สำนักงานสถิติแห่งชาติ
โทรศัพท์ 0 2142 1251
โทรสาร 0 2143 8135
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : ictsurvey@nso.go.th
หน่วยงานที่เผยแพร่ สำนักสถิติพยากรณ์
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 2 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่
กทม. 10210
โทรศัพท์ 0 21417498
โทรสาร 0 2143 8132
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : services@nso.go.th
ปีที่จัดพิมพ์ 2556 จัดพิมพ์โดย คำนำ
ในภาวะสังคมปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวสู่ยุคสารสนเทศอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทต่อประชาชน ในการใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูล ติดต่อสื่อสารได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว และหลายช่องทาง เพื่อให้การใช้เทคโนโลยีของคนไทยทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว จำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี และส่งเสริมประชาชนให้มีความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วในสังคมโลกาภิวัฒน์
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำข้อมูลสถิติจากการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในครัวเรือนและสถานประกอบการมาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยการสำรวจข้อมูลจากครัวเรือนทำให้ทราบสถานภาพการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประชาชน การมีอุปกรณ์เทคโนโลยีและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในครัวเรือน เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลสำหรับนำไปกำหนดนโยบาย และการวางแผน ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้มากขึ้นและทั่วถึง
การสำรวจครั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จากผู้ให้ข้อมูลและผู้ใช้ข้อมูลทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการร่วมกำหนด ความต้องการและให้ข้อคิดเห็นการจัดทำโครงการเพื่อให้ได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย อย่างแท้จริง จึงหวังว่าข้อมูลสถิติที่ได้จากการสำรวจนี้จะเป็นประโยชน์ในการติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงแผนการพัฒนาด้านต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ต่อไป
การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติได้จัดทำเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 และตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา ได้ทำการสำรวจต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ทราบจำนวนประชากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ พฤติกรรมของการใช้ และจำนวนครัวเรือนที่มีอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์พื้นฐาน เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรสาร และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในครัวเรือน ตลอดจนเรื่องที่ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาควบคุมดูแลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น
การสำรวจใช้วิธีสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือน และสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป จากครัวเรือนตัวอย่างทั้งสิ้น 83,880 ครัวเรือน ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
จากการสำรวจในครั้งนี้ มีจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปทั้งสิ้นประมาณ 63.3 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 22.2 ล้านคนหรือ (ร้อยละ 35.0) ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 18.3 ล้านคน (ร้อยละ 28.9) และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 46.4 ล้านคน (ร้อยละ 73.3) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเขตการปกครองในเขตเทศบาลมีสัดส่วนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 46.3 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 39.9 และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 80.0 ในขณะที่นอกเขตเทศบาลมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 29.1 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 23.1 และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 69.8
