การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติได้จัดทำเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 และตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา ได้ทำการสำรวจต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ทราบจำนวนประชากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ พฤติกรรมของการใช้ และจำนวนครัวเรือนที่มีอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์พื้นฐาน เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรสาร และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในครัวเรือน ตลอดจนเรื่องที่ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาควบคุมดูแลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น
การสำรวจใช้วิธีสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป จากครัวเรือนตัวอย่างทั้งสิ้น 83,880 ครัวเรือน ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
ในปี 2556 มีจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปทั้งสิ้นประมาณ 63.3 ล้านคน.ในจำนวนนี้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์.22.2.ล้านคนหรือ (ร้อยละ.35.0).ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต.18.3 ล้านคนหรือ (ร้อยละ 28.9) และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 46.4 ล้านคนหรือ (ร้อยละ 73.3) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเขตการปกครองในเขตเทศบาลมีสัดส่วนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ.46.3.ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 39.9 และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ร้อยละ.80.0 ในขณะที่นอกเขตเทศบาลมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 29.1 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 23.1 และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 69.8
เมื่อพิจารณาแนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปในช่วงระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2552-2556 พบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 29.3 (จำนวน 17.9 ล้านคน) เป็นร้อยละ 35.0 (จำนวน .22.2 ล้านคน) ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 20.1 (จำนวน 12.3 ล้านคน) เป็นร้อยละ 28.9 (จำนวน 18.3 ล้านคน) ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 56.8 (จำนวน 34.8..ล้านคน) เป็นร้อยละ 73.3 (จำนวน 46.4 ล้านคน)
แม้ว่าการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารของประชากรมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีช่องว่างในการใช้ระหว่างผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล กล่าวคือในระหว่าง ปี 2552-2556 ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเขตเทศบาล มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 42.0 เป็นร้อยละ 46.3 ส่วนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่อยู่นอกเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ.23.6..เป็นร้อยละ..29.1..ในขณะที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่อยู่ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32.8 เป็นร้อยละ 39.9 ส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่อยู่นอกเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.5 เป็นร้อยละ 23.2 และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่อยู่ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 68.9 เป็นร้อยละ 80.0 ในขณะที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่อยู่นอกเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 51.5 เป็น ร้อยละ 69.8
เมื่อพิจารณาสัดส่วนของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือเป็นรายภาค พบว่า กรุงเทพมหานครมีสัดส่วนผู้ใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด คือ ร้อยละ 53.3 รองลงมาคือภาคกลาง ร้อยละ 36.4 ภาคใต้ ร้อยละ 34.8 ภาคเหนือ ร้อยละ 32.0 และต่ำสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 30.3 ส่วนการใช้อินเทอร์เน็ต กรุงเทพมหานครมีผู้ใช้มากที่สุดคือ ร้อยละ 48.8 รองลงมาคือภาคกลาง ร้อยละ 29.8 และภาคใต้ ร้อยละ 29.1 ภาคเหนือ ร้อยละ 27.2 และ ต่ำที่สุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 23.2
ในขณะที่การใช้โทรศัพท์มือถือ กรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนของผู้ใช้มากที่สุดเช่นเดียวกัน คือ ร้อยละ 85.0 รองลงมา คือ ภาคกลาง ร้อยละ 77.4 ภาคเหนือ ร้อยละ 72.5 ภาคใต้ ร้อยละ 70.5 และต่ำที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 68.6
เมื่อเปรียบเทียบการใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างเพศชายและเพศหญิง พบว่า สัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตของเพศชายใกล้เคียงกับเพศหญิง โดยในระหว่าง ปี 2552-2556 สัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตของเพศชายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.8 เป็นร้อยละ 28.8 ส่วนเพศหญิงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.4 เป็นร้อยละ 29.1
เมื่อพิจารณาการใช้อินเทอร์เน็ตตามกลุ่มอายุต่าง ๆ พบว่า กลุ่มอายุ 15-24 ปี มีสัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตสูงสุด ร้อยละ 58.4 รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 6-14 ปี ร้อยละ 54.1 กลุ่มอายุ 25.-.34 ปี ร้อยละ 33.5 กลุ่มอายุ 35.-.49 ปี ร้อยละ 18.7 และต่ำสุดในกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 6.6
สำหรับสถานที่ใช้อินเทอร์เน็ตพบว่า ส่วนใหญ่ใช้ที่บ้าน/ที่พักอาศัย ร้อยละ 57.3 รองลงมาคือ ในสถานศึกษา ร้อยละ 46.7 และที่ทำงาน ร้อยละ 30.0 ส่วนกิจกรรมที่ใช้ ส่วนใหญ่ใช้ในการดาวน์โหลด ดูหนัง ฟังเพลง วิทยุ ร้อยละ 73.3 รองลงมาคือ เล่นเกม/ดาวน์โหลดเกม ร้อยละ 70.7 ใช้ Social Network (Facebook, Twitter, Hi5, GooglePlus) ร้อยละ 58.6 และรับส่ง-อีเมล์ร้อยละ 52.2 สำหรับความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ตพบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตค่อนข้างบ่อย (1-.4 วันใน 1 สัปดาห์) ร้อยละ 49.0 รองลงมาใช้เป็นประจำ (5-7วันใน 1 สัปดาห์) ร้อยละ 47.2
เมื่อพิจารณาสัดส่วนการมีอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนในระหว่าง ปี 2552-2556 พบว่า ครัวเรือนที่มีโทรศัพท์พื้นฐาน มีแนวโน้มลดลงจาก ร้อยละ 21.4 เป็น ร้อยละ 14.0 ครัวเรือนที่มีเครื่องโทรสารเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก ร้อยละ 1.5 เป็นร้อยละ 1.7 ครัวเรือนที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 20.3.เป็นร้อยละ 28.7..สำหรับครัวเรือนที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 9.5 เป็นร้อยละ 23.5
สำหรับครัวเรือนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต พบว่า มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยประเภท Fixed broadband มากที่สุด ร้อยละ 54.2 รองลงมา คือประเภท Narrowband แบบไร้สายเคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือ 2G, 2.5G (เช่น GSM, CDMA, GPRS) ร้อยละ 17.0 Broadband แบบไร้สายเคลื่อนที่โทรศัพท์มือถือ 3G (เช่น WCDMA, EV-DO)..ร้อยละ 16.5 และแบบ Analogue modem, ISDN ร้อยละ 8.7