บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้างเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลของสิ่งก่อสร้างทุกประเภทที่เอกชนได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง ต่อเติมหรือดัดแปลงเกี่ยวกับจำนวนผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง จำนวนสิ่งก่อสร้างและพื้นที่ก่อสร้าง ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับหน่วยงานภาครัฐในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับเอกชนใช้ในการจัดทำตัวชี้วัดด้านที่อยู่อาศัย ใช้ในการติดตามภาวะเศรษฐกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ การส่งเสริมการขายและการลงทุน ข้อมูลพื้นที่การก่อสร้าง ไตรมาสที่ 2/2556 เป็นข้อมูลในระดับภาคและทั่วประเทศ ที่อยู่ในเขตเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล(บางส่วน) ในพื้นที่ที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และในเขตการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สรุปได้ดังนี้
ในไตรมาส 2 ปี 2556 มีเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่ ต่อเติมหรือดัดแปลงจำนวนทั้งสิ้น 36,364 ราย เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือน 32,359 ราย และที่มิใช่อาคารโรงเรือน 4,005 ราย ดังนี้
1.1 สิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือน
สิ่งก่อสร้างประเภทอาคารโรงเรือนมีผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง 32,3 59 ราย มีพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างรวม 15.9 ล้านตร.ม. ส่วนใหญ่(ร้อยละ 98.4) ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่ และร้อยละ 1.6 ได้รับอนุญาตให้ต่อเติมหรือดัดแปลง
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า จำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารโรงเรือนลดลงร้อยละ 1 7.6 และพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตลดลงร้อยละ 30.2 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2555 พบว่าจำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลงร้อยละ 15.6 และมีพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตลดลงร้อยละ 13.7
1.2 สิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือน
สำหรับสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนมีเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง 4,005 ราย ส่วนใหญ่ร้อยละ 99.5 ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่ และร้อยละ 0.5 ได้รับอนุญาตให้ต่อเติมหรือดัดแปลง โดยเป็นสิ่งก่อสร้างประเภทท่อ/ทางระบายน้ำ ถนน รั้ว/กำแพง สะพาน เขื่อน/คันดิน ฯลฯ มีความยาวก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 44 2,355 เมตร และเป็นการก่อสร้างประเภทลานจอดรถ สนามกีฬา ปั๊มน้ำมัน ป้ายโฆษณา สระว่ายน้ำ ฯลฯ มีพื้นที่ก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 444,185 ตร.ม.
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า จำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลงร้อยละ 23.2 และมีพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างในส่วนที่คิดเป็นความยาวลดลงร้อยละ 2 5.8 แต่ส่วนที่คิดเป็นพื้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 .5 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2555 พบว่าจำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลงร้อยละ 29 .2 และความยาวของสิ่งก่อสร้างลดลงร้อยละ 38.4 และพื้นที่ลดลงร้อยละ 8.9
2. ประเภทและพื้นที่ของสิ่งก่อสร้าง
2.1 สิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือน
ออาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใน ไตรมาส 2 /2556 ส่วนใหญ่เป็นอาคารเพื่ออยู่อาศัยโดยมีพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างรวม 11.0 ล้าน ตร.ม. หรือร้อยละ 69.2 ของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือนทั้งสิ้น ส่วนอาคารโรงเรือนที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์และสำนักงานมีพื้นที่ก่อสร้าง 2.3 ล้าน ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 1 4.5 เพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงานมีพื้นที่ก่อสร้าง 1.6 ล้าน ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 9.9 เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อการศึกษาและสาธารณสุขจำนวน 0.3 ล้าน ตร.ม. เป็นการก่อสร้างโรงแรมคิดเป็นพื้นที่ 0.2 ล้าน ตร.ม.
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มีพื้นที่ของอาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโดยรวมลดลงร้อยละ 30 .2 (จากพื้นที่ 22.8 ล้าน ตร.ม. เป็น 15.9 ล้าน ตร.ม.) โดยเฉพาะอาคารโรงแรมได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลงร้อยละ 81.0 การก่อสร้างเพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงานมีพื้นที่การก่อสร้างลดลง ร้อยละ 50 .4 (จากพื้นที่ 3.2 ล้าน ตร.ม. เป็น 1.6 ล้านตร.ม.) อาคารเพื่อการพาณิชย์และสำนักงานได้รับอนุญาตลดลงร้อยละ 43.0 (จากพื้นที่ 4.1 ล้าน ตร.ม.เป็น 2.3 ล้าน ตร.ม.) และเป็นการก่อสร้างอาคารเพื่ออยู่อาศัยได้รับอนุญาตลดลงคิดเป็นร้อยละ 14.5 ส่วนการก่อสร้างเพื่อการศึกษาและสาธารณสุขเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.4
หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 25 55 พบว่าพื้นที่ของอาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุญาต ให้ก่อสร้างโดยรวมลดลงร้อยละ 13.7 (จากพื้นที่ 18.5 ล้าน ตร.ม. เป็น 15.9 ล้าน ตร.ม.)
