่เมื่อพิจารณาตามภาคพบว่า มีความแตกต่างกันมากระหว่างภาค โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนการให้บุตรดื่มนมแม่อย่างเดียวสูงที่สุด (ร้อยละ 26.9) รองลงมาคือภาคใต้ (ร้อยละ 10.4) และน้อยที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเพียงร้อยละ 1.7 เท่านั้น
3. การตรวจมะเร็งระบบสืบพันธุ์
3.1 การตรวจหาก้อนที่เต้านม
กว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 58.1) ของหญิงอายุ 30 — 59 ปี ได้ตรวจหาก้อนที่เต้านมในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการตรวจด้วยตนเองร้อยละ 23.6 ตรวจโดยบุคลากรสาธารณสุขร้อยละ 20.3 และตรวจด้วยตนเองและบุคลากรสาธารณสุขร้อยละ 14.2
เมื่อพิจารณาตามเขตการปกครองและภาค พบว่า หญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาล เคยตรวจหาก้อนที่เต้านมสูงกว่าในเขตเทศบาลเล็กน้อย (ร้อยละ 59.8 และ 54.6 ตามลำดับ) หญิงในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเคยตรวจหาก้อนที่เต้านมในรอบปีที่ผ่านมาสูงกว่าภาคอื่น ๆ (ร้อยละ 64.9 และ 63.3 ตามลำดับ) สำหรับกรุงเทพมหานครเป็นภาคเดียวที่มีการตรวจน้อยกว่าครึ่ง (ร้อยละ 47.4)
3.2 การตรวจมะเร็งปากมดลูก
ร้อยละ 60.2 ของหญิงอายุ 30 - 59 ปี ได้ตรวจมะเร็งปากมดลูกในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา โดยหญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาลตรวจมะเร็งปากมดลูกมากกว่าในเขตเทศบาล (ร้อยละ 64.3 และ 52.1 ตามลำดับ) ส่วนภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสัดส่วนใกล้เคียงกันและสูงกว่าภาคอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด (ร้อยละ 69.0 และ 67.3 ตามลำดับ) สำหรับกรุงเทพมหานครเป็นภาคเดียวที่มีการตรวจต่ำกว่าครึ่ง (ร้อยละ 44.4)
นอกจากนี้ยังพบว่า หญิงอายุ 30 — 59 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องที่ยังมีชีวิตอายุต่ำกว่า 1 ปี มีสัดส่วนที่เคยตรวจสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีบุตรดังกล่าว (ร้อยละ 74.2 และ 60.0 ตามลำดับ) อาจเนื่องจากได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกหลังคลอดบุตร
เป็นที่น่าสังเกตว่า การตรวจหาก้อนที่เต้านม และมะเร็งปากมดลูกของหญิงอายุ 30 - 59 ปีที่อยู่ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนต่ำกว่าหญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาล และกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนน้อยกว่าภาคอื่น ทั้งนี้อาจเนื่องจากการรณรงค์ในการตรวจดังกล่าวผ่านทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และสถานพยาบาลในพื้นที่นอกเขตเทศบาลสามารถเข้าถึงครัวเรือนหรือกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าในเขตเทศบาล โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ผู้หญิงมีการทำงานหรือดำเนินชีวิตอยู่นอกครัวเรือนและเร่งรีบอาจทำให้ไม่มีเวลาในการใส่ใจเรื่องสุขภาพเท่าที่ควร
สรุปผลการสำรวจ
การสำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ. 2552 เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์และการเข้าถึงบริการด้านอนามัยของประชากรจากครัวเรือนตัวอย่างประมาณ 30,000 ครัวเรือน สัมภาษณ์หญิงอายุ 15 — 59 ปี จำนวน 37,511 คน ซึ่งจำนวนนี้เป็นหญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องที่ยังมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 1 ปี จำนวน 2,509 คน วัยรุ่นอายุ 15 — 24 ปี จำนวน 11,971 คน (ชาย 5,364 คน หญิง 6,607 คน) ซึ่งสรุปผลการสำรวจได้ดังนี้
ลักษณะทั่วไปของหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15 - 49 ปี)
1. อายุ สถานภาพสมรส และภาค
จากผลการสำรวจ พบว่า ปี 2552 ประเทศไทยมีหญิงวัยเจริญพันธุ์ประมาณ 18.8 ล้านคน ประมาณสองในสาม (ร้อยละ 67.7) ของหญิงวัยเจริญพันธุ์อาศัยนอกเขตเทศบาล ส่วนที่เหลืออีกหนึ่งในสาม (ร้อยละ 32.3) อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล
สัดส่วนของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อายุ 35 — 39 ปี และ 40 — 44 ปี มีมากที่สุด (ร้อยละ 15.2) ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนของหญิงเจริญพันธุ์อายุ 30 — 34 ปี และ 35 — 39 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 16.2) นอกเขตเทศบาลมีสัดส่วนของหญิงเจริญพันธุ์อายุ 40 — 44 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 15.0)
เมื่อพิจารณาตามสถานภาพสมรส พบว่า หญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นโสดร้อยละ 25.4 สมรส (รวมอยู่กินฉันท์สามีภรรยา) ร้อยละ 68.0 หม้าย/หย่า/แยกกันอยู่/เคยสมรสแต่ไม่ทราบสถานภาพสมรสมีเพียงร้อยละ 6.6 ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนหญิงโสดสูงกว่านอกเขตเทศบาล (ร้อยละ 31.4 และ22.6 ตามลำดับ)