เมื่อพิจารณาแนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปในช่วงระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2552-2556 พบว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 29.3 (จำนวน 17.9 ล้านคน) เป็นร้อยละ 35.0 (จำนวน 22.2 ล้านคน) ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.1 (จำนวน 12.3 ล้านคน) เป็นร้อยละ 28.9 (จำนวน 18.3 ล้านคน) ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 56.8 (จำนวน 34.8 ล้านคน) เป็นร้อยละ 73.3 (จำนวน 46.4 ล้านคน)
แม้ว่าการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประชากร มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีช่องว่างในการใช้ระหว่างผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล กล่าวคือในระหว่าง ปี 2552-2556 ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 42.0 เป็นร้อยละ 46.3 ส่วนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่อยู่นอกเขตเทศบาล เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 23.6 เป็น ร้อยละ 29.1 ในขณะที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่อยู่ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32.8 เป็นร้อยละ 39.9 ส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่อยู่นอกเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.5 เป็นร้อยละ 23.2 และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่อยู่ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 68.9 เป็นร้อยละ 80.0 ในขณะที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่อยู่นอกเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 51.5 เป็น ร้อยละ 69.8
เมื่อพิจารณาสัดส่วนของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือเป็นรายภาค พบว่า กรุงเทพมหานครมีสัดส่วนผู้ใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุดคือ ร้อยละ 53.3 รองลงมาคือภาคกลาง ร้อยละ 36.4 ภาคใต้ ร้อยละ 34.8 ภาคเหนือ ร้อยละ 32.0 และน้อยที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 30.3 สำหรับสัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตเช่นเดียวกันคือ กรุงเทพมหานครมีผู้ใช้มากที่สุดร้อยละ 48.8 รองลงมาคือภาคกลาง ร้อยละ 29.8 ภาคใต้ ร้อยละ 29.1 ภาคเหนือ ร้อยละ 27.2 และน้อยที่สุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 23.2
ในขณะที่การใช้โทรศัพท์มือถือ กรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนของผู้ใช้มากที่สุดเช่นเดียวกัน คือร้อยละ 85.0 รองลงมาคือ ภาคกลาง ร้อยละ 77.4 ภาคเหนือ ร้อยละ 72.5 ภาคใต้ ร้อยละ 70.5 และน้อยที่สุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 68.6
เมื่อเปรียบเทียบการใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างเพศชายและเพศหญิง พบว่า สัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตของเพศชายใกล้เคียงกับเพศหญิง โดยในระหว่าง ปี 2552-2556 สัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตของเพศชายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.8 เป็นร้อยละ 28.8 ส่วนเพศหญิงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.4 เป็นร้อยละ 29.1
เมื่อพิจารณาการใช้อินเทอร์เน็ตตามกลุ่มอายุต่าง ๆ พบว่า กลุ่มอายุ 15-24 ปี มีสัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตสูงที่สุด ร้อยละ 58.4 รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 6-14 ปี ร้อยละ 54.1 กลุ่มอายุ 25-34 ปี ร้อยละ 33.5 กลุ่มอายุ 35-49 ปี ร้อยละ 18.7 และในกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไปมีเพียง ร้อยละ 6.6
สำหรับสถานที่ใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า ส่วนใหญ่ใช้ที่บ้าน/ที่พักอาศัย ร้อยละ 57.3 รองลงมาคือ ในสถานศึกษาร้อยละ 46.7 และใช้ที่ทำงาน ร้อยละ 30.0 ส่วนกิจกรรมที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้ในการดาวน์โหลด ดูหนัง ฟังเพลง ฟังวิทยุ ร้อยละ 73.3 รองลงมาคือ เล่นเกม/ดาวน์โหลดเกม ร้อยละ 70.7 ใช้Social Network (Facebook, Twitter, Hi5, GooglePlus) ร้อยละ 58.6 และรับส่ง-อีเมล์ ร้อยละ 52.2 สำหรับความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ตพบว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ค่อนข้างบ่อย (1-4 วันใน 1 สัปดาห์) ร้อยละ 49.0 รองลงมาใช้เป็นประจำ (5-7 วันใน 1 สัปดาห์) ร้อยละ 47.2
