สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ.2556 เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งครั้งแรกสำรวจในปี 2548 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากครัวเรือนส่วนบุคคลตัวอย่างในเดือนเมษายนประมาณ 26,520 ครัวเรือนทั่วประเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลจำนวนและพฤติกรรมของประชากรเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร อาหารมื้อหลัก กลุ่มอาหารที่บริโภค ความถี่ในการบริโภคซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
จากผลการสำรวจ พบว่าร้อยละ 88.0 ของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปทานอาหารมื้อหลักในแต่ละวันครบ 3 มื้อ โดยพบว่ากลุ่มวัยเด็ก (6-14 ปี) มีสัดส่วนดังกล่าวสูงสุดร้อยละ 92.7 และต่ำสุดในกลุ่มวัยเยาวชน (15-24 ปี) ร้อยละ 86.7
เมื่อเปรียบเทียบผลการสำรวจปี 2548 2552 และปี 2556 พบว่าประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารมื้อหลักครบ 3 มื้อเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 82.2 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 87.1 และ 88.0 ในปี 2552 และ 2556 ตามลำดับ โดยเฉพาะกลุ่มวัยเด็ก (6-14 ปี) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มวัยทำงาน (25-59 ปี) และกลุ่มวัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ส่วนกลุ่มวัยเยาวชน (15-24 ปี) มีสัดส่วนลดลงเล็กน้อย
ผู้บริโภคอาหารว่างมีประมาณ 3 ใน 4 (ร้อยละ 79.3) ของประชากร อายุ 6 ปีขึ้นไป โดยประชากรวัยเด็ก (6-14 ปี) มีอัตราการบริโภคอาหารว่างสูงสุดร้อยละ 89.8 รองลงมาคือวัยเยาวชน (15-24 ปี) ร้อยละ 85.5 วัยทำงาน (25-59 ปี) ร้อยละ 77.6 ส่วนวัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) มีอัตราการบริโภคอาหารว่างต่ำสุด ร้อยละ 70.8
ในกลุ่มผู้ที่ทานอาหารว่างนั้น ได้ระบุสาเหตุที่ทานเพราะอยากทานสูงถึงร้อยละ 45.5 รองลงมาคือ ทานเพราะรู้สึกหิวร้อยละ 36.3 และเพราะได้เวลาทาน/เคยทานเป็นประจำร้อยละ 18.0 ซึ่งพบว่ารูปแบบการทานอาหารว่างมีลักษณะที่เหมือนกันในทุกกลุ่มอายุ
สำหรับรสชาติอาหารที่ทานเป็นประจำพบว่าประชากรส่วนใหญ่ทานรสจืดมากที่สุด ร้อยละ 39.9 รองลงมาคือรสเผ็ดร้อยละ 27.3 รสเค็มร้อยละ 13.0 รสชาติหวานร้อยละ 11.2 รสเปรี้ยวร้อยละ 4.0 รสอื่นๆ เช่น รสกลางๆ ร้อยละ 4.6 แต่ทั้งนี้จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มอายุ กล่าวคือ กลุ่มวัยเด็ก (6-14 ปี) ส่วนใหญ่จะทานรสจืดและรสหวาน (ร้อยละ 55.8 และ 20.1 ตามลำดับ) กลุ่มวัยเยาวชน (15-24 ปี) ทานรสเผ็ดมากกว่ารสจืด (ร้อยละ 33.8 และ 28.7 ตามลำดับ) และกลุ่มวัยทำงาน(25-59 ปี) จะทานรสเผ็ดและรสจืดใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 33.0) ส่วนกลุ่มวัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จะทานรสจืดมากกว่ารสเผ็ด (ร้อยละ 64.5 และ 11.4 ตามลำดับ)
ประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง ร้อยละ 54.9 ทานอาหารที่ปรุงด้วยวิธีต้มหรือลวกสุก รองลงมาคือ ผัด ทอด ตุ๋น/นึ่ง/อบ ปิ้ง/ย่าง ลวกแบบสุกๆ ดิบๆ และวิธีอื่นๆ (ร้อยละ 25.4 11.0 4.0 3.0 0.4 และ 1.3 ตามลำดับ) แต่มีข้อสังเกตว่าวิธีการปรุงฯ จะแตกต่างกันไปตามภาค กล่าวคือ ภาคกลางและกรุงเทพมหานครจะมีการผัดและทอดมากกว่าภาคอื่นๆ (มากกว่าร้อยละ 40) ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการปิ้ง/ย่างสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 6.3)