2.2 สิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือน
สำหรับสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนนั้น ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างท่อ/ทางระบายน้ำ ที่มีความยาว 295,939 เมตรหรือร้อยละ 66.9 ของสิ่งก่อสร้างที่คิดเป็นความยาวทั้งสิ้น สิ่งก่อสร้างที่เป็นถนนมีความยาว 79,834 เมตรหรือร้อยละ 18.0 รั้ว/กำแพงมีความยาว 54,341 เมตรหรือร้อยละ 12.3
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ความยาวของสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุญาตโดยรวมลดลงร้อยละ 25.8 (จากความยาว 596,230 เมตร เป็น 442,355 เมตร) และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2555 ลดลงร้อยละ 38.4 (จากความยาว 718,450 เมตร เป็น 442,355 เมตร)
สำหรับสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนที่ คิดเป็นพื้นที่ เช่น ลานจอดรถซึ่งได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง คิดเป็นพื้นที่ 281,457 ตร.ม.หรือร้อยละ 63.4 ปั๊มน้ำมันได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างคิดเป็นพื้นที่ 50,968 ตร.ม. หรือร้อยละ 11.5 สนามกีฬาและป้ายโฆษณาได้รับอนุญาต ให้ก่อสร้างคิดเป็นพื้นที่ 13,482 หรือร้อยละ 3.0 และ13,148 ตร.ม. หรือร้อยละ 2.9 ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่าพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 (จากพื้นที่ 394,930 ตร.ม. เป็น 444,185 ตร.ม.) และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2555 ลดลง ร้อยละ 8.9 (จากพื้นที่ 487,435 ตร.ม. เป็น 444,185 ตร.ม.)
สรุป จากการประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้างในไตรมาส 2/2 556 พบว่ามีจำนวนผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารโรงเรือนและสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนจำนวน 36,364 ราย ลดลงร้อยละ 18.3 จาก ไตรมาสที่ผ่านมา ในขณะที่พื้นที่ของสิ่งก่อสร้างมีจำนวน 15.9 ล้าน ตร.ม. ลดลงร้อยละ 30.2 สำหรับสิ่งก่อสร้าง ที่ไม่ใช่อาคารโรงเรือน มีความยาวของสิ่งก่อสร้างลดลงร้อยละ 25.8 แต่พื้นที่ก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
หากจำแนกตามชนิดของสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ร้อยละ 69.2 จะเป็นการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยคิดเป็นพื้นที่ก่อสร้าง 11.0 ล้าน ตร.ม. ลดลงร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2555 สำหรับการก่อสร้างท่อ/ทางระบายน้ำมีความยาวลดลงร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมา และลดลงร้อยละ 16.3 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2 555 ส่วนพื้นที่ก่อสร้างประเภทลานจอดรถเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 ของไตรมาสเดียวกันของปี 2555 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม จากการประมวลข้อมูลที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือนใน ไตรมาส 2/2556 ในภาพรวมจำนวนผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างและพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างมีจำนวนลดลงเมื่อ เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา สิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนมีความยาวของการก่อสร้างลดลง แต่ในส่วนที่เป็นพื้นที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เก็บรวบรวมข้อมูลสิ่งก่อสร้างทุกประเภทที่เอกชนได้รับอนุญาตให้ทำการก่อสร้างใหม่ ต่อเติมหรือดัดแปลงตาม เทศบัญญัติควบคุมการก่อสร้างเป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ปี 2509 ซึ่งครอบคลุมเฉพาะเขตเทศบาล ต่อมาเพื่อให้การเก็บรวบรวมข้อมูลมีความสมบูรณ์มากขึ้นตามความต้องการใช้ข้อมูล สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงได้ขยายขอบข่ายโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งทั่วประเทศทั้งที่มีและไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อมูลที่เก็บรวบรวมนี้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำไปใช้ในการจัดทำบัญชีประชาชาติ ด้านการสะสมทุนและมูลค่าการก่อสร้างรวมของ ทั้งประเทศ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนนำไปใช้จัดทำตัวชี้วัดที่อยู่อาศัย เพื่อใช้ในการติดตามภาวะเศรษฐกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ด้านการลงทุนภาคเอกชนและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน และใช้ในการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้างการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และเรื่องที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