หญิงวัยเจริญพันธุ์มีสัดส่วนที่อาศัยอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด คือ ร้อยละ 32.9 รองลงมาคือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 24.5 17.6 13.6 และ 11.5 ตามลำดับ)
2. การศึกษา
หญิงวัยเจริญพันธุ์สำเร็จการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษามีสัดส่วนมากที่สุด คือ ร้อยละ 32.1 รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 22.6 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย และไม่เคยเรียน/ก่อนประถมศึกษา/อื่น ๆ มีเพียงร้อยละ 17.2 15.9 และ 12.0 ตามลำดับ โดยหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลมีการศึกษาสูงกว่านอกเขตเทศบาล ซึ่งดูได้จากสัดส่วนผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและสูงกว่าของในเขตเทศบาลมีมากกว่านอกเขตเทศบาล
3. การทำงานและอาชีพ
เมื่อพิจารณาการทำงานในรอบปีที่แล้วของหญิงวัยเจริญพันธุ์ พบว่าทำงานร้อยละ 76.3 โดยนอกเขตเทศบาลมีสัดส่วนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ทำงานสูงกว่าในเขตเทศบาลเล็กน้อย (ร้อยละ 77.9 และ 73.1 ตามลำดับ)
หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ทำงานในรอบปีที่แล้ว ทำงานเป็นเกษตรกรมากที่สุด รองลงมาเป็นพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน และค้าขาย/ประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยมีความแตกต่างกันตามเขตการปกครอง คือ หญิงที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลทำงานเป็นพนักงาน/ลูกจ้างเอกชนมากที่สุด แต่หญิงที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลทำงานเป็นเกษตรกรมากที่สุด
อนามัยการเจริญพันธุ์
อนามัยการเจริญพันธุ์1/ หมายถึง ภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายและจิตใจที่เป็นผลสัมฤทธิ์อันเกิดจากกระบวนการและหน้าที่ของ การเจริญพันธุ์ที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิงทุกช่วงอายุของชีวิต ซึ่งทำให้เขาเหล่านั้นมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขการสำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ. 2552 ครอบคลุมงานอนามัยการเจริญพันธุ์ ได้แก่ การวางแผนครอบครัว การอนามัยแม่และเด็ก โรคเอดส์มะเร็งระบบสืบพันธุ์ ภาวะการมีบุตรยาก เพศศึกษา และอนามัยวัยรุ่น
ซึ่งสรุปผลการสำรวจที่สำคัญได้ดังนี้
1. การวางแผนครอบครัว
การวางแผนครอบครัว หมายถึง การที่คู่สมรสหรือชายหญิงที่อยู่ร่วมกันวางแผนว่าพร้อมจะมีลูกเมื่อใด และจะมีกี่คนจึงจะสามารถเลี้ยงดูได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตคู่ เพราะเมื่อทั้งคู่ยังไม่มีความพร้อมที่จะเลี้ยงดูลูก ก็ควรใช้วิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อรอเวลาที่เหมาะสมในการตั้งครรภ์หรือเว้นระยะการมีลูกคนต่อไปไว้ก่อน
1.1 การเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน
จากผลการสำรวจปี 2552 พบว่า ก่อนแต่งงานหญิงสมรสอายุ 15 — 49 ปีที่ตนเองและ/หรือสามีได้รับข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวจากบุคลากรสาธารณสุขมีเพียงร้อยละ 15.0 และตนเอง และ/หรือสามีได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาทาลัสซีเมียหรือเชื้อ HIV ร้อยละ 21.7 โดยแยกเป็นตรวจหาทั้งสองอย่างร้อยละ 18.6 ตรวจหาทาลัสซีเมียอย่างเดียวร้อยละ 0.8 และหาเชื้อ HIV อย่างเดียวร้อยละ 2.3 โดยผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลได้รับบริการทั้งด้านข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวรวมทั้งการตรวจเลือดก่อนแต่งงานในสัดส่วนที่มากกว่าผู้อยู่นอกเขตเทศบาลอย่างเห็นได้ชัด
1.2 อายุแรกสมรส
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจปี 2549 พบว่า หญิงไทยมีอายุแรกสมรสเฉลี่ย (SMAM) ลดลงเล็กน้อย คือจาก 23.1 ปี เป็น 22.2 ปี โดยหญิงที่อยู่ในเขตเทศบาล สมรสช้ากว่าหญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาล และพบว่าความแตกต่างของอายุแรกสมรสเฉลี่ยของหญิงที่อยู่ในเขตเทศบาลและหญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาลเริ่มลดลงคือ ลดจาก 3.3 ปี ในปี 2549 เป็น 2.8 ปีในปี 2552
1.3 ความแตกต่างระหว่างอายุของคู่สมรส
หญิงสมรสอายุ 15 — 49 ปี จำนวนประมาณ 12.8 ล้านคน มีร้อยละ 73.0 ที่มีสามีอายุมากกว่าตนเอง โดยร้อยละ 33.1 มีสามีอายุมากกว่าตนเอง 5 ปีขึ้นไป และมีหญิงสมรสเพียงส่วนน้อยที่สามีอายุเท่ากันหรือน้อยกว่า (ร้อยละ 11.1 และ 15.9 ตามลำดับ) เมื่อพิจารณาความแตกต่างระหว่างอายุของคู่สมรสพบว่า หญิงสมรสและสามีมีอายุแตกต่างกันโดยเฉลี่ยประมาณ 4.4 ปี
1.4 จำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ย
จำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ย เป็นตัวชี้วัดหนึ่งของภาวะเจริญพันธุ์ที่แสดงถึงพฤติกรรมการมีบุตรสะสมของหญิง และสามารถใช้วัดขนาดครอบครัวโดยเฉลี่ยของหญิงเมื่อสิ้นสุดวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 45 — 49 ปี) จากการสำรวจปี 2552 หญิงอายุ 15 - 49 ปี มีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ย 1.30 คนโดยหญิงที่อยู่ในเขตเทศบาล มีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยต่ำกว่าที่อยู่นอกเขตเทศบาล ( 1.11 คน และ 1.40 คน ตามลำดับ) หญิงอายุมากขึ้นมีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยสูงกว่าหญิงอายุน้อย สะท้อนการมีบุตรสะสมที่เพิ่มตามอายุ
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจในปี 2549 พบว่า จำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยของหญิงอายุ 15 - 49 ปีในปี 2552 มีจำนวนสูงกว่าโดยเฉพาะหญิงอายุ 20 — 24 ปี มีจำนวนเพิ่มสูงกว่ากลุ่มอายุอื่น คือ จาก 0.44 คน ในปี 2549 เป็น 0.59 คน
ถ้าพิจารณาจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยของหญิงที่สิ้นสุดวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 45-49 ปี) เพื่อศึกษาภาวะเจริญพันธุ์สมบูรณ์ โดยเปรียบเทียบกับปี 2549 พบว่า มีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยใกล้เคียงกันคือประมาณ 2.15 คนและนอกเขตเทศบาลมีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยสูงกว่าในเขตเทศบาลเช่นกันแต่อย่างไรก็ตาม พบว่า ในเขตเทศบาลมีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.79 คน เป็น 1.89 คน ขณะที่นอกเขตเทศบาลลดลงจาก 2.33 คน เป็น 2.28 คน ตามลำดับ
1.5 อายุเฉลี่ยเมื่อคลอดบุตรคนแรก
อายุเฉลี่ยเมื่อคลอดบุตรคนแรก เป็นตัวชี้วัดหนึ่งของพฤติกรรมการมีบุตร หญิงที่มีบุตรเมื่ออายุน้อยมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะมีโรคแทรกซ้อนระหว่างการคลอด เพราะร่างกายยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ รวมทั้งมีโอกาสเสี่ยงต่อการตายของทารก
ผลการสำรวจ พบว่า หญิงไทยมีอายุเฉลี่ยเมื่อคลอดบุตรคนแรก 23.3 ปี โดยหญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาลมีอายุเฉลี่ยเมื่อคลอดบุตรคนแรกต่ำกว่าในเขตเทศบาลเล็กน้อย (23.1 ปี และ 23.9 ปี ตามลำดับ) และหญิงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอายุเฉลี่ยเมื่อคลอดบุตรคนแรกต่ำที่สุดคือ 22.9 ปี ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับปี 2549
ร้อยละ 34.2 ของหญิงไทยอายุ 15 — 49 ปีไม่มีบุตรและร้อยละ 65.8 มีบุตรเกิดรอด หากพิจารณาช่วงอายุเมื่อคลอดบุตรคนแรกของหญิงไทยที่มีบุตรเกิดรอด พบว่า คลอดบุตรคนแรกเมื่ออายุ 20 — 24 ปี มากที่สุด รองลงมาคือ อายุน้อยกว่า 20 ปี และ 25 — 29 ปีซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจปี 2549
1.6 ความต้องการมีบุตรเพิ่ม
ผลการสำรวจพบว่า หญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปี มีร้อยละ 20.8 ที่ต้องการมีบุตรเพิ่ม โดยความต้องการบุตรเพิ่มมีความสัมพันธ์ผกผันกับอายุคือ ผู้ที่อายุยังน้อยมีสัดส่วนที่ต้องการมีบุตรเพิ่มสูงกว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า โดยพบว่า หญิงเคยสมรสอายุ 20 — 24 ปี และ 15 — 19 ปีต้องการมีบุตรเพิ่มถึงร้อยละ 49.5 และ 46.7 ตามลำดับ น่าจะเนื่องจากสตรีเหล่านี้มีสัดส่วนที่ยังไม่มีบุตรเลยค่อนข้างสูง นอกจากนี้ความต้องการมีบุตรยังมีความสัมพันธ์กับจำนวนบุตรที่มีชีวิต คือ หญิงเคยสมรสที่ยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีชีวิตเพียงหนึ่งคนจะมีสัดส่วนที่ตอ้ งการมีบุตรเพิ่มสูงกว่า ผู้ที่มีบุตร 2 คนขึ้นไปอย่างเห็นได้ชัด
1.7 จำนวนบุตรเฉลี่ยที่ต้องการ
จำนวนบุตรที่ต้องการ อาจใช้บ่งบอกแนวโน้มระดับเจริญพันธุ์ได้ จำนวนบุตรที่ต้องการในการสำรวจนี้คือ จำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ (รวมบุตรที่อยู่ในครรภ์) บวกกับจำนวนบุตรที่ต้องการเพิ่ม จากผลการสำรวจพบว่า จำนวนบุตรเฉลี่ยที่ต้องการของหญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปี คือ 1.93 คน ซึ่งมีความแตกต่างกันตามลักษณะภูมิหลังคือ หญิงเคยสมรสที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลมีจำนวนบุตรเฉลี่ยที่ต้องการมากกว่าในเขตเทศบาล เล็กน้อย (2.00 คน และ 1.76 คน ตามลำดับ) ภาคใต้มีจำนวนบุตรที่ต้องการโดยเฉลี่ยสูงที่สุด และต่ำที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร จำนวนบุตรเฉลี่ยที่ต้องการของหญิงอายุมากมีมากกว่าหญิงอายุน้อย บ่งชี้ว่าระดับเจริญพันธุ์ในอนาคตน่าจะลดลงต่อไปอีก
เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนบุตรเฉลี่ยที่ยังมีชีวิตของหญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปี พบว่า จำนวนบุตรที่มีชีวิตโดยเฉลี่ยของหญิงกลุ่มนี้ต่ำกว่าจำนวนบุตรเฉลี่ยที่ต้องการเพียงเล็กน้อย (ประมาณ 0.26 คน)
1.8 การคุมกำเนิด
1.8.1 การใช้การคุมกำเนิด
