การสำรวจธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ พ.ศ. 2553 ภาคเหนือ

ข่าวทั่วไป Thursday June 30, 2011 16:26 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำการสำรวจธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการทุก 2 ปี มาอย่างต่อเนื่องวัตถุประสงค์เพื่อเก็บ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ สำหรับภาครัฐใช้ในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศ และภาคเอกชน ใช้ประกอบการวางแผนการลงทุนในการสำ รวจนี้คุ้มรวมสถานประกอบการธุรกิจทั่วประเทศ ที่ดำ เนินกิจการเกี่ยวกับการขายส่ง ขายปลีก โรงแรมและภัตตาคาร กิจกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ กิจกรรมนันทนาการ และการบริการอื่น ๆ

สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2553 และข้อมูลสถิติที่นำเสนอในรายงานฉบับนี้เป็นผลการ ดำ เนินกิจการในรอบปีที่ผ่านมา (1 มกราคม — 31 ธันวาคม 2552) ของสถานประกอบการธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ ใน ภาคเหนือ สรุปได้ดังนี้

1. จำนวนสถานประกอบการ จำแนกตามหมวดธุรกิจ

จากการสุ่มตัวอย่างและการประมาณค่าทางสถิติ พบว่า มีสถานประกอบการธุรกิจ ที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือจำนวนประมาณ 282,108 แห่ง ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 49.3 ประกอบธุรกิจการขายปลีก(ยกเว้นยานยนต์และรถจักรยานยนต์) รวมทั้งการซ่อมแซมของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือนรองลงมาประกอบธุรกิจโรงแรมและภัตตาคารประมาณร้อยละ 17.2 ธุรกิจการขาย การบำรุงรักษา และการซ่อมแซมยานยนต์และรถจักรยานยนต์รวมทั้งการขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ และธุรกิจการบริการอื่นๆ มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 11.6 และ 9.6 ตามลำดับ สำหรับธุรกิจนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นแต่ละหมวดมีสัดส่วนต่ำกว่าร้อยละ 4.0 ของจำนวนสถานประกอบการธุรกิจทั้งสิ้น

2. ขนาดของสถานประกอบการ

สถานประกอบการในภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1-15 คน จำนวน 279,768 แห่ง หรือร้อยละ 99.2 สถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 15 คนมีเพียงร้อยละ 0.8 หรือมีจำนวน 2,340 แห่งในจำนวนนี้เป็นสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 16-25 คน 1,229 แห่ง สถานประกอบการที่มีคนทำงาน 31-50 คน 51-200 คน และ 26-30 คน มีประมาณ 470 แห่ง 404 แห่ง และ 184 แห่ง ตามลำดับ ส่วนสถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน มีจำนวนเพียง 53 แห่ง เท่านั้น

3. รูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมาย

สถานประกอบการธุรกิจส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.0 มีการจัดตั้งในรูปแบบที่เป็นส่วนบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนที่ไม่เป็นนิติบุคคล ส่วนที่มีรูปแบบเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด บริษัทจำกัด (มหาชน) มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 1.5 และ 1.2 ตามลำดับ สำหรับสถานประกอบการที่มีรูปแบบเป็นส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ สหกรณ์ มูลนิธิ สมาคม และอื่น ๆ มีเพียงร้อยละ 0.3

เมื่อพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า สถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1 — 15 คน จะดำเนินกิจการในรูปแบบ ที่เป็นส่วนบุคคล มากที่สุดถึงร้อยละ 97.6 ในขณะที่สถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน จะดำเนินกิจการในรูปแบบเป็นบริษัทจำกัด บริษัทจำกัด (มหาชน) มากที่สุดประมาณ ร้อยละ 80.3

4. รูปแบบการจัดตั้งทางเศรษฐกิจ

สถานประกอบการธุรกิจในภาคเหนือที่พบส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 99.1 เป็นสำนักงานแห่งเดียวไม่มีสำนักงานใหญ่หรือสาขาอยู่ที่ใด ที่เหลือร้อยละ 0.5 เป็นสำนักงานใหญ่และอีกร้อยละ 0.4 เป็นสำนักงานสาขาเมื่อพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ (ตามจำนวนคนทำงาน)พบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่ในทุกขนาดมีรูปแบบการจัดตั้งเป็นสำนักงานแห่งเดียว