เมื่อพิจารณาสัดส่วนการมีอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนในระหว่างปี 2552-2556 พบว่าครัวเรือนที่มีโทรศัพท์พื้นฐานมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 21.4 เป็นร้อยละ 14.0 ครัวเรือนที่มีเครื่องโทรสารเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 1.5 เป็นร้อยละ 1.7 ครัวเรือนที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.3 เป็นร้อยละ 28.7 สำหรับครัวเรือนที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.5 เป็นร้อยละ 23.5
สำหรับครัวเรือนที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต พบว่า มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยประเภท Fixed broadband มากที่สุด ร้อยละ 54.2 รองลงมาประเภท Narrowband แบบไร้สายเคลื่อนที่โทรศัพท์มือถือ 2G, 2.5G (เช่น GSM, CDMA, GPRS) มีเพียง ร้อยละ 17.0 Broadband แบบไร้สายเคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือ 3G (เช่น WCDMA, EV-DO) ร้อยละ 16.5 และแบบ Analogue modem, ISDN มีเพียง ร้อยละ 8.7
1.ประชากรในกรุงเทพมหานครใช้คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 53.3) ใช้อินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 48.8) และใช้โทรศัพท์มือถือ (ร้อยละ 85.0) ซึ่งสูงกว่าภาคอื่น
2. ประชากรกลุ่มอายุ 11-14 ปี (ร้อยละ 94.5) ใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด
3. ประชากรกลุ่มอายุ 11-14 ปี (ร้อยละ 76.4) ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด
4. ประชากรส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตที่บ้าน (ร้อยละ 57.3 ) สถานศึกษา (ร้อยละ 46.7 ) และที่ทำงาน (ร้อยละ 30.4)
5. ประชากรส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อกิจกรรมในการ ดาวน์โหลด ดูหนัง ฟังเพลง ฟังวิทยุ (ร้อยละ 73.3) เล่นเกม/ดาวน์โหลดเกม (ร้อยละ 70.7) และ ใช้Social Network (Facebook, Twitter, Hi5, GooglePlus) (ร้อยละ 58.6)
6. ประชากรส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือในบริการ SMS (ร้อยละ 59.6) ใช้ฟังก์ชันบนโทรศัพท์มือถือ (ร้อยละ 36.9) และ ใช้บริการ MMS (ร้อยละ 15.1)
7. ประชากรส่วนใหญ่ไม่เคยจองหรือซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 94.7) เหตุผลคือกลัวถูกหลอกลวง (ร้อยละ 37.1) ไม่เห็นสินค้าจริง (ร้อยละ 35.1) และขั้นตอนการสั่งซื้อยุ่งยาก (ร้อยละ 16.3)
8. ประชากรที่เคยจองสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีเพียง (ร้อยละ 5.3) ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ซื้อเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ (ร้อยละ 46.8) ใช้บริการ e-Ticket (ร้อยละ 17.1) และซื้ออาหาร เครื่องดื่ม สินค้าด้านสุขภาพ (ร้อยละ 14.5)
9. ครัวเรือนที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ต ประเภท Fixed broadband (ร้อยละ 54.2)
บทนำ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนครั้งแรก พ.ศ. 2544 และตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา ได้ทำการสำรวจต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยผนวกแบบสอบถามกับโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร แต่เนื่องจากมีความต้องการใช้ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมากขึ้น จึงได้เพิ่มรายละเอียดของข้อถามตามความต้องการของผู้ใช้และได้แยกแบบสอบถามออกจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา สำหรับการสำรวจครั้งนี้ ได้ดำเนินการสำรวจในไตรมาส 1 (มกราคม - มีนาคม) พ.ศ. 2556
2.1 เพื่อทราบจำนวนประชากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้อินเทอร์เน็ต และใช้โทรศัพท์มือถือ
2.2 เพื่อทราบจำนวนครัวเรือนที่มีอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในประเภทต่างๆ คือ เครื่องโทรศัพท์พื้นฐาน เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องโทรสาร และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในครัวเรือน
2.3 เพื่อทราบรายละเอียดของการใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือของประชากร เช่น สถานที่ใช้ กิจกรรมในการใช้ ความถี่ในการใช้งบประมาณที่ต้องการซื้อ เป็นต้น
3.1 ทำให้ทราบถึงความก้าวหน้าในการใช้เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือของประชากร
3.2 สามารถนำไปเป็นดัชนีชี้วัดถึงความก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ
3.3 ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบาย วางแผนพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งในส่วนของการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการกระจายความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง
คุ้มรวมของการสำรวจ คือ ครัวเรือนส่วนบุคคลและครัวเรือนกลุ่มบุคคล ที่ตกเป็นตัวอย่างทั้งสิ้น 83,880 ครัวเรือน สำหรับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป โดยเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
สรุปผลการสำรวจ
1) จำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต
ผลการสำรวจในปี 2556 มีจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป ทั้งสิ้นประมาณ 63.3 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 22.2 ล้านคน (ร้อยละ 35.0) และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 18.3 ล้านคน (ร้อยละ 28.9) โดยในเขตเทศบาลมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 10.1 ล้านคน (ร้อยละ 46.3) และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 8.7 ล้านคน (ร้อยละ 39.9) ในขณะที่นอกเขตเทศบาลมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 12.0 ล้านคน (ร้อยละ 29.1) และผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 9.6 ล้านคน (ร้อยละ 23.1)
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค กรุงเทพมหานครมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 3.4 ล้านคน(ร้อยละ 53.3) และใช้อินเทอร์เน็ต 3.1 ล้านคน (ร้อยละ 48.8) ภาคกลางมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 5.5 ล้านคน (ร้อยละ 36.4) และใช้อินเทอร์เน็ต 4.5 ล้านคน (ร้อยละ 29.8) ภาคใต้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 3.1 ล้านคน (ร้อยละ 34.8) และใช้อินเทอร์เน็ต 2.6 ล้านคน (ร้อยละ 29.1) ภาคเหนือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 3.7 ล้านคน (ร้อยละ 32.0) และใช้อินเทอร์เน็ต 3.1 ล้านคน (ร้อยละ 27.2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 6.5 ล้านคน (ร้อยละ 30.3) และใช้อินเทอร์เน็ต 5.0 ล้านคน (ร้อยละ 23.2)
2) เพศและอายุของผู้ใช้คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต
การใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตของเพศชายมีสัดส่วนใกล้เคียงกับ เพศหญิง คือ เพศชายใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 35.3 และใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 28.8 ส่วนเพศหญิงใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 34.8 และใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 29.1
ประชากรกลุ่มอายุ 6-14 ปี มีสัดส่วนการใช้คอมพิวเตอร์สูงที่สุดคือ ร้อยละ 82.3 รองลงมาคือ ประชากรกลุ่มอายุ 15-24 ปี ร้อยละ 61.0 และกลุ่มอายุ 25-34 ปีร้อยละ 37.5 ส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตมีการใช้สูงที่สุดในกลุ่มอายุ 15-24 ปี ร้อยละ 58.4 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 6-14 ปี ร้อยละ 54.1 และกลุ่มอายุ 25-34 ปี ร้อยละ 33.5
3) ระดับการศึกษาของผู้ใช้คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต
ผู้มีการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีสัดส่วนการใช้คอมพิวเตอร์สูงที่สุดคือร้อยละ 86.9 และใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 82.6 รองลงมาคือ ระดับอาชีวศึกษา/อนุปริญญาใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 64.0 และใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 56.0 ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 43.1 และใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 37.4
4) อาชีพของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต
เมื่อสอบถามผู้มีงานทำอายุ 15 ปีขึ้น ในแต่ละอาชีพถึงการใช้คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ตในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ผู้ทำงานด้านประกอบวิชาชีพด้านต่าง ๆ มีสัดส่วนการใช้คอมพิวเตอร์สูงที่สุดคือ ร้อยละ 95.3 และใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 91.6 รองลงมาคือ งานด้านวิชาชีพช่างเทคนิคสาขาต่างๆ และอาชีพที่เกี่ยวข้องใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 86.2 และใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 80.8 ส่วนอาชีพเสมียนใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 84.1 และใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 76.8