การวางแผนคุมกำเนิดที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อสุขภาพของหญิงและบุตร ดังนี้ 1) ช่วยป้องกันหญิงจากการตั้งครรภ์ในขณะอายุน้อยหรือเมื่ออายุมากเกินไป 2) ช่วยเว้นระยะการมีบุตร และ 3) ช่วยในการกำหนดจำนวนบุตร การสำรวจนี้มุ่งเน้นศึกษาการคุมกำเนิดของหญิงสมรสในวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15-49 ปี) พบว่า หญิงสมรสอายุ 15 - 49 ปี ที่คุมกำเนิดวิธีใดวิธีหนึ่งในปี 2552 มีร้อยละ 79.6 ลดลงเล็กน้อยจากปี 2549 ซึ่งมีร้อยละ 81.1 การลดลงของอัตราการคุมกำเนิดพบในทุกภาคยกเว้น ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่อย่างไรก็ตาม ภาคใต้ก็ยังมีอัตราการคุมกำเนิดต่ำที่สุด
1.8.2 วิธีการคุมกำเนิด
ปี 2552 หญิงสมรสอายุ 15 - 49 ปี มีร้อยละ 77.4 ที่ตนเองหรือสามีคุมกำเนิดด้วยวิธีแบบสมัยใหม่ โดยวิธีที่ใช้กันมากที่สุด ได้แก่ ยาเม็ดคุมกำเนิด (ร้อยละ 35.0) ตามด้วยทำหมันหญิง(ร้อยละ 23.7) ยาฉีดคุมกำเนิด (ร้อยละ 14.0) ถุงยางอนามัย (ร้อยละ 2.3) และวิธีคุมกำเนิดสมัยใหม่อื่น ๆ (ยาคุมฉุกเฉิน/ยาคุมหลังร่วมเพศ ยาฝังคุมกำเนิดห่วงอนามัย และทำหมันชาย) ร้อยละ 2.5 ส่วนวิธีแบบดั้งเดิมที่ใช้ ได้แก่นับระยะปลอดภัยร้อยละ 1.7 และวิธีอื่น ๆ ร้อยละ 0.5
อัตราการคุมกำเนิดแปรผันตามอายุของหญิงสมรสกลุ่มอายุ 30 - 44 ปีมีอัตราการคุมกำเนิดสูงกว่ากลุ่มอายุอื่น หญิงอายุน้อยนิยมใช้วิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวคือ ยาเม็ดคุมกำเนิดมากกว่าวิธีอื่น รองลงมา คือ ยาฉีดคุมกำเนิด ขณะที่หญิงอายุ 40 — 49 ปี นิยมใช้วิธีคุมกำเนิดแบบถาวรมากที่สุด คือ ทำหมันหญิง รองลงมาใช้แบบชั่วคราวคือ ยาเม็ดคุมกำเนิด
1.8.3 เหตุผลที่ไม่คุมกำเนิด
หญิงสมรสอายุ 15 - 49 ปีที่ปัจจุบันไม่คุมกำเนิดเนื่องจากต้องการมีบุตรเพิ่มมากที่สุด (ร้อยละ 32.8) รองลงมาคือ คิดว่าตนเองอายุมากหรือไม่มีประจำเดือนแล้ว (ร้อยละ 15.2) กำลังตั้งครรภ์ (ร้อยละ 14.7) และสามีไม่ค่อยอยู่บ้าน (ร้อยละ 10.1)
เหตุผลที่ไม่คุมกำเนิดของหญิงสมรสมีความแตกต่างกันตามอายุคือ เกือบครึ่งหนึ่งของหญิงสมรสอายุ 15 - 19 ปีไม่คุมกำเนิดเพราะกำลังตั้งครรภ์ มากกว่า 1 ใน 3 ถึงเกือบครึ่งหนึ่งของหญิงสมรสอายุ 20 - 39 ปีต้องการมีบุตรเพิ่ม และร้อยละ 28 - 53 ของหญิงสมรสอายุ 40 - 49 ปี ไม่คุมกำเนิดเพราะคิดว่าตนเองอายุมากหรือไม่มีประจำเดือนแล้ว
2. การอนามัยแม่และเด็ก
การศึกษาการอนามัยแม่และเด็กในส่วนนี้ใช้ฐานจากหญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องอายุต่ำกว่า 1 ปี และบุตรนั้นยังมีชีวิตอยู่เมื่อสำรวจ ซึ่งผลการสำรวจที่ได้อาจไม่เป็นตัวแทนของบุตรเกิดมีชีพทั้งหมดของหญิงเคยสมรส (ไม่รวมแม่ที่มีบุตรที่เสียชีวิตแล้ว) การตีความผลการสำรวจที่ได้ควรคำนึงถึงข้อจำกัดนี้ อย่างไรก็ตามผลการสำรวจพอสรุปได้ดังนี้
2.1 ความตั้งใจมีบุตร
ความตั้งใจมีบุตรในที่นี้หมายถึง ขณะตั้งครรภ์บุตรคนสุดท้องแม่มีความต้องการมีบุตรในช่วงเวลานั้น ผลที่แสดงในตาราง 7 พบว่า หญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องที่ยังมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 1 ปี มีถึงร้อยละ 75.9 ที่มีความตั้งใจมีบุตรขณะตั้งครรภ์ สำหรับผู้ไม่ตั้งใจมีบุตรมีเพียงร้อยละ 16.2 (ต้องการมีบุตรแต่ไม่ใช่ในช่วงเวลานั้นร้อยละ 5.5 และไม่ต้องการมีบุตรร้อยละ 10.7) แต่อย่างไรก็ตามพบว่า มีอีกร้อยละ 7.9 ที่ตอบว่าอย่างไรก็ได้ (มีหรือไม่มีบุตรในช่วงเวลานั้นก็ได้)
เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มหญิงเคยสมรสอายุ 15 — 19 ปี พบว่าเกือบ 1 ใน 3 ไม่ตั้งใจมีบุตร ซึ่งสูงกว่าสัดส่วนที่ไม่ต้องการมีบุตรของหญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปีทั้งหมดประมาณเท่าตัว ผลดังกล่าวอาจเนื่องจากกลุ่มวัยรุ่นอายุน้อยยังไม่พร้อมจะมีลูก
หญิงเคยสมรสกลุ่มที่ไม่ตั้งใจมีบุตรแต่มีการตั้งครรภ์ ทั้งกลุ่มอายุ 15 — 49 ปี และ 15 — 19 ปี มีสาเหตุเนื่องจากลืมกิน/ฉีดยาคุมกำเนิดมากที่สุด รองลงมาคือ คุมกำเนิดแบบวิธีดั้งเดิม (นับระยะปลอดภัย/หลั่งภายนอก) โดยมีข้อสังเกตุสำหรับกลุ่มหญิงที่มีอายุน้อย (15 — 19 ปี) พบว่า เหตุผลที่ไม่ป้องกันคือ ไม่คิดว่าจะมีเพศสัมพันธ์ถึงร้อยละ 25.6
2.2 การฝากครรภ์
หญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องอายุต่ำกว่า 1 ปียังมีชีวิตอยู่ขณะสำรวจ มีทั้งสิ้น 7.2 แสนคน พบว่า เกือบทั้งหมด (ร้อยละ 99.1) ได้ฝากครรภ์ โดยฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ร้อยละ 71.3 และฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไปร้อยละ 27.8 ส่วนหญิงที่ไม่ฝากครรภ์พบว่า มีเพียงร้อยละ 0.9 เท่านั้น
สำหรับสถานที่ฝากครรภ์พบว่า มีการฝากครรภ์ที่สถานีอนามัย/ศูนย์บริการสาธารณสุขมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ โรงพยาบาลเอกชน/คลินิกเอกชน และโรงพยาบาลชุมชน (ร้อยละ 26.9 24.0 และ 23.6 ตามลำดับ)