5. ระยะเวลาในการดำเนินกิจการ

สถานประกอบการธุรกิจ ร้อยละ 34.6 ดำเนินกิจการระหว่าง 10-19 ปี ที่ดำเนินกิจการระหว่าง 5-9 ปี มีประมาณร้อยละ 34.0 สถานประกอบการที่ดำเนินกิจการน้อยกว่า 5 ปี และระหว่าง 20-29 ปี มีประมาณร้อยละ 15.7 และ 11.0 ตามลำดับ ส่วนสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนน้อยที่สุด คือประมาณร้อยละ 4.7

เมื่อพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ (ตามจำนวนคนทำงาน) พบว่า สถานประกอบการทุกขนาดมากกว่าครึ่งดำเนินกิจการ ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

6. ทุนจดทะเบียน

สถานประกอบการธุรกิจในภาคเหนือที่มีทุนจดทะเบียนมีจำนวน 7,082 แห่ง หรือร้อยละ 2.5 ของจำนวนสถานประกอบการทั้งสิ้น ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 86.8 มีทุนจดทะเบียนน้อยกว่า 10 ล้านบาท ที่มีทุนจดทะเบียน 10 — 99 ล้านบาทมีประมาณร้อยละ 12.3 สำหรับสถานประกอบการที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไปมีเพียงร้อยละ 0.9

7. การร่วมลงทุนหรือถือหุ้น

การประกอบธุรกิจทางการค้า และธุรกิจทางการบริการ ในภาคเหนือส่วนใหญ่ (ร้อยละ 99.9) ไม่มีการร่วมลงทุนจากต่างประเทศ ส่วนที่มีต่างประเทศร่วมลงทุนหรือถือหุ้น ในกิจการมีอยู่เพียงร้อยละ 0.1 ในจำนวนนี้ พบว่า สถานประกอบการที่มีต่างประเทศร่วมลงทุนโดยถือหุ้น 10 — 50% มีประมาณร้อยละ 41.4 ที่มีต่างประเทศร่วมลงทุนโดยถือหุ้นน้อยกว่า 10% มีประมาณ ร้อยละ 36.1 ที่เหลือร้อยละ 22.5 เป็นสถานประกอบการที่มีต่างประเทศร่วมลงทุนโดยถือหุ้นมากกว่า 50%

8. จำนวนคนทำงานและลูกจ้าง

ในปี 2552 มีคนทำ งานในสถานประกอบการธุรกิจที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือทั้งสิ้น 646,141 คน ในจำนวนนี้ เป็นลูกจ้าง 244,599 คน เมื่อจำแนกลูกจ้างตามประเภทธุรกิจต่าง ๆ พบว่ามีลูกจ้างปฏิบัติงานในธุรกิจการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และรถจักรยานยนต์) รวมทั้งการซ่อมแซม ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน มากที่สุดจำนวน 64,298 คน หรือ ร้อยละ 26.3 รองลงมาปฏิบัติงานอยู่ในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร 61,887 คน หรือ ร้อยละ 25.3 สำหรับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในธุรกิจการขาย การบำรุงรักษาการซ่อมแซมยานยนต์และรถจักรยานยนต์ รวมทั้งการขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ มีประมาณ 46,470 คน หรือร้อยละ 19.0 ที่เหลือปฏิบัติงานในธุรกิจนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น

9. ค่าตอบแทนแรงงาน

ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในธุรกิจการค้าและธุรกิจทางการบริการในภาคเหนือได้รับค่าตอบแทนแรงงาน รวมทั้งสิ้นประมาณ 18.0 พันล้านบาท หรือโดยเฉลี่ย 73,659 บาทต่อคนต่อปี โดยลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในธุรกิจเกี่ยวกับกิจกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ ได้รับค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดคือ 114,629 บาท รองลงมาคือธุรกิจเกี่ยวกับกิจกรรมด้านคอมพิวเตอร์และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้รับค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยต่อคนต่อปี 111,534 บาท ส่วนลูกจ้างในธุรกิจการขายการบำรุงรักษาและการซ่อมแซมยานยนต์และรถจักรยานยนต์ รวมทั้งการขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ และธุรกิจการขายส่งและการค้าเพื่อค่านายหน้า ยกเว้นยานยนต์และรถจักรยานยนต์ ได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ยต่อคนต่อปี 89,913 บาท และ 76,838 บาท ตามลำดับสำหรับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานอยู่ในธุรกิจกิจกรรมด้านนันทนาการ วัฒนธรรม และการกีฬา ได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ยต่อคนต่อปีต่ำที่สุด 34,118 บาท