การบริโภคอาหารของประชากรจะแตกต่างกันตามประเภทของกลุ่มอาหาร คือ กลุ่มอาหารที่ร่างกายต้องการเป็นประจำได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ และกลุ่มผัก/ผลไม้สด พบว่ามีสัดส่วนผู้ที่ทานตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปต่อสัปดาห์สูงสุด (ร้อยละ 70.8 และร้อยละ 88.9 ตามลำดับ)
สำหรับกลุ่มอาหารที่ทานเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและกลุ่มแร่ธาตุ วิตามิน พบว่ามีเพียงร้อยละ 19.1 ที่ทาน
ส่วนอาหารในกลุ่มที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพหากบริโภคมากเกินพอดี ได้แก่ กลุ่มอาหารที่มีไขมันสูงพบว่าทาน 1-2 วัน/สัปดาห์ สูงสุด (ร้อยละ 48.1) และมีประมาณร้อยละ 12.4 ที่ไม่ทาน ส่วนกลุ่มขนมสำหรับทานเล่น/ขนมกรุบกรอบ พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งไม่ทาน (ร้อยละ 50.7)
สำหรับกลุ่มอาหารประเภทจานด่วนทางตะวันตกพบว่ามากกว่า 2 ใน 3 ที่ไม่ทาน (ร้อยละ 70.8) กลุ่มอาหารสำเร็จรูป (มากกว่าครึ่งหนึ่งที่ไม่ทาน ร้อยละ 52.2) แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งหรืออาหารพร้อมปรุงแช่เย็นตามร้านสะดวกซื้อกำลังเป็นที่นิยมของคนทั่วไป ซึ่งทาน 1-2 วันต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 38.6) กลุ่มเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอร์ที่มีรสหวาน พบว่ามากกว่า 1 ใน 3 ไม่ดื่ม (ร้อยละ 41.7 และ 36.4 ตามลำดับ)
ตาราง 1 ร้อยละของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป จำแนกตาม ความถี่ในการบริโภคอาหารในแต่ละกลุ่มต่อสัปดาห์
กลุ่มอาหาร ความถี่ในการบริโภค (ต่อสัปดาห์) ไม่ ทาน ทาน ทาน ทาน ทาน 1-2 วัน 3-4 วัน 5-6 วัน ทุกวัน กลุ่มเนื้อสัตว์และ 4.2 25.0 23.0 15.8 32.0 ผลิตภัณฑ์ กลุ่มผักและผลไม้สด 1.1 10.0 16.8 17.6 54.5 กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริม อาหารและกลุ่ม 80.9 10.7 2.9 1.2 4.3 แร่ธาต วิตามิน กลุ่มอาหารไขมันสูง 12.4 48.1 21.8 9.0 8.7 กลุ่มขนมสำหรับทาน 50.7 28.2 10.0 4.2 6.9 เล่นขนมกรุบกรอบ กลุ่มอาหารประเภท 70.8 23.5 3.8 1.3 0.6 จานด่วนทางตะวันตก กลุ่มเครื่องดื่มประเภท 41.7 35.2 12.1 4.5 6.5 น้ำอัดลม กลุ่มเครื่องดื่มไม่มี 36.4 21.3 11.0 5.7 25.6 แอลกอฮอร์ที่มีรสหวาน 1/ กลุ่มอาหารสำเร็จรูป 52.2 38.6 6.8 1.8 0.6 1/ กลุ่มอาหารสำเร็จรูป เช่น อาหารสำเร็จแช่แข็ง/อาหารพร้อมปรุงแช่เย็น สิ่งที่คำนึงถึงเป็นอันดับแรกก่อนเลือกซื้ออาหาร
สิ่งที่คนส่วนใหญ่คำนึงถึงเป็นอันดับแรกก่อนเลือกซื้ออาหารคือรสชาติมากที่สุด (ร้อยละ 24.5) รองลงมาคือความสะอาดและความชอบ (ร้อยละ 19.4 และ 17.7 ตามลำดับ) อยากทาน (ร้อยละ 14.9) คุณค่าทางโภชนาการ (ร้อยละ 12.8) ความสะดวก รวดเร็วและราคามีน้อยกว่าร้อยละ 10 โดยในทุกกลุ่มอายุส่วนใหญ่ก่อนซื้ออาหารคำนึงถึงรสชาติเป็นอันดับแรก รองลงมาสำหรับกลุ่มอายุ 6-14 ปี จะคำนึงถึงความชอบ (ร้อยละ 23.7) และกลุ่มวัยทำงาน 25-59 ปี และ 60 ปีขึ้นไป จะคำนึงถึงความสะอาด (ร้อยละ 20.5 และ 18.8 ตามลำดับ)
กลุ่มอายุ
สิ่งแรกที่คำนึงในการ รวม 6-14 ปี 15-24 ปี 25-59 ปี 60 ปี ขึ้นไป เลือกซื้ออาหาร รสชาติ 24.5 23.8 23.7 25.3 22.8 คุณค่าทางโภชนาการ 12.8 9.9 10.0 13.0 17.2 ราคา 4.4 3.4 4.8 4.4 4.7 ความสะอาด 19.4 16.6 18.5 20.5 18.8 ความสะดวก รวดเร็ว 6.1 4.8 6.7 6.6 4.8 ความชอบ 17.7 23.7 19.8 16.3 15.8 อยากทาน 14.9 17.6 16.4 13.8 15.5 อื่นๆ 0.2 0.2 0.1 0.1 0.4 ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