เมื่อพิจารณาจำนวนครั้งที่หญิงฝากครรภ์ไปรับการตรวจครรภ์พบว่าร้อยละ 79.6 ไปรับการตรวจครรภ์ครบทั้ง 4 ครั้ง (คือ เมื่ออายุครรภ์เดือนที่ 1- 6, 7, 8 และ 9) ส่วนผู้ที่ได้รับการตรวจครรภ์ไม่ครบทั้ง 4 ครั้งมีร้อยละ 20.4 ทั้งนี้เนื่องจากคลอดก่อนกำหนด (ก่อน 9 เดือน) ถึงร้อยละ 18.9 และมีอีกเพียงร้อยละ 1.5 เท่านั้นที่คลอดตามกำหนดแต่ไปตรวจครรภ์ไม่ครบ 4 ครั้ง
2.3 การรับประทานยาบำรุงเลือด (ยาธาตุเหล็ก)
หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อปัญหาที่เกิดจากภาวะโลหิตจางซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเลือดไหลไม่หยุดและการติดเชื้อโรคขณะคลอดบุตรรวมทั้งอาจเป็นสาเหตุของน้ำหนักแรกคลอดที่ต่ำของบุตร ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์จึงควรรับประทานยาบำรุงเลือด (ยาธาตุเหล็ก) ตามคำแนะนำของแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุขขณะไปฝากครรภ์
จากการศึกษาหญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปีที่ฝากครรภ์ขณะตั้งครรภ์บุตรคนสุดท้อง (ที่ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 1 ปี) พบว่า หญิงกลุ่มนี้ได้รับยาบำรุงเกือบทุกคน (ร้อยละ 99.5) ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 89.7) ได้กินยาบำรุงเลือดตามแพทย์สั่ง กินบางครั้งมีร้อยละ 9.4 และมีเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.4 ที่ไม่ได้กิน ส่วนผู้ที่ฝากครรภ์แต่ไม่ได้รับยาบำรุงเลือดมีน้อยมากเพียงร้อยละ 0.5 ดังนั้นจึงน่าจะมีโอกาสน้อยที่หญิงตั้งครรภ์จะมีภาวะโลหิตจาง
2.4 การได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อ HIV ขณะไปฝากครรภ์
หญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องที่ยังมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 1 ปี ขณะไปฝากครรภ์บุตรคนสุดท้องได้รับบริการคำปรึกษา และตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อ HIV ร้อยละ 91.6 สัดส่วนที่ได้รับการตรวจของหญิงกลุ่มนี้ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลสูงกว่านอกเขตเทศบาล เล็กน้อย (ร้อยละ 93.6 และ 91.1 ตามลำดับ) เมื่อพิจารณาตามภาค พบว่าภาคที่มีสัดส่วนที่ได้รับการตรวจสูงที่สุดคือ ภาคกลางร้อยละ 94.3 และต่ำที่สุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 89.2 ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับการตรวจเนื่องจากไม่สมัครใจให้ตรวจ
2.5 การมีส่วนร่วมของสามีในการเข้ากลุ่มรับคำแนะนำการดูแลแม่ และบุตร
กระทรวงสาธารณสุขมีการจัดบริการให้สามีของหญิงตั้งครรภ์เข้าร่วมกลุ่ม เพื่อรับคำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับการดูแลแม่และบุตรจากบุคลากรสาธารณสุข สามีจะได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือภรรยา โดยการดูแลทั้งภรรยาและบุตรได้อย่างถูกต้อง
ผลการสำรวจพบว่า ขณะหญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปี ตั้งครรภ์บุตรคนสุดท้อง (ที่ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 1 ปี) มีเพียงร้อยละ 34.1 ที่สามีได้เข้าร่วมกลุ่มรับคำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับการดูแลแม่และบุตรจากบุคลากรสาธารณสุข โดยหญิงที่อาศัยนอกเขตเทศบาลมีสามีเข้าร่วมกลุ่มดังกล่าวสัดส่วนสูงกว่าในเขตเทศบาล(ร้อยละ 35.7 และ 28.8 ตามลำดับ) ภาคเหนือมีสัดส่วนสูงที่สุด (ร้อยละ 46.4) และกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนต่ำที่สุด (ร้อยละ 13.7)
2.6 การคลอดบุตร
สถานที่คลอดบุตรและบุคลากรผู้ทำคลอด มีความสำคัญมากต่อความปลอดภัยของแม่และบุตร ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ส่วนมากคำนึงถึงนอกเหนือจากค่าใช้จ่ายในการคลอดและการเดินทางไปคลอด ซึ่งจากผลการสำรวจพบว่ามากกว่าร้อยละ 90 ของหญิงตั้งครรภ์บุตรคนสุดท้อง (ที่ยังมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 1 ปี) คลอดบุตรนั้นที่โรงพยาบาลของรัฐ โดยมากกว่า 2 ใน 5 คลอดที่โรงพยาบาลชุมชน รองลงมาคือ โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปและสถานพยาบาลอื่น ๆ ของรัฐ (ร้อยละ 38.1 และ 10.8 ตามลำดับ) สำหรับบุคลากรผู้ทำคลอด พบว่า 2 ใน 3 เป็นแพทย์ และ 1 ใน 3 เป็นพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
2.7 การดูแลหลังคลอด
กระทรวงสาธารณสุขจัดให้มีบริการตรวจหลังคลอดให้กับแม่ และบุตรหลังจากกลับมาอยู่บ้านแล้ว จำนวน 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ในสัปดาห์ที่ 1-2 และครั้งที่ 2 ในสัปดาห์ที่ 4-6 หลังคลอด เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และการตายของแม่และบุตร โดยแม่จะได้รับการตรวจแผลที่เย็บ มดลูกเข้าอู่มะเร็งปากมดลูก อาการหลังคลอด และโรคที่เป็นระหว่างตั้งครรภ์ว่าร่างกายกลับสู่สภาพปกติหรือยัง รวมทั้งได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการคุมกำเนิดการให้นมบุตร และการออกกำลังกาย ส่วนบุตรจะได้รับการตรวจเพื่อดูความเจริญเติบโตและความผิดปกติของร่างกาย พร้อมทั้งให้ภูมิคุ้มกันโรค
