ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรประจำเดือนเมษายน 2554 พบว่า จากจำนวนผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไปหรือผู้อยู่ในวัยทำงานทั้งสิ้น 53.89 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในกำ ลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อมทำ งาน 37.93 ล้านคนซึ่งประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 37.37 ล้านคน ผู้ว่างงาน 2.85 แสนคน และผู้รอฤดูกาล 2.75 แสนคน ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานมี 15.96 ล้านคน
จำนวนผู้มีงานทำ 37.37 ล้านคน ประกอบด้วยเป็นผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรม 12.66 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรม 24.71 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2553 พบว่า ในภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 1.8 แสนคน (จาก 12.48 ล้านคน เป็น 12.66 ล้านคน) ส่วนนอกภาคเกษตรกรรมมีผู้ทำงานลดลง 7 หมื่นคน (จาก 24.78 ล้านคน เป็น 24.71 ล้านคน) ซึ่งเป็นการลดลงในสาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์ฯ 5.5 แสนคน สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 2.3 แสนคนสาขาการก่อสร้าง และสาขางานด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ลดลงเท่ากัน 9 หมื่นคน ส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับ 2.5 แสนคน สาขากิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ (เช่น กิจกรรมบริการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกายการบริการซักรีดและซักแห้ง การซ่อมเครื่องใช้ในครัวเรือนเป็นต้น) 2.1 แสนคน สาขาการศึกษา 8 หมื่นคน และที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่นๆ
หากพิจารณาถึงลักษณะของการทำงานจากชั่วโมงการทำงาน พบว่า ในจำนวนผู้ทำงานทั้งหมด 37.37 ล้านคนเป็นผู้ที่ทำงานมากกว่า 35 ชั่วโมง 31.01 ล้านคน หรือร้อยละ 82.9 ส่วนผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 6.36 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 17.0 ของผู้มีงานทำ ซึ่งกลุ่มผู้ทำ งานเหล่านี้ คือผู้ที่ทำ งานไม่เต็มเวลา หากนำ มาเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2553 ผู้ทำงานไม่เต็มเวลามีจำ นวนลดลง 6.5 แสนคน (จาก 7.01 ล้านคน เป็น 6.36 ล้านคน) หรือลดลงร้อยละ 1.8 (จากร้อยละ 18.8 เป็นร้อยละ 17.0)
สำหรับจำนวนของผู้ว่างงานในเดือนเมษายน 2554 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.85 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2553 มีจำนวนผู้ว่างงานลดลง 1.66 แสนคน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนที่ผ่านมา (มีนาคม 2554) มีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 9 พันคน (จาก 2.76 แสนคน เป็น 2.85 แสนคน)
เมื่อพิจารณาผู้ว่างงานจากประสบการณ์การทำงานพบว่า ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนมีจำนวน 8.6 หมื่นคนส่วนผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 1.99 แสนคน ซึ่งลดลง 8.4 หมื่นคน จากช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2553 (จาก 2.83 แสนคนเป็น 1.99 แสนคน) โดยเป็นผู้ว่างงานมาจากภาคการบริการและการค้า 8.8 หมื่นคน ภาคการผลิต 6.9 หมื่นคน และภาคเกษตรกรรม 4.2 หมื่นคน
หากพิจารณาการว่างงานตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มวัยเยาวชน หรือผู้มีอายุระหว่าง 15-24 ปี มีอัตราการว่างงานร้อยละ 2.5 ซึ่งปกติในกลุ่มนี้อัตราการว่างงานจะสูง ส่วนกลุ่มวัยผู้ใหญ่ (อายุ 25 ปีขึ้นไป) มีอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.5 เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2553 กลุ่มวัยเยาวชนมีอัตราการว่างงานลดลงร้อยละ 2.2 (จากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 2.5) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนที่ผ่านมา(มีนาคม 2554) กลุ่มวัยเยาวชนอัตราการว่างงานลดลงร้อยละ 0.4 (จากร้อยละ 2.9 เป็นร้อยละ 2.5)
สำหรับระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานในเดือนเมษายน 2554 พบว่า ผู้ที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีจำนวนมากที่สุด 7.9 หมื่นคน (ร้อยละ 1.2) รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6.6 หมื่นคน (ร้อยละ 1.0) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 5.2 หมื่นคน (ร้อยละ 1.0) ระดับประถมศึกษา 4.9 หมื่นคน (ร้อยละ 0.6) และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 3.9 หมื่นคน (ร้อยละ 0.3) เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2553 พบว่าจำนวนผู้ว่างงานลดลงในทุกระดับ โดยระดับอุดมศึกษาลดลงมากที่สุด 6.3 หมื่นคน รองลงมาคือ ผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 3.8 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2.8 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 2.1 หมื่นคน และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1.7 หมื่นคน