การเก็บรวบรวมข้อมูลโครงการนี้ คุ้มรวมสิ่งก่อสร้างทุกประเภทที่เอกชนได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่และต่อเติมหรือดัดแปลงในพื้นที่ที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
1.3 รายการข้อมูล
การจัดทำโครงการประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้างนี้ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการก่อสร้าง ดังต่อไปนี้
1) จำนวนผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง
2) จำนวนสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง
3) พื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง
1.4 การนำเสนอผลข้อมูล
การเสนอผลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้างนี้ได้นำเสนอผลเป็นรายปีและรายไตรมาส โดยข้อมูลรายปีเป็นการนำเสนอผลข้อมูลในระดับจังหวัด ภาค และทั่วประเทศ
สำหรับข้อมูลรายไตรมาสในฉบับนี้เป็นการนำเสนอผลข้อมูลในระดับภาคและทั่วประเทศ เฉพาะพื้นที่ที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และในเขตการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
สรุปผลการสำรวจ
2.1 จำนวนผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง และพื้นที่ของสิ่งก่อสร้าง
ในไตรมาส 2 ของปี 2556 มีเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่ ต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารและสิ่งก่อสร้างจำนวน 36,364 ราย เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารโรงเรือน 32,359 ราย คิดเป็นพื้นที่ 15.9 ล้านตารางเมตร และได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือน 4,005 ราย โดยเป็นสิ่งก่อสร้างประเภทท่อ/ทางระบายน้ำ ถนน รั้ว/กำแพง สะพาน เขื่อน/คันดิน ฯลฯ คิดเป็นความยาวทั้งสิ้น 442,355 เมตร และประเภทลานจอดรถ สนามกีฬา ปั๊มน้ำมัน ป้ายโฆษณา สระว่ายน้ำ ฯลฯ คิดเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 444,185 ตารางเมตร
สำหรับผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการก่อสร้างอาคารโรงเรือนนั้น พบว่า ส่วนใหญ่(ร้อยละ 98.4) ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่ และร้อยละ 1.6 ได้รับอนุญาตให้ต่อเติมหรือดัดแปลง เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า จำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารโรงเรือนลดลงร้อยละ 17.6 และพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลงร้อยละ 30.2 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2555 พบว่าจำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลงร้อยละ 15.6 และมีพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลง ร้อยละ 13.7
สำหรับสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนนั้น พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 99.5 เป็นการได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่ และร้อยละ 0.5 เป็นการได้รับอนุญาตให้ ต่อเติมหรือดัดแปลง เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่า จำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลงร้อยละ 23.2 และมีพื้นที่ก่อสร้างในส่วนที่คิดเป็นความยาว (เช่น ท่อ/ทางระบายน้ำ ถนน รั้ว/กำแพง สะพาน และเขื่อน/คันดิน) ลดลงร้อยละ 25.8 แต่ส่วนที่คิดเป็นพื้นที่ (เช่น ลานจอดรถ สนามกีฬา ปั๊มน้ำมัน ป้ายโฆษณา และสระว่ายน้ำ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2555 พบว่า จำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลงร้อยละ 29.2 ความยาวของสิ่งก่อสร้างลดลงร้อยละ 38.4 และพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างลดลงร้อยละ 8.9
2.2 ประเภทและพื้นที่ของสิ่งก่อสร้าง
สิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในไตรมาสนี้ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 15.9 ล้านตารางเมตร ส่วนใหญ่เป็นอาคารโรงเรือนเพื่ออยู่อาศัยมีพื้นที่ 11.0 ล้านตารางเมตร หรือ ร้อยละ 69.2 ของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือนทั้งสิ้น ส่วนการก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิชย์และสำนักงานมีจำนวน 2.3 ล้านตารางเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 14.5 การก่อสร้างเพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงานมีจำนวน 1.6 ล้านตารางเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 9.9 ก่อสร้างอาคารเพื่อการศึกษาและสาธารณสุขจำนวน 274,897ตารางเมตร (ร้อยละ 1.7) และเป็นการการก่อสร้างโรงแรมมีจำนวน 213,363 ตารางเมตร (ร้อยละ 1.3)