จากการสอบถามหญิงเคยสมรสอายุ 15 - 49 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องที่ยังมีชีวิตอยู่อายุ 2 - 11 เดือน1/ เกี่ยวกับการได้รับบริการหลังคลอด พบว่า หญิงกลุ่มนี้ได้รับการตรวจหลังคลอดทั้ง 2 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 65.5 ขณะที่บุตรมีสัดส่วนได้รับการตรวจสูงกว่าเล็กน้อย (ร้อยละ 67.4) สัดส่วนของหญิงและบุตรที่ได้รับการตรวจหลังคลอดทั้ง 2 ครั้งนอกเขตเทศบาลมีน้อยกว่าในเขตเทศบาล และภาคใต้มีสัดส่วนดังกล่าว ของหญิงและบุตรน้อยที่สุด แต่อย่างไรก็ตามทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล และทุกภาคมีสัดส่วนที่ได้รับการตรวจหลังคลอดทั้ง 2 ครั้ง ของแม่น้อยกว่าบุตร อาจเป็นเพราะบางครั้งแม่อาจพาบุตรไปตรวจอย่างเดียว
2.8 การให้บุตรดื่มนมแม่
หญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปี ที่ให้บุตรคนสุดท้องที่ยังมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 6 เดือน ดื่มนมแม่ภายใน 24 ชั่วโมงก่อนเวลาสัมภาษณ์ มีประมาณ 3.2 แสนคน (หรือคิดเป็น ร้อยละ 84.0 ของหญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 6 เดือน) แต่พบว่ามีเพียงร้อยละ 15.1 ที่ดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียว ร้อยละ 27.3 ดื่มนมแม่และน้ำ และมีถึงร้อยละ 41.6 ที่ให้บุตรดื่มนมแม่และเครื่องดื่ม/อาหารอื่น ๆ ด้วย เช่น น้ำผลไม้ นมผงกล้วยบด เป็นต้น
หากพิจารณาการให้บุตรดื่มนมแม่อย่างเดียว ตามเขตการปกครองและภาค พบว่า มีความแตกต่างกันไม่มากนักระหว่างในเขตเทศบาลและ นอกเขตเทศบาล (ร้อยละ 12.2 และ 16.0 ตามลำดับ) แต่เมื่อพิจารณาตามภาคพบว่า มีความแตกต่างกันมากระหว่างภาค โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนการให้บุตรดื่มนมแม่อย่างเดียวสูงที่สุด (ร้อยละ 26.9) รองลงมาคือ ภาคใต้ (ร้อยละ 10.4) และน้อยที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเพียงร้อยละ 1.7 เท่านั้น
2.9 สาเหตุที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในปัจจุบัน
หญิงเคยสมรสอายุ 15 — 49 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องที่ยังมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 6 เดือน และไม่ให้บุตรคนสุดท้องดื่มนมแม่มีร้อยละ 16.0 กว่าครึ่งหนึ่งของหญิงกลุ่มนี้ไม่ให้นมแม่เพราะไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน รองลงมา คือ แม่ต้องไปทำงาน (ร้อยละ 33.8) ผู้ที่อยู่นอกเขตเทศบาลก็มีเหตุผลเช่นเดียวกับภาพรวมของประเทศ แต่สำหรับในเขตเทศบาลมีสาเหตุจากแม่ต้องไปทำงานในสัดส่วนที่มากกว่าแม่ไม่มีน้ำนมให้ลูกกินเกือบ 2 เท่า (ร้อยละ 49.2 และ 27.5 ตามลำดับ)
3. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์
วัตถุประสงค์หนึ่งของการสำรวจนี้คือ เพื่อหาข้อมูลว่าหญิงไทย (อายุ 15 — 59 ปี) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์มากน้อยเพียงใด และมีประเด็นใดที่ยังมีการเข้าใจผิดอยู่ หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องจะได้นำไปรณรงค์ให้ความรู้ในเรื่องนั้น ๆ มากขึ้น จากการสำรวจพบว่าร้อยละ 91.4 ของหญิงอายุ 15 — 59 ปี มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องว่าการใช้ถุงยางอนามัยป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ ร้อยละ 87.6 รู้ว่าการมีคู่นอนเพียงคนเดียวป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ แต่มีความรู้ว่ายุงไม่เป็นพาหะนำเชื้อ HIV สู่คนได้มีร้อยละ 67.0 ซึ่งน้อยกว่าประเด็นอื่น ๆ และมีหญิงอายุ 15 — 59 ปีเพียงร้อยละ 36.4 เท่านั้นที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์ได้ถูกต้องทั้ง 5 ประเด็น
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์ได้อย่างถูกต้องของหญิงอายุ 15 — 59 ปีแปรผันตรงกันข้ามกับอายุคือ หญิงอายุน้อยมีสัดส่วนที่มีความรู้ความเข้าใจมากกว่า แต่จะแปรผันตามระดับการศึกษา หญิงที่มีการศึกษาสูงกว่าจะมีสัดส่วนที่มีคามรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์มากกว่า
4. การตรวจมะเร็งระบบสืบพันธุ์
4.1 การตรวจหาก้อนที่เต้านม
กว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 58.1) ของหญิงอายุ 30 — 59 ปี ได้ตรวจหาก้อนที่เต้านมในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการตรวจด้วยตนเองร้อยละ 23.6 ตรวจโดยบุคลากรสาธารณสุขร้อยละ 20.3 และตรวจด้วยตนเองและบุคลากรสาธารณสุขร้อยละ 14.2