หากพิจารณาอัตราการว่างงาน เป็นรายภาค พบว่าภาคใต้มีอัตราการว่างงานสูงที่สุดคือร้อยละ 1.1 รองลงมาเป็นภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 0.7 เท่ากัน กรุงเทพมหานครร้อยละ 0.6 ถ้าเปรียบเทียบอัตราการว่างงานในช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2553 พบว่าภาคเหนือออกเฉียงเหนือ มีอัตราการว่างงานลดลงมากที่สุดร้อยละ 0.9 ภาคใต้ร้อยละ 0.5 ภาคกลางร้อยละ 0.3 กรุงเทพมหานครร้อยละ 0.2 ส่วนภาคเหนือมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1
สรุปผลที่สำคัญ
1. โครงสร้างกำลังแรงงาน
ผลการสำรวจในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 พบว่า มีจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป 53.89 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานประมาณ 37.93 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 70.4 ของประชากร (ชายร้อยละ 78.7 และหญิง ร้อยละ 62.6) เป็นผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงาน 15.96 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 29.6 (ชายร้อยละ 21.3 และหญิงร้อยละ 37.4) สำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. ผู้มีงานทำ จำนวน 37.37 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.5 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน (ชายร้อยละ 98.3 หญิงร้อยละ 98.7)
2. ผู้ว่างงาน หมายถึง ผู้ไม่มีงานทำและพร้อมที่จะทำงาน มีจำนวน 2.85 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 (ชายร้อยละ 0.8 และหญิงร้อยละ 0.7)
3. ผู้ที่รอฤดูกาล หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้ทำงานและไม่พร้อมที่จะทำงาน เนื่องจากจะรอทำงานในฤดูกาลต่อไปมีจำนวน 2.75 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 0.7 (ชายร้อยละ 0.8 และหญิงร้อยละ 0.6)
2. ภาวะการมีงานทำของประชากร
เมื่อพิจารณาถึงลักษณะการทำงานของประชากรเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 พบว่า จากจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 37.37 ล้านคน (ชาย 20.26 ล้านคน และหญิง 17.11 ล้านคน) เป็นผู้ทำงานภาคเกษตรกรรม 12.66 ล้านคน หรือร้อยละ 33.9 ของผู้มีงานทำ (ชาย 7.11 ล้านคน และหญิง 5.55 ล้านคน) และทำงานนอกภาคเกษตรกรรม 24.71 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 66.1 ของผู้มีงานทำ (ชาย 13.15 ล้านคน และหญิง 11.56 ล้านคน)
เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2553 พบว่า ในภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 1.8 แสนคน (เพิ่มขึ้นจาก 12.48 ล้านคน เป็น 12.66 ล้านคน) ส่วนนอกภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานลดลง 7 หมื่นคน (ลดลงจาก 24.78 ล้านคน เป็น 24.71 ล้านคน) ในจำนวนนี้เป็นการลดลงในสาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์ฯ มากที่สุด 5.5 แสนคน รองลงมาเป็นสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 2.3 แสนคน สาขาการก่อสร้าง และสาขากิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ ลดลงเท่ากัน 9 หมื่นคน และสาขาการผลิต 5 หมื่นคน ส่วนสาขาที่เพิ่มขึ้นเป็น สาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับเพิ่มขึ้น 2.5 แสนคน สาขากิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ เช่น กิจกรรมบริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย การบริการซักรีดและซักแห้ง การซ่อมของใช้ในครัวเรือนเป็นต้น เพิ่มขึ้น 2.1 แสนคน สาขาการศึกษาเพิ่มขึ้น 8 หมื่นคน สาขาที่พักแรมและการบริการด้านอาหารเพิ่มขึ้น 5 หมื่นคนสาขากิจกรรมทางการเงิน และการประกันภัย และสาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นเท่ากัน 3 หมื่นคน ที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่น ๆ