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า อาคารโรงเรือนมีพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโดยรวมลดลงร้อยละ 30.2 ส่วนใหญ่เป็น
การลดลงของการก่อสร้างอาคารโรงแรมร้อยละ 81.0 การก่อสร้างเพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงานลดลงร้อยละ 50.4 เพื่อการพาณิชย์และสำนักงานลดลงร้อยละ 43.0 และการก่อสร้างเพื่ออยู่อาศัยมีพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลงร้อยละ 14.5 ส่วนการก่อสร้างอาคารเพื่อการศึกษาและสาธารณสุขมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.4
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2555 พบว่า อาคารโรงเรือนมีพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโดยรวมลดลงคิดเป็นร้อยละ 13.7
สำหรับสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนนั้นส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างท่อ/ทางระบายน้ำ มีความยาว 295,939 เมตร คิดเป็นร้อยละ 66.9 ของสิ่งก่อสร้างที่มีหน่วยวัดเป็นความยาวทั้งสิ้น การก่อสร้างถนนมีความยาว 79,834 เมตรหรือร้อยละ 18.0 รั้ว/กำแพง มีความยาว 54,341 เมตรหรือ ร้อยละ 12.3 สำหรับการก่อสร้างลานจอดรถมีพื้นที่ 281,457 ตารางเมตรหรือร้อยละ 63.4 ของสิ่งก่อสร้างที่เป็นพื้นที่ทั้งสิ้น ปั๊มน้ำมันได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างคิดเป็นพื้นที่ 50,968 ตารางเมตรหรือ ร้อยละ 11.5 สนามกีฬาและป้ายโฆษณาได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างคิดเป็นพื้นที่จำนวนใกล้เคียงกัน คือ 13,482 ตารางเมตรหรือร้อยละ 3.0 และ 13,148 ตารางเมตร ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่า สิ่งก่อสร้างมีความยาวโดยรวม 442,355 เมตรลดลงร้อยละ 25.8 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และลดลง ร้อยละ 38.4 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2555 สำหรับสิ่งก่อสร้างที่เป็นพื้นที่ (ตารางเมตร) ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโดยรวม 444,185 ตารางเมตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และพบว่ามีจำนวนลดลงร้อยละ 8.9 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2555
2.3 ข้อมูลพื้นที่การก่อสร้าง จำแนกตามภาค
เมื่อพิจารณาข้อมูลการก่อสร้างใหม่ ประเภทอาคารโรงเรือนจำแนกตามภาค พบว่ามีจำนวนผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างทั้งสิ้น 31,845 ราย เป็นผู้ที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุดถึง 8,050 รายคิดเป็นร้อยละ 25.3 รองลงมา คือกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจำนวน 7,911 รายคิดเป็นร้อยละ 24.8 ส่วนพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง พบว่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีมากที่สุดคือ 7.7 ล้านตารางเมตรคิดเป็นร้อยละ 51.0 ของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่ทั้งสิ้น (15.0 ล้านตารางเมตร)
สำหรับการได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ที่มิใช่อาคารโรงเรือนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 มีจำนวนผู้ได้รับอนุญาตทั้งสิ้น 3,985 ราย โดยเป็นผู้ได้รับอนุญาตในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมากที่สุดจำนวน 2,729 ราย (ร้อยละ 68.5) ในขณะที่ภาคใต้มีจำนวนผู้ได้รับอนุญาต น้อยที่สุดเพียง 122 ราย (ร้อยละ 3.1)
สำหรับพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่นั้น พบว่าสิ่งก่อสร้างประเภทท่อ/ทางระบายน้ำ ถนน รั้ว/กำแพง สะพาน เขื่อน/คันดิน ฯลฯ ได้รับอนุญาตทั้งสิ้น 441,188 เมตร เป็นการก่อสร้างในกรุงเทพฯและปริมณฑลมากที่สุดคือ 346,388 เมตรหรือ ร้อยละ 82.2 ส่วนสิ่งก่อสร้างที่คิดเป็นพื้นที่ประเภทลานจอดรถ สนามกีฬา ปั๊มน้ำมัน ป้ายโฆษณา และสระว่ายน้ำ มีจำนวนทั้งสิ้น 435,920 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างรวมในกรุงเทพฯและปริมณฑลมากที่สุดจำนวน 264,550 ตารางเมตรหรือร้อยละ 60.7
หากกล่าวโดยรวมแล้ว การได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นการอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่ทั้งในส่วนที่เป็นอาคารโรงเรือนและมิใช่อาคารโรงเรือน สำหรับการอนุญาตให้ต่อเติมหรือดัดแปลงนั้น จะมีสัดส่วนการได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งจะเป็นลักษณะเช่นเดียวกันในทุกภาค