เมื่อพิจารณาตามเขตการปกครองและภาค พบว่า หญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาล มีร้อยละที่ได้ตรวจหาก้อนที่เต้านมสูงกว่าในเขตเทศบาลเล็กน้อย (ร้อยละ 59.8 และ 54.6 ตามลำดับ) สัดส่วนที่ได้ตรวจหาก้อนที่เต้านมในรอบปีที่ผ่านมาของหญิงในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่าภาคอื่น ๆ (ร้อยละ 64.9 และ 63.3 ตามลำดับ) สำหรับกรุงเทพมหานครเป็นภาคเดียวที่มีสัดส่วนการตรวจน้อยกว่าครึ่ง (ร้อยละ 47.4)
สัดส่วนที่มีการตรวจหาก้อนที่เต้านมในรอบปีที่ผ่านมาแตกต่างกันตามระดับการศึกษา พบว่า กลุ่มหญิงที่มีการศึกษาสูงมีสัดส่วน การตรวจหาก้อนที่เต้านมในรอบปีที่ผ่านมา สูงกว่าหญิงที่มีการศึกษาน้อยกว่าซึ่งเห็นได้ชัดจากสัดส่วนการตรวจด้วยตนเอง รวมทั้งการตรวจด้วยตนเอง และบุคลากรสาธารณสุข
4.2 การตรวจมะเร็งปากมดลูก
ร้อยละ 60.2 ของหญิงอายุ 30 - 59 ปี ได้ตรวจมะเร็งปากมดลูกในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา โดยหญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาลมีร้อยละที่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกสูงมากกว่าในเขตเทศบาล (ร้อยละ 64.3 และ 52.1 ตามลำดับ) ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสัดส่วนใกล้เคียงกันและสูงกว่าภาคอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด (ร้อยละ 69.0 และ 67.3 ตามลำดับ) สำหรับกรุงเทพมหานครเป็นภาคเดียวที่มีสัดส่วนการตรวจต่ำกว่าครึ่ง (ร้อยละ 44.4)
นอกจากนี้ยังพบว่า หญิงอายุ 30 — 59 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องที่ยังมีชีวิตอายุต่ำกว่า 1 ปี มีสัดส่วนที่เคยตรวจสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีบุตรดังกล่าว (ร้อยละ 74.2 และ 60.0 ตามลำดับ) อาจเนื่องจากหญิงกลุ่มแรกได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกหลังคลอดบุตร
เป็นที่น่าสังเกตว่า การตรวจหาก้อนที่เต้านม และมะเร็งปากมดลูกของหญิงอายุ 30 - 59 ปีที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนต่ำกว่าหญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาล และกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนน้อยกว่าภาคอื่น ทั้งนี้ อาจเนื่องจากการรณรงค์ในการตรวจดังกล่าวผ่านทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และสถานพยาบาลในพื้นที่นอกเขตเทศบาลสามารถเข้าถึงครัวเรือนหรือกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าในเขตเทศบาล โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ผู้หญิงมีการทำงานหรือดำเนินชีวิตอยู่นอกครัวเรือนและเร่งรีบ อาจทำให้ไม่มีเวลาในการใส่ใจเรื่องสุขภาพเท่าที่ควร
ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 92.0) ของหญิงอายุ 30 — 59 ปี ที่ได้ตรวจมะเร็งปากมดลูกแล้วได้รับทราบผลตรวจ และมีเพียงร้อยละ 8.0 ที่ไม่ได้รับทราบผลการตรวจ หญิงในกรุงเทพมหานครถึงแม้ว่าจะมีการตรวจน้อยกว่าภาคอื่น แต่มีสัดส่วนของการได้รับทราบผลสูงที่สุด ภาคอื่นมี สัดส่วนที่ได้รับทราบผลแตกต่างกันเล็กน้อยประมาณร้อยละ 94.0 ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีสัดส่วนน้อยกว่าภาคอื่นคือ ร้อยละ 87.4
5. ความรุนแรงในครอบครัว
ปัจจุบันการใช้ความรุนแรงในครอบครัวมีปรากฏให้เห็นในสื่อต่างๆ เพิ่มขึ้น ความรุนแรงในครอบครัวของการสำรวจนี้ ถามเฉพาะการถูกสามีทำร้ายร่างกายอย่างเดียวในระหว่าง 12 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ โดยมีแนวโน้มการรายงานว่ามีความรุนแรงในครอบครัวต่ำกว่าความเป็นจริง จากผลการสำรวจหญิงสมรสอายุ 15 — 49 ปี เกี่ยวกับการถูกสามีทำร้ายร่างกายในรอบปีที่แล้ว พบว่า ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 97.1) ไม่เคยถูกสามีทำร้ายร่างกาย และมีเพียงร้อยละ 2.9 ที่รายงานว่าเคยถูกทำร้าย โดยหญิงสมรสที่อยู่ในกลุ่มอายุ 15 — 19 ปีมีสัดส่วนของการถูกทำร้ายมากที่สุดคือ ร้อยละ 6.3รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 35 — 39 ปี ร้อยละ 3.3 ส่วนกลุ่มอายุ 45 — 49 ปีมีสัดส่วนถูกสามีทำร้ายน้อยที่สุด (ร้อยละ 2.3)
เมื่อพิจารณาการถูกทำร้ายร่างกายโดยสามีตามระดับการศึกษา พบว่าหญิงสมรสที่มีการศึกษาสูงมีสัดส่วนของการถูกสามีทำร้ายร่างกายน้อยกว่าหญิงสมรสที่มีการศึกษาน้อยหรือไม่มีการศึกษา
6. อนามัยวัยรุ่น
อนามัยวัยรุ่น เป็นองค์ประกอบด้านหนึ่งของการอนามัยการเจริญพันธุ์ข้อมูลเกี่ยวกับอนามัยวัยรุ่นสามารถสะท้อนสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งมีความหลากหลายและรวดเร็ว โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มวัยรุ่นในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน และการมีสื่อลามกอนาจารที่วัยรุ่นเข้าถึงได้ง่าย เป็นต้น
6.1 เพศศึกษา
ปัจจุบันเรื่องเพศศึกษา1/ เป็นสิ่งที่สังคมยอมรับ สามารถนำมาสนทนาหรือเผยแพร่ให้เป็นที่รับรู้อย่างเปิดเผยได้ และถูกกำหนดให้อยู่ในแผนการศึกษาของประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อการมีพัฒนาการ สุขอนามัย และพฤติกรรมที่เหมาะสม
