การสำรวจโครงการชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน ตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย (มกราคม พ.ศ. 2556)

ข่าวทั่วไป Friday March 8, 2013 14:35 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

ตามที่รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาโดยตลอด แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดยังคงมีอยู่ รัฐบาลจึงได้ดำเนินโครงการชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน ตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 - 31 มกราคม 2556 เพื่อการติดตาม ปรับปรุง และประเมินผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในการนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และ สำนักงาน ป.ป.ส. จึงได้ทำการสำรวจโครงการชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน ตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย (มกราคม พ.ศ. 2556) 9 จังหวัดในภาค ป.ป.ส. ได้แก่ ภาค 1 : อยุธยา ภาค 2 : ชลบุรี 80 ภาค 3 : นครราชสีมา ภาค 4 : ขอนแก่น ภาค 5 : เชียงใหม่ 60 ภาค 6 : พิษณุโลก ภาค 7 : นครปฐม ภาค 8 : สุราษฎร์ธานี 40 ภาค 9 : สงขลา เพื่อติดตาม ประเมินผลสภาพปัญหา และ20 สถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติดในชุมชน/หมู่บ้านเป้าหมาย 0 รวมทั้งผลการดำเนินงานโครงการฯ เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในติดตาม การวางแผน และกำหนดนโยบาย เพื่อใช้เป็นต้นแบบทั่วประเทศ

การสำรวจด้วยตัวอย่างครั้งนี้ใช้แผนการสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Two-stage Sampling โดยส่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติไปสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย 9 ภาค ในชุมชน/หมู่บ้านเป้าหมาย ครัวเรือนละ 1 ราย ได้ประชาชนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,418 ราย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 - 21 มกราคม 2556 ซึ่งมีผู้ตอบสัมภาษณ์ที่อาศัยอยู่ในชุมชน/หมู่บ้านเป้าหมาย เป็นชายร้อยละ 46.6 เป็นหญิงร้อยละ 53.4 มีอายุ 18 - 29 ปีร้อยละ 24.3 อายุ 30 - 39 ปีร้อยละ 26.6 อายุ 40 - 49 ปีร้อยละ 21.9 อายุ 50 - 59 ปีร้อยละ 16.6 และอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 10.6 ระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรีมีร้อยละ 82.2 ปริญญาตรีขึ้นไปร้อยละ 14.6 และผู้ไม่ได้รับการศึกษาร้อยละ 3.2 รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาทร้อยละ 26.8 รายได้ 10,001 - 30,000 บาทร้อยละ 60.0 และมากกว่า 30,000 บาทร้อยละ 13.2 ซึ่งสรุปผลการสำรวจได้ ดังนี้

1. สถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติด

ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน/หมู่บ้านเป้าหมายโครงการชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืนร้อยละ 18.5 ระบุว่าปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดมีความรุนแรง - รุนแรงมากที่สุด และค่อนข้างรุนแรง (ร้อยละ 22.3) ส่วนผู้ที่ระบุว่าไม่ค่อยรุนแรง - ไม่รุนแรง มีร้อยละ 59.2

สำหรับจังหวัดที่มีปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดรุนแรง - รุนแรงมากที่สุดพบในจังหวัดสงขลา (ร้อยละ 38.3) รองลงมาได้แก่ชลบุรี (ร้อยละ 31.0) เชียงใหม่ (ร้อยละ 26.0) และสุราษฏร์ธานี (ร้อยละ 24.3) ขณะที่จังหวัดอื่นมีประมาณร้อยละ 10 - 12 ส่วนนครปฐมมีร้อยละ 4.9

1.1 ปัญหาด้านผู้ค้า/ผู้ลักลอบค้ายาเสพติด

ประชาชนร้อยละ 56.0 ระบุว่าปัญหาด้านผู้ค้า/ผู้ลักลอบค้ายาเสพติด มีลดลงเมื่อเทียบกับก่อนดำเนินโครงการชุมชนอุ่นใจฯ ส่วนผู้ที่เห็นว่าเพิ่มขึ้นมีไม่มากนัก (ร้อยละ 5.4) และร้อยละ 14.6 เห็นว่าปัญหายังเท่าเดิม แต่ก็มีผู้ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจร้อยละ 24.0

สำหรับปัญหาด้านผู้ค้า/ผู้ลักลอบค้ายาเสพติดเกิดจากคนในชุมชน/หมู่บ้าน (ร้อยละ 36.3) มากกว่าคนนอกฯ (ร้อยละ 30.9) แต่ก็ยังมีผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ ร้อยละ 32.8

สำหรับจังหวัดที่มีปัญหาด้านผู้ค้า/ผู้ลักลอบค้ายาเสพติด เพิ่มขึ้นพบในจังหวัดพิษณุโลกมากที่สุด (ร้อยละ 17.2) รองลงมาได้แก่ สงขลา (ร้อยละ 13.5) และชลบุรี (ร้อยละ 8.8) ขณะที่จังหวัดอื่นๆ มีประมาณร้อยละ 2 - 5 ส่วนขอนแก่นมีร้อยละ 0.3