เมื่อพิจารณาถึงชั่วโมงทำงานของผู้มีงานทำต่อสัปดาห์ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 พบว่า ส่วนใหญ่ทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ทำงานเต็มที่ในเรื่องชั่วโมงทำงาน มีจำนวน 31.01 ล้านคน หรือร้อยละ 82.9 ของผู้มีงานทำทั้งสิ้น (ชายร้อยละ 83.1 และหญิงร้อยละ 82.9) และผู้ที่ทำงาน 1 - 34 ชั่วโมงมีจำนวน 5.48 ล้านคน หรือร้อยละ 14.7 (ชายร้อยละ 14.4 และหญิงร้อยละ 15.0) สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์สำรวจ (ระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์) แต่เป็นผู้มีงานประจำซึ่งถือว่าในสัปดาห์สำรวจไม่มีชั่วโมงทำงาน (0 ชั่วโมง) มีจำนวน 8.8 แสนคน หรือร้อยละ 2.4 (ชายร้อยละ 2.5 และหญิงร้อยละ 2.1) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าจำนวนผู้ที่ทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปเพิ่มขึ้น 7.6 แสนคน ส่วนผู้ที่ทำงาน 1 - 34 ชั่วโมงลดลง 4.3 แสนคน และผู้ที่ไม่ได้ทำงานใน สัปดาห์การสำรวจ (0 ชั่วโมง) ลดลง 2.2 แสนคน
3. ภาวะการว่างงานของประชากร
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 มีผู้ว่างงาน 2.85 แสนคน (ชาย 1.71 แสนคน และหญิง 1.14 แสนคน) คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 (ชายร้อยละ 0.8 และหญิงร้อยละ 0.7) และถ้าพิจารณาเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมาจะเห็นว่า จำ นวนผู้ว่างงานลดลง 1.66 แสนคน เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ว่างงานลดลงมากที่สุด 1.12 แสนคน ภาคใต้ลดลง 2.8 หมื่นคน ภาคกลางลดลง 2.5 หมื่นคน และกรุงเทพมหานครลดลง 7 พันคน ส่วนภาคเหนือมีผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 6 พันคน
ถ้าพิจารณาอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน พ.ศ.2554 เป็นรายภาค พบว่า ภาคใต้มีอัตราการว่างงานสูงสุดร้อยละ 1.1 รองลงมาคือ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการว่างงานเท่ากันร้อยละ 0.7และกรุงเทพมหานครมีอัตราการว่างงานน้อยที่สุดร้อยละ 0.6
เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงานของแต่ละภาคกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา พบว่าอัตราการว่างงานทั่วประเทศลดลงร้อยละ 0.4 เมื่อพิจารณาเป็นรายภาคพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการว่างงานลดลงมากที่สุดร้อยละ 0.9 ภาคใต้ลดลงร้อยละ 0.5 ภาคกลางลดลงร้อยละ 0.3 และกรุงเทพมหานครลดลงร้อยละ 0.2 ส่วนภาคเหนือมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1
เมื่อพิจารณาถึงลักษณะผู้ว่างงานตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า เป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 8.6 หมื่นคน หรือคิดเป็นร้อยละ 30.2 ของผู้ว่างงานทั้งสิ้น ส่วนผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนมี 1.99 แสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ 69.8 โดยเป็นผู้ว่างงานมาจากนอกภาคเกษตรกรรม 1.57 แสนคน ซึ่งประกอบด้วยภาคการบริการและการค้า 8.8 หมื่นคน และภาคการผลิต 6.9 หมื่นคน สำหรับผู้ว่างงานในภาคเกษตรกรรมมี 4.2 หมื่นคน
เมื่อพิจารณาระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานจำนวน 2.85 แสนคน พบว่า ระดับการศึกษาที่มีผู้ว่างงานมากที่สุดคือ ระดับอุดมศึกษา 7.9 หมื่นคน รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6.6 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 5.2 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 4.9 หมื่นคน และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 3.9 หมื่นคน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้ว่างงานลดลงทุกระดับการศึกษา โดยระดับอุดมศึกษาลดลงมากที่สุด 6.3 หมื่นคน รองลงมาคือ ผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาลดลง 3.8 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นลดลง 2.8 หมื่นคน ระดับประถมศึกษาลดลง 2.1 หมื่นคน และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายลดลง 1.7 หมื่นคน
จากการพิจารณาอัตราการว่างงานตามระดับการศึกษาที่สำ เร็จ พบว่า ผู้ที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีอัตราการว่างงานสูงที่สุดคือร้อยละ 1.2 รองลงมาเป็นผู้ที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีอัตราการว่างงานเท่ากันร้อยละ 1.0 ระดับประถมศึกษาร้อยละ 0.6 และผู้ว่างงานที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาร้อยละ 0.3 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา พบว่า อัตราการว่างงานลดลงทุกระดับการศึกษา โดยผู้ว่างงานที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีอัตราการว่างงานลดลงมากที่สุดร้อยละ 1.1 รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นลดลงร้อยละ 0.5 ผู้ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาลดลงร้อยละ 0.4 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายลดลงร้อยละ 0.3 และระดับประถมศึกษาลดลงน้อยที่สุดร้อยละ 0.2