ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ข้อมูลรายละเอียดจากการแจงนับ)
ในปัจจุบันโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีอุตสาหกรรมการผลิตใหม่ๆ เกิดขึ้น รวมทั้งการประกอบอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอุตสาหกรรมในครัวเรือน ก็มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเพิ่มขึ้น ดังนั้นข้อมูลสถิติและสารสนเทศโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมดังกล่าว จึงมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับภาครัฐ และเอกชนใช้ในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทั้งในระดับประเทศ และระดับจังหวัด เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในเวทีการค้าโลก สำนักงานสถิติแห่งชาติและหน่วยงานหลักด้านเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงพาณิชย์ เห็นควรให้มีการจัดทำสำมะโนอุตสาหกรรมทุก 5 ปี เพื่อให้ประเทศมีข้อมูลสถิติพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งทุกภาคส่วนสามารถใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาประเทศร่วมกัน
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ มาแล้ว 3 ครั้ง ในปี 2509 2531 และ 2545 และจัดทำ สำมะโนอุตสาหกรรม มาแล้ว 3 ครั้งเช่นกัน ในปี 2507 2540 และ 2550 สำหรับในปี 2555 ครบรอบ 10 ปี การทำสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ และครบรอบ 5 ปี การทำสำมะโนอุตสาหกรรม สำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงได้บูรณาการการจัดทำสำมะโนดังกล่าวไป พร้อมกันภายใต้ชื่อ "โครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555"
สำหรับข้อมูลที่นำเสนอในรายงานฉบับนี้ เป็นผลการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555 : อุตสาหกรรมการผลิต ที่ได้จากการแจงนับข้อมูลรายละเอียดของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต โดยกำหนดระเบียบวิธี ทางสถิติ เฉพาะสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1 - 10 คน ทำการสำรวจด้วยตัวอย่าง ส่วนสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 11 คนขึ้นไป จะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทุกแห่ง ซึ่งเป็นการดำเนินกิจการในรอบปี 2554 (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2554) ที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประกอบอุตสาหกรรมตามการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย ปี 2552 (Thailand Standard Industrial Classification: TSIC-2009) โดยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2555 สรุปดังนี้
ผลจาการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555 พบว่า มีจำนวนสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งสิ้น มีประมาณ 180,323 แห่ง อุตสาหกรรมสำคัญในภาคนี้ คือ การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร และการผลิตสิ่งทอ โดยมี สถานประกอบการด้านนี้ร้อยละ 34.4 และ 24.5 ตามลำดับ นอกจากนี้อุตสาหกรรมสำคัญในลำดับรองลงไป ได้แก่ การผลิตไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้และไม้ก๊อก (ยกเว้นเฟอร์นิเจอร์) การผลิตสิ่งของจากฟางและวัสดุถักสานอื่นๆ และการผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย มีประมาณร้อยละ 15.6 และ 11.7 ตามลำดับ ส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ มีประมาณร้อยละ 4.0 สำหรับสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตหมวดย่อยอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น มีจำนวนต่ำกว่าร้อยละ 4.0
สถานประกอบการ ส่วนใหญ่ร้อยละ 98.3 หรือ 177,309 แห่ง เป็นสถานประกอบการที่มีเป็นสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1 - 15 คน สถานประกอบการที่มีสถานประกอบการที่มีคนทำงานตั้งแต่ 16 คนขึ้นไป มีอยู่เพียงร้อยละ 1.7 หรือมีจำนวน 3,014 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 16 - 2 25 คน มีประมาณ 1,407 แห่ง ที่มีคนทำงาน 31 - 50 0 คน 51 - 200 คน และ 26 - 30 คน มีประมาณ 582 แห่ง 445 แห่ง และ 405 แห่ง ตามลำดับ ส่วนสถานประกอบการส่วนสถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน มีจำนวน 175 แห่ง
สถานประกอบการส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80.0) มีรูปแบบการจัดตั้งเป็นส่วนบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่เป็นนิติบุคคล ส่วนที่มีรูปแบบเป็นสามัญที่ไม่เป็นนิติบุคคล ส่วนที่มีรูปแบบเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สหกรณ์และอื่นๆ มีประมาณร้อยละ 18.4 สำหรับสถานประกอบการที่มีรูปแบบเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด บริษัทจำกัด (มหาชน) มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.9 และ 0.7 ตามลำดับ
สถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 99.6 เป็นสำนักงานแห่งเดียว ไม่มีสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาอยู่ที่ใดอีก ร้อยละ 0.3 เป็นสำนักงานสาขา และที่มีรูปแบบการจัดตั้งทางทางเศรษฐกิจเป็นสำนักงานใหญ่ มมีร้อยละ 0.1
สถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 3 6.2 เป็นสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการ 10 - 19 ปี ดำเนินกิจการระหว่าง 5 - 9 ปี และน้อยกว่า 5 ปี มีประมาณร้อยละ 27.5 และ 1 6.9 ตามลำดับ ส่วนสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการ 20 - 29 ปี มีประมาณ 12.3 ในขณะที่สถานประกอบการที่ดำเนินกิจการตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปนั้น มีเพียงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 7.1 ของจำนวนสถานประกอบการทั้งสิ้น
สถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีทุนจดทะเบียน มีประมาณร้อยละ 1.4 ของจำนวนสถานประกอบการทั้งสิ้น ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 72.8)มีทุนจดทะเบียนน้อยกว่า 10 ล้านบาท ที่มีทุนจดดทะเบียน 10 - 99 ล้านบาท มีประมาณร้อยละ 24.3 สำหรับสถานประกอบการที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 1 100 ล้านบาทขึ้นไป มีเพียงเล็กน้อยประมาณรร้อยละ 2.9
สถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตที่มีการส่งสินค้าอออกไปต่างประเทศ ประมาณ ร้อยละ 0.2 ในจำนวนนี้ ประมาณร้อยละ 42.4 มีมูลค่าการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายในต่างประเทศมากกว่าหรือเท่ากับ 80% ของมูลค่าขายผลผลิต ประมาณร้อยละ 40.8 มีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่า 50% ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 16.8 มีการส่งออกระหว่าง 50 - 79% ของมูลค่าขายผลผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตต่อปี 2554 ของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตพบว่า มีการใช้กำลังการผลิตโดยเฉลี่ยประมาณ 78.5% โดยร้อยละ 60.8 รายงานว่ามีการใช้กำลังการผลิตมากกว่าหรือเท่ากับ 80 % ที่รายงานว่า มีกำลังการผลิต 50 - 79% มีร้อยละ 32.1 ในขณะที่สถานประกอบการร้อยละ 7.1 รายงานว่ามีการใช้กำลังการผลิตน้อยกว่า 50%
ในปี 2554 มีคนทำงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งสิ้นประมาณคน โดยในจำนวนนี้เป็นลูกจ้าง ประมาณ 467,403 คน เมื่อจำแนกลูกจ้างตามหมวดย่อยอุตสาหกรรมต่างๆ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ25.7 ทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร รองลงมาอยู่ในการผลิตสิ่งทอประมาณร้อยละ 23.6 อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และการผลิตไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้และไม้ก๊อก ยกเว้นเฟอร์นิเจอร์) การผลิตสิ่งของจากฟางและวัสดุถักสานอื่นๆ มีประมาณร้อยละ 13.3 และ 10.0 ตามลำดับ ที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตหมวดย่อยอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นต่ำกว่าร้อยละ 7.0
ในปี 2554 ลูกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสิ้นประมาณ 27,922.1 ล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อคนต่อปีประมาณ 59,739 บาท โดยลูกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ ได้รับค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงที่สุด ประมาณ 140,720 บาท รองลงมา ได้แก่ การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและการผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง ได้รับค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยต่อคนต่อปี ประมาณ 111,098 บาทและ 110,397 บาท ตามลำดับ ส่วนการผลิตไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้และไม้ก๊อก (ยกเว้นเฟอร์นิเจอร์) การผลิตสิ่งของจากฟางและวัสดุถักสานอื่นๆได้รับค่าตอบแทนแรงงานเฉลี่ยต่อคนต่อปีต่ำที่สุด ปประมาณ 18,191 บาท
การประกอบอุตสาหกรรมการผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใในปี 2554 มีมูลค่าผลผลิตรวมทั้งสิ้นประมาณ 373,087.7 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายขั้นกลางประมาณ 276,174.9 ล้านบาท และมูลค่าเพิ่มประมาณ 96,912.8 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มต่อมูลค่าผลผลิตประมาณร้อยละ 26.0
สำหรับมูลค่าผลผลิตเฉลี่ยต่อสถานประกอบการมีมูลค่าประมาณ 2.1 ล้านบาท และมูลค่าผลผลิตเฉลี่ยต่อคนทำงาน มีประมาณ 25,186 บาท ในด้านมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อสถานประกอบการ มีประมาณ 537,440 บาท และมูลค่าเฉลี่ยต่อคนทำงาน มีประมาณ 136,422 บาท