จากการสำรวจวัยรุ่นอายุ 15 — 24 ปี พบว่า ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85.2) เคยได้รับการสอนเรื่องเพศศึกษาในโรงเรียนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ โดยได้รับการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด (ร้อยละ 65.4) รองลงมาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 12.5) และมีผู้ที่ไม่เคยได้รับการสอนเรื่องดังกล่าวร้อยละ 11.2 นอกจากนี้ยังมีอีกกลุ่มที่จำไม่ได้หรือไม่แน่ใจว่าได้รับการสอนร้อยละ 3.6 (แผนภูมิ 21)
หากพิจารณาเป็นกลุ่มอายุ พบว่า ทั้งกลุ่มอายุ 15 — 19 ปีและกลุ่มอายุ 20 — 24 ปี ส่วนใหญ่ได้รับการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและกลุ่มอายุ 20 — 24 ปี มีสัดส่วนของผู้ที่ไม่เคยได้รับการสอนเรื่องเพศศึกษาสูงกว่ากลุ่มอายุ 15 — 19 ปี คือ ร้อยละ 14.2 และ 8.2 ตามลำดับ
6.2 การเคยใช้การคุมกำเนิด
จากผลการสำรวจวัยรุ่นอายุ 15 — 24 ปี โดยไม่คำนึงถึงสถานภาพสมรส พบว่า มีร้อยละ 35.6 เคยใช้วิธีคุมกำเนิด กลุ่มอายุ 15 — 19 ปีมีสัดส่วนการเคยใช้วิธีคุมกำเนิดน้อยกว่ากลุ่มอายุ 20 — 24 ปี (ร้อยละ 15.7 และ 55.6 ตามลำดับ) การเคยใช้การคุมกำเนิดสัมพันธ์กับสถานภาพสมรสคือกลุ่มวัยรุ่นที่สมรส (รวม อยู่กินฉันท์สามีภรรยา) และหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่/เคยสมรสแต่ไม่ทราบสถานภาพสมรส มีสัดส่วนที่เคยใช้การคุมกำเนิดมากถึงร้อยละ 83.5 และ 70.3 ตามลำดับ แต่กลุ่มวัยรุ่นโสดมีสัดส่วนดังกล่าวน้อยที่สุดเพียงร้อยละ 16.2
เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่า วัยกลุ่มอายุ 15 — 19 ปี ทั้งผู้หญิงและผู้ชายเคยใช้วิธีคุมกำเนิดในสัดส่วนที่น้อยและไม่แตกต่างกันประมาณร้อยละ 15.0 และมีสัดส่วนใกล้เคียงกันทั้งในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล โดยภาคเหนือและภาคกลางมีสัดส่วนของวัยรุ่นที่เคยใช้วิธีคุมกำเนิดสูงกว่าภาคอื่น คือ ประมาณร้อยละ 19.0 ในขณะที่ภาคใต้มีสัดส่วนน้อยที่สุด ร้อยละ 12.1
สำหรับวัยรุ่นกลุ่มอายุ 20 — 24 ปี เพศหญิงมีสัดส่วนของการเคยใช้วิธีคุมกำเนิดสูงกว่าเพศชาย (ร้อยละ 57.8 และ 53.4 ตามลำดับ) โดยนอกเขตเทศบาลมีผู้ใช้วิธีคุมกำเนิดมากกว่าในเขตเทศบาล (ร้อยละ 56.4 และ 53.4 ตามลำดับ) ภาคเหนือมีสัดส่วนผู้เคยใช้วิธีคุมกำเนิดสูงที่สุด (ร้อยละ 61.3) และภาคใต้มีการใช้วิธีคุมกำเนิดน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 46.7
ถ้าพิจารณาเฉพาะคนโสด พบว่า ร้อยละ 16.2 ของวัยรุ่นโสดอายุ 15 — 24 ปีเคยใช้การคุมกำเนิด วัยรุ่นชายโสดมีสัดส่วนที่เคยใช้การคุมกำเนิดสูงกว่าหญิง ผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนที่เคยใช้การคุมกำเนิดสูงกว่านอกเขตเทศบาล และกรุงเทพมหานครสูงกว่าภาคอื่นรองลงมาคือ ภาคเหนือ และพบว่า สัดส่วนที่เคยใช้การคุมกำเนิดของกลุ่มอายุ 20 — 24 ปี สูงกว่ากลุ่มอายุ 15 — 19 ปี (ร้อยละ 29.7 และ 8.5 ตามลำดับ)
6.3 การใช้การคุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย
วัยรุ่นอายุ 15 — 24 ปี
จากการสอบถามกลุ่มวัยรุ่น (15 — 24 ปี) ที่เคยใช้วิธีการคุมกำเนิดพบว่า ร้อยละ 91.9 ยังใช้วิธีคุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย โดยใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดมากที่สุด (ร้อยละ 44.9) รองลงมาใช้ถุงยางอนามัย (ร้อยละ 31.4) ยาฉีดคุมกำเนิด (ร้อยละ 9.3) และพบว่ามีการใช้ยาคุมฉุกเฉิน/คุมหลังร่วมเพศร้อยละ 1.8 และมีเพียงร้อยละ 8.1 ที่ไม่ใช้วิธีคุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย
ในทั้ง 2 กลุ่มอายุ คือ 15 — 19 ปี และ 20 — 24 ปี พบว่า ผู้ชายมีการป้องกันการตั้งครรภ์มากกว่าผู้หญิงในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายโดยอาจจะเป็นการป้องกันโดยตัวเองเป็นผู้ใช้หรือให้ฝ่ายหญิงเป็นผู้ใช้ก็ได้ในกลุ่มอายุน้อย (15 — 19 ปี) ผู้ชายมีการใช้ถุงยางอนามัยถึงร้อยละ 72.7 แต่เมื่ออายุมากขึ้น พบว่า ผู้ชายมีการใช้ถุงยางอนามัยลดลงเป็นร้อยละ 49.0 แต่มีสัดส่วนการให้ฝ่ายหญิงเป็นผู้คุมกำเนิดโดยใช้ยาคุมกำเนิดเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าสำหรับการคุมกำเนิดของผู้หญิงพบว่า ผู้หญิงมีการใช้ยาคุมกำเนิดเพิ่มขึ้นตามอายุ (อายุ 15 — 19 ปี ร้อยละ 56.1 และอายุ 20 — 24 ปี ร้อยละ 60.5)
วัยรุ่นโสดอายุ 15 — 24 ปี
เมื่อพิจารณาวัยรุ่นอายุ 15 — 24 ปีที่เคยใช้วิธีการคุมกำเนิดเฉพาะกลุ่มคนโสด พบว่า วัยรุ่นโสดกลุ่มนี้มีการใช้วิธีคุมกำเนิดเพื่อป้องกันไม่ให้คู่ของตนตั้งครรภ์เมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายในสัดส่วนค่อนข้างสูง (ร้อยละ 98.8) แต่วิธีคุมกำเนิดที่ใช้มีความแตกต่างกันคือวัยรุ่นโสดใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวเท่านั้น โดยส่วนใหญ่ใช้ถุงยางอนามัยมากถึงร้อยละ 72.2 รองลงมาคือ ยาเม็ดคุมกำเนิด (ร้อยละ 18.5)