5) สถานที่ กิจกรรมและความถี่ที่ใช้อินเทอร์เน็ต
ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ใช้ที่บ้าน/ที่พักอาศัย ร้อยละ 57.3 รองลงมาใช้ที่สถานศึกษา ร้อยละ 46.7 และใช้ที่ทำงาน ร้อยละ 30.0 โดยกิจกรรมที่ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ใช้ในการดาวน์โหลด ดูหนัง ฟังเพลง ฟังวิทยุ ร้อยละ 73.3 รองลงมาเล่นเกม/ ดาวน์โหลดเกม ร้อยละ 70.7 และ ใช้Social Network (Facebook, Twitter, Hi5, GooglePlus) ร้อยละ 58.6
สำหรับความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้ค่อนข้างบ่อย (1-4 วันใน 1 สัปดาห์) ร้อยละ 49.0 รองลงมา ใช้เป็นประจำ (5-7 วันใน 1 สัปดาห์) ร้อยละ 47.2
6 ) ลักษณะและพฤติกรรมของผู้ที่เคยจองหรือซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตเพศและกลุ่มอายุ
ในจำนวนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ต 18.3 ล้านคน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ไม่เคยจองหรือซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตสูงถึง ร้อยละ 94.7 ส่วนผู้ที่เคยจองหรือซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตมีเพียง ร้อยละ 5.3 โดยเป็นหญิง ร้อยละ 59.6 และชาย ร้อยละ 40.4
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุ พบว่า ผู้ที่เคยจองหรือซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 25-34 ปี ร้อยละ 36.7 รองลงมา เป็นกลุ่มอายุ 35-49 ปี ร้อยละ 30.7 และกลุ่มอายุ 15-24 ปี ร้อยละ 21.5
ประเภทสินค้าและบริการที่เคยจองหรือซื้อทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ที่เคยจองหรือซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต ระบุว่า เคยจองหรือซื้อสินค้าและบริการประเภทเครื่องแต่งกาย/เครื่องประดับ มากที่สุด ร้อยละ 46.8 รองลงมา e -Ticket ร้อยละ 17.1 อาหารเครื่องดื่ม สินค้าสุขภาพ ร้อยละ 14.5 สั่งจองบริการต่างๆ (แพคเกจท่องเที่ยว โรงแรม) ร้อยละ 8.9 และหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 8.5
ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตของผู้ที่เคยจองหรือซื้อทางอินเทอร์เน็ตในรอบปีที่ผ่านมามีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายอยู่ระหว่าง 1,000-2,999 บาท คิดเป็นร้อยละ 30.8 รองลงมา 500-999 บาท และ 3,000-5,999 บาท มีสัดส่วนเท่ากันคือ ร้อยละ 16.2 และค่าใช้จ่าย 20,000 บาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 13.5
สำหรับผู้ที่ไม่เคยจองหรือซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต ได้ระบุเหตุผล ดังนี้คือ กลัวถูกหลอกลวง ร้อยละ 37.1 ไม่เห็นสินค้าจริง ร้อยละ 35.1 ขั้นตอนการสั่งซื้อยุ่งยาก ร้อยละ 16.3 ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวและบัตรเครดิต ร้อยละ 3.4 ราคาแพงกว่าหน้าร้าน ร้อยละ 2.1 ต้องรอสินค้า ร้อยละ 1.5 ไม่แน่ใจเว็บไซต์จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ร้อยละ 1.0 กลัวสินค้าสูญหายระหว่างส่ง ร้อยละ 0.4 และอื่นๆ ร้อยละ 3.1
จากประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปทั้งสิ้นจำนวน 63.3 ล้านคน พบว่า มีผู้มีโทรศัพท์มือถือทั่วประเทศ จำนวน 46.4 ล้านคน (ร้อยละ 73.3) โดยในเขตเทศบาล มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 17.5 ล้านคน (ร้อยละ 80.0) มีสัดส่วนสูงกว่าผู้ที่อยู่นอกเขตเทศบาล ซึ่งมี 28.9 ล้านคน (ร้อยละ 69.8)
เมื่อพิจารณารายภาค พบว่า กรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนผู้มีโทรศัพท์มือถือมากที่สุดคือ 5.5 ล้านคน (ร้อยละ 85.0) รองลงมาภาคกลาง 11.7 ล้านคน (ร้อยละ 77.4) ภาคเหนือ 8.3 ล้านคน (ร้อยละ 72.5) ภาคใต้ 6.2 ล้านคน (ร้อยละ 70.5) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14.7 ล้านคน (ร้อยละ 68.6)
การใช้โทรศัพท์มือถือในกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากการใช้โทรออกและรับสายเข้าเป็นหลักแล้ว ส่วนใหญ่ใช้บริการ SMS ร้อยละ 59.6 รองลงมาใช้ฟังก์ชันบนโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 36.9 ใช้บริการ MMS ร้อยละ 15.1 และใช้บริการ data (Internet) ร้อยละ 7.1