1.2 ปัญหาด้านผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด

ประชาชนร้อยละ 55.4 ระบุว่าปัญหาด้านผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด มีลดลงเมื่อเทียบกับก่อนดำเนินโครงการชุมชนอุ่นใจฯ ส่วนผู้ที่เห็นว่าเพิ่มขึ้นมีไม่มากนัก (ร้อยละ 6.8) และร้อยละ 15.9 เห็นว่าปัญหายังเท่าเดิม แต่ก็มีผู้ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจร้อยละ 21.9 สำหรับปัญหานี้ ประชาชนเห็นว่าเกิดจากคนในชุมชน/หมู่บ้าน (ร้อยละ 52.0) มากกว่าคนนอกฯ (ร้อยละ 18.7) แต่ก็ยังมีผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ ร้อยละ 29.3

ปัญหาด้านผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ประชาชนเห็นว่ามีปัญหาเพิ่มขึ้นพบในจังหวัดสงขลามากที่สุด (ร้อยละ 19.5) รองลงมาได้แก่ พิษณุโลก (ร้อยละ 15.6) และชลบุรี (ร้อยละ 15.4) ขณะที่จังหวัดอื่นมีไม่เกินร้อยละ 5

ประชาชนร้อยละ 49.6 ระบุว่าผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่ได้เข้ารับการบำบัดรักษา มีลดลงเมื่อเทียบกับก่อนดำเนินโครงการชุมชนอุ่นใจฯ ส่วนผู้ที่ระบุว่าเพิ่มขึ้นมีไม่มากนัก (ร้อยละ 5.4) และร้อยละ 13.2 ระบุว่าปัญหายังเท่าเดิม แต่มีผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจร้อยละ 31.8 เมื่อพิจารณาเป็นรายจังหวัด ประชาชนเห็นว่าปัญหาที่เพิ่มขึ้นพบในจังหวัดสงขลามากที่สุด (ร้อยละ 17.3) รองลงมาได้แก่ พิษณุโลก (ร้อยละ 10.0) และชลบุรี (ร้อยละ 10.0) ขณะที่จังหวัดอื่นมีประมาณร้อยละ 2 - 4

ประชาชนร้อยละ 33.4 ระบุว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่มีอาการประสาทหลอน คุ้มคลั่ง ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเกิดขึ้นซึ่งในจำนวนนี้มีเกิดขึ้นมาก - มากที่สุด (ร้อยละ 1.7) ปานกลาง (ร้อยละ 7.5) และน้อย - น้อยที่สุด (ร้อยละ 24.2) สำหรับจังหวัดที่มีปัญหาเกิดขึ้นมาก - มากที่สุดพบในจังหวัดสงขลา (ร้อยละ 6.1) รองลงมาได้แก่ พิษณุโลก (ร้อยละ 4.8) และชลบุรี (ร้อยละ 2.9) ส่วนจังหวัดอื่นมีไม่เกินร้อยละ 2

ประชาชนร้อยละ 44.4 ระบุว่ามีคนเร่ร่อนที่เสพยาเสพติดเกิดขึ้น ซึ่งในจำนวนนี้มีเกิดขึ้นมาก - มากที่สุด (ร้อยละ 3.2) ปานกลาง (ร้อยละ 9.7) และน้อย - น้อยที่สุดมีร้อยละ 31.5 โดยจังหวัดสงขลาพบปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นมาก - มากที่สุด (ร้อยละ 7.6) รองลงมาได้แก่ ชลบุรี (ร้อยละ 6.6) และพิษณุโลก (ร้อยละ 5.6) ส่วนจังหวัดอื่นมีไม่เกินร้อยละ 4

1.3 การแพร่ระบาดยาเสพติดในโรงเรียน/สถานศึกษา

ชุมชน/หมู่บ้านเป้าหมายที่มีโรงเรียน/สถานศึกษา ประชาชนร้อยละ 47.2 ระบุว่าปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติด มีลดลงเมื่อเทียบกับก่อนดำเนินโครงการชุมชนอุ่นใจฯ ส่วนผู้ที่ระบุว่า เพิ่มขึ้นมีไม่มากนักร้อยละ 4.6 และร้อยละ 10.9 ระบุว่าปัญหายังอยู่เท่าเดิม แต่ก็มีผู้ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจร้อยละ 37.3 เมื่อพิจารณาเป็นรายจังหวัด พบว่า ปัญหายาเสพติดที่เพิ่มขึ้นพบในจังหวัดพิษณุโลกมากที่สุด (ร้อยละ 11.2) รองลงมาได้แก่ ชลบุรี (ร้อยละ 8.2) และสงขลา (ร้อยละ 7.9) ขณะที่จังหวัดอื่นมีไม่เกินร้อยละ 6