หากพิจารณามูลค่าผลผลิตเฉลี่ยตามหมวดย่อยอุตสาหกรรม พบว่า อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ มีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ยต่อสถานประกอบการ และต่อคนทำงานสูงที่สุด ประมาณ 1,453.9 ล้านบาทและ 3.1 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับมูลค่าเพิ่มเฉลี่ย มีลักษณะเช่นเดียวกับมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย กล่าวคือ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์มีมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อสถานประกอบการและต่อคนทำงานสูงที่สุดประมาณ 327.2 ล้านบาท และ 695,629 บาท ตามลำดับ รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ มีมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อสถานประกอบการและต่อคนทำงานประมาณ 43.0 ล้านบาท และ 833,733 บาท ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบผลการทำสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.. 2555 กับสำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นข้อมูลของการดำเนินกิจการในรอบปี 2 2554 เทียบกับปี 2549 พบว่า สถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนสถานประกอบการลดลง ร้อยละ 16.2 จำนวนคนทำงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 และจำนวนคนทำงานเฉลี่ยต่อสถานประกอบการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.0
ด้านการจ้างงาน พบว่า มีจำนวนลูกจ้างและลูกจ้างเฉลี่ยต่อสถานประกอบการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.9 และ 52.9 ตามลำดับ ส่วนค่าตอบแทนแรงงานที่ลูกจ้างได้รับ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน คือ ร้อยละ 27.8 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ในด้านการดำเนินกิจการ พบว่า มูลค่าผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง และมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมการผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วง 5 ปีนี้ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.4 และ 36.6 ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555 กับสำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2550 ผลจากสำมะโนสะท้อนให้เห็นว่าในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาการประกอบอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการเจริญเติบโตไม่มากนัก เนื่องมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลกและผลกระทบของอุทกภัยในภาคกลาง ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น
ผลจากสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555 พบว่า มีสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตในภาพรวมที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งสิ้น มี 180,323 แห่ง ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.3 เป็นสถานประกอบการขนาดเล็กที่มีคนทำงาน 1 - 15 คน และอุตสาหกรรมที่สำคัญในภาคนี้ ได้แก่ รผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร (ร้อยละ 34.4) คนทำงานในสถานประกอบการมีทั้งสิ้นประมาณ 710,391 คน และมีจ้างงานรวมทั้งสิ้นประมาณ 467,403 คน ได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ยต่อคนต่อปีประมาณ 59,739 บาท สำหรับมูลค่าผลผลิต ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง และมูลค่าเพิ่ม มีมูลค่าทั้งสิ้น 373,087.7 ล้านบาท 276,174.9 ล้านบาท และ 96,912.8 ล้านบาท ตามลำดับ
- ความต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ สำหรับความต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือนั้น มีสถานประกอบการร้อยละ 43.8 ไม่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ ประมาณร้อยละ 56.2 ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ โดยความต้องการให้รัฐช่วยเหลือ 5 อันดับแรก คือ ส่งเสริมการลงทุนให้แก่ผู้ประกอบการ (ร้อยละ 47.7) ลดต้นทุนการผลิตร้อยละ 39.6)จัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ร้อยละ39.0) ขยายตลาดรับซื้อผลผลิต ส่งเสริมการส่งออก (ร้อยละ 34.6) และจัดหาฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงาน (ร้อยละ 27.6)) ตามลำดับ
- ปัญหาในการดำเนินกิจการสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตประมาณร้อยละ 43.2 มีปัญหาในการดำเนินกิจการ โดยปัญหาในการดำเนินกิจการส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.9 มีปัญหาเกี่ยวกับเงินทุนไม่เพียงพอรองลงมามีปัญหาเกี่ยวกับตลาดการผลิต (ร้อยละ 36.1) การขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต (ร้อยละ 31.5)และการขาดแคลนแรงงาน (ร้อยละ 21.4) ในขณะที่สถานประกอบการที่รายงานว่ามีปัญหาเกี่ยวกับนโยบายด้านการค้าของรัฐบาลไม่แน่นอนมีเพียงร้อยละ 7.7