1) ครัวเรือนที่มีอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เมื่อสอบถามหัวหน้าครัวเรือนเกี่ยวกับอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีในครัวเรือน ได้แก่ เครื่องโทรศัพท์พื้นฐาน และเครื่องโทรสาร พบว่า จากจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 20.1 ล้านครัวเรือน มีครัวเรือนที่มีเครื่องโทรศัพท์พื้นฐาน 2.8 ล้านครัวเรือน (ร้อยละ 14.0) มีเครื่องโทรสาร 0.3 ล้านครัวเรือน (ร้อยละ 1.7)
สำหรับครัวเรือนที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์และการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต พบว่า กรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนของการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 55.9 และมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ร้อยละ 53.7 รองลงมาคือ ภาคกลาง มีเครื่องคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 30.4 และมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ร้อยละ 27.9 ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนน้อยที่สุด คือมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 20.1 และมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ร้อยละ 13.4
2) จำนวนอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน
สำหรับจำนวนอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีในครัวเรือน พบว่า ทั่วประเทศมีจำนวนเครื่องโทรศัพท์พื้นฐาน 2.9 ล้านเครื่อง (14.2 เครื่องต่อ 100 ครัวเรือน) จำนวนเครื่องโทรสาร 0.4 ล้านเครื่อง (1.7 เครื่องต่อ 100 ครัวเรือน) และจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ 9.2 ล้านเครื่อง (45.5 เครื่องต่อ 100 ครัวเรือน)
3) ประเภทของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในครัวเรือน
ครัวเรือนมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยประเภท Fixed broadband มากที่สุด ร้อยละ 54.2 รองลงมาประเภท Narrowband แบบไร้สายเคลื่อนที่โทรศัพท์มือถือ 2G, 2.5G (เช่น GSM, CDMA, GPRS) ร้อยละ 17.0 Broadband แบบไร้สายเคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือ 3G (เช่น WCDMA, EV-DO) ร้อยละ 16.5 และแบบ Analogue modem, ISDN มีเพียง ร้อยละ 8.7
4) ค่าใช้จ่ายในการใช้อินเทอร์เน็ตของครัวเรือน
สำหรับค่าใช้จ่ายในการใช้อินเทอร์เน็ตของครัวเรือน (ไม่รวมค่าโทรศัพท์)เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ครัวเรือนที่เสียค่าใช้จ่ายในการใช้อินเทอร์เน็ตจำนวน 600-799 บาท สูงที่สุดคือ ร้อยละ 34.4 รองลงมาเสียค่าใช้จ่าย 400-599 บาท ร้อยละ 23.3 เสียค่าใช้จ่าย 200-399 บาท ร้อยละ 18.6 เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 200 บาท ร้อยละ 11.2 เสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 800 บาทขึ้นไป ร้อยละ 10.0 และไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย ร้อยละ 2.5
สำหรับข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาควบคุมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่า มีครัวเรือนต้องการให้ควบคุมเว็บไซต์ ที่ลามกอนาจาร ร้อยละ 52.2 ควบคุมผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ต/เกมออนไลน์ร้อยละ 28.5 ควรมีบทลงโทษเด็ดขาดสำหรับผู้กระทำผิดเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 22.4 ควบคุมการเผยแพร่ข้อความ เสียง ภาพ ตัดต่อ ดัดแปลงภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ร้อยละ 16.5 มีมาตรการป้องกันการเจาะระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 13.5 และควบคุมการจดทะเบียนโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 9.1
ภาคผนวก
1. คอมพิวเตอร์ (Computer) คือ "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่เหมือนสมองกลใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณ และสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลขและตัวอักษรเพื่อเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูงโดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก เช่นการเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่อง และสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่าง ๆ ได้ รูปแบบของคอมพิวเตอร์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน คือ คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้ว และคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็ก
2. อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษรภาพกราฟิก และเสียงได้ รวมทั้งสามารถค้นหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆได้อย่างรวดเร็ว ในยุคสังคมข่าวสารข้อมูลดังทุกวันนี้การสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ ถูกพัฒนาขึ้นให้คนเราสื่อสารถึงกันง่ายและสะดวกที่สุดการสื่อสารถึงกันด้วยคำพูดผ่านทางโทรศัพท์ย่อมไม่เพียงพออีกต่อไป เราต้องการมากกว่านั้น เช่น ภาพ เสียง และข้อความตัวอักษร รวมทั้งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งอินเทอร์เน็ตสามารถเข้ามาตอบสนองได้ ในจุดนี้ เมื่อเราเชื่อมต่อเครือข่ายของอินเทอร์เน็ต
3. การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ หมายถึง การเคยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ แบบกระเป๋าหิ้ว และแบบพกพาขนาดเล็ก
4. จำนวนเครื่องและเลขหมายโทรศัพท์มือถือ หมายถึง จำนวนเครื่องโทรศัพท์มือถือที่สมาชิกในครัวเรือนมีไว้ครอบครอง รวมทั้งเครื่องเปล่าที่สามารถ ใช้งานได้ในวันสัมภาษณ์อาจเป็นของที่ขอยืมมา ผู้อื่นซื้อให้ใช้ของที่ทำงานนำมาใช้ และเป็นโทรศัพท์มือถือรุ่นใดก็ได้ ไม่รวม เครื่องโทรศัพท์พีซีที เครื่องโทรศัพท์มือถือที่เสียใช้งานไม่ได้ เครื่องที่อยู่ระหว่างซ่อมหรือเครื่องที่ถูกระงับการใช้โดยไม่สามารถใช้โทรติดต่อได้
5. จำนวนเครื่องโทรศัพท์พื้นฐาน หมายถึง จำนวนโทรศัพท์พื้นฐานที่มีในครัวเรือนและสามารถใช้งานได้ในวันที่สัมภาษณ์ รวมทั้งเครื่องของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และเครื่องของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยการนับจำนวนให้นับแต่ละเบอร์เป็น 1 เครื่อง และ ไม่นับรวม เครื่องพ่วง
6. จำนวนเครื่องโทรสาร (แฟกซ์)ในครัวเรือน หมายถึง จำนวนเครื่องโทรสาร ที่มีไว้ในครอบครองในครัวเรือนนั้นๆ และสามารถใช้งานได้ในวันสัมภาษณ์ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นของสมาชิกในครัวเรือน อาจเป็นของที่ขอยืมมาผู้อื่นซื้อให้ใช้ ของที่ทำงานนำมาใช้ ไม่รวม เครื่องโทรสารที่เสียใช้งานไม่ได้ และเครื่องที่อยู่ระหว่างซ่อม
7. จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในครัวเรือน หมายถึง จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีไว้ในครอบครองในครัวเรือนนั้นๆ และสามารถใช้งานได้ในวันสัมภาษณ์ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นของสมาชิกในครัวเรือนอาจเป็นของที่ขอยืมมา ผู้อื่นซื้อให้ใช้ ของที่ทำงานนำมาใช้ ฯลฯ เฉพาะคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ แบบกระเป๋าหิ้ว หรือแบบ PDA ไม่รวม เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียใช้งานไม่ได้ เครื่องที่อยู่ระหว่างซ่อม และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในธุรกิจ เช่น เครื่องที่ให้ บริการในร้านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
8. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หมายถึง การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับคอมพิวเตอร์ (แบบตั้งโต๊ะ แบบกระเป๋าหิ้ว และแบบ PDA) ที่มีไว้ครอบครองในครัวเรือนนั้นๆ โดยไม่คำนึงว่าสิทธิการใช้อินเทอร์เน็ตได้มาโดยวิธีใด เช่น เสียเงินสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือได้รับสิทธิต่อเข้าใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบของสถาบันการศึกษาหรือที่ทำงาน ฯลฯ
9. ผู้มีงานทำ หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และในระหว่าง 12 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
1) ได้ทำงานตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป โดยได้รับค่าจ้าง
2) ไม่ได้ทำงาน หรือทำงานน้อยกว่า 1 ชั่วโมง แต่เป็นผู้ที่ปกติมีงานประจำ ซึ่งเป็นผู้ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
2.1) ยังได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้าง หรือผลประโยชน์อื่นๆ หรือผลกำไรจากงานหรือธุรกิจในระหว่างที่ไม่ได้ทำงาน
2.2) ไม่ได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้าง หรือผลประโยชน์อื่นๆ หรือผลกำไรจากงานหรือธุรกิจในระหว่างที่ไม่ได้ทำงาน แต่ยังมีงานหรือธุรกิจที่จะกลับไปทำ
3) ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าจ้างในวิสาหกิจ หรือไร่นาเกษตรของหัวหน้าครัวเรือน หรือของสมาชิกในครัวเรือน