2. กลุ่มเสี่ยงต่อยาเสพติด

ประชาชนร้อยละ 85.4 ระบุว่ามีกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งในจำนวนนี้ได้แก่ ผู้เคยเสพยาเสพติด (ร้อยละ 83.4) ผู้ที่เคยถูกจับกุม/ผู้ต้องหา (ร้อยละ 52.3) และ ผู้ที่เคยค้ายาเสพติด (ร้อยละ 40.0) เป็นต้น

3. ประเภทยาเสพติด

ยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุด คือ ยาบ้า (ร้อยละ 75.3) รองลงมาได้แก่ ยาไอซ์ (ร้อยละ 16.1) ใบกระท่อม (ร้อยละ 11.0) สารระเหย (ร้อยละ 10.8) และกัญชา (ร้อยละ 10.3) ส่วนยาประเภทอื่น เช่น ยาอี เฮโรอีน ฝิ่น ยาเค ฯลฯ มีไม่เกินร้อยละ 6 เมื่อพิจารณาเป็นรายจังหวัด พบว่า ประชาชนในทุกจังหวัดระบุว่ามียาบ้าแพร่ระบาดมากกว่ายาเสพติดประเภทอื่น

4. การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ

สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ/หน่วยงานที่ติดตามดูแลผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ได้แก่ ตำรวจ (ร้อยละ 85.2) กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน (ร้อยละ 50.3) และเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข (ร้อยละ 31.8) ขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐ/หน่วยงานอื่น มีไม่เกินร้อยละ 14 เมื่อพิจารณาเป็นรายจังหวัด พบว่า ทุกจังหวัดประชาชนมากกว่าร้อยละ 74 ระบุว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปติดตาม ดูแลผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ซึ่งในจำนวนนี้ได้แก่ ตำรวจ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข กรมการปกครอง กรมพัฒนาชุมชน และสำนักงาน ป.ป.ส. เป็นต้น

ประชาชนร้อยละ 45.7 ระบุว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐสนับสนุน/เข้าไปกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งในจำนวนนี้มีเกิดขึ้นมาก - มากที่สุดร้อยละ 9.2 ปานกลางร้อยละ 14.6 และน้อย - น้อยที่สุดร้อยละ 21.9 สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐที่ดำเนินการดังกล่าวพบในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมากที่สุด (ร้อยละ 60.9) รองลงมาได้แก่ สงขลา (ร้อยละ 55.6) ชลบุรี (ร้อยละ 55.5) และพิษณุโลก (ร้อยละ 54.4) ขณะที่จังหวัดอื่นมีประมาณร้อยละ 35 - 44 ส่วนอยุธยาเกิดขึ้นน้อยกว่าจังหวัดอื่น (ร้อยละ 26.8)

ความพึงพอใจต่อโครงการชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน ประชาชนสูงถึงร้อยละ 99.7 มีความพึงพอใจต่อโครงการชุมชนอุ่นใจฯ ซึ่งในจำนวนนี้ระบุว่ามีมาก - มากที่สุดร้อยละ 83.9 ปานกลางร้อยละ 12.3 และน้อยร้อยละ 3.5 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 7.34 คะแนนจาก 10 คะแนน

เมื่อพิจารณาเป็นรายจังหวัด พบว่า จังหวัดขอนแก่นและอยุธยามีความพึงพอใจมาก - มากที่สุด สูงกว่าจังหวัดอื่น คือ ร้อยละ 96.3 และ 90.3 ตามลำดับ ขณะที่จังหวัดอื่นมีประมาณร้อยละ 76 - 88

5. ความเชื่อมั่นต่อโครงการชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน

ประชาชนสูงถึงร้อยละ 99.3 มีความเชื่อมั่นต่อโครงการชุมชนอุ่นใจฯ ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดในอนาคตได้ ซึ่งในจำนวนนี้มีมาก - มากที่สุดร้อยละ 79.6 ปานกลางร้อยละ 15.5 และน้อยร้อยละ 4.2 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 7.14 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

เมื่อพิจารณาเป็นรายจังหวัด พบว่า จังหวัดขอนแก่นมีความเชื่อมั่นมาก - มากที่สุดสูงกว่าจังหวัดอื่น (ร้อยละ 95.9) รองลงมาได้แก่ อยุธยา (ร้อยละ 83.2) ชลบุรี (ร้อยละ 82.4) และพิษณุโลก (ร้อยละ 80.0) ขณะที่จังหวัดอื่นมีประมาณร้อยละ 71 - 78 ส่วนจังหวัดสงขลามีร้อยละ 68.4

6. แนวทางการป้องกัน/แก้ไขปัญหายาเสพติดและปัญหาอาชญากรรม

ประชาชนร้อยละ 23.5 ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทาง การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดและปัญหาอาชญากรรม ดังนี้ การปราบปรามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง (ร้อยละ 6.9) การจัดตั้งเวรยาม (ร้อยละ 6.1) การจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างจิตสำนึก (ร้อยละ 5.1) เป็นต้น

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ


แท็ก ยาเสพติด  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