10.รายรับ ค่าใช้จ่ายและมูลค่าเพิ่ม

การประกอบธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการในภาคเหนือ มีมูลค่ารายรับรวมทั้งสิ้นประมาณ 520.7 พันล้านบาท ค่าใช้จ่ายประมาณ 420.2 พันล้านบาท และมูลค่าเพิ่มรวมทั้งสิ้นประมาณ 100.5 พันล้านบาท ตามลำดับ โดยมูลค่าเพิ่มมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 19.3 ของรายรับ สำหรับรายรับเฉลี่ยต่อสถานประกอบการมีมูลค่าประมาณ 1.8 ล้านบาท และรายรับเฉลี่ยต่อคนทำ งานมีมูลค่าประมาณ 805,900 บาท ในด้านมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อสถานประกอบการ และเฉลี่ยต่อคนทำงาน มีมูลค่าประมาณ 356,200 บาท และ 155,500 บาท ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาตามหมวดธุรกิจพบว่า ธุรกิจการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และรถจักรยานยนต์) รวมทั้งการซ่อมแซมของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน มีรายรับและมูลค่าเพิ่มสูงที่สุดประมาณ 210.1 พันล้านบาท และ 39.6 พันล้านบาท ตามลำดับ รองลงมาคือธุรกิจการขาย การบำรุงรักษาและการซ่อมแซมยานยนต์และรถจักรยานยนต์ รวมทั้งการขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ มีรายรับและมูลค่าเพิ่มประมาณ 194.4 พันล้านบาท และ 24.9 พันล้านบาท ตามลำดับ ส่วนธุรกิจเกี่ยวกับกิจกรรมด้านคอมพิวเตอร์และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง มีรายรับและมูลค่าเพิ่มต่ำสุดคือ ประมาณ 936,000 บาท และ 311,500 บาท ตามลำดับ

11.สรุปและข้อเสนอแนะ

ผลจากการสำรวจธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ พ.ศ. 2553 พบว่า จำนวนสถานประกอบการธุรกิจฯ ในภาคเหนือ มีทั้งสิ้น282,108 แห่ง ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 99.2 เป็นสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1-15 คน และการประกอบธุรกิจที่สำ คัญ ได้แก่ การขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และรถจักรยานยนต์) รวมทั้งการซ่อมแซมของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือนประมาณร้อยละ 49.3 สำหรับคนทำงานในสถาน- ประกอบการมีทั้งสิ้น 646,141 คน ในจำนวนนี้เป็นลูกจ้างหรือมีการจ้างงาน 244,599 คน โดยได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ย 73,676 บาทต่อคนต่อปี ส่วนมูลค่ารายรับ ค่าใช้จ่าย และมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการรวมทั้งสิ้นประมาณ 520.7 พันล้านบาท 420.2 พันล้านบาท และ 100.5 พันล้านบาท ตามลำดับ

  • ปัญหาและอุปสรรคของสถานประกอบการ

มีผู้ประกอบการธุรกิจฯ ในภาคเหนือประมาณร้อยละ 21.2 ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการดำเนินกิจการ ดังนี้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง มีคู่แข่งทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้นและเศรษฐกิจไม่ดี เป็นต้น

  • ความช่วยเหลือที่ต้องการจากหน่วยงานของรัฐ

สำหรับความช่วยเหลือที่ต้องการจากหน่วยงานของรัฐและข้อเสนอแนะ นั้นมีผู้ประกอบการธุรกิจฯ ในภาคเหนือ ประมาณร้อยละ 17.5 ได้ระบุความต้องการและข้อเสนอแนะ ดังนี้ รัฐควรมีมาตรการให้กู้ยืมเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ แก้ปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง มีมาตรการลดหย่อนภาษีและมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นต้